การตัดสินใจของคนและพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำมาสู่การประกาศลาออกจากตำแหน่งของนายวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ผมคงไม่กล่าวอะไรมากไปกว่าคำว่า “น่าชื่นชม”
“น่าชื่นชม” ก็เพราะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังจะสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการเมืองไทย ...
โดยกรณีของคุณวิฑูรย์ เป็นกรณีที่สอง ต่อเนื่องจากการประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 9-0 ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง ของ กทม. ทั้งๆ ที่คุณอภิรักษ์เพิ่งชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงคนกรุงเทพฯ เกือบหนึ่งล้านเสียงไปหมาดๆ
ในส่วนกรณี “ปลากระป๋องเน่า” ต้นตอที่ทำให้คุณวิฑูรย์ต้องหลุดจากตำแหน่ง ด้วยข้อมูลเบื้องต้นหลายคนเชื่อว่า คุณวิฑูรย์คงไม่ได้กระทำทุจริตในการจัดซื้อหรือจัดหาปลากระป๋องดังกล่าวด้วยตัวเอง เนื่องจากเหตุการณ์ชาวบ้านได้รับแจกปลากระป๋องเน่านั้นเกิดขึ้นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ หรือไม่ถึงสองสัปดาห์ดีหลังจากที่คุณวิฑูรย์เข้ารับตำแหน่งและเข้าทำงานอย่างเป็นทางการ ทว่า ปัญหาของคุณวิฑูรย์ก็คือ “ความสะเพร่า” และ “ประสิทธิภาพ” ในการทำงาน แต่โดยรายละเอียดปัญหาจะอยู่ที่จุดใด จะเกิดจากอะไรก็แล้วแต่ คุณวิฑูรย์ในฐานะเจ้ากระทรวงผู้มีอำนาจสูงสุดก็จำต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งการลาออกก็ถือว่าเป็นการรับผิดชอบที่เหมาะสม และงดงามในกรณีนี้
ผมเชื่อว่า การสร้างมาตรฐานทางการเมืองขึ้นมาใหม่นี้แม้ในระยะสั้นจะสร้างความเจ็บปวดให้กับทั้งคุณอภิรักษ์ คุณวิฑูรย์ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์เอง แต่ผมเชื่อว่าการตัดสินใจกลืนเลือดทั้ง 2 ครั้งจะส่งผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์ในระยะยาว
ที่สำคัญที่สุด การกระทำครั้งนี้จะช่วยยกระดับของการเมืองไทยให้สูงขึ้นไปอีกหนึ่งขั้นเป็น “การเมืองใหม่” ที่ “นักการเมืองมียางอาย” ซึ่งผมคิดว่าตรงกับความประสงค์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และประชาชนไทยส่วนใหญ่ที่เฝ้ารอ “คุณธรรม-จริยธรรม” ของนักการเมืองไทยมานานเต็มทีแล้ว
โดยส่วนตัว ผมเคยให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้วว่า วิกฤตการเมืองไทยที่เกิดจากระบอบทักษิณ และทุนนิยมสามานย์นั้นมิได้มีแต่ “ด้านลบ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่มันมี “ด้านบวก” อยู่ในตัวด้วย
คือ วิกฤตการเมืองครั้งนี้ได้ช่วยปลุกสำนึกทางการเมืองของประชาชนไทยขึ้นทั่วประเทศไทย เป็นการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้เกิดการถกเถียง การตั้งคำถามและการหาคำตอบจากสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อถูกผนวกเข้ากับพัฒนาการทางเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของทีวีผ่านดาวเทียม, เว็บไซต์ข่าว, บล็อก (Weblog) ไม่ว่าจะ Hi5 Facebook Mblog หรือ oknation, เว็บบอร์ดเสรี, วิทยุชุมชน รวมไปถึงเทคโนโลยีการแสดงความเห็นผ่านโทรศัพท์มือถือแล้ว สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้พฤติกรรมในการรับสื่อและแสดงความคิดเห็นของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
“สื่อมวลชน” ไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดข้อมูล และการนำเสนอข่าวสารอีกต่อไป
“นักวิชาการ” ไม่สามารถเป็นนักปราชญ์ผู้สูงส่งที่สามารถชี้ว่า องค์ความรู้ใดถูก องค์ความรู้ใดผิดได้อีกต่อไป
ส่วน “นักการเมือง” เมื่อกระทำความผิด ประพฤติมิชอบ หรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็มิอาจหน้าด้านหน้าทนยึดเก้าอี้ ยึดตำแหน่งโดยไม่สนใจกระแสสังคมได้อีกต่อไป
แม้คนในสังคมจำนวนหนึ่งจะทำหน้าเหยเกทุกครั้งที่ได้ยินชื่อ “เสื้อเหลือง” หรือ “เสื้อแดง” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองและเสื้อแดงได้ก่อคุณูปการให้กับสังคมและการเมืองไทยหลายประการ อย่างน้อยๆ ก็คือ ได้สร้างแรงกดดันต่อนักการเมืองที่เป็นรูปธรรม มิให้นักการเมืองประพฤติออกนอกลู่นอกทางแม้เพียงนิด เพราะ ความผิดพลาดแม้เพียงน้อย อาจกลายเป็นจุดตายให้นักการเมืองหรือมวลชนของฝ่ายตรงข้ามหยิบเอามาขยายผลและเรียกร้องความรับผิดชอบจนถึงที่สุด อย่างเช่นกรณีของ คุณวิฑูรย์ นามบุตร
กระนั้น พรรคประชาธิปัตย์และคุณอภิสิทธิ์ ก็มิอาจทำตัวเป็น “แกะขาว” ในหมู่ “แกะดำ” หรือ “สุภาพบุรุษ” ในหมู่ “มิจฉาชีพ” แต่เพียงฝ่ายเดียว คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์จะต้องใช้อำนาจรัฐและเครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณธรรม-จริยธรรม ให้ได้
สำหรับจุดเริ่มต้นที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องรีบลงมือทำก็คือ “เปลี่ยนสื่อ”
เมื่อฟังจากกระแสสังคม และสื่อมวลชนหลายฝ่ายแล้ว ผมได้ยินเสียงสะท้อนมาว่า การทำงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคือ คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นั้นล่าช้าเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกมาประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของภาพลักษณ์ หรือ โลโกเท่านั้น แต่การยกเครื่อง หรือปรับปรุงใหม่หมดนั้นจะต้องรอถึงเดือนเมษายน 2552
ยังไม่นับรวมกับการเปลี่ยนแปลงในคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ด อสมท ที่คนของฝั่งระบอบทักษิณยังนั่งกุมอำนาจเต็มและกำลังจะสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ผอ.) คนใหม่
จริงๆ แล้วผมรู้และผมเชื่อว่าคุณสาทิตย์เองเข้าใจปัญหา “สื่อ” ดี แต่อาจด้วยข้อจำกัดหลายๆ ประการทำให้คุณสาทิตย์มิอาจจะผลีผลามเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ตามใจชอบ ทว่า คุณสาทิตย์และประชาธิปัตย์ก็ต้องสำเหนียกว่า ณ วันนี้ ศัตรูที่เตรียมล้มล้างรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นมิได้มีเพียงพรรคเพื่อไทยเท่านั้น แต่ยังมีหอกข้างแคร่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกด้วย
ถ้าคุณสาทิตย์และพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ใช้สื่อยึดกุมและควบคุมหอกดังกล่าวไว้ให้มั่นและโดยเร็ว ก็ให้ระวังสถานการณ์พลิกกลับ โดน “หอกข้างแคร่” ทิ่มตายก็แล้วกัน
“น่าชื่นชม” ก็เพราะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังจะสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการเมืองไทย ...
โดยกรณีของคุณวิฑูรย์ เป็นกรณีที่สอง ต่อเนื่องจากการประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 จากกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 9-0 ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง ของ กทม. ทั้งๆ ที่คุณอภิรักษ์เพิ่งชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงคนกรุงเทพฯ เกือบหนึ่งล้านเสียงไปหมาดๆ
ในส่วนกรณี “ปลากระป๋องเน่า” ต้นตอที่ทำให้คุณวิฑูรย์ต้องหลุดจากตำแหน่ง ด้วยข้อมูลเบื้องต้นหลายคนเชื่อว่า คุณวิฑูรย์คงไม่ได้กระทำทุจริตในการจัดซื้อหรือจัดหาปลากระป๋องดังกล่าวด้วยตัวเอง เนื่องจากเหตุการณ์ชาวบ้านได้รับแจกปลากระป๋องเน่านั้นเกิดขึ้นในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ หรือไม่ถึงสองสัปดาห์ดีหลังจากที่คุณวิฑูรย์เข้ารับตำแหน่งและเข้าทำงานอย่างเป็นทางการ ทว่า ปัญหาของคุณวิฑูรย์ก็คือ “ความสะเพร่า” และ “ประสิทธิภาพ” ในการทำงาน แต่โดยรายละเอียดปัญหาจะอยู่ที่จุดใด จะเกิดจากอะไรก็แล้วแต่ คุณวิฑูรย์ในฐานะเจ้ากระทรวงผู้มีอำนาจสูงสุดก็จำต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งการลาออกก็ถือว่าเป็นการรับผิดชอบที่เหมาะสม และงดงามในกรณีนี้
ผมเชื่อว่า การสร้างมาตรฐานทางการเมืองขึ้นมาใหม่นี้แม้ในระยะสั้นจะสร้างความเจ็บปวดให้กับทั้งคุณอภิรักษ์ คุณวิฑูรย์ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์เอง แต่ผมเชื่อว่าการตัดสินใจกลืนเลือดทั้ง 2 ครั้งจะส่งผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์ในระยะยาว
ที่สำคัญที่สุด การกระทำครั้งนี้จะช่วยยกระดับของการเมืองไทยให้สูงขึ้นไปอีกหนึ่งขั้นเป็น “การเมืองใหม่” ที่ “นักการเมืองมียางอาย” ซึ่งผมคิดว่าตรงกับความประสงค์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และประชาชนไทยส่วนใหญ่ที่เฝ้ารอ “คุณธรรม-จริยธรรม” ของนักการเมืองไทยมานานเต็มทีแล้ว
