รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันที่กำลังทะยานสูงขึ้นสืบเนื่องจากกระแสความไม่สงบในตะวันออกกลาง ถ้าหากยังยืนอยู่ในระดับนี้ไปสัก 1 ปี ก็จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างมากต่อบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ทว่าไม่ถึงกับสร้างความเสียหายหนักให้แก่เศรษฐกิจของพวกเขาที่ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่งภายหลังวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 3 ปีก่อน ทั้งนี้เป็นความเห็นของเจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้จัดการส่วนเศรษฐศาสตร์โลก ของเวิลด์แบงก์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ (28ก.พ.) ว่า ถ้าน้ำมันยังคงสูงไปอีก 1 ปีหรือกว่านั้น ก็จะทำให้อัตราเติบโตของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาหดหายไประหว่าง 0.2-0.4% ทว่าคงไม่มากพอที่จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ต้องเสียกระบวนไปเลย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลกผู้นี้บอกด้วยว่า การที่น้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น 15-20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าห่วงใย แต่ไม่ถึงกับเป็น “เหตุการณ์ที่สร้างความวิบัติหายนะ” ให้แก่พวกประเทศกำลังพัฒนา ที่เวลานี้กำลังขยายตัวกันในระดับราวๆ 6% หรือกว่านั้น
“สมมติว่าสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือไม่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เราก็ควรที่จะได้เห็นราคาเหล่านี้หวนกลับลงมาสู่ระดับที่เราเห็นกันในเดือนธันวาคม” เบิร์นส์บอก “ในสถานการณ์เช่นนั้น ผลกระทบก็จะค่อนข้างน้อยนิด”
แต่ถ้าความไม่แน่นอนทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยืดเยื้อออกไป พวกประเทศกำลังพัฒนาก็จะเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น
อย่างไรก็ดี เบิร์นส์ไม่คิดว่าราคาน้ำมันจะพุ่งโด่งทะลุฟ้าจนแตะระดับ 147.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2008 โดยเขาชี้ว่าตอนที่น้ำมันแพงลิบเมื่อ 3 ปีก่อนนั้น กำลังความสามารถในด้านน้ำมันของโลก เช่น การผลิต, การกลั่น ต่างก็อยู่ในระดับที่ต่ำเตี้ยเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ในปัจจุบัน กำลังความสามารถด้านน้ำมันยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอ ไม่ว่าในสหรัฐฯ, ยุโรป, หรือประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงจากความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้จัดการส่วนเศรษฐศาสตร์โลก ของเวิลด์แบงก์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ (28ก.พ.) ว่า ถ้าน้ำมันยังคงสูงไปอีก 1 ปีหรือกว่านั้น ก็จะทำให้อัตราเติบโตของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาหดหายไประหว่าง 0.2-0.4% ทว่าคงไม่มากพอที่จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ต้องเสียกระบวนไปเลย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลกผู้นี้บอกด้วยว่า การที่น้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น 15-20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าห่วงใย แต่ไม่ถึงกับเป็น “เหตุการณ์ที่สร้างความวิบัติหายนะ” ให้แก่พวกประเทศกำลังพัฒนา ที่เวลานี้กำลังขยายตัวกันในระดับราวๆ 6% หรือกว่านั้น
“สมมติว่าสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือไม่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เราก็ควรที่จะได้เห็นราคาเหล่านี้หวนกลับลงมาสู่ระดับที่เราเห็นกันในเดือนธันวาคม” เบิร์นส์บอก “ในสถานการณ์เช่นนั้น ผลกระทบก็จะค่อนข้างน้อยนิด”
แต่ถ้าความไม่แน่นอนทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยืดเยื้อออกไป พวกประเทศกำลังพัฒนาก็จะเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น
อย่างไรก็ดี เบิร์นส์ไม่คิดว่าราคาน้ำมันจะพุ่งโด่งทะลุฟ้าจนแตะระดับ 147.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2008 โดยเขาชี้ว่าตอนที่น้ำมันแพงลิบเมื่อ 3 ปีก่อนนั้น กำลังความสามารถในด้านน้ำมันของโลก เช่น การผลิต, การกลั่น ต่างก็อยู่ในระดับที่ต่ำเตี้ยเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ในปัจจุบัน กำลังความสามารถด้านน้ำมันยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอ ไม่ว่าในสหรัฐฯ, ยุโรป, หรือประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงจากความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