ย้อนอดีตคดี สปก.4-01 ศาลฎีกาพิพากษา ไล่สามี “อัญชลี วานิช” พ้นที่ดิน ส.ป.ก.ภูเก็ต เหตุครอบครองโดยขาดคุณสมบัติ สร้างบรรทัดฐาน ที่ดิน ส.ป.ก.มีไว้แจกเกษตรกรเท่านั้น นายทุนเข้าครอบครองไม่ได้
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงนโยบายของนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่จะมอบเอกสารสิทธิในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก.4-01 ให้กับประชาชนว่า ให้ดูจากอดีตที่ผ่านมาว่า ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือศาลมีคำวินิจฉัยเป็นแนวทางไว้อย่างไร รวมทั้งดูคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาและศาลเป็นหลักในการตีความของกฎหมายนั้น แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คำวินิจฉัยของศาลที่นายกรัฐมนตรี อ้างถึงน่าจะเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่อ่านที่ศาลจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1765/2541 และคดีหมายเลขแดงที่ 1485/2544 โดยมีสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นโจทก์ ฟ้องขับไล่นายทศพร เทพบุตร จำเลย (สามีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง-นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ)
คดีดังกล่าว ส.ป.ก.ได้ฟ้องว่า จำเลยยื่นคำขอเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตั้งแต่ปี 2532 เนื้อที่ 98 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา โดยอ้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนผลไม้และปลูกยางพารา แต่ปรากฏว่า จำเลยไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง สปก.จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทศพร เทพบุตร ออกจากการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 นั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จากนั้น ส.ป.ก.ได้อุทธรณ์คำสั่งศาล เพื่อให้มีการพิจารณายื่นฟ้องใหม่ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 จากนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้นายทศพรและบริวารออกจากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 โดยนายทศพรได้ยื่นฎีกาต่อ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 ศาลจังหวัดภูเก็ตได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขับไล่นายทศพรและบริวารออกจากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ก.เลขที่ 140 อ.เมือง จ.ภูเก็ต เนื้อที่ 98 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คดีนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงปรากฏว่านายทศพรมีที่ดินอยู่ที่ใน ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จำนวน 3 แปลง อยู่ใน ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต อีก 22 แปลงกับมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด นายทศพรจึงไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นายทศพรจึงไม่ใช่เกษตรกรตามความหมายของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2516 โดย ส.ป.ก.หรือโจทก์มีสิทธินำที่ดินพิพาทมาปฏิรูปที่ดินได้ โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ขณะที่คณะกรรมการกฤษฎีกาสมัยนั้นตีความกรณีนายทุน 8 ราย ที่ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.โดยขาดคุณสมบัติ ซึ่งทาง สปก.ได้ฟ้องร้องผู้ที่ถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.จำนวน 24 ราย ศาลได้ตัดสินไปแล้วบางส่วน ซึ่งมี 2-3 คดีเท่านั้นที่ สปก.เป็นผู้ชนะ นอกจากนั้นแพ้ทั้งหมด และทาง ส.ป.ก.ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลเพื่อพิจารณายื่นฟ้องใหม่จนมีคำพิพากษาขั้นต้น
สำหรับคดี ส.ป.ก.4-01 เคยเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 (2536-2538) โดยเป็นนโยบายที่จะนำพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำกินและห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ยกเว้นให้ตกทอดถึงทายาท นโยบายนี้เป็นสาเหตุทำให้รัฐบาลผสมภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ต้องล้มมาแล้ว เมื่อปี 2538 เนื่องจากมีการแจกจ่ายที่ดิน ส.ป.ก.ให้กับนายทุนที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และถูกฝ่ายค้านนำโดย นายเนวิน ชิดชอบ ส.ส.พรรคชาติไทยขณะนั้น นำไปเป็นประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังการอภิปรายก่อนที่จะลงมติ พรรคพลังธรรมซึ่งขณะนั้นมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้า ได้ตัดสินใจถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เป็นเหตุให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้นชิงยุบสภาก่อน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงนโยบายของนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่จะมอบเอกสารสิทธิในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก.4-01 ให้กับประชาชนว่า ให้ดูจากอดีตที่ผ่านมาว่า ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือศาลมีคำวินิจฉัยเป็นแนวทางไว้อย่างไร รวมทั้งดูคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาและศาลเป็นหลักในการตีความของกฎหมายนั้น แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คำวินิจฉัยของศาลที่นายกรัฐมนตรี อ้างถึงน่าจะเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่อ่านที่ศาลจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1765/2541 และคดีหมายเลขแดงที่ 1485/2544 โดยมีสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นโจทก์ ฟ้องขับไล่นายทศพร เทพบุตร จำเลย (สามีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง-นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ)
คดีดังกล่าว ส.ป.ก.ได้ฟ้องว่า จำเลยยื่นคำขอเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตั้งแต่ปี 2532 เนื้อที่ 98 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา โดยอ้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนผลไม้และปลูกยางพารา แต่ปรากฏว่า จำเลยไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง สปก.จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทศพร เทพบุตร ออกจากการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 นั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จากนั้น ส.ป.ก.ได้อุทธรณ์คำสั่งศาล เพื่อให้มีการพิจารณายื่นฟ้องใหม่ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 จากนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้นายทศพรและบริวารออกจากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 โดยนายทศพรได้ยื่นฎีกาต่อ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.50 ศาลจังหวัดภูเก็ตได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขับไล่นายทศพรและบริวารออกจากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ก.เลขที่ 140 อ.เมือง จ.ภูเก็ต เนื้อที่ 98 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า คดีนี้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงปรากฏว่านายทศพรมีที่ดินอยู่ที่ใน ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จำนวน 3 แปลง อยู่ใน ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต อีก 22 แปลงกับมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด นายทศพรจึงไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นายทศพรจึงไม่ใช่เกษตรกรตามความหมายของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2516 โดย ส.ป.ก.หรือโจทก์มีสิทธินำที่ดินพิพาทมาปฏิรูปที่ดินได้ โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ขณะที่คณะกรรมการกฤษฎีกาสมัยนั้นตีความกรณีนายทุน 8 ราย ที่ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.โดยขาดคุณสมบัติ ซึ่งทาง สปก.ได้ฟ้องร้องผู้ที่ถูกเพิกถอนเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.จำนวน 24 ราย ศาลได้ตัดสินไปแล้วบางส่วน ซึ่งมี 2-3 คดีเท่านั้นที่ สปก.เป็นผู้ชนะ นอกจากนั้นแพ้ทั้งหมด และทาง ส.ป.ก.ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลเพื่อพิจารณายื่นฟ้องใหม่จนมีคำพิพากษาขั้นต้น
สำหรับคดี ส.ป.ก.4-01 เคยเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 (2536-2538) โดยเป็นนโยบายที่จะนำพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำกินและห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ยกเว้นให้ตกทอดถึงทายาท นโยบายนี้เป็นสาเหตุทำให้รัฐบาลผสมภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ต้องล้มมาแล้ว เมื่อปี 2538 เนื่องจากมีการแจกจ่ายที่ดิน ส.ป.ก.ให้กับนายทุนที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และถูกฝ่ายค้านนำโดย นายเนวิน ชิดชอบ ส.ส.พรรคชาติไทยขณะนั้น นำไปเป็นประเด็นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังการอภิปรายก่อนที่จะลงมติ พรรคพลังธรรมซึ่งขณะนั้นมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้า ได้ตัดสินใจถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เป็นเหตุให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้นชิงยุบสภาก่อน