26 มกราคม 2552 ผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ภาคส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากในปีนี้ ซึ่งธนาคารได้เสนอมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หนึ่งในมาตรการนั้นก็คือการจัดตั้งกองทุนประกันการส่งออกแห่งชาติขึ้นมาประมาณ 5,000 ล้านบาท และให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
“การประกันการส่งออกจะช่วยลดความเสี่ยงการไม่ได้รับค่าสินค้า เพราะเมื่อผู้ซื้อไม่จ่ายเงิน ผู้ที่ซื้อประกันสามารถมารับเงินจากเอ็กซิม และเอ็กซิมก็จะไปตามหนี้แทน”
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะมีการทำให้เกิดความเชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤตทำให้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย จนเป็นที่ตื่นตระหนกถึงขั้นที่จะใช้เงินภาษีที่ได้มาจากประชาชนทั้งประเทศไปตั้งกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออก
จากตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจพบในปี 2551 ทั้งปีพบว่า ยอดการส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยังต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 177,841 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ประเทศไทยมียอดการนำเข้าจากทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 178,653 ล้านเหรียญสหรัฐ ]
ยอดมูลค่านำเข้ามีมากกว่าการส่งออก ก็แปลว่าปี 2551 ซึ่งเป็นผลงานของรัฐบาล “ก่อน” รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาบริหารประเทศ ประเทศไทยได้เข้าสู่ภาวะการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศไปแล้วประมาณ 812 ล้านเหรียญสหรัฐ
มาลองดูว่าทำไมประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ามาหลายปีเกิดอะไรขึ้นทำไมถึงมาขาดดุลในสมัย “ก่อน” รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยอดการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในปี 2551 ด้วยมูลค่า 177,841 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นพบว่าเป็นยอดการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 15 การขยายตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2550 ที่อยู่ในระดับ 18.61
แต่ยอดการนำเข้าสินค้าของประเทศไทยในปี 2551 ด้วยมูลค่า 178,653 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นพบว่าเป็นยอดการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 27.65
คำถามมีอยู่ว่า ถ้าเชื่อว่าประเทศไทยมีวิกฤตด้านการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นแล้ว สาเหตุใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน ระหว่างประเทศไทยมีปัญหาส่งออกที่ต้องช่วยเหลือนำเอาเงินภาษีจากประชาชนทั้งประเทศไปโอบอุ้ม หรือเกิดจากการนำเข้าที่มากเกินไปกันแน่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดการนำเข้าที่ส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ 20 อันดับแรกในปี 2551 ที่มีการขยายตัวที่ต้องจับตาได้แก่หมวดพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันดิบ มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 1 เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 48.45 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันของรัฐบาลก่อนหน้า และอีกส่วนหนึ่งต้องจับตาคือการนำเข้าทองคำที่ไม่ใช่เงินตราและมีลักษณะเก็งกำไรแบบไม่ระวังโดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 270
ส่วนยอดส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปขายต่างประเทศ 20 อันดับแรก พบว่ารายการสินค้าที่หดตัวลงมี 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจแผงวงจรไฟฟ้าหดตัวลงร้อยละ 13.98 และเครื่องจักรหดตัวลงร้อยละ 2.95 ส่วนที่ยังขยายตัวแต่ขยายตัวได้น้อยลงได้แก่ ธุรกิจประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์, เม็ดพลาสติก, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือธุรกิจที่ขยายตัวได้น้อยลง หรือหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างประเทศ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับสินค้าเงินผ่อน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความล่มสลายของกลุ่มธุรกิจการเงินในต่างประเทศ และแน่นอนว่าจะต้องมีการปลดและลดพนักงานลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปี 2552 นี้
ส่วนสินค้าส่งออกที่มีอัตราขยายตัวเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า กลับเป็นสินค้าที่เป็นธุรกิจของคนไทยและมีความเกี่ยวพันกับสินค้าในประเทศมากกว่า ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.67, น้ำมันสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 93.14, ยางพาราขยายตัวร้อยละ 20.42, ข้าวขยายตัวร้อยละ 78.92, ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 24.52, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปขยายตัวร้อยละ 23.38, เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 1.21, เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบขยายตัวร้อยละ 21.96, เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวขยายตัวร้อยละ 66.33 เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้น่าจะมีการจ้างงานหรือการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเวลาเดียวกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือจากการเปิดเผยของผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้านั้น คิดจะตั้งกองทุนที่มาจากภาษีของประชาชนไปปล่อยกู้และค้ำประกันการส่งออก ในธุรกิจที่อ้างว่าถูกผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก เช่น กลุ่มอัญมณี กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่กำลังขยายตัวได้เป็นอย่างดีในปี 2551!!?
