นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเดินทางกลับประเทศไทย ว่า เราต้องการตัวอยู่แล้ว เพราะต้องการให้ทุกคนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และท่านก็เดินทางออกนอกประเทศเอง ตนอยากทำความเข้าใจว่าประเทศไทย ไม่เคยห้ามที่จะให้เข้ามา ตรงกันข้ามท่านเป็นคนไทย ท่านต้องมีสิทธิ์เข้ามา เมื่อเข้ามาก็ต้องมีหน้าที่เหมือนคนไทย ถ้ามีกระบวนการตามกฎหมายอยู่ก็ต้องทำตรงนั้นไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะชี้แจงอย่างไรกับกรณีที่มีกระแสข่าวสหรัฐอเมริกา ยกเลิกวีซ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าประเทศ และประเทศญี่ปุ่นห้ามพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้าประเทศ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทย ไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เลย แต่ละประเทศมีกฎระเบียบของเขาเองว่า ให้หรือไม่ให้วีซ่าใคร ตนเข้าใจว่ามีการมาพาดพิงว่ารัฐบาลไปดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงเป็นเรื่องภายในประเทศเขา เมื่อถามว่าทางประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯได้มีการแจ้งเข้ามาถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น แต่ละประเทศเขามีระเบียบหลักเกณฑ์ของเขาอยู่แล้ว เขาก็ดำเนินการตามนั้นไป ส่วนข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องไปถามทางสหรัฐฯเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้สอบถามนายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะเป็นคนออกมาพูดเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ให้ไปขอดูข้อเท็จจริงอยู่ เมื่อถามว่า การตอบโต้กันไปมาไม่ได้เป็นผลดีกับฝ่ายไหนเลย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ขอความกรุณาอย่ากล่าวหาพวกเรา ในสิ่งที่ไม่เป็นจริง
ส่วนการแต่งตั้ง นายเทพไทขึ้นมาเพื่อตอบโต้กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณโดยเฉพาะหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่เมื่อมีการพาดพิงพวกเรามาในเรื่องนี้ นายเทพไท มีหน้าที่ชี้แจง แต่ได้ให้แนวไปแล้วถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องชี้แจง แต่ถ้าเรื่องไหนเกิดความเข้าใจผิด ตนก็ถูกต่อว่าเยอะว่าเขาเข้าใจผิดกันหมดแล้ว ทำไมไม่ตอบโต้อะไร ตนไม่ตอบโต้อยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริงก็ต้องเป็นข้อเท็จจริง
สำหรับการตั้งโฆษกส่วนตัวเพื่อชีแจงข้อเท็จจริงที่มาพาดพิงถึงพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่โฆษกนายกฯ แต่เป็นโฆษกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายเทพไท ก็เป็นส.ส.ด้วย แต่ขอยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการให้มีการตอบโต้กันทางการเมือง แต่ก็มีการกล่าวหากันอยู่เป็นระยะๆ แล้วก็มีหลายคนว่า ถ้ากล่าวหาแล้วไม่ชี้แจง แปลว่ามันจริงหรือเปล่า ตนก็ไม่อยากพูดเรื่องเหล่านี้ พรรคก็กังวล เพราะไม่ได้เสียหายแค่ตน เสียหายพรรคด้วย พรรคก็ต้องหาทางชี้แจงไป
ส่วนที่ไม่ให้เป็นหน้าที่ของ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ หรือโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โฆษกพรรคก็มีภาระอยู่พอสมควร เรื่องงานของพรรค เมื่อถามต่อว่า เป็นเพราะโฆษกพรรคทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่า เป็นในส่วนของพรรคเดี๋ยวไปคุยกันที่พรรค
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความจริงตนพยายามจะเลี่ยงในการพูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อย่างนั้นจะเป็นการตอบโต้รายวัน แต่ที่ต้องพูด เพราะไม่ต้องการให้สังคมเข้าใจอะไรผิด อยากให้สังคมได้มุมมองให้ครบ เพราะฉะนั้นพูดเฉพาะที่จำเป็น
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับ นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องไปถามพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อถามอีกว่าแต่มีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่กล้ากลับ เพราะกลัวเรื่องความไม่ปลอดภัย แล้วรัฐบาลจะรับรองความปลอดภัยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อ๋อ แน่นอน ผมรับรองเอง ในฐานะที่มีหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ ขอให้มาจริงเถอะ ผมรับรอง
ต่อข้อถามว่าว่าที่ผ่านมารัฐบาลยืนยันมาตลอดว่ารับรองความปลอดภัย แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังไม่มั่นใจ จะทำอย่างไรให้พ.ต.ท.ทักษิณ มั่นใจ และกลับมาสู้คดี นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กลัวที่จะมาเพราะไม่ปลอดภัย ในความคิดของตน พ.ต.ท.ทักษิณ กลัวที่จะมาแล้วติดคุก เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถึงที่สุดแล้ว ต้องเข้าคุกแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณวันนี้อยู่ในฐานะคนหนีคุก
ผู้สื่อข่าวถามว่าว่าเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วการที่พยายามมีข่าวออกมาเรื่อยๆ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับ ท่านก็คิดว่าไม่เป็นความจริง นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นการเบี่ยงประเด็นมากกว่า คนกำลังฟังเพลินๆ ก็เลยนึกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกรังแก ที่จริงเขาหนีคุก หนีคดีอยู่ เมื่อถามต่อว่าจะหยุดการเบี่ยงประเด็นตรงนี้ได้อย่างไร เพราะประชาชนสับสนประเด็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ นายสุเทพ กล่าวว่า เราก็ช่วยกันพูดความจริง พี่น้องประชาชนจะตัดสินอย่างไร ก็เป็นเรื่องของพี่น้องประชาชน แต่สิ่งสำคัญประชาชนต้องได้ข้อมูลความจริงของทุกฝ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 ม.ค.) นายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธีอมร ว่าที่ผู้แทนการค้า และนพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ โดยใช้เวลาหารือกว่า 1 ชั่วโมง
นายเอริคกล่าวว่า การมาพบกับนายชวนเพราะเป็นที่เคารพของคนทั่วไป และรัฐบาลสหรัฐฯ และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าสหรัฐฯมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยหรือยังหลังจากที่มีการ ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ นายเอริค กล่าวว่า การพูดคุยกับนายชวนครั้งนี้ไม่ได้หารือ เรื่องการปิดสนามบิน แต่ปีที่แล้วประเทศไทยได้แสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าได้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว และเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแข็งแกร่ง
นายเอริค กล่าวถึงข่าวที่ว่าสหรัฐฯถอนวีซ่า พ.ต.ท.ทักษิณว่า ตามกฎหมายของสหรัฐฯ พ.ต.ท.ทักษิณยังสามารถใช้วีซ่าเข้าประเทศอเมริกาได้ และทางสหรัฐฯยังไม่มีแผนการที่จะถอน หรือยกเลิกวีซ่าเข้าประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนที่มีข่าวว่าทางสหรัฐฯสั่งห้ามนางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ เข้าประเทศ เนื่องจากทำธุรกิจผิดจริยธรรมนั้น นายเอริคกล่าวว่า นางพรทิวามีวีซ่าถูกต้อง และสามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งตามปกติสถานทูตสหรัฐฯ จะไม่เข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับวีซ่าของบุคคลทั่วไป แต่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับอดีตนายกฯและนางพรทิวา ทางตนจึงต้องออกมาพูด เพราะข่าวการถอนวีซ่าของทั้งสองคนล้วนเป็นข่าวลือ
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางการเมืองในหลายๆ ด้าน โดยเห็นว่าในขณะนี้มีประเด็นที่น่าห่วงใย 4 เรื่องคือ 1.ขณะนี้มีขบวนการ ในหลายส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของระบบนิติรัฐในประเทศ เพื่อนำมาไปสู่แรงสนับสนุนการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยการดำเนินการในส่วนนี้มี 3 แนวร่วมคือ การเร่งสร้างการเดินเกมนอกสภา ไม่ว่าจะเป็นแผน 9 ยุทธศาสตร์ การสร้างกระแสปลุกความนิยมในเรื่องของการหยิบยกประเด็นงบประมาณ 2 พันล้านบาท หรือข่าวการลอบสังหารพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างแรงหนุนของมวลชนนอกสภา การให้นักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ออกมาพูดประเด็นในความชอบธรรมของสถาบันหลักของระบอบประชาธิปไตย คือสถาบันตุลาการ สถาบันองคมนตรี
มีรายงานข่าวว่าในช่วงเย็นวันนี้ (10 ก.พ.) นายใจ อึ้งภากรณ์ ได้ออกบทความที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการพาดพิงถึงสถาบันองคมนตรีในลักษณะที่เข้าข่ายอาจสร้างความแตกแยกและความขัดแย้ง โดยการดึงเอาสถาบันเข้ามาสู่การดำเนินการทางการเมือง ซึ่งที่ประชุมพรรคได้ขอให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบ เรื่องนี้ว่าความจริงเป็นอย่างไร และอาจจะต้องมีความจำเป็นในการที่จะนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อต่างประเทศเพื่อสร้างความชัดเจนด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเดินเกมในสภาเพื่อไม่ให้การทำงานของรัฐบาล ผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถลุล่วงไปได้ ซึ่งขณะนี้ถึงจุดที่ฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณากฎหมายสำคัญๆ เพื่อฝ่ายค้านจะได้อ้างว่า สภาถึงทางตันและกดดันให้ยุบสภาตามที่ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยได้ระบุไว้ และ การโยกย้ายนายตำรวจ ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ได้ยืนยันว่าจะพิจารณาจากความเหมาะสม และระบบคุณธรรม ไม่แทรกแซงและให้ความสำคัญในเรื่องที่จะให้สถาบันตำรวจสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างเคร่งครัด
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะชี้แจงอย่างไรกับกรณีที่มีกระแสข่าวสหรัฐอเมริกา ยกเลิกวีซ่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าประเทศ และประเทศญี่ปุ่นห้ามพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้าประเทศ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทย ไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เลย แต่ละประเทศมีกฎระเบียบของเขาเองว่า ให้หรือไม่ให้วีซ่าใคร ตนเข้าใจว่ามีการมาพาดพิงว่ารัฐบาลไปดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ ที่จริงเป็นเรื่องภายในประเทศเขา เมื่อถามว่าทางประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯได้มีการแจ้งเข้ามาถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น แต่ละประเทศเขามีระเบียบหลักเกณฑ์ของเขาอยู่แล้ว เขาก็ดำเนินการตามนั้นไป ส่วนข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องไปถามทางสหรัฐฯเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้สอบถามนายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะเป็นคนออกมาพูดเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ให้ไปขอดูข้อเท็จจริงอยู่ เมื่อถามว่า การตอบโต้กันไปมาไม่ได้เป็นผลดีกับฝ่ายไหนเลย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ขอความกรุณาอย่ากล่าวหาพวกเรา ในสิ่งที่ไม่เป็นจริง
