…ถึงแม้ผมจะต้องอยู่ต่างประเทศอีกนาน แต่ผมจะไม่ยอมตายในต่างประเทศแน่นอน อย่างมากที่สุด ผมสู้ไม่ได้ ผมก็จะแอบลักลอบเข้าไปตายในอีสาน…
คำพูดประโยคนี้ของคุณทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีที่ยังไม่มีผู้ใดรู้แหล่งพำนัก (แต่ส.ส.พรรคเพื่อไทยทุกคนรู้เบอร์ติดต่อ) กำลังชี้ให้เราเห็นว่า เขาได้เลือกแล้ว ซึ่งวาระสุดท้ายของเขาระหว่างการยอมให้เป็นไปตามคำทำนาย คือ..ยอมตายในต่างแดนโดยไม่มีแผ่นดินแม่กลบฝังร่าง..กับการเสี่ยงลากสังขารกลับมาตายยังบ้านเกิดเมืองนอน
ที่บอกว่า คุณทักษิณอาจจะได้เลือกแล้วระหว่างสองหนทางนี้ เพราะถ้าจะพินิจพิจารณาให้ดี บรรดาอดีตผู้นำต่างชาติ ที่มีชะตาชีวิตละม้ายคล้ายคุณทักษิณ ล้วนมีจุดจบชีวิตไม่เกิน 2 ทางนี้ทั้งนั้น นั่นคือ ไม่ตายในคุกในประเทศ ตายระหว่างรอการตัดสินคดี ก็หนีไปตายเงียบๆ นอกประเทศเยี่ยงผู้ลี้ภัย ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์ดินาน มาร์กอส อดีตผู้นำฟิลิปปินส์ / ออร์กุสโต้ ปิโนเช่ต์ อดีตผู้นำชิลี/ อัลแบร์โต้ ฟูจิโมริ อดีตผู้นำเปรู ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งช่องปากในคุก หรือแม้แต่ อีดี้ อาร์มิน อดีตผู้นำใจทมิฬ แห่งอูกันดา ที่ต้องหลบไปตายนอกบ้านเกิด
ก่อนหน้านี้ นิตยสารไทม์ เคยลงบทความพาดพิงชะตาชีวิต คุณทักษิณ หลังการเดินทางออกนอกประเทศ และถูกศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 2 ปีในคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ บทความของรอยเตอร์ใช้คำว่า Having a harder time finding a new place to call home อันเป็นการสะท้อนภาพคุณทักษิณในปัจจุบันว่า “แทบไม่มีที่ไป” เห็นได้จากคำสารภาพของชายต้องคำพิพากษา ที่เคยร้องทุกข์ผ่านการโฟนอินครั้งเก่าก่อนว่า “ปัจจุบันแม้โลกจะกว้าง แต่หนทางได้แคบแล้วสำหรับเขา” นั่นเท่ากับเป็นการยืนยันความถูกต้องของข่าว รัฐบาลดูไบถูกประท้วงในฐานะให้ที่พักพิงผู้ประสงค์ร้ายต่อราชอาณาจักรไทย, ข่าวการบอยคอตไม่ให้เข้าประเทศญี่ปุ่นรวมถึงจีน หรือแม้แต่ข่าวการถูกลูกน้องเจ้าพ่อน้ำเค็ม “ปฏิบัติการเอาคืน” ระหว่างหลบไปพักที่เกาะกง
มีคนมองล้ำหน้าไปยังจุบจบของอดีตนายกฯ ผู้เคยยิ่งใหญ่ว่า สุดท้ายอาจต้องตกระกำลำบากในบั้นปลายไม่ต่างจากอดีตผู้นำต่างชาติ อย่าง เฟอร์ดินาน มาร์กอสแห่งฟิลิปปินส์ และอีดี้ อามิน แห่งอูกันดา โดยทั้งสองมีสภาพเดียวกัน คือต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศจนเสียชีวิต
เฟอร์ดินาน มาร์กอส เคยครองอำนาจในฟิลิปปินส์มายาวนาน 21 ปี (ระหว่างปี 1965 – 86) แม้จะอ้างว่าใช้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่สิ่งที่มาร์กอสทำกลับตรงกันข้าม ทั้งนำกฎหมายบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (บ้านเรารู้จักดี สมัยที่มี ‘เนติบริกร’ เกิดขึ้น) การประกาศกฎอัยการศึก คุมอำนาจทางทหารไว้ในมือ แทรกแซงสื่อ ผูกขาดทรัพยากรชาติ อำนาจ และความมั่งคั่งให้วงวานว่านเครือ ขณะที่ประเทศเป็นหนี้เป็นสิน ประชาชนยากแค้น จนนำไปสู่ปรากฏการณ์โค่นอำนาจมาร์กอส หรือที่เรารู้จักในนาม People Power Revolution สุดท้ายเขาและครอบครัวต้องหนีออกนอกประเทศ โดยลงเรือและต่อเฮลิคอปเตอร์ออกจากทำเนียบมาลากันยัง เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 1986 ลี้ภัยไปอาศัยที่เกาะกวม ก่อนจะตายอย่างเงียบๆ ที่ฮาวาย
มีนักวิจารณ์เคยเปรียบเทียบวิธีการสร้างฐานคะแนนนิยม หรือประชาธิปไตยจอมปลอม วิธีการบริหารประเทศแบบระบอบทักษิณกับระบอบมาร์กอส ว่าเหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน ทั้งมาร์กอสและทักษิณต่างส่งคนที่ไว้ใจได้ไปกุมหน่วยงานอย่างกรมสรรพากรในช่วงที่เรืองอำนาจ โดยอดีตประธานาธิบดีมาร์กอส ส่งญาติภรรยาไปเป็นอธิบดีกรมสรรพากร ทำให้ธุรกิจของเขาทั้งหมดรอดพ้นจากการถูกเก็บภาษี
.. แต่ไม่มีใครรู้ว่า จุดจบของมาร์กอส และทักษิณจะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ จากที่เคยเป็นผู้นำที่ประชาชนฟิลิปปินส์ทั้งรัก และศรัทธา เป็นอัศวินของบ้านของเมือง แต่สุดท้าย เขากลับกลายเป็นชายที่ชาวฟิลิปปินส์เกลียดมากที่สุด บั้นปลายท้ายชีวิตของเขาและครอบครัวไม่มีแผ่นดินอยู่ ชาวฟิลิปปินส์ไม่ยอมให้เขากลับประเทศที่เขาคดโกง ประเทศที่ถูกทำลายด้วยมือของเขา และคนในตระกูลของเขา วาระสุดท้าย มาร์กอสตายที่ฮาวาย ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2532
อดีตผู้นำทรราชบางส่วนก็เลือกที่จะกระเสือกกระสน กลับมาตายยังบ้านเกิดตัวเอง และส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตระหว่างถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดี ยกตัวอย่าง เพื่อนซี้คุณทักษิณ ที่เคยประกาศจะเชิญมารวม Club of Leader โดยคุณทักษิณคงยังไม่ได้เดินทางไปเยี่ยมเพื่อนอย่างอดีตประธานาธิบดี ฟูจิโมริ อดีตผู้นำเปรู ปัจจุบันอายุ 69 ปี เพิ่งจะเข้ารับการผ่าตัดแผลในช่องปากและลิ้นเพื่อรักษาโรคมะเร็ง จนเป็นเหตุให้ศาลเปรูต้องเลื่อนการไต่สวนคดีก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ที่ดำเนินการไต่สวนมาเกือบ 6 เดือนแล้ว คดีของฟูจิโมริเกี่ยวข้องกับการถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย 25 คน และถ้าศาลพิสูจน์ได้ว่า เขามีความผิดจริง
เขาอาจต้องตายในคุกเปรู เพราะต้องติดตารางนานถึง 30 ปี
ฟูจิโมริ เคยถูกนำมาเปรียบเทียบว่า มีอะไรหลายอย่างคล้ายคุณทักษิณเช่นกัน โดยหลังจากอดีตผู้นำเปรูขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 สิบปีต่อมาเขาต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น เพราะถูกข้อหาคอร์รัปชันโดยมีคนสนิทเป็นหัวเรือใหญ่ในการดำเนินการ รวมไปถึงการพัวพันคดียาเสพติด และคดีอุ้มฆ่าประชาชน
