เผยกลวิธีบริหารการรถไฟฯ องค์กรที่มีศักยภาพเลี้ยงตัวเองได้ให้กลายสภาพขาดทุนย่อยยับ ด้วยการยกทำเลทองให้พวกพ้องผู้มีอำนาจ เก็บค่าเช่าที่ดินเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศกว่า 38,000 ไร่ ในราคาถูกสุดๆ แค่ปีละ 900 กว่าล้าน ส่วนนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลแถบบุรีรัมย์ประเคนที่ดินให้ โดยไม่ทวงคืนจริงจัง ด้านงานว่าจ้างเอกชนสร้างแอร์พอร์ตลิงก์รถไฟฯใจป้ำ จ่ายค่าธรรมเนียมล่วงหน้านับพันล้าน แถมสร้างไม่เสร็จทันเวลาก็ต่อสัญญาให้ฟรีไม่มีการปรับ มรดกรถไฟไทยจากสมัย ร.5 ผ่านมานับร้อยปีไม่มีปรับปรุงประสิทธิภาพ วันดีคืนดีตั้งก๊วนการเมืองวงชำแหละดึงเอกชนเข้าเสียบเส้นทางทำกำไร
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็น 1 ใน 4 รัฐวิสาหกิจที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า จะขาดทุนมหาศาลจากผลประกอบการในปีงบประมาณ 2552 โดยรวมทั้ง 4 แห่ง คาดว่าเม็ดเงินขาดทุนจะมากกว่า 27,000 ล้านบาท
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และอดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ หลายสมัย วิเคราะห์ว่า การขาดทุนของรัฐวิสาหกิจโดยรวม มีปัญหารากเหง้ามาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยนักการเมืองเป็นตัวการใหญ่ เพราะต้องหาเม็ดเงินเป็นทุนรอนเพื่อใช้สำหรับการซื้อเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการเลี้ยงดูบรรดาส.ส.ในก๊วนไม่ให้แตกแถว ซึ่งเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองแบบเก่า และการรถไฟฯ รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักการเมืองทุกยุคเข้ามาแสวงหาประโยชน์ จนจะกลายเป็นองค์กรที่ประสบปัญหาการขาดทุน ทั้งที่ความจริงแล้วการรถไฟฯ มีศักยภาพ สามารถทำรายได้และกำไรเลี้ยงดูตัวเองเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้
อดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ กล่าวว่า มีหลายกรณีที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารการรถไฟฯ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องนักการเมือง โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ขององค์กร ประเทศชาติ และประชาชน เช่น การต่อสัญญาเช่าที่ดินให้กับบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา ในสมัย นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรมว.กระทรวงคมนาคม โดยไม่มีการเปิดประมูลใหม่
กรณีดังกล่าว ทำให้การรถไฟฯ ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น สูญรายได้ที่ควรจะได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท เมื่อเทียบอัตราค่าเช่าระหว่างมาบุญครองที่เช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์ฯ จำนวน 23 ไร่ ในอัตราค่าเช่า 25,000 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี เพราะที่ดินของรฟท. ซึ่งให้เซ็นทรัลพัฒนาเช่าต่อ มีจำนวนมากถึง 47 ไร่ หากเปิดประมูลจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่า 50,000 - 60,000 ล้านบาท แต่ค่าเช่าที่รถไฟฯ ได้จากเซ็นทรัลฯสัญญาเช่า 20 ปี ตกประมาณ 21,000 กว่าล้านเท่านั้น
กรณีการว่าจ้างให้บริษัทบี.กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทซีเมนต์ไทย และบริษัทชิโน-ไทย แอนด์คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน) สร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งส่อไปในทางทุจริตโดยการรถไฟฯ จ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้เอกชนไปแล้วกว่า 1,600 ล้านบาท ขณะที่ผู้รับเหมาใช้เงินค่าธรรมเนียมเงินกู้เพียง 400 กว่าล้านบาทเท่านั้น
อีกทั้งเมื่อทำสัญญาว่าจ้างให้งานแล้วเสร็จภายใน 990 วัน เมื่อครบสัญญาแล้ว บริษัทยังสร้างไม่เสร็จ แทนที่จะให้ผู้รับเหมาจ่ายค่าปรับให้การรถไฟฯ วันละ 12 ล้านบาท แต่ผู้บริหารการรถไฟกลับต่อสัญญาให้เอกชนไปอีก 180 วัน โดยไม่คิดค่าปรับ
โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นหนึ่งในคดีที่คณะกรรมการการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เข้ามาตรวจสอบ และได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวนต่อในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานความคืบหน้าผลสอบสวนจาก ป.ป.ช. เช่นเดียวกันกับคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิโครงการอื่นๆ ที่เงียบหายไป
นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีนักการเมืองเข้าฮุบเอาที่ดินของการรถไฟฯ โดยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินการรถไฟฯ ที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ชี้ชัดแล้วว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ แต่การเพิกถอนสภาพให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของการรถไฟฯ จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะที่นักการเมืองซึ่งเข้ามากำกับดูแลการรถไฟฯ ได้ใช้อำนาจแทรกแซงผู้บริหารการรถไฟให้เอื้อประโยชน์ให้บริษัทพวกพ้อง ทางผู้บริหารการรถไฟ ก็ทุจริตกินหัวคิวจากการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่างๆ เช่น รถจักร รถพ่วง ราง ไม้หมอน แม้แต่การทำความสะอาด การบำรุงรักษา ซ่อม สร้าง ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้เปิดแข่งขัน ประมูลกันอย่างโปร่งใส แต่อย่างใด ขณะเดียวกันการบริหารจัดการทรัพย์สินของรฟท.เพื่อหารายได้มาหล่อเลี้ยงองค์กรก็ไร้ประสิทธิภาพ
"การรถไฟมีทรัพย์สินที่เป็นที่ดินเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศจำนวนมาก หากบริหารจัดการให้ดีไม่มีทางขาดทุน เอาแค่ที่ดินบริเวณสวนจตุจักร ปีหนึ่งๆ ทำรายได้ให้ผู้สร้างแผงให้เช่าประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ได้แค่ปีละ 13 ล้านบาท สัญญาเช่าที่ดินบริเวณนี้จะหมดลงในปี 2555 นี้แล้ว ยังไม่มีการวางแผนจัดการว่าจะเอาอย่างไร หรือที่ดินที่ตั้งบริษัท ปตท. ปัจจุบัน ก็ไม่มีการเก็บค่าเช่า ทั้งที่ ปตท. ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจแต่เป็นบริษัทเอกชนแล้ว" อดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ กล่าว
จากการศึกษาของสหภาพการรถไฟฯ พบว่า ที่ดินเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฯ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 38,604 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเมืองทั้งสิ้น หากประเมินตามราคาตลาดและปรับค่าเช่าให้ถูกที่สุดไร่ละ 100,000 บาทต่อปี การรถไฟฯ ก็จะมีรายได้ประมาณปีละ 3,864 ล้านบาท และหากเปิดให้มีการประมูลบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน ที่บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาฯ เช่าจากการรถไฟ 20 ปี จะได้ผลตอบแทนประมาณ 60,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่าใกล้เคียงกับมาบุญครองเช่าจากจุฬาลงกรณ์ฯ
นอกจากนั้น หากคิดค่าเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ย่านมักกะสัน ย่านแม่น้ำ จตุจักร รัชดาภิเษก บางซ่อน จะได้ค่าเช่าตกปีละไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท เฉพาะเก็บค่าเช่าที่ดินนำมาปรับปรุงพัฒนาล้อเลื่อน เช่น รถจักร รถพ่วง ให้ทันสมัยก็จะสามารถหลุดพ้นจากการขาดทุน แต่ปัจจุบัน การรถไฟฯ สามารถบริหารจัดการเก็บค่าเช่าจากที่ดินและอาคารต่างๆ เพียงปีละ 900 ล้านบาทเท่านั้น เพราะความไม่มีประสิทธิภาพและการทุจริตคอร์รัปชั่นองผู้บริหารร่วมกับบอร์ดและนักการเมือง
นายสมศักดิ์ ยังให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงโดยเฉพาะรางรถไฟที่เป็นรางเดี่ยว และในช่วงร้อยปีที่ผ่านมามีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นน้อยมาก ขณะที่มีการสร้างทางรถยนต์ซึ่งให้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่า มีเม็ดเงินลงไปปรับปรุงซ่อมบำรุงปีละ 2,000 กว่าล้าน ทั้งที่การลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ให้ได้มาตรฐานแม้ลงทุนครั้งแรกจะสูงแต่คุ้มในระยะยาว ต้นทุนของประเทศทั้งค่าขนส่ง ค่าพลังงานโดยรวมต่ำกว่าใช้การขนส่งระบบราง ถือเป็นเครื่องมือของรัฐในการกระจายรายได้ให้เป็นธรรมทางหนึ่ง
