"เด็กแม้ว"ขุดงบมิยาซาวา-ไอเอ็มเอฟ หวังดิสเครดิตรัฐบาลระหว่างการอภิปรายงบฯ เย้ยเก็บภาษีตรงเป้าแค่ความฝัน ด้าน"กรณ์" แฉกลับ 3 เดือน "รัฐบาลชายกระโปรง" ผลาญเงินคงคลัง 1.7 แสนล้าน "พิเชษฐ์" รุมสับเลวร้ายยิ่งกว่าไฟไหม้ออสเตรเลีย
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 116,700,000,000 บาท ในวาระที่ 2 และ3 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยที่ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา ที่ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติ ขณะที่วิปรัฐบาลได้กำหนดเวลาให้สมาชิกพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกที่อภิปรายส่วนใหญ่เป็นฝ่ายค้าน โดยพุ่งเป้าแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดงบดังกล่าว พร้อมกับเสนอให้ปรับลดงบประมาณ เนื่องจากรัฐบาลจัดสรรงบไม่เป็นธรรม และไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าการจัดเก็บรายได้ในปีนี้ จะได้ไม่ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การตั้งงบประมาณแบบนี้นอกจากจะไม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วยังทำลายเศรษฐกิจด้วย และมีแนวโน้มว่ากฎหมายฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการชดเชยเงินคงคลัง เพราะเราไม่สามารถจัดเก็บเงินได้เท่ากับที่เราตั้งไว้ จากที่ตั้งไว้ 1.5 ล้านล้านบาท แต่เชื่อว่าปีนี้น่าจัดเก็บภาษีได้แค่ 1.2 ล้านล้านบาทเท่านั้น ซึ่งหากมีคนยื่นตีความสภาฯนี้พิจารณากฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็อาจทำให้ส.ส.ถูกถอนถอนได้ แม้รัฐบาลจะบอกว่าปรึกษากฤษฎีกาแล้วก็ตาม แต่หากสภายอมรับไป ก็อาจเท่ากับทำผิดกฎหมาย และการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เม็ดเงินไว้น้อยเต็มที่ อยากบอกพรรคประชาธิปัตย์ ว่า การทำงบแบบนี้ต้องใจกว้าง
นอกจากนี้ เงินคงคลังเหลือแค่ 5.2 หมื่นล้าน ซึ่งนายกฯ บอกว่าแก้วิกฤตครั้งนี้ไม่ได้จะลาออก ตนจะคอยดู และขอให้รับผิดชอบคำพูดของตัวเองด้วย หากยังดึงดันลากงบที่ผิดกฎหมาย กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้แบบนี้ นายกฯต้องรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย หลายคนยังอภิปราย โจมตีการกู้เงินของรัฐบาลว่า รัฐบาลนี้ควรทบทวนการใช้จ่ายเงิน เพราะการใช้เงินแต่ละครั้ง เป็นการเพิ่มหนี้ให้กับประเทศ ดังนั้นอย่าไปกู้เงินเลย เพราะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพิ่งใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมด แต่รัฐบาลนี้จะมากู้เงิน ควรระดมเป็นพันธบัตรในประเทศจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นคนไทย 64 ล้านคน จะกลับมาเป็นหนี้และสถานการณ์ก็จะยิ่งแย่กว่าเดิม
ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส. สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศอีกแสนกว่าล้าน เพราะเก็บรายได้ไม่เข้าเป้าซึ่งเหมือนกับย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2541-2544 ที่รัฐบาลชุดนี้เคยกุมบังเหียนบริหารประเทศ และสร้างผลงานไว้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินมิยาซาวา เงินกู้ไอเอ็มเอฟ วงจรกำลังย้อนไปสู้จุดเดิม ซึ่งมีรัฐบาลชุดนี้มาบริหารประเทศแล้วเราจะมาสร้างหนี้ให้กับลูกหลานหรือ วันนี้กองทัพบกมีเงินไปซื้ออาวุธ แสนสี่หมื่นล้าน กองทัพเรือซื้อเรือดำน้ำ เรามีเงินมากนักหรือ