อดีตผู้นำเปรูมีพฤติกรรมชอบใช้ ลูกน้องมือขวาที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าตำรวจลับ คอยเป็นไม้เป็นมือ จ่ายสินบน ส.ส.ฝ่ายค้าน ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และสื่อมวลชน เพื่อกำจัดการตรวจสอบ สุดท้ายพฤติกรรมการให้สินบนของคนสนิทนายฟูจิโมริกลับเสียท่า ถูกเคเบิลทีวีรายเล็กที่ไม่ได้รับสินบนอยู่ช่องเดียว นำหลักฐานมาเปิดเผย จนหัวหน้าตำรวจนายนั้นถูกจับขังคุก และนายใหญ่ ของมันต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น
ฟูจิโมริหนีไปญี่ปุ่น ก็ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นที่เดียวกับที่คุณทักษิณเคยไปบรรยาย หลังถูกรัฐประหาร 19 กันยาฯ แต่ด้วยความไม่ยอมหยุดนิ่งทางการเมือง ปี 2548 ฟูจิโมริมีแผนเดินทางไปเยือนชิลีกะทันหัน บางกระแสข่าวว่าเขาเคลื่อนไหวเพื่อหาทางกลับไปเป็นใหญ่อีกครั้งที่เปรูบ้านเกิด แต่ผลจากการเยือนชิลี ทำให้เขาถูกทางการชิลีจับกุม และกักบริเวณก่อนศาลชิลีจะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับกรรมยังบ้านเกิดเมืองนอน
อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของฟูจิโมริตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เปรู – ญี่ปุ่น ต้องบาดหมาง ก่อนจะมาเยียวยากันใหม่ในภายหลัง และเชื่อหรือไม่ สมัยที่ฟูจิโมริยังไม่หยุดเคลื่อนไหวทำลายประเทศ ทายาทของเขาเคยคิดจะผลิตน้ำอัดลม โดยใช้แบรนด์ “ฟูจิ - โคล่า” เพื่อปลุกกระแสผู้สนับสนุน และหาสตางค์มาเคลื่อนไหวการเมืองด้วย (ไม่รู้เหมือนเครื่องดื่มความจริงวันนี้หรือเปล่า 555 )
ส่วนอดีตผู้นำคนสุดท้ายที่ตายในบ้านเกิดเช่นกัน ก็คือ นายพลออกุสโต ปิโนเชต์ อดีตผู้บัญชาการทหารชิลี เขาถูกกล่าวหาทำการลักพา ทรมาน สังหารหมู่ประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี 1973 – 90 ที่เขาปกครอง ว่ากันว่า มีคนต้องตายด้วยน้ำมือเขาราวสามพันคน อีกหลายหมื่นคนถูกทรมาน และกว่าสองแสนคนต้องหนีภัยออกนอกประเทศ
หลังลงจากอำนาจ ปิโนเชต์ลี้ภัยไปต่างประเทศ ก่อนที่ปี 1998 เขาจะถูกจับกุมตัวระหว่างพักฟื้นหลังเข้ารับการผ่าตัดหลัง ในย่านเซอร์เรย์ กรุงลอนดอนของอังกฤษ ย่านเดียวกับที่คุณทักษิณเคยอยู่สมัยลี้ภัยในลอนดอน แต่ต่อมาอังกฤษก็ส่งตัวปิโนเชต์ข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ศาลชิลีในปี 2000
หลังจากกลับมาชิลีนั้นมีการพยายามจะนำตัวปิโนเชต์ เข้ารับโทษในข้อหาต่างๆ แต่เขาก็หลุดรอดมาได้ แต่สุดท้ายศาลตัดสินตามคำร้องขอของญาติๆ ว่าปิโนเชต์ กลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
10 ธันวาคม 2549 คือวันสิ้นลมของอดีตผู้นำชิลี แต่กลับเป็นวันที่ผู้คนในชิลีจัดงานเฉลิมฉลองกันยกใหญ่ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างถมน้ำลายรดหลุมศพ อดีตผู้นำ และเสียใจที่เขาหนีการขึ้นศาลไปยังปรโลกจนได้
