ราคาน้ำมันที่กำลังทะยานสูงขึ้นสืบเนื่องจากกระแสความไม่สงบในตะวันออกกลาง ถ้าหากยังยืนอยู่ในระดับนี้ไปสัก 1 ปี ก็จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างมากต่อบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ทว่าไม่ถึงกับสร้างความเสียหายหนักให้แก่เศรษฐกิจของพวกเขาที่ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่งภายหลังวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 3 ปีก่อน ทั้งนี้เป็นความเห็นของเจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้จัดการส่วนเศรษฐศาสตร์โลก ของเวิลด์แบงก์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ (28ก.พ.) ว่า ถ้าน้ำมันยังคงสูงไปอีก 1 ปีหรือกว่านั้น ก็จะทำให้อัตราเติบโตของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาหดหายไประหว่าง 0.2 – 0.4% ทว่าคงไม่มากพอที่จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ต้องเสียกระบวนไปเลย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลกผู้นี้บอกด้วยว่า การที่น้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น 15 – 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าห่วงใย แต่ไม่ถึงกับเป็น “เหตุการณ์ที่สร้างความวิบัติหายนะ” ให้แก่พวกประเทศกำลังพัฒนา ที่เวลานี้กำลังขยายตัวกันในระดับราวๆ 6% หรือกว่านั้น
แอนดริว เบิร์นส์ ผู้จัดการส่วนเศรษฐศาสตร์โลก ของเวิลด์แบงก์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันจันทร์ (28ก.พ.) ว่า ถ้าน้ำมันยังคงสูงไปอีก 1 ปีหรือกว่านั้น ก็จะทำให้อัตราเติบโตของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาหดหายไประหว่าง 0.2 – 0.4% ทว่าคงไม่มากพอที่จะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของชาติเหล่านี้ต้องเสียกระบวนไปเลย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลกผู้นี้บอกด้วยว่า การที่น้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น 15 – 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา เป็นเรื่องน่าห่วงใย แต่ไม่ถึงกับเป็น “เหตุการณ์ที่สร้างความวิบัติหายนะ” ให้แก่พวกประเทศกำลังพัฒนา ที่เวลานี้กำลังขยายตัวกันในระดับราวๆ 6% หรือกว่านั้น