ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.หวั่นเงินกู้ "เวิลด์แบงก์-เอดีบี-ไจก้า" 7 หมื่นล้าน อาจเบิกจ่ายไม่ทันการตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใน 3 เดือน เหตุเป็นสัญญาระหว่างประเทศ ต้องเข้าสภาทำประชาพิจารณ์ คาดเลื่อนไปใช้ในปีงบ 53 แทน
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงแผนกู้เงินจากต่างประเทศวงเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ผ่านมาอนุมัติของคณะรัฐมนตรีว่า ในส่วนของการกู้เงินจาก ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) นั้นถือเป็นการทำสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องนำเสนอเข้าสภาฯให้ความเห็นชอบก่อน ซึ่งต่างจากเงินกู้ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ที่ไม่เข้าข่ายสัญญาระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ มองว่ากว่าจะนำเสนอโครงการเงินกู้เข้าสภา และทำประชาพิจารณ์จากนั้นจึงค่อนเสนอโครงการขอใช้เงินเข้าไปใหม่นั้นคงต้องใช้ระยะเวลานาน และอาจไม่ทันตามแผนการของรัฐบาลที่ต้องการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวภายใน 3 เดือน สำหรับนำมาเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่างๆ และลงทุนในโครงการที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจต้องเลื่อนไปใช้ในปีงบประมาณ 2553 แทนหรืออย่างเร็วก็ปลายปีงบ 2552
“ถือเป็นครั้งแรกที่การขอกู้เงินจากเอดีบีและธนาคารโลกต้องนำเข้าสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้ขั้นตอนต่างๆ จึงอาจจะล่าช้ากว่าปกติ และการเบิกเงินกู้อาจไม่ทันการ ซึ่งหากไม่ได้เบิกเงินกู้ก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะเป็นข้อตกลงในเบื้องต้นและขณะนี้ทั้ง 3 องค์กรก็ยังไม่ได้นำเสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติเพราะรอดูท่าทีและความชัดเจนจากไทยก่อน จึงยังไม่ได้กำหนดวงเงินแน่นอนว่าแต่ละแห่งจะให้กู้เท่าใด” นายจักรกฤฏิ์กล่าว
ในส่วนของโครงการใช้เงินนั้นไม่น่าจะมีปัญหา เพราะก่อนหน้านี้มีโครงการที่ผ่านความเห็นชอบของสภาพัฒน์ฯ แล้วหลายโครงการ แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ อาจเพราะติดขัดเรื่องวงเงินและความต่อเนื่องของนโยบาย หากหยิบโครงการเกาๆ พวกนี้มาดำเนินการก่อนก็น่าจะเป็นประโยชน์และทำได้เร็วขึ้น
ขณะที่ก่อนหน้านี้รมว.คลังระบุว่าจะนำเงินกู้ก้อนดังกล่าวมาเพิ่มทุนให้ธนาคารเฉพาะกิจส่วนหนึ่งประกอบด้วย 3 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.).
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงแผนกู้เงินจากต่างประเทศวงเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ผ่านมาอนุมัติของคณะรัฐมนตรีว่า ในส่วนของการกู้เงินจาก ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) นั้นถือเป็นการทำสัญญาระหว่างประเทศ จึงต้องนำเสนอเข้าสภาฯให้ความเห็นชอบก่อน ซึ่งต่างจากเงินกู้ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ที่ไม่เข้าข่ายสัญญาระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ มองว่ากว่าจะนำเสนอโครงการเงินกู้เข้าสภา และทำประชาพิจารณ์จากนั้นจึงค่อนเสนอโครงการขอใช้เงินเข้าไปใหม่นั้นคงต้องใช้ระยะเวลานาน และอาจไม่ทันตามแผนการของรัฐบาลที่ต้องการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวภายใน 3 เดือน สำหรับนำมาเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่างๆ และลงทุนในโครงการที่ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจต้องเลื่อนไปใช้ในปีงบประมาณ 2553 แทนหรืออย่างเร็วก็ปลายปีงบ 2552
“ถือเป็นครั้งแรกที่การขอกู้เงินจากเอดีบีและธนาคารโลกต้องนำเข้าสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้ขั้นตอนต่างๆ จึงอาจจะล่าช้ากว่าปกติ และการเบิกเงินกู้อาจไม่ทันการ ซึ่งหากไม่ได้เบิกเงินกู้ก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะเป็นข้อตกลงในเบื้องต้นและขณะนี้ทั้ง 3 องค์กรก็ยังไม่ได้นำเสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติเพราะรอดูท่าทีและความชัดเจนจากไทยก่อน จึงยังไม่ได้กำหนดวงเงินแน่นอนว่าแต่ละแห่งจะให้กู้เท่าใด” นายจักรกฤฏิ์กล่าว
ในส่วนของโครงการใช้เงินนั้นไม่น่าจะมีปัญหา เพราะก่อนหน้านี้มีโครงการที่ผ่านความเห็นชอบของสภาพัฒน์ฯ แล้วหลายโครงการ แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการใดๆ อาจเพราะติดขัดเรื่องวงเงินและความต่อเนื่องของนโยบาย หากหยิบโครงการเกาๆ พวกนี้มาดำเนินการก่อนก็น่าจะเป็นประโยชน์และทำได้เร็วขึ้น
ขณะที่ก่อนหน้านี้รมว.คลังระบุว่าจะนำเงินกู้ก้อนดังกล่าวมาเพิ่มทุนให้ธนาคารเฉพาะกิจส่วนหนึ่งประกอบด้วย 3 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.).