คำพูดประโยคนี้ของคุณทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีที่ยังไม่มีผู้ใดรู้แหล่งพำนัก (แต่ส.ส.พรรคเพื่อไทยทุกคนรู้เบอร์ติดต่อ) กำลังชี้ให้เราเห็นว่า เขาได้เลือกแล้ว ซึ่งวาระสุดท้ายของเขาระหว่างการยอมให้เป็นไปตามคำทำนาย คือ..ยอมตายในต่างแดนโดยไม่มีแผ่นดินแม่กลบฝังร่าง..กับการเสี่ยงลากสังขารกลับมาตายยังบ้านเกิดเมืองนอน
ที่บอกว่า คุณทักษิณอาจจะได้เลือกแล้วระหว่างสองหนทางนี้ เพราะถ้าจะพินิจพิจารณาให้ดี บรรดาอดีตผู้นำต่างชาติ ที่มีชะตาชีวิตละม้ายคล้ายคุณทักษิณ ล้วนมีจุดจบชีวิตไม่เกิน 2 ทางนี้ทั้งนั้น นั่นคือ ไม่ตายในคุกในประเทศ ตายระหว่างรอการตัดสินคดี ก็หนีไปตายเงียบๆ นอกประเทศเยี่ยงผู้ลี้ภัย ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์ดินาน มาร์กอส อดีตผู้นำฟิลิปปินส์ / ออร์กุสโต้ ปิโนเช่ต์ อดีตผู้นำชิลี/ อัลแบร์โต้ ฟูจิโมริ อดีตผู้นำเปรู ซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็งช่องปากในคุก หรือแม้แต่ อีดี้ อาร์มิน อดีตผู้นำใจทมิฬ แห่งอูกันดา ที่ต้องหลบไปตายนอกบ้านเกิด
ก่อนหน้านี้ นิตยสารไทม์ เคยลงบทความพาดพิงชะตาชีวิต คุณทักษิณ หลังการเดินทางออกนอกประเทศ และถูกศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุก 2 ปีในคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาฯ บทความของรอยเตอร์ใช้คำว่า Having a harder time finding a new place to call home อันเป็นการสะท้อนภาพคุณทักษิณในปัจจุบันว่า “แทบไม่มีที่ไป” เห็นได้จากคำสารภาพของชายต้องคำพิพากษา ที่เคยร้องทุกข์ผ่านการโฟนอินครั้งเก่าก่อนว่า “ปัจจุบันแม้โลกจะกว้าง แต่หนทางได้แคบแล้วสำหรับเขา” นั่นเท่ากับเป็นการยืนยันความถูกต้องของข่าว รัฐบาลดูไบถูกประท้วงในฐานะให้ที่พักพิงผู้ประสงค์ร้ายต่อราชอาณาจักรไทย, ข่าวการบอยคอตไม่ให้เข้าประเทศญี่ปุ่นรวมถึงจีน หรือแม้แต่ข่าวการถูกลูกน้องเจ้าพ่อน้ำเค็ม “ปฏิบัติการเอาคืน” ระหว่างหลบไปพักที่เกาะกง
มีคนมองล้ำหน้าไปยังจุบจบของอดีตนายกฯ ผู้เคยยิ่งใหญ่ว่า สุดท้ายอาจต้องตกระกำลำบากในบั้นปลายไม่ต่างจากอดีตผู้นำต่างชาติ อย่าง เฟอร์ดินาน มาร์กอสแห่งฟิลิปปินส์ และอีดี้ อามิน แห่งอูกันดา โดยทั้งสองมีสภาพเดียวกัน คือต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศจนเสียชีวิต
เฟอร์ดินาน มาร์กอส เคยครองอำนาจในฟิลิปปินส์มายาวนาน 21 ปี (ระหว่างปี 1965 – 86) แม้จะอ้างว่าใช้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่สิ่งที่มาร์กอสทำกลับตรงกันข้าม ทั้งนำกฎหมายบิดเบือนเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (บ้านเรารู้จักดี สมัยที่มี ‘เนติบริกร’ เกิดขึ้น) การประกาศกฎอัยการศึก คุมอำนาจทางทหารไว้ในมือ แทรกแซงสื่อ ผูกขาดทรัพยากรชาติ อำนาจ และความมั่งคั่งให้วงวานว่านเครือ ขณะที่ประเทศเป็นหนี้เป็นสิน ประชาชนยากแค้น จนนำไปสู่ปรากฏการณ์โค่นอำนาจมาร์กอส หรือที่เรารู้จักในนาม People Power Revolution สุดท้ายเขาและครอบครัวต้องหนีออกนอกประเทศ โดยลงเรือและต่อเฮลิคอปเตอร์ออกจากทำเนียบมาลากันยัง เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 1986 ลี้ภัยไปอาศัยที่เกาะกวม ก่อนจะตายอย่างเงียบๆ ที่ฮาวาย
มีนักวิจารณ์เคยเปรียบเทียบวิธีการสร้างฐานคะแนนนิยม หรือประชาธิปไตยจอมปลอม วิธีการบริหารประเทศแบบระบอบทักษิณกับระบอบมาร์กอส ว่าเหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน ทั้งมาร์กอสและทักษิณต่างส่งคนที่ไว้ใจได้ไปกุมหน่วยงานอย่างกรมสรรพากรในช่วงที่เรืองอำนาจ โดยอดีตประธานาธิบดีมาร์กอส ส่งญาติภรรยาไปเป็นอธิบดีกรมสรรพากร ทำให้ธุรกิจของเขาทั้งหมดรอดพ้นจากการถูกเก็บภาษี
.. แต่ไม่มีใครรู้ว่า จุดจบของมาร์กอส และทักษิณจะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ จากที่เคยเป็นผู้นำที่ประชาชนฟิลิปปินส์ทั้งรัก และศรัทธา เป็นอัศวินของบ้านของเมือง แต่สุดท้าย เขากลับกลายเป็นชายที่ชาวฟิลิปปินส์เกลียดมากที่สุด บั้นปลายท้ายชีวิตของเขาและครอบครัวไม่มีแผ่นดินอยู่ ชาวฟิลิปปินส์ไม่ยอมให้เขากลับประเทศที่เขาคดโกง ประเทศที่ถูกทำลายด้วยมือของเขา และคนในตระกูลของเขา วาระสุดท้าย มาร์กอสตายที่ฮาวาย ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2532
อดีตผู้นำทรราชบางส่วนก็เลือกที่จะกระเสือกกระสน กลับมาตายยังบ้านเกิดตัวเอง และส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตระหว่างถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดี ยกตัวอย่าง เพื่อนซี้คุณทักษิณ ที่เคยประกาศจะเชิญมารวม Club of Leader โดยคุณทักษิณคงยังไม่ได้เดินทางไปเยี่ยมเพื่อนอย่างอดีตประธานาธิบดี ฟูจิโมริ อดีตผู้นำเปรู ปัจจุบันอายุ 69 ปี เพิ่งจะเข้ารับการผ่าตัดแผลในช่องปากและลิ้นเพื่อรักษาโรคมะเร็ง จนเป็นเหตุให้ศาลเปรูต้องเลื่อนการไต่สวนคดีก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ที่ดำเนินการไต่สวนมาเกือบ 6 เดือนแล้ว คดีของฟูจิโมริเกี่ยวข้องกับการถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย 25 คน และถ้าศาลพิสูจน์ได้ว่า เขามีความผิดจริง
เขาอาจต้องตายในคุกเปรู เพราะต้องติดตารางนานถึง 30 ปี
ฟูจิโมริ เคยถูกนำมาเปรียบเทียบว่า มีอะไรหลายอย่างคล้ายคุณทักษิณเช่นกัน โดยหลังจากอดีตผู้นำเปรูขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2533 สิบปีต่อมาเขาต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น เพราะถูกข้อหาคอร์รัปชันโดยมีคนสนิทเป็นหัวเรือใหญ่ในการดำเนินการ รวมไปถึงการพัวพันคดียาเสพติด และคดีอุ้มฆ่าประชาชน