อย่างไรก็ตาม นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงว่า กรณีเงินคงคลังที่ปรับลดลงมานั้นมีการปรับลดลงมาก่อน 3 เดือนที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะเข้ามา โดยเมื่อต้นปี ในวันที่ 1 ต.ค. 51 มีเงินคงคลังเหลือ 2.1 แสนล้าน บาทแต่ช่วง 3 เดือนของรัฐบาลที่ผ่านมามีการปรับลดเงินคงคลังเหลือ 5.2 หมื่นล้านบาท และถ้าไม่มีความจำเป็นรัฐบาลก็ไม่อยากกู้เพิ่มเติม แต่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกตัวไม่ให้ชะงักงัน จึงต้องเพิ่มวงเงินกู้ยืม
นายกรณ์ กล่าวว่า การตั้งงบขาดดุลนั้นตั้งมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา และการกู้ยืมเงินจากญี่ปุ่นที่นายกฯไปปรึกษาหารือ ก็เป็นโครงการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาหลายรัฐบาลหลายสมัย เพื่อทำโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ 1 ส.ค. 49 ดังนั้นไม่ควรแปลกใจในการที่รัฐบาลยืนยันโครงการนี้ เพราะแม้รัฐบาลนี้จะไม่ได้เป็นคนริเริ่มใดๆ แต่ก็พร้อมที่จะสานต่อ
ส่วนเรื่องงบกลางปี หรืองบชดเชยการใช้เงินคงคลัง รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้ามารับผิดชอบ ซึ่งภายใน 45 วัน หันไปทางไหนก็มีแต่ปัญหา น้ำลดตอก็ผดทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งวิธีที่รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาคือ การใช้เงินงบประมาณ
นายกรณ์ชี้แจงต่อว่า ส่วนเรื่องระดับรายได้ ที่บอกว่าจะจัดเก็บงบประมาณได้ต่ำกว่าเป้านั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งคาดว่ารายได้รัฐบาลจะต่ำกว่าประมาณการ 10 % ส่วนความพร้อมในการรับมือนั้น แม้รายได้รัฐบาลจะต่ำกว่าเกณฑ์ และทำให้มีปัญหาในเรื่องการบริหารความยืดหยุ่น และต้องใช้มาตรการทางการคลังลดลง แต่งบประมาณปี 53 ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้ตัวเลขตามความเป็นจริง ส่วนการตั้งงบในปี 53 จะต่ำกว่างบประมาณในปี 52 หรือไม่ต้องรอดู แต่ยืนยันว่า รายได้จะไม่เป็นปัญหาทางกฎหมายแน่นอน การกู้ยืมเงินคำนวณจากประมาณรายจ่าย ไม่เกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้
ส่วนเรื่องงบชดเชยเงินคงคลัง 1หมื่น 9 พันล้านบาท รูปแบบภาษีที่จะจัดเก็บเพื่อชดเชยเงินคงคลังมาจากเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 แสนกว่าล้านบาท และมาจากภาษีน้ำมัน ดังนั้นในการลงมติของสมาชิกจะไม่ขัดต่อกฎหมายแน่นอน ส่วนมาตรการลดภาษีนั้น แม้จะทำให้ภาษีหายไปนับแสนล้าน แต่ก็มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คงไม่มากเท่ากับการช่วยเหลือคนยากจน
นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล กรรมาธิการ ชี้แจงว่า งบรายจ่ายเพิ่มเติมทั้งหมดไม่ใช่งบกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด แต่เป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และบรรเทาผลกระทบทางสังคม และงบเพื่อความมั่นคงต่างๆ
แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือสถานะของเงินคงคลังเพราะ 3 เดือนก่อนที่รัฐบาลนี้จะมาบริหาร เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.51 เงินคงคลังหายไป 1.7 แสนล้าน หนักยิ่งกว่าไฟไหม้ที่ประเทศออสเตรเลีย และเป็นเหตุผลที่นายกฯต้องไปเจรจาเพื่อหาแหล่งเงินกู้เพื่อสำรองเอาไว้ ไม่ใช่อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหาว่า รัฐบาลนี้เก่งแต่กู้เงิน เพราะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นการเตรียมพร้อม ซึ่งเงินคงคลังที่เหลืออยู่ 30,000 ล้าน ตนก็เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณที่ไม่คล่องตัว
จากนั้นเวลา 17.20 น. ที่ประชุมสภาฯได้ลงมติรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯในมาตราที่ 3 โดยยังคงจำนวนงบประมาณทั้งหมดไว้ 116,700,000,000 บาท โดยไม่มีการปรับลด ด้วยเสียง 237 เสียง ไม่เห็นด้วย 113 เสียง ซึ่งที่ประชุมได้ใช้เวลาในการอภิปรายทั้งสิ้น 7 ชม.
เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 116,700,000,000 บาท ในวาระที่ 2 และ3 หลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยที่ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา ที่ คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติ ขณะที่วิปรัฐบาลได้กำหนดเวลาให้สมาชิกพิจารณาแล้วเสร็จภายในวันเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกที่อภิปรายส่วนใหญ่เป็นฝ่ายค้าน โดยพุ่งเป้าแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดงบดังกล่าว พร้อมกับเสนอให้ปรับลดงบประมาณ เนื่องจากรัฐบาลจัดสรรงบไม่เป็นธรรม และไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าการจัดเก็บรายได้ในปีนี้ จะได้ไม่ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การตั้งงบประมาณแบบนี้นอกจากจะไม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วยังทำลายเศรษฐกิจด้วย และมีแนวโน้มว่ากฎหมายฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการชดเชยเงินคงคลัง เพราะเราไม่สามารถจัดเก็บเงินได้เท่ากับที่เราตั้งไว้ จากที่ตั้งไว้ 1.5 ล้านล้านบาท แต่เชื่อว่าปีนี้น่าจัดเก็บภาษีได้แค่ 1.2 ล้านล้านบาทเท่านั้น ซึ่งหากมีคนยื่นตีความสภาฯนี้พิจารณากฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็อาจทำให้ส.ส.ถูกถอนถอนได้ แม้รัฐบาลจะบอกว่าปรึกษากฤษฎีกาแล้วก็ตาม แต่หากสภายอมรับไป ก็อาจเท่ากับทำผิดกฎหมาย และการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เม็ดเงินไว้น้อยเต็มที่ อยากบอกพรรคประชาธิปัตย์ ว่า การทำงบแบบนี้ต้องใจกว้าง
นอกจากนี้ เงินคงคลังเหลือแค่ 5.2 หมื่นล้าน ซึ่งนายกฯ บอกว่าแก้วิกฤตครั้งนี้ไม่ได้จะลาออก ตนจะคอยดู และขอให้รับผิดชอบคำพูดของตัวเองด้วย หากยังดึงดันลากงบที่ผิดกฎหมาย กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้แบบนี้ นายกฯต้องรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย หลายคนยังอภิปราย โจมตีการกู้เงินของรัฐบาลว่า รัฐบาลนี้ควรทบทวนการใช้จ่ายเงิน เพราะการใช้เงินแต่ละครั้ง เป็นการเพิ่มหนี้ให้กับประเทศ ดังนั้นอย่าไปกู้เงินเลย เพราะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพิ่งใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมด แต่รัฐบาลนี้จะมากู้เงิน ควรระดมเป็นพันธบัตรในประเทศจะดีกว่า ไม่เช่นนั้นคนไทย 64 ล้านคน จะกลับมาเป็นหนี้และสถานการณ์ก็จะยิ่งแย่กว่าเดิม
ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส. สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า รัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศอีกแสนกว่าล้าน เพราะเก็บรายได้ไม่เข้าเป้าซึ่งเหมือนกับย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2541-2544 ที่รัฐบาลชุดนี้เคยกุมบังเหียนบริหารประเทศ และสร้างผลงานไว้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินมิยาซาวา เงินกู้ไอเอ็มเอฟ วงจรกำลังย้อนไปสู้จุดเดิม ซึ่งมีรัฐบาลชุดนี้มาบริหารประเทศแล้วเราจะมาสร้างหนี้ให้กับลูกหลานหรือ วันนี้กองทัพบกมีเงินไปซื้ออาวุธ แสนสี่หมื่นล้าน กองทัพเรือซื้อเรือดำน้ำ เรามีเงินมากนักหรือ
อย่างไรก็ตาม นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงว่า กรณีเงินคงคลังที่ปรับลดลงมานั้นมีการปรับลดลงมาก่อน 3 เดือนที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะเข้ามา โดยเมื่อต้นปี ในวันที่ 1 ต.ค. 51 มีเงินคงคลังเหลือ 2.1 แสนล้าน บาทแต่ช่วง 3 เดือนของรัฐบาลที่ผ่านมามีการปรับลดเงินคงคลังเหลือ 5.2 หมื่นล้านบาท และถ้าไม่มีความจำเป็นรัฐบาลก็ไม่อยากกู้เพิ่มเติม แต่จำเป็นต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกตัวไม่ให้ชะงักงัน จึงต้องเพิ่มวงเงินกู้ยืม