การตั้งกองทุนค้ำประกันการส่งออก 5,000 ล้านบาท นั้นจะมีเหตุผลและจะช่วยการส่งออกจริงหรือไม่ และมีเหตุจำเป็นหรือไม่ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบดังนี้
ประการแรก การตั้งกองทุนค้ำประกันการส่งออกจำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระค่าสินค้า โดยที่ผู้ส่งออกสามารถมาซื้อประกันกับธนาคารได้ผ่านกองทุนดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องในหลักการหรือไม่ และแก้ไขปัญหาตรงจุดหรือไม่ เมื่อระบบการค้าระหว่างประเทศเขาใช้เครื่องมือทางการเงินที่เป็นที่ยอมรับในสากลที่เรียกว่า เลตเตอร์ ออฟ เครดิต (Irrevocable Letter of Credit) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แอลซี” ที่ลูกค้าต้องเปิดแอลซี ให้กับผู้ส่งออกเป็นหลักค้ำประกันว่าเมื่อผู้ส่งออกได้ส่งสินค้าแล้วจะต้องได้รับเงินจากธนาคารโดยตัดภาระผูกพันออกจากลูกค้าทันที ไม่ว่าลูกค้ารายนั้นจะจ่ายเงินให้กับธนาคารพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม
เมื่อธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศที่ใช้แอลซี อยู่ในธุรกรรมอันเป็นปกติของธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าอย่างมีกฎเกณฑ์การควบคุมตามมาตรฐานธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของกฎการพึงปฏิบัติฉบับ 600 ของสภาหอการค้าสากล (UCP ICC 600,Uniform Custom Practice International Chamber Of Commerce) ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก
หลักประกันตามวิธีปกติมีความมั่นคงขนาดไหน ดูตัวอย่างขนาดกรุงเทพมหานคร ได้เปิด “แอลซี” ไปซื้อรถและเรือดับเพลิง แม้สงสัยว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง แต่เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งมอบสินค้าไปแล้ว ธนาคารพาณิชย์ผู้เปิดแอลซีก็ต้องมีหน้าที่จ่ายเงินอย่างไม่มีทางเลือก ไม่สามารถสั่งยกเลิกได้เพราะอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสภาหอการค้าสากล และสุดท้ายข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาก็ต้องใช้วิธีไล่เบี้ยฟ้องร้องกันเองในภายหลัง
เมื่อระบบการค้าสากลมีอยู่แล้ว จะเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ที่รัฐบาลจะต้องนำเงินจากกระทรวงการคลังซึ่งเป็นภาษีประชาชนมาค้ำประกันผู้ส่งออกแทนระบบมาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วในทุกประเทศ
ประการที่สอง การเรียกร้องให้นำเงินจากกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศ ไปตั้งเป็นกองทุนโอบอุ้มผู้ส่งออกเพียงไม่กี่ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกกลุ่มธุรกิจที่กำลังขยายตัวในปี 2551 เป็นอย่างดี? นำเงิน 5,000 ล้านบาท ไปช่วยเหลือกลุ่มอื่นจะเกิดประโยชน์ในด้านงบประมาณกว่าหรือไม่?
ประการที่สาม การตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท แทนการส่งเสริมให้ระบบที่มีอยู่แล้วทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะกลายเกิดปฏิกิริยามุมกลับทำให้เกิดการฉ้อฉลได้ง่ายขึ้นหรือไม่? ตัวอย่างเช่น การที่ผู้ส่งออกสมคบกับลูกค้าในต่างประเทศไม่ต้องจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกเพื่อที่จะได้ใช้เงินจากกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกและแบ่งปันผลประโยชน์กันเองนอกประเทศ หรือแม้แต่ลูกค้าในต่างประเทศไม่ยอมจ่ายเงินให้กับผู้ส่งออกประเทศไทย แน่ใจหรือว่าประสิทธิภาพการสู้คดีนอกประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าจะมีปัญญาทวงหนี้คืนมาได้ง่ายๆ เอาแค่พ.ต.ท.ทักษิณ นักโทษหนีอาญาแผ่นดินรัฐบาลยังแทบไม่มีปัญญานำตัวกลับมาประเทศได้เลยในทุกวันนี้
ลำพังเพียงแค่การโกงภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกลม ก็ต้องเร่งติดตามแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว ถ้าวันใดที่กองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกเน่าเหม็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ใส่เงินในกองทุนนี้ จะต้องหนีไม่พ้นตกเป็นแพะแน่นอน!
