ไทยเตรียมกันทุนสำรองสมทบกองทุนเสริมสภาพคล่องอาเซียน 4 พันล้านเหรียญ พร้อมกันเงินงบประมาณเพิ่มทุนเอดีบีอีก 1 พันล้านเหรียญเริ่มปีงบ 53 หลังขออนุมติจากสภาฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากข้อตกลงร่วมกันของเวทีการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 ที่ขยายกรอบข้อตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) หรือ CMIM โดยขยายวงเงินจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องกลุ่มประเทศสมาชิกจาก 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเป็น 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐนั้น ในส่วนของ 20%หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญ ที่ประเทศอาเซียนต้องสมทบเข้ากองทุนนั้นคาดว่า 5 ประเทศใหญ่ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จะสมทบในอัตราเท่าๆ กันประเทศละประมาณ 4 พันล้านเหรียญ รวมเป็น 2 หมื่นล้านเหรียญส่วนที่เหลืออีก 4 พันล้านเหรียญน่าจะเฉลี่ยกันใน 5 ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก
“การสมทบเข้ากองทุนเสริมสภาพคล่องนี้เป็นข้อตกลงที่ไทยต้องนำเข้าสภาฯ ด้วย แม้ว่าเงินจะยังอยู่ที่เรา แต่ต้องมีการกันเงินทุนสำรองทางการในสัดส่วนดังกล่าวไว้พร้อมปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องให้ประเทศที่มีความต้องการกู้เงิน ซึ่งไทยไม่น่าจะมีปัญหาต้องใช้เงินกู้จากกองทุนดังกล่าวเหมือนบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ที่มีเงินทุนสำรองทางการเหลือเพียง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับไทยที่มีถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอินโดนีเซียก็ต้องกู้เงินจากญี่ปุ่นก่อนหน้านี้” แหล่งข่าวกล่าวและว่าแต่การสมทบเงินโดยไม่ได้ใช้ไม่ได้หมายความว่าจะสูญเปล่า เพราะการช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาเงินทุนไหลออกก็เท่ากับช่วยตัวเองทางอ้อมด้วยเพื่อไม่ให้ปัญหารุกลามในภูมิภาค
ในส่วนของ 5 ประเทศเล็กนั้นมีเงินทุนสำรองทางการในระดับที่สามารถสมทบได้ ทั้งลาว พม่า เวียดนาม แต่เบื้องต้นอาจสมทบได้ในวงเงินไม่สูงมากนัก ส่วนการกู้เงินเสริมสภาพคล่องนั้นจะมีการกำหนดอีกครั้งว่าแต่ละประเทศสามารถกู้ได้กี่เท่าของเงินที่สมทบเข้ามาในกองทุน
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบีในสัดส่วน 200% หรือประมาณ 1.12 แสนล้านเหรียญนั้น ประเทศสมาชิกต้องใส่เงินเพิ่มทุนตามขนาดของเศรษฐกิจ โดยมีสหรัฐและญี่ปุ่นใส่เงินสูงสุดที่ 17% เท่ากัน ขณะที่ไทยจะเพิ่มทุนเพียง 1% หรือประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยจะทยอยใส่เงินเพิ่มทุน 5 ปีๆละ 200 ล้านเหรียญหรือ 7 พันล้านบาท ซึ่งจะนำมาจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี หากนำเข้าขออนุมติจากสภาฯก็น่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบ 2553 ที่อยู่ระหว่างพิจารณาจัดสรรวงเงินในขณะนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากข้อตกลงร่วมกันของเวทีการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 ที่ขยายกรอบข้อตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) หรือ CMIM โดยขยายวงเงินจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องกลุ่มประเทศสมาชิกจาก 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเป็น 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐนั้น ในส่วนของ 20%หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญ ที่ประเทศอาเซียนต้องสมทบเข้ากองทุนนั้นคาดว่า 5 ประเทศใหญ่ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จะสมทบในอัตราเท่าๆ กันประเทศละประมาณ 4 พันล้านเหรียญ รวมเป็น 2 หมื่นล้านเหรียญส่วนที่เหลืออีก 4 พันล้านเหรียญน่าจะเฉลี่ยกันใน 5 ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก
“การสมทบเข้ากองทุนเสริมสภาพคล่องนี้เป็นข้อตกลงที่ไทยต้องนำเข้าสภาฯ ด้วย แม้ว่าเงินจะยังอยู่ที่เรา แต่ต้องมีการกันเงินทุนสำรองทางการในสัดส่วนดังกล่าวไว้พร้อมปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องให้ประเทศที่มีความต้องการกู้เงิน ซึ่งไทยไม่น่าจะมีปัญหาต้องใช้เงินกู้จากกองทุนดังกล่าวเหมือนบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ที่มีเงินทุนสำรองทางการเหลือเพียง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับไทยที่มีถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอินโดนีเซียก็ต้องกู้เงินจากญี่ปุ่นก่อนหน้านี้” แหล่งข่าวกล่าวและว่าแต่การสมทบเงินโดยไม่ได้ใช้ไม่ได้หมายความว่าจะสูญเปล่า เพราะการช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาเงินทุนไหลออกก็เท่ากับช่วยตัวเองทางอ้อมด้วยเพื่อไม่ให้ปัญหารุกลามในภูมิภาค
ในส่วนของ 5 ประเทศเล็กนั้นมีเงินทุนสำรองทางการในระดับที่สามารถสมทบได้ ทั้งลาว พม่า เวียดนาม แต่เบื้องต้นอาจสมทบได้ในวงเงินไม่สูงมากนัก ส่วนการกู้เงินเสริมสภาพคล่องนั้นจะมีการกำหนดอีกครั้งว่าแต่ละประเทศสามารถกู้ได้กี่เท่าของเงินที่สมทบเข้ามาในกองทุน
สำหรับการเพิ่มทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบีในสัดส่วน 200% หรือประมาณ 1.12 แสนล้านเหรียญนั้น ประเทศสมาชิกต้องใส่เงินเพิ่มทุนตามขนาดของเศรษฐกิจ โดยมีสหรัฐและญี่ปุ่นใส่เงินสูงสุดที่ 17% เท่ากัน ขณะที่ไทยจะเพิ่มทุนเพียง 1% หรือประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยจะทยอยใส่เงินเพิ่มทุน 5 ปีๆละ 200 ล้านเหรียญหรือ 7 พันล้านบาท ซึ่งจะนำมาจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี หากนำเข้าขออนุมติจากสภาฯก็น่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบ 2553 ที่อยู่ระหว่างพิจารณาจัดสรรวงเงินในขณะนี้