ส่วนการแต่งตั้ง นายเทพไทขึ้นมาเพื่อตอบโต้กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณโดยเฉพาะหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่เมื่อมีการพาดพิงพวกเรามาในเรื่องนี้ นายเทพไท มีหน้าที่ชี้แจง แต่ได้ให้แนวไปแล้วถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องชี้แจง แต่ถ้าเรื่องไหนเกิดความเข้าใจผิด ตนก็ถูกต่อว่าเยอะว่าเขาเข้าใจผิดกันหมดแล้ว ทำไมไม่ตอบโต้อะไร ตนไม่ตอบโต้อยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริงก็ต้องเป็นข้อเท็จจริง
สำหรับการตั้งโฆษกส่วนตัวเพื่อชีแจงข้อเท็จจริงที่มาพาดพิงถึงพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่โฆษกนายกฯ แต่เป็นโฆษกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายเทพไท ก็เป็นส.ส.ด้วย แต่ขอยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการให้มีการตอบโต้กันทางการเมือง แต่ก็มีการกล่าวหากันอยู่เป็นระยะๆ แล้วก็มีหลายคนว่า ถ้ากล่าวหาแล้วไม่ชี้แจง แปลว่ามันจริงหรือเปล่า ตนก็ไม่อยากพูดเรื่องเหล่านี้ พรรคก็กังวล เพราะไม่ได้เสียหายแค่ตน เสียหายพรรคด้วย พรรคก็ต้องหาทางชี้แจงไป
ส่วนที่ไม่ให้เป็นหน้าที่ของ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ หรือโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โฆษกพรรคก็มีภาระอยู่พอสมควร เรื่องงานของพรรค เมื่อถามต่อว่า เป็นเพราะโฆษกพรรคทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่า เป็นในส่วนของพรรคเดี๋ยวไปคุยกันที่พรรค
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความจริงตนพยายามจะเลี่ยงในการพูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อย่างนั้นจะเป็นการตอบโต้รายวัน แต่ที่ต้องพูด เพราะไม่ต้องการให้สังคมเข้าใจอะไรผิด อยากให้สังคมได้มุมมองให้ครบ เพราะฉะนั้นพูดเฉพาะที่จำเป็น
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับ นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องไปถามพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อถามอีกว่าแต่มีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่กล้ากลับ เพราะกลัวเรื่องความไม่ปลอดภัย แล้วรัฐบาลจะรับรองความปลอดภัยหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อ๋อ แน่นอน ผมรับรองเอง ในฐานะที่มีหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ ขอให้มาจริงเถอะ ผมรับรอง
ต่อข้อถามว่าว่าที่ผ่านมารัฐบาลยืนยันมาตลอดว่ารับรองความปลอดภัย แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังไม่มั่นใจ จะทำอย่างไรให้พ.ต.ท.ทักษิณ มั่นใจ และกลับมาสู้คดี นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กลัวที่จะมาเพราะไม่ปลอดภัย ในความคิดของตน พ.ต.ท.ทักษิณ กลัวที่จะมาแล้วติดคุก เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถึงที่สุดแล้ว ต้องเข้าคุกแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณวันนี้อยู่ในฐานะคนหนีคุก
ผู้สื่อข่าวถามว่าว่าเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วการที่พยายามมีข่าวออกมาเรื่อยๆ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับ ท่านก็คิดว่าไม่เป็นความจริง นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นการเบี่ยงประเด็นมากกว่า คนกำลังฟังเพลินๆ ก็เลยนึกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกรังแก ที่จริงเขาหนีคุก หนีคดีอยู่ เมื่อถามต่อว่าจะหยุดการเบี่ยงประเด็นตรงนี้ได้อย่างไร เพราะประชาชนสับสนประเด็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ นายสุเทพ กล่าวว่า เราก็ช่วยกันพูดความจริง พี่น้องประชาชนจะตัดสินอย่างไร ก็เป็นเรื่องของพี่น้องประชาชน แต่สิ่งสำคัญประชาชนต้องได้ข้อมูลความจริงของทุกฝ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (10 ม.ค.) นายเอริค จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธีอมร ว่าที่ผู้แทนการค้า และนพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ โดยใช้เวลาหารือกว่า 1 ชั่วโมง