ขณะที่การรถไฟฯ เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพ แทนที่จะทำให้แผนพัฒนาปรับปรุงการรถไฟฯ ให้เลี้ยงตัวเองได้ตามศักยภาพและทรัพย์สินที่มีอยู่มหาศาลเป็นจริง ทางรัฐบาลที่ผ่านทุกยุคทุกสมัย กลับจ้องแปรรูปการรถไฟฯ ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน โดยแบ่งแยกรถ รฟท. ออกเป็นบริษัท เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนเข้ามาหาประโยชน์จากที่ดิน และรถคอนเทนเนอร์ รถด่วน รถพ่วง การซ่อมบำรุงรถจักร ซึ่งเป็นส่วนที่มีกำไร และบริการรถโดยสารที่จะเปิดใหม่ในส่วนที่เก็บค่าโดยสารได้แพงและไม่ขาดทุน คงเหลือเฉพาะรถไฟชั้น 3 และรถบริการในท้องถิ่นที่ขาดทุนให้ รฟท.ดำเนินการต่อไป
ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 เห็นในหลักการให้แยก รฟท. ออกไปเป็นบริษัทพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เพื่อบริหารจัดการนำที่ดินกว่า 38,000 ไร่ ไปให้เอกชนหาประโยชน์ และบริษัทโลจิสติกส์ จำกัด นำรถสินค้าที่บรรทุกคอนเทนเนอร์ ซึ่งการรถไฟฯ มีกำไรอยู่แล้วไปให้เอกชนดำเนินการ ซึ่งได้รับการคัดค้านจากสหภาพการรถไฟฯ
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของบอร์ดและผู้บริหารรฟท.ขณะนี้ เป็นชุดที่ต่อท่อมาจากรัฐบาลเดิม ดังนั้นจึงยากที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งสะสมมานานในการรถไฟฯ เอาแค่ปัญหาการออกโฉนดที่ดินทับที่การรถไฟฯ ในบุรีรัมย์ จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
อนึ่ง กรณีนักการเมืองออกโฉนดทับที่ดินการรถไฟฯ ที่เขากระโดง อำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ชี้ชัดแล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของการรถไฟฯ และได้ส่งเรื่องให้การรถไฟฯ ทราบแล้ว 2 แปลง คือ
แปลงที่ 1 โฉนดเลขที่ 3466 เลขที่ดิน 60 หน้า สำรวจ 832 ตำบลอีสาน ณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 54.8 ตารางวา ออกให้นายชัย ชิดชอบ ทำหลักฐาน น.ส.3 เลขที่ 334 หมู่ที่ 1 ตำบลอีสาน ณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และแปลงที่ 2 โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา ที่ดินแปลงนี้นางกรุณา ชิดชอบ ได้นำไปจำนองไว้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว โดยกรมที่ดิน อ้างว่า กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสภาพพื้นที่ ส่วนผู้ว่าการ บอร์ด และรัฐมนตรีคมนาคมซึ่งกำกับดูแลรฟท. ทางสหภาพการรถไฟฯ แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะไม่รักษาผลประโยชน์ ไม่ดำเนินคดีต่อผู้บุกรุก
ส่วนข้อพิรุธกรณีการที่การรถไฟฯ ลงนามต่อสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลเป็นระยะเวลา 20 ปี มูลค่าผลตอบแทน 2.1 หมื่นล้านบาท นั้น พบว่า มีการเร่งรัดการดำเนินการเพื่อลงนาม ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการมาตรา 13 , การเสนอนายสันติ พร้อมพัฒน์ ซึ่งเป็นรมว.คมนาคมในขณะนั้น เพื่อเร่งเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาในวันที่ 2 ธ.ค.51 ให้ทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน โดยไม่รอความเห็นจากสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณ และคณะกรรมการมาตรา 13 ยังไม่ได้ประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างสัญญามา เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังพบว่า สำนักเลขาธิการครม. ได้ทำหนังสือถึงนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2551 แจ้งที่ประชุมครม.วันที่ 2 ธ.ค.2551 ลงมติเห็นชอบการต่อสัญญาเช่าและลงทุนพัฒนาที่ดินระหว่างรฟท.กับเซ็นทรัล ตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 โดยให้รฟท.ไปดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดให้ครบถ้วนก่อนลงนาม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งนางโฉมศรี อารยะศิริ รองเลขาธิการครม.ปฏิบัติราชการแทนเลขาฯครม. เป็นผู้ลงนามแทน ในขณะที่รฟท.ได้ทำหนังสือแจ้งเซ็นทรัลลงวันที่ 4 ธ.ค. 2551 ให้มาลงนามกับรฟท.ในวันที่ 9 ธ.ค.2551 หลังจากที่บอร์ดรฟท.ได้ประชุมรับทราบมติครม.วันที่ 8 ธ.ค. 2551