ประการที่สี่ ในกรณีมีประเด็นแย้งว่าในบางกรณีลูกค้าต่างชาติไม่อยากจะเปิดแอลซี ให้กับผู้ส่งออกในประเทศไทย เหตุใดรัฐบาลไม่สร้างแรงจูงใจการเปิดแอลซีด้วยระบบส่งเสริมการจัดเทอมการชำระเงินระยะยาว (Supplier Credit) ให้กับลูกค้าในต่างประเทศ ภายใต้การเปิดแอลซี และสร้างกลไกเพิ่มเติมด้วยการสร้างตลาดรองในการซื้อตั๋วระยะยาว ที่เรียกว่า Offshore Banking เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ส่งออกได้รับเงินสดทันทีที่ส่งมอบสินค้า เหมือนกับที่ประเทศสิงคโปร์ที่มีธนาคารที่ไม่รับเงินฝากประเภทนี้นับหลายร้อยแห่งทำหน้าที่รับซื้อตั๋วเทอมระยะยาวของผู้ส่งออกภายใต้การเปิดแอลซี
เมื่อนั้นประเทศไทยก็จะสามารถรุกทางการตลาดเพิ่มขึ้นโดยลูกค้าในต่างประเทศที่ซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะได้เทอมการชำระเงินที่ยาว ส่วนผู้ส่งออกก็จะมีหลักประกันทางด้านการเงินที่เป็นแอลซี และสามารถไปขายลดเพื่อให้ได้เงินสดทันทีที่ส่งมอบสินค้าได้
การส่งออกจะช่วยกันส่งเสริมได้ยังสามารถทำได้อีกหลายวิธี ทั้งเรื่องค่าเงิน, ระบบภาษี, ดอกเบี้ย, การขนส่ง, และต้นทุนพลังงาน ซึ่งคงไม่ใช่การนำเงิน 5,000 ล้านบาท มาผลาญเป็นกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกแน่นอน!
“การประกันการส่งออกจะช่วยลดความเสี่ยงการไม่ได้รับค่าสินค้า เพราะเมื่อผู้ซื้อไม่จ่ายเงิน ผู้ที่ซื้อประกันสามารถมารับเงินจากเอ็กซิม และเอ็กซิมก็จะไปตามหนี้แทน”
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะมีการทำให้เกิดความเชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤตทำให้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย จนเป็นที่ตื่นตระหนกถึงขั้นที่จะใช้เงินภาษีที่ได้มาจากประชาชนทั้งประเทศไปตั้งกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออก
จากตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจพบในปี 2551 ทั้งปีพบว่า ยอดการส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยังต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 177,841 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ประเทศไทยมียอดการนำเข้าจากทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 178,653 ล้านเหรียญสหรัฐ ]
ยอดมูลค่านำเข้ามีมากกว่าการส่งออก ก็แปลว่าปี 2551 ซึ่งเป็นผลงานของรัฐบาล “ก่อน” รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาบริหารประเทศ ประเทศไทยได้เข้าสู่ภาวะการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศไปแล้วประมาณ 812 ล้านเหรียญสหรัฐ
มาลองดูว่าทำไมประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ามาหลายปีเกิดอะไรขึ้นทำไมถึงมาขาดดุลในสมัย “ก่อน” รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยอดการส่งออกสินค้าของประเทศไทยในปี 2551 ด้วยมูลค่า 177,841 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นพบว่าเป็นยอดการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 15 การขยายตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2550 ที่อยู่ในระดับ 18.61
แต่ยอดการนำเข้าสินค้าของประเทศไทยในปี 2551 ด้วยมูลค่า 178,653 ล้านเหรียญสหรัฐ นั้นพบว่าเป็นยอดการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 27.65
คำถามมีอยู่ว่า ถ้าเชื่อว่าประเทศไทยมีวิกฤตด้านการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นแล้ว สาเหตุใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน ระหว่างประเทศไทยมีปัญหาส่งออกที่ต้องช่วยเหลือนำเอาเงินภาษีจากประชาชนทั้งประเทศไปโอบอุ้ม หรือเกิดจากการนำเข้าที่มากเกินไปกันแน่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดการนำเข้าที่ส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ 20 อันดับแรกในปี 2551 ที่มีการขยายตัวที่ต้องจับตาได้แก่หมวดพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันดิบ มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 1 เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 48.45 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันของรัฐบาลก่อนหน้า และอีกส่วนหนึ่งต้องจับตาคือการนำเข้าทองคำที่ไม่ใช่เงินตราและมีลักษณะเก็งกำไรแบบไม่ระวังโดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 270
ส่วนยอดส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปขายต่างประเทศ 20 อันดับแรก พบว่ารายการสินค้าที่หดตัวลงมี 2 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจแผงวงจรไฟฟ้าหดตัวลงร้อยละ 13.98 และเครื่องจักรหดตัวลงร้อยละ 2.95 ส่วนที่ยังขยายตัวแต่ขยายตัวได้น้อยลงได้แก่ ธุรกิจประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์, เม็ดพลาสติก, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์, เคมีภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือธุรกิจที่ขยายตัวได้น้อยลง หรือหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างประเทศ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับสินค้าเงินผ่อน ซึ่งได้รับผลกระทบจากความล่มสลายของกลุ่มธุรกิจการเงินในต่างประเทศ และแน่นอนว่าจะต้องมีการปลดและลดพนักงานลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปี 2552 นี้
ส่วนสินค้าส่งออกที่มีอัตราขยายตัวเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าปีก่อนหน้า กลับเป็นสินค้าที่เป็นธุรกิจของคนไทยและมีความเกี่ยวพันกับสินค้าในประเทศมากกว่า ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.67, น้ำมันสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 93.14, ยางพาราขยายตัวร้อยละ 20.42, ข้าวขยายตัวร้อยละ 78.92, ผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 24.52, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปขยายตัวร้อยละ 23.38, เสื้อผ้าสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 1.21, เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบขยายตัวร้อยละ 21.96, เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวขยายตัวร้อยละ 66.33 เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้น่าจะมีการจ้างงานหรือการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเวลาเดียวกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือจากการเปิดเผยของผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้านั้น คิดจะตั้งกองทุนที่มาจากภาษีของประชาชนไปปล่อยกู้และค้ำประกันการส่งออก ในธุรกิจที่อ้างว่าถูกผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก เช่น กลุ่มอัญมณี กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่กำลังขยายตัวได้เป็นอย่างดีในปี 2551!!?
การตั้งกองทุนค้ำประกันการส่งออก 5,000 ล้านบาท นั้นจะมีเหตุผลและจะช่วยการส่งออกจริงหรือไม่ และมีเหตุจำเป็นหรือไม่ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบดังนี้
ประการแรก การตั้งกองทุนค้ำประกันการส่งออกจำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาผู้ซื้อในต่างประเทศไม่ชำระค่าสินค้า โดยที่ผู้ส่งออกสามารถมาซื้อประกันกับธนาคารได้ผ่านกองทุนดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องในหลักการหรือไม่ และแก้ไขปัญหาตรงจุดหรือไม่ เมื่อระบบการค้าระหว่างประเทศเขาใช้เครื่องมือทางการเงินที่เป็นที่ยอมรับในสากลที่เรียกว่า เลตเตอร์ ออฟ เครดิต (Irrevocable Letter of Credit) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แอลซี” ที่ลูกค้าต้องเปิดแอลซี ให้กับผู้ส่งออกเป็นหลักค้ำประกันว่าเมื่อผู้ส่งออกได้ส่งสินค้าแล้วจะต้องได้รับเงินจากธนาคารโดยตัดภาระผูกพันออกจากลูกค้าทันที ไม่ว่าลูกค้ารายนั้นจะจ่ายเงินให้กับธนาคารพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม
เมื่อธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศที่ใช้แอลซี อยู่ในธุรกรรมอันเป็นปกติของธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าอย่างมีกฎเกณฑ์การควบคุมตามมาตรฐานธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของกฎการพึงปฏิบัติฉบับ 600 ของสภาหอการค้าสากล (UCP ICC 600,Uniform Custom Practice International Chamber Of Commerce) ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก
หลักประกันตามวิธีปกติมีความมั่นคงขนาดไหน ดูตัวอย่างขนาดกรุงเทพมหานคร ได้เปิด “แอลซี” ไปซื้อรถและเรือดับเพลิง แม้สงสัยว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง แต่เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งมอบสินค้าไปแล้ว ธนาคารพาณิชย์ผู้เปิดแอลซีก็ต้องมีหน้าที่จ่ายเงินอย่างไม่มีทางเลือก ไม่สามารถสั่งยกเลิกได้เพราะอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสภาหอการค้าสากล และสุดท้ายข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาก็ต้องใช้วิธีไล่เบี้ยฟ้องร้องกันเองในภายหลัง
เมื่อระบบการค้าสากลมีอยู่แล้ว จะเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ที่รัฐบาลจะต้องนำเงินจากกระทรวงการคลังซึ่งเป็นภาษีประชาชนมาค้ำประกันผู้ส่งออกแทนระบบมาตรฐานสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วในทุกประเทศ
ประการที่สอง การเรียกร้องให้นำเงินจากกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศ ไปตั้งเป็นกองทุนโอบอุ้มผู้ส่งออกเพียงไม่กี่ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกกลุ่มธุรกิจที่กำลังขยายตัวในปี 2551 เป็นอย่างดี? นำเงิน 5,000 ล้านบาท ไปช่วยเหลือกลุ่มอื่นจะเกิดประโยชน์ในด้านงบประมาณกว่าหรือไม่?
ประการที่สาม การตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท แทนการส่งเสริมให้ระบบที่มีอยู่แล้วทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะกลายเกิดปฏิกิริยามุมกลับทำให้เกิดการฉ้อฉลได้ง่ายขึ้นหรือไม่? ตัวอย่างเช่น การที่ผู้ส่งออกสมคบกับลูกค้าในต่างประเทศไม่ต้องจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกเพื่อที่จะได้ใช้เงินจากกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกและแบ่งปันผลประโยชน์กันเองนอกประเทศ หรือแม้แต่ลูกค้าในต่างประเทศไม่ยอมจ่ายเงินให้กับผู้ส่งออกประเทศไทย แน่ใจหรือว่าประสิทธิภาพการสู้คดีนอกประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าจะมีปัญญาทวงหนี้คืนมาได้ง่ายๆ เอาแค่พ.ต.ท.ทักษิณ นักโทษหนีอาญาแผ่นดินรัฐบาลยังแทบไม่มีปัญญานำตัวกลับมาประเทศได้เลยในทุกวันนี้
ลำพังเพียงแค่การโกงภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกลม ก็ต้องเร่งติดตามแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว ถ้าวันใดที่กองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกเน่าเหม็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ใส่เงินในกองทุนนี้ จะต้องหนีไม่พ้นตกเป็นแพะแน่นอน!
ประการที่สี่ ในกรณีมีประเด็นแย้งว่าในบางกรณีลูกค้าต่างชาติไม่อยากจะเปิดแอลซี ให้กับผู้ส่งออกในประเทศไทย เหตุใดรัฐบาลไม่สร้างแรงจูงใจการเปิดแอลซีด้วยระบบส่งเสริมการจัดเทอมการชำระเงินระยะยาว (Supplier Credit) ให้กับลูกค้าในต่างประเทศ ภายใต้การเปิดแอลซี และสร้างกลไกเพิ่มเติมด้วยการสร้างตลาดรองในการซื้อตั๋วระยะยาว ที่เรียกว่า Offshore Banking เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ส่งออกได้รับเงินสดทันทีที่ส่งมอบสินค้า เหมือนกับที่ประเทศสิงคโปร์ที่มีธนาคารที่ไม่รับเงินฝากประเภทนี้นับหลายร้อยแห่งทำหน้าที่รับซื้อตั๋วเทอมระยะยาวของผู้ส่งออกภายใต้การเปิดแอลซี
เมื่อนั้นประเทศไทยก็จะสามารถรุกทางการตลาดเพิ่มขึ้นโดยลูกค้าในต่างประเทศที่ซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะได้เทอมการชำระเงินที่ยาว ส่วนผู้ส่งออกก็จะมีหลักประกันทางด้านการเงินที่เป็นแอลซี และสามารถไปขายลดเพื่อให้ได้เงินสดทันทีที่ส่งมอบสินค้าได้
การส่งออกจะช่วยกันส่งเสริมได้ยังสามารถทำได้อีกหลายวิธี ทั้งเรื่องค่าเงิน, ระบบภาษี, ดอกเบี้ย, การขนส่ง, และต้นทุนพลังงาน ซึ่งคงไม่ใช่การนำเงิน 5,000 ล้านบาท มาผลาญเป็นกองทุนค้ำประกันผู้ส่งออกแน่นอน!