โดยส่วนตัว ผมเคยให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้วว่า วิกฤตการเมืองไทยที่เกิดจากระบอบทักษิณ และทุนนิยมสามานย์นั้นมิได้มีแต่ “ด้านลบ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่มันมี “ด้านบวก” อยู่ในตัวด้วย
คือ วิกฤตการเมืองครั้งนี้ได้ช่วยปลุกสำนึกทางการเมืองของประชาชนไทยขึ้นทั่วประเทศไทย เป็นการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้เกิดการถกเถียง การตั้งคำถามและการหาคำตอบจากสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อถูกผนวกเข้ากับพัฒนาการทางเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของทีวีผ่านดาวเทียม, เว็บไซต์ข่าว, บล็อก (Weblog) ไม่ว่าจะ Hi5 Facebook Mblog หรือ oknation, เว็บบอร์ดเสรี, วิทยุชุมชน รวมไปถึงเทคโนโลยีการแสดงความเห็นผ่านโทรศัพท์มือถือแล้ว สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้พฤติกรรมในการรับสื่อและแสดงความคิดเห็นของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
“สื่อมวลชน” ไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดข้อมูล และการนำเสนอข่าวสารอีกต่อไป
“นักวิชาการ” ไม่สามารถเป็นนักปราชญ์ผู้สูงส่งที่สามารถชี้ว่า องค์ความรู้ใดถูก องค์ความรู้ใดผิดได้อีกต่อไป
ส่วน “นักการเมือง” เมื่อกระทำความผิด ประพฤติมิชอบ หรือบกพร่องต่อหน้าที่ ก็มิอาจหน้าด้านหน้าทนยึดเก้าอี้ ยึดตำแหน่งโดยไม่สนใจกระแสสังคมได้อีกต่อไป
แม้คนในสังคมจำนวนหนึ่งจะทำหน้าเหยเกทุกครั้งที่ได้ยินชื่อ “เสื้อเหลือง” หรือ “เสื้อแดง” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองและเสื้อแดงได้ก่อคุณูปการให้กับสังคมและการเมืองไทยหลายประการ อย่างน้อยๆ ก็คือ ได้สร้างแรงกดดันต่อนักการเมืองที่เป็นรูปธรรม มิให้นักการเมืองประพฤติออกนอกลู่นอกทางแม้เพียงนิด เพราะ ความผิดพลาดแม้เพียงน้อย อาจกลายเป็นจุดตายให้นักการเมืองหรือมวลชนของฝ่ายตรงข้ามหยิบเอามาขยายผลและเรียกร้องความรับผิดชอบจนถึงที่สุด อย่างเช่นกรณีของ คุณวิฑูรย์ นามบุตร
กระนั้น พรรคประชาธิปัตย์และคุณอภิสิทธิ์ ก็มิอาจทำตัวเป็น “แกะขาว” ในหมู่ “แกะดำ” หรือ “สุภาพบุรุษ” ในหมู่ “มิจฉาชีพ” แต่เพียงฝ่ายเดียว คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์จะต้องใช้อำนาจรัฐและเครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณธรรม-จริยธรรม ให้ได้
สำหรับจุดเริ่มต้นที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องรีบลงมือทำก็คือ “เปลี่ยนสื่อ”
เมื่อฟังจากกระแสสังคม และสื่อมวลชนหลายฝ่ายแล้ว ผมได้ยินเสียงสะท้อนมาว่า การทำงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคือ คุณสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นั้นล่าช้าเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกมาประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของภาพลักษณ์ หรือ โลโกเท่านั้น แต่การยกเครื่อง หรือปรับปรุงใหม่หมดนั้นจะต้องรอถึงเดือนเมษายน 2552
ยังไม่นับรวมกับการเปลี่ยนแปลงในคณะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บอร์ด อสมท ที่คนของฝั่งระบอบทักษิณยังนั่งกุมอำนาจเต็มและกำลังจะสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ผอ.) คนใหม่
จริงๆ แล้วผมรู้และผมเชื่อว่าคุณสาทิตย์เองเข้าใจปัญหา “สื่อ” ดี แต่อาจด้วยข้อจำกัดหลายๆ ประการทำให้คุณสาทิตย์มิอาจจะผลีผลามเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ตามใจชอบ ทว่า คุณสาทิตย์และประชาธิปัตย์ก็ต้องสำเหนียกว่า ณ วันนี้ ศัตรูที่เตรียมล้มล้างรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นมิได้มีเพียงพรรคเพื่อไทยเท่านั้น แต่ยังมีหอกข้างแคร่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลอีกด้วย
ถ้าคุณสาทิตย์และพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ใช้สื่อยึดกุมและควบคุมหอกดังกล่าวไว้ให้มั่นและโดยเร็ว ก็ให้ระวังสถานการณ์พลิกกลับ โดน “หอกข้างแคร่” ทิ่มตายก็แล้วกัน