อดีตผู้นำเปรูมีพฤติกรรมชอบใช้ ลูกน้องมือขวาที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าตำรวจลับ คอยเป็นไม้เป็นมือ จ่ายสินบน ส.ส.ฝ่ายค้าน ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และสื่อมวลชน เพื่อกำจัดการตรวจสอบ สุดท้ายพฤติกรรมการให้สินบนของคนสนิทนายฟูจิโมริกลับเสียท่า ถูกเคเบิลทีวีรายเล็กที่ไม่ได้รับสินบนอยู่ช่องเดียว นำหลักฐานมาเปิดเผย จนหัวหน้าตำรวจนายนั้นถูกจับขังคุก และนายใหญ่ ของมันต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น
ฟูจิโมริหนีไปญี่ปุ่น ก็ไปบรรยายให้มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นที่เดียวกับที่คุณทักษิณเคยไปบรรยาย หลังถูกรัฐประหาร 19 กันยาฯ แต่ด้วยความไม่ยอมหยุดนิ่งทางการเมือง ปี 2548 ฟูจิโมริมีแผนเดินทางไปเยือนชิลีกะทันหัน บางกระแสข่าวว่าเขาเคลื่อนไหวเพื่อหาทางกลับไปเป็นใหญ่อีกครั้งที่เปรูบ้านเกิด แต่ผลจากการเยือนชิลี ทำให้เขาถูกทางการชิลีจับกุม และกักบริเวณก่อนศาลชิลีจะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับกรรมยังบ้านเกิดเมืองนอน
อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของฟูจิโมริตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เปรู – ญี่ปุ่น ต้องบาดหมาง ก่อนจะมาเยียวยากันใหม่ในภายหลัง และเชื่อหรือไม่ สมัยที่ฟูจิโมริยังไม่หยุดเคลื่อนไหวทำลายประเทศ ทายาทของเขาเคยคิดจะผลิตน้ำอัดลม โดยใช้แบรนด์ “ฟูจิ - โคล่า” เพื่อปลุกกระแสผู้สนับสนุน และหาสตางค์มาเคลื่อนไหวการเมืองด้วย (ไม่รู้เหมือนเครื่องดื่มความจริงวันนี้หรือเปล่า 555 )
ส่วนอดีตผู้นำคนสุดท้ายที่ตายในบ้านเกิดเช่นกัน ก็คือ นายพลออกุสโต ปิโนเชต์ อดีตผู้บัญชาการทหารชิลี เขาถูกกล่าวหาทำการลักพา ทรมาน สังหารหมู่ประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี 1973 – 90 ที่เขาปกครอง ว่ากันว่า มีคนต้องตายด้วยน้ำมือเขาราวสามพันคน อีกหลายหมื่นคนถูกทรมาน และกว่าสองแสนคนต้องหนีภัยออกนอกประเทศ
หลังลงจากอำนาจ ปิโนเชต์ลี้ภัยไปต่างประเทศ ก่อนที่ปี 1998 เขาจะถูกจับกุมตัวระหว่างพักฟื้นหลังเข้ารับการผ่าตัดหลัง ในย่านเซอร์เรย์ กรุงลอนดอนของอังกฤษ ย่านเดียวกับที่คุณทักษิณเคยอยู่สมัยลี้ภัยในลอนดอน แต่ต่อมาอังกฤษก็ส่งตัวปิโนเชต์ข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ศาลชิลีในปี 2000
หลังจากกลับมาชิลีนั้นมีการพยายามจะนำตัวปิโนเชต์ เข้ารับโทษในข้อหาต่างๆ แต่เขาก็หลุดรอดมาได้ แต่สุดท้ายศาลตัดสินตามคำร้องขอของญาติๆ ว่าปิโนเชต์ กลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
10 ธันวาคม 2549 คือวันสิ้นลมของอดีตผู้นำชิลี แต่กลับเป็นวันที่ผู้คนในชิลีจัดงานเฉลิมฉลองกันยกใหญ่ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างถมน้ำลายรดหลุมศพ อดีตผู้นำ และเสียใจที่เขาหนีการขึ้นศาลไปยังปรโลกจนได้