นายกรณ์ กล่าวว่า การตั้งงบขาดดุลนั้นตั้งมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา และการกู้ยืมเงินจากญี่ปุ่นที่นายกฯไปปรึกษาหารือ ก็เป็นโครงการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาหลายรัฐบาลหลายสมัย เพื่อทำโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ 1 ส.ค. 49 ดังนั้นไม่ควรแปลกใจในการที่รัฐบาลยืนยันโครงการนี้ เพราะแม้รัฐบาลนี้จะไม่ได้เป็นคนริเริ่มใดๆ แต่ก็พร้อมที่จะสานต่อ
ส่วนเรื่องงบกลางปี หรืองบชดเชยการใช้เงินคงคลัง รัฐบาลชุดปัจจุบันได้เข้ามารับผิดชอบ ซึ่งภายใน 45 วัน หันไปทางไหนก็มีแต่ปัญหา น้ำลดตอก็ผดทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรต่างๆ ซึ่งวิธีที่รัฐบาลใช้แก้ไขปัญหาคือ การใช้เงินงบประมาณ
นายกรณ์ชี้แจงต่อว่า ส่วนเรื่องระดับรายได้ ที่บอกว่าจะจัดเก็บงบประมาณได้ต่ำกว่าเป้านั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งคาดว่ารายได้รัฐบาลจะต่ำกว่าประมาณการ 10 % ส่วนความพร้อมในการรับมือนั้น แม้รายได้รัฐบาลจะต่ำกว่าเกณฑ์ และทำให้มีปัญหาในเรื่องการบริหารความยืดหยุ่น และต้องใช้มาตรการทางการคลังลดลง แต่งบประมาณปี 53 ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้ตัวเลขตามความเป็นจริง ส่วนการตั้งงบในปี 53 จะต่ำกว่างบประมาณในปี 52 หรือไม่ต้องรอดู แต่ยืนยันว่า รายได้จะไม่เป็นปัญหาทางกฎหมายแน่นอน การกู้ยืมเงินคำนวณจากประมาณรายจ่าย ไม่เกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้
ส่วนเรื่องงบชดเชยเงินคงคลัง 1หมื่น 9 พันล้านบาท รูปแบบภาษีที่จะจัดเก็บเพื่อชดเชยเงินคงคลังมาจากเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 แสนกว่าล้านบาท และมาจากภาษีน้ำมัน ดังนั้นในการลงมติของสมาชิกจะไม่ขัดต่อกฎหมายแน่นอน ส่วนมาตรการลดภาษีนั้น แม้จะทำให้ภาษีหายไปนับแสนล้าน แต่ก็มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คงไม่มากเท่ากับการช่วยเหลือคนยากจน
นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล กรรมาธิการ ชี้แจงว่า งบรายจ่ายเพิ่มเติมทั้งหมดไม่ใช่งบกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด แต่เป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และบรรเทาผลกระทบทางสังคม และงบเพื่อความมั่นคงต่างๆ
แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือสถานะของเงินคงคลังเพราะ 3 เดือนก่อนที่รัฐบาลนี้จะมาบริหาร เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.51 เงินคงคลังหายไป 1.7 แสนล้าน หนักยิ่งกว่าไฟไหม้ที่ประเทศออสเตรเลีย และเป็นเหตุผลที่นายกฯต้องไปเจรจาเพื่อหาแหล่งเงินกู้เพื่อสำรองเอาไว้ ไม่ใช่อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหาว่า รัฐบาลนี้เก่งแต่กู้เงิน เพราะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นการเตรียมพร้อม ซึ่งเงินคงคลังที่เหลืออยู่ 30,000 ล้าน ตนก็เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณที่ไม่คล่องตัว
จากนั้นเวลา 17.20 น. ที่ประชุมสภาฯได้ลงมติรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯในมาตราที่ 3 โดยยังคงจำนวนงบประมาณทั้งหมดไว้ 116,700,000,000 บาท โดยไม่มีการปรับลด ด้วยเสียง 237 เสียง ไม่เห็นด้วย 113 เสียง ซึ่งที่ประชุมได้ใช้เวลาในการอภิปรายทั้งสิ้น 7 ชม.