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็น 1 ใน 4 รัฐวิสาหกิจที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า จะขาดทุนมหาศาลจากผลประกอบการในปีงบประมาณ 2552 โดยรวมทั้ง 4 แห่ง คาดว่าเม็ดเงินขาดทุนจะมากกว่า 27,000 ล้านบาท
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และอดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ หลายสมัย วิเคราะห์ว่า การขาดทุนของรัฐวิสาหกิจโดยรวม มีปัญหารากเหง้ามาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยนักการเมืองเป็นตัวการใหญ่ เพราะต้องหาเม็ดเงินเป็นทุนรอนเพื่อใช้สำหรับการซื้อเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการเลี้ยงดูบรรดาส.ส.ในก๊วนไม่ให้แตกแถว ซึ่งเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองแบบเก่า และการรถไฟฯ รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่นักการเมืองทุกยุคเข้ามาแสวงหาประโยชน์ จนจะกลายเป็นองค์กรที่ประสบปัญหาการขาดทุน ทั้งที่ความจริงแล้วการรถไฟฯ มีศักยภาพ สามารถทำรายได้และกำไรเลี้ยงดูตัวเองเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้
อดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ กล่าวว่า มีหลายกรณีที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารการรถไฟฯ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องนักการเมือง โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ขององค์กร ประเทศชาติ และประชาชน เช่น การต่อสัญญาเช่าที่ดินให้กับบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา ในสมัย นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรมว.กระทรวงคมนาคม โดยไม่มีการเปิดประมูลใหม่
กรณีดังกล่าว ทำให้การรถไฟฯ ได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น สูญรายได้ที่ควรจะได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท เมื่อเทียบอัตราค่าเช่าระหว่างมาบุญครองที่เช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์ฯ จำนวน 23 ไร่ ในอัตราค่าเช่า 25,000 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี เพราะที่ดินของรฟท. ซึ่งให้เซ็นทรัลพัฒนาเช่าต่อ มีจำนวนมากถึง 47 ไร่ หากเปิดประมูลจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่า 50,000 - 60,000 ล้านบาท แต่ค่าเช่าที่รถไฟฯ ได้จากเซ็นทรัลฯสัญญาเช่า 20 ปี ตกประมาณ 21,000 กว่าล้านเท่านั้น
กรณีการว่าจ้างให้บริษัทบี.กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทซีเมนต์ไทย และบริษัทชิโน-ไทย แอนด์คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน) สร้างทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งส่อไปในทางทุจริตโดยการรถไฟฯ จ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้เอกชนไปแล้วกว่า 1,600 ล้านบาท ขณะที่ผู้รับเหมาใช้เงินค่าธรรมเนียมเงินกู้เพียง 400 กว่าล้านบาทเท่านั้น
อีกทั้งเมื่อทำสัญญาว่าจ้างให้งานแล้วเสร็จภายใน 990 วัน เมื่อครบสัญญาแล้ว บริษัทยังสร้างไม่เสร็จ แทนที่จะให้ผู้รับเหมาจ่ายค่าปรับให้การรถไฟฯ วันละ 12 ล้านบาท แต่ผู้บริหารการรถไฟกลับต่อสัญญาให้เอกชนไปอีก 180 วัน โดยไม่คิดค่าปรับ
โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นหนึ่งในคดีที่คณะกรรมการการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เข้ามาตรวจสอบ และได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวนต่อในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานความคืบหน้าผลสอบสวนจาก ป.ป.ช. เช่นเดียวกันกับคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิโครงการอื่นๆ ที่เงียบหายไป
นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีนักการเมืองเข้าฮุบเอาที่ดินของการรถไฟฯ โดยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินการรถไฟฯ ที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ชี้ชัดแล้วว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ แต่การเพิกถอนสภาพให้ที่ดินกลับคืนมาเป็นของการรถไฟฯ จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ขณะที่นักการเมืองซึ่งเข้ามากำกับดูแลการรถไฟฯ ได้ใช้อำนาจแทรกแซงผู้บริหารการรถไฟให้เอื้อประโยชน์ให้บริษัทพวกพ้อง ทางผู้บริหารการรถไฟ ก็ทุจริตกินหัวคิวจากการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุต่างๆ เช่น รถจักร รถพ่วง ราง ไม้หมอน แม้แต่การทำความสะอาด การบำรุงรักษา ซ่อม สร้าง ซึ่งการจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้เปิดแข่งขัน ประมูลกันอย่างโปร่งใส แต่อย่างใด ขณะเดียวกันการบริหารจัดการทรัพย์สินของรฟท.เพื่อหารายได้มาหล่อเลี้ยงองค์กรก็ไร้ประสิทธิภาพ
"การรถไฟมีทรัพย์สินที่เป็นที่ดินเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศจำนวนมาก หากบริหารจัดการให้ดีไม่มีทางขาดทุน เอาแค่ที่ดินบริเวณสวนจตุจักร ปีหนึ่งๆ ทำรายได้ให้ผู้สร้างแผงให้เช่าประมาณ 8,000 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ได้แค่ปีละ 13 ล้านบาท สัญญาเช่าที่ดินบริเวณนี้จะหมดลงในปี 2555 นี้แล้ว ยังไม่มีการวางแผนจัดการว่าจะเอาอย่างไร หรือที่ดินที่ตั้งบริษัท ปตท. ปัจจุบัน ก็ไม่มีการเก็บค่าเช่า ทั้งที่ ปตท. ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจแต่เป็นบริษัทเอกชนแล้ว" อดีตประธานสหภาพการรถไฟฯ กล่าว
จากการศึกษาของสหภาพการรถไฟฯ พบว่า ที่ดินเชิงพาณิชย์ของการรถไฟฯ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 38,604 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเมืองทั้งสิ้น หากประเมินตามราคาตลาดและปรับค่าเช่าให้ถูกที่สุดไร่ละ 100,000 บาทต่อปี การรถไฟฯ ก็จะมีรายได้ประมาณปีละ 3,864 ล้านบาท และหากเปิดให้มีการประมูลบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน ที่บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาฯ เช่าจากการรถไฟ 20 ปี จะได้ผลตอบแทนประมาณ 60,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่าใกล้เคียงกับมาบุญครองเช่าจากจุฬาลงกรณ์ฯ
นอกจากนั้น หากคิดค่าเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ย่านมักกะสัน ย่านแม่น้ำ จตุจักร รัชดาภิเษก บางซ่อน จะได้ค่าเช่าตกปีละไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท เฉพาะเก็บค่าเช่าที่ดินนำมาปรับปรุงพัฒนาล้อเลื่อน เช่น รถจักร รถพ่วง ให้ทันสมัยก็จะสามารถหลุดพ้นจากการขาดทุน แต่ปัจจุบัน การรถไฟฯ สามารถบริหารจัดการเก็บค่าเช่าจากที่ดินและอาคารต่างๆ เพียงปีละ 900 ล้านบาทเท่านั้น เพราะความไม่มีประสิทธิภาพและการทุจริตคอร์รัปชั่นองผู้บริหารร่วมกับบอร์ดและนักการเมือง
นายสมศักดิ์ ยังให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงโดยเฉพาะรางรถไฟที่เป็นรางเดี่ยว และในช่วงร้อยปีที่ผ่านมามีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นน้อยมาก ขณะที่มีการสร้างทางรถยนต์ซึ่งให้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่า มีเม็ดเงินลงไปปรับปรุงซ่อมบำรุงปีละ 2,000 กว่าล้าน ทั้งที่การลงทุนสร้างรถไฟรางคู่ให้ได้มาตรฐานแม้ลงทุนครั้งแรกจะสูงแต่คุ้มในระยะยาว ต้นทุนของประเทศทั้งค่าขนส่ง ค่าพลังงานโดยรวมต่ำกว่าใช้การขนส่งระบบราง ถือเป็นเครื่องมือของรัฐในการกระจายรายได้ให้เป็นธรรมทางหนึ่ง
ขณะที่การรถไฟฯ เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพ แทนที่จะทำให้แผนพัฒนาปรับปรุงการรถไฟฯ ให้เลี้ยงตัวเองได้ตามศักยภาพและทรัพย์สินที่มีอยู่มหาศาลเป็นจริง ทางรัฐบาลที่ผ่านทุกยุคทุกสมัย กลับจ้องแปรรูปการรถไฟฯ ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน โดยแบ่งแยกรถ รฟท. ออกเป็นบริษัท เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนเข้ามาหาประโยชน์จากที่ดิน และรถคอนเทนเนอร์ รถด่วน รถพ่วง การซ่อมบำรุงรถจักร ซึ่งเป็นส่วนที่มีกำไร และบริการรถโดยสารที่จะเปิดใหม่ในส่วนที่เก็บค่าโดยสารได้แพงและไม่ขาดทุน คงเหลือเฉพาะรถไฟชั้น 3 และรถบริการในท้องถิ่นที่ขาดทุนให้ รฟท.ดำเนินการต่อไป
ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 เห็นในหลักการให้แยก รฟท. ออกไปเป็นบริษัทพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เพื่อบริหารจัดการนำที่ดินกว่า 38,000 ไร่ ไปให้เอกชนหาประโยชน์ และบริษัทโลจิสติกส์ จำกัด นำรถสินค้าที่บรรทุกคอนเทนเนอร์ ซึ่งการรถไฟฯ มีกำไรอยู่แล้วไปให้เอกชนดำเนินการ ซึ่งได้รับการคัดค้านจากสหภาพการรถไฟฯ
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของบอร์ดและผู้บริหารรฟท.ขณะนี้ เป็นชุดที่ต่อท่อมาจากรัฐบาลเดิม ดังนั้นจึงยากที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งสะสมมานานในการรถไฟฯ เอาแค่ปัญหาการออกโฉนดที่ดินทับที่การรถไฟฯ ในบุรีรัมย์ จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
อนึ่ง กรณีนักการเมืองออกโฉนดทับที่ดินการรถไฟฯ ที่เขากระโดง อำเภอเมือง จ.บุรีรัมย์ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ชี้ชัดแล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของการรถไฟฯ และได้ส่งเรื่องให้การรถไฟฯ ทราบแล้ว 2 แปลง คือ
แปลงที่ 1 โฉนดเลขที่ 3466 เลขที่ดิน 60 หน้า สำรวจ 832 ตำบลอีสาน ณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 54.8 ตารางวา ออกให้นายชัย ชิดชอบ ทำหลักฐาน น.ส.3 เลขที่ 334 หมู่ที่ 1 ตำบลอีสาน ณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และแปลงที่ 2 โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา ที่ดินแปลงนี้นางกรุณา ชิดชอบ ได้นำไปจำนองไว้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว โดยกรมที่ดิน อ้างว่า กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสภาพพื้นที่ ส่วนผู้ว่าการ บอร์ด และรัฐมนตรีคมนาคมซึ่งกำกับดูแลรฟท. ทางสหภาพการรถไฟฯ แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะไม่รักษาผลประโยชน์ ไม่ดำเนินคดีต่อผู้บุกรุก
ส่วนข้อพิรุธกรณีการที่การรถไฟฯ ลงนามต่อสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลเป็นระยะเวลา 20 ปี มูลค่าผลตอบแทน 2.1 หมื่นล้านบาท นั้น พบว่า มีการเร่งรัดการดำเนินการเพื่อลงนาม ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการมาตรา 13 , การเสนอนายสันติ พร้อมพัฒน์ ซึ่งเป็นรมว.คมนาคมในขณะนั้น เพื่อเร่งเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาในวันที่ 2 ธ.ค.51 ให้ทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน โดยไม่รอความเห็นจากสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณ และคณะกรรมการมาตรา 13 ยังไม่ได้ประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างสัญญามา เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังพบว่า สำนักเลขาธิการครม. ได้ทำหนังสือถึงนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2551 แจ้งที่ประชุมครม.วันที่ 2 ธ.ค.2551 ลงมติเห็นชอบการต่อสัญญาเช่าและลงทุนพัฒนาที่ดินระหว่างรฟท.กับเซ็นทรัล ตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 โดยให้รฟท.ไปดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดให้ครบถ้วนก่อนลงนาม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งนางโฉมศรี อารยะศิริ รองเลขาธิการครม.ปฏิบัติราชการแทนเลขาฯครม. เป็นผู้ลงนามแทน ในขณะที่รฟท.ได้ทำหนังสือแจ้งเซ็นทรัลลงวันที่ 4 ธ.ค. 2551 ให้มาลงนามกับรฟท.ในวันที่ 9 ธ.ค.2551 หลังจากที่บอร์ดรฟท.ได้ประชุมรับทราบมติครม.วันที่ 8 ธ.ค. 2551