นายเอริคกล่าวว่า การมาพบกับนายชวนเพราะเป็นที่เคารพของคนทั่วไป และรัฐบาลสหรัฐฯ และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ
ผู้สื่อข่าวถามว่าสหรัฐฯมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยหรือยังหลังจากที่มีการ ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ นายเอริค กล่าวว่า การพูดคุยกับนายชวนครั้งนี้ไม่ได้หารือ เรื่องการปิดสนามบิน แต่ปีที่แล้วประเทศไทยได้แสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าได้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว และเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแข็งแกร่ง
นายเอริค กล่าวถึงข่าวที่ว่าสหรัฐฯถอนวีซ่า พ.ต.ท.ทักษิณว่า ตามกฎหมายของสหรัฐฯ พ.ต.ท.ทักษิณยังสามารถใช้วีซ่าเข้าประเทศอเมริกาได้ และทางสหรัฐฯยังไม่มีแผนการที่จะถอน หรือยกเลิกวีซ่าเข้าประเทศของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนที่มีข่าวว่าทางสหรัฐฯสั่งห้ามนางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ เข้าประเทศ เนื่องจากทำธุรกิจผิดจริยธรรมนั้น นายเอริคกล่าวว่า นางพรทิวามีวีซ่าถูกต้อง และสามารถเดินทางเข้าสหรัฐฯเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งตามปกติสถานทูตสหรัฐฯ จะไม่เข้าไป ยุ่งเกี่ยวกับวีซ่าของบุคคลทั่วไป แต่เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับอดีตนายกฯและนางพรทิวา ทางตนจึงต้องออกมาพูด เพราะข่าวการถอนวีซ่าของทั้งสองคนล้วนเป็นข่าวลือ
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางการเมืองในหลายๆ ด้าน โดยเห็นว่าในขณะนี้มีประเด็นที่น่าห่วงใย 4 เรื่องคือ 1.ขณะนี้มีขบวนการ ในหลายส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของระบบนิติรัฐในประเทศ เพื่อนำมาไปสู่แรงสนับสนุนการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยการดำเนินการในส่วนนี้มี 3 แนวร่วมคือ การเร่งสร้างการเดินเกมนอกสภา ไม่ว่าจะเป็นแผน 9 ยุทธศาสตร์ การสร้างกระแสปลุกความนิยมในเรื่องของการหยิบยกประเด็นงบประมาณ 2 พันล้านบาท หรือข่าวการลอบสังหารพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างแรงหนุนของมวลชนนอกสภา การให้นักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ออกมาพูดประเด็นในความชอบธรรมของสถาบันหลักของระบอบประชาธิปไตย คือสถาบันตุลาการ สถาบันองคมนตรี
มีรายงานข่าวว่าในช่วงเย็นวันนี้ (10 ก.พ.) นายใจ อึ้งภากรณ์ ได้ออกบทความที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการพาดพิงถึงสถาบันองคมนตรีในลักษณะที่เข้าข่ายอาจสร้างความแตกแยกและความขัดแย้ง โดยการดึงเอาสถาบันเข้ามาสู่การดำเนินการทางการเมือง ซึ่งที่ประชุมพรรคได้ขอให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบ เรื่องนี้ว่าความจริงเป็นอย่างไร และอาจจะต้องมีความจำเป็นในการที่จะนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อต่างประเทศเพื่อสร้างความชัดเจนด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเดินเกมในสภาเพื่อไม่ให้การทำงานของรัฐบาล ผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถลุล่วงไปได้ ซึ่งขณะนี้ถึงจุดที่ฝ่ายค้านปฏิเสธที่จะตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณากฎหมายสำคัญๆ เพื่อฝ่ายค้านจะได้อ้างว่า สภาถึงทางตันและกดดันให้ยุบสภาตามที่ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยได้ระบุไว้ และ การโยกย้ายนายตำรวจ ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ได้ยืนยันว่าจะพิจารณาจากความเหมาะสม และระบบคุณธรรม ไม่แทรกแซงและให้ความสำคัญในเรื่องที่จะให้สถาบันตำรวจสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างเคร่งครัด