เอเอฟพี - กลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทหารหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ลงมือสังหารสมาชิก 3 คนในครอบครัวหนึ่ง ระหว่างปฏิบัติการจู่โจมกลางดึกที่บ้านพักของแพทย์ผู้หนึ่งใกล้กับเมืองกอสต์ เนื่องจากปักใจเชื่อว่า พวกเขาพัวพันกับเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์
ความโกรธแค้นซึ่งปะทุขึ้นจากปฏิบัติการจู่โจมในพื้นแถบตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถานครั้งนี้ ยังได้เชื้อเพลิงชั้นดีโหมกระพือความโกรธกริ้วของสาธารณชน จากการที่ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ซัย เดินทางไปแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียด้วยตนเอง จนบางคนมองว่า ทำเพราะหวังคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น
"พวกทหารอเมริกันบุกพรวดพราดเข้ามาโดยไม่แจ้งเตือนก่อน หลานชายของผมคนหนึ่ง ชื่ออามีน อายุ 14 ปี ซึ่งขณะเกิดเหตุนอนหลับอยู่ข้าง ๆ ปืนไรเฟิล เป็นศพแรกที่พวกเขาลั่นไกสังหาร" บิลาล ฮัซซัน ซึ่งทำงานที่แผนกสาธารณสุขของจังหวัดกอสต์กล่าว
ครอบครัวของเขาถูกปลุกขึ้นกลางดึกด้วยความตกใจสุดขีด เมื่อทหารอเมริกันจู่โจมบุกเข้าไปในบ้านพักของพวกเขา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุม เมื่อเวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
"พี่ชายของผมถือปืนวิ่งออกไปข้างนอก จากนั้นเขาก็ถูกยิง เช่นเดียวกับภรรยาของเขาที่วิ่งตามสามีออกมา" หมอผู้นี้เล่าย้อนถึงเหตุการณ์
พี่สะใภ้ของเขาถูกยิงที่กระดูกสันหลัง จนกลายเป็นอัมพาต
"จากนั้นพวกทหารก็นำสุนัขเข้ามา" หมอเจ้าของบ้านเล่าต่อ สุนัขเหล่านั้นรุมขย้ำร่างผู้เสียชีวิต และกัดนิ้วมือของศพจนขาดวิ่น ต่อมาพวกมันก็หันมาเล่นงานร่างที่สะบักสะบอมของหญิงที่ได้รับบาดเจ็บ และเด็กอายุ 5 ขวบอีกคนหนึ่ง
ปฏิบัติการค้นหาดำเนินไปอีกเกือบ 5 ชั่วโมง เขาบอกว่า "ทหารอเมริกันเข้ามาค้นตัวพวกผู้หญิง" ซึ่งตามวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว การถูกแตะเนื้อต้องตัวโดยชายอื่นซึ่งไม่ใช่คนในครอบครัว ถือเป็นก่ออาชญากรรมต่อผู้หญิง
"ทหารอเมริกันยึดเงินเก็บของเรา ปืนของเราทั้งหมด ซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันตัว, และกระทั่งเอกสารต่าง ๆ ซึ่งบางฉบับเป็นเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน... ทำไมถึงต้องทำขนาดนั้น"
หลังเกิดกรณีอื้อฉาวหลายวันถัดมา กองทัพสหรัฐฯ ออกคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า ปฏิบัติการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ "ตัดตอนเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์" โดยมี "กลุ่มติดอาวุธ"3 คน ถูกสังหารเสียชีวิต ขณะพยายามยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่
ผู้ต้องสงสัย 5 คนถูกควบคุมตัว โดยหนึ่งในนั้นเป็นเป้าหมายของการจู่โจมครั้งนี้ ซึ่งเชื่อว่า "มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์" นอกประเทศอัฟกานิสถาน กองทัพสหรัฐฯ กล่าวในคำแถลง
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากในเมืองกอสต์ รวมทั้งชาวต่างชาติที่พากันเฝ้าติดตามเหตุการณ์นี้ ซึ่งรู้จักกันดีในนาม "คดีบิลาล" ต่างยืนยันตามคำบอกเล่าของหมอฮัซซัน
ถัดจากนั้นอีกหนึ่งเดือนครึ่ง "ผู้ต้องสงสัยพัวพันกับกลุ่มอัลกออิดะห์" ซึ่งถูกจับในครั้งนั้น ได้รับการปล่อยตัวออกมา 4 คน โดยยังเหลืออีก 1 คนถูกควบคุมตัวอยู่
ฮัซซันเล่าว่า กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะสำนึกแล้วว่าทำผิดพลาดอย่างร้ายแรง มอบเงิน 4,500 ดอลลาร์ให้กับเขา เพื่อชดใช้ค่าเสียหายจากการจู่โจมดังกล่าว
กระนั้นก็ตาม กองทัพสหรัฐฯ ไม่ยอมคืนสิ่งของและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ยึดไป รวมทั้งยังคงควบคุมตัวหลานชายของเขาคนที่ชื่ออะเหม็ด นูร ซึ่งเดินทางกลับจากดูไบที่ซึ่งเขาทำงานเป็นพนักงานขับรถ เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวในช่วงวันหยุด
นูร วัย 25 ปี "ก็เหมือนกับเราทุกคน พวกเราไม่ใช่กลุ่มตอลิบาน" ฮัซซันกล่าว
หมอผู้นี้แสดงจดหมายฉบับหนึ่งจากนายจ้างของนูร ซึ่งพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีข้อความระบุว่า หนุ่มวัย 25 ปีผู้นี้ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดงาน พร้อมกันนี้ทางการดูไบยังยืนยันด้วยว่า เขาทำงานอยู่ที่นั่นจริง ๆ
อย่างน้อยฮัซซันต้องการเพียงให้กองทัพสหรัฐฯ ยอมรับว่าทำผิดพลาด
หมอคนดังกล่าวเชื่อว่า การจู่โจมครั้งนี้ เกิดจากการชักใยของพวกคู่อริฝ่ายซ้ายของเขา ซึ่งสนับสนุนให้โซเวียตบุกอัฟกานิสถานในช่วง 1980 โดยตอนนี้พวกอริของเขาทำงานเป็นตำรวจ
"ผมขัดแย้งเรื่องที่ดินกับพวกเขา และน่าจะเป็นพวกเขาที่ปรักปรำผม"
เจ้าหน้าที่นานาชาติผู้หนึ่งในจังหวัดแห่งนี้ ยืนยันโดยขอไม่เปิดเผยชื่อว่า ตำรวจกล่าวหาว่า "บิลาลพัวพันกับกลุ่มกบฎ"
ความโกรธแค้นซึ่งปะทุขึ้นจากปฏิบัติการจู่โจมในพื้นแถบตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถานครั้งนี้ ยังได้เชื้อเพลิงชั้นดีโหมกระพือความโกรธกริ้วของสาธารณชน จากการที่ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ซัย เดินทางไปแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียด้วยตนเอง จนบางคนมองว่า ทำเพราะหวังคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น
"พวกทหารอเมริกันบุกพรวดพราดเข้ามาโดยไม่แจ้งเตือนก่อน หลานชายของผมคนหนึ่ง ชื่ออามีน อายุ 14 ปี ซึ่งขณะเกิดเหตุนอนหลับอยู่ข้าง ๆ ปืนไรเฟิล เป็นศพแรกที่พวกเขาลั่นไกสังหาร" บิลาล ฮัซซัน ซึ่งทำงานที่แผนกสาธารณสุขของจังหวัดกอสต์กล่าว
ครอบครัวของเขาถูกปลุกขึ้นกลางดึกด้วยความตกใจสุดขีด เมื่อทหารอเมริกันจู่โจมบุกเข้าไปในบ้านพักของพวกเขา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุม เมื่อเวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
"พี่ชายของผมถือปืนวิ่งออกไปข้างนอก จากนั้นเขาก็ถูกยิง เช่นเดียวกับภรรยาของเขาที่วิ่งตามสามีออกมา" หมอผู้นี้เล่าย้อนถึงเหตุการณ์
พี่สะใภ้ของเขาถูกยิงที่กระดูกสันหลัง จนกลายเป็นอัมพาต
"จากนั้นพวกทหารก็นำสุนัขเข้ามา" หมอเจ้าของบ้านเล่าต่อ สุนัขเหล่านั้นรุมขย้ำร่างผู้เสียชีวิต และกัดนิ้วมือของศพจนขาดวิ่น ต่อมาพวกมันก็หันมาเล่นงานร่างที่สะบักสะบอมของหญิงที่ได้รับบาดเจ็บ และเด็กอายุ 5 ขวบอีกคนหนึ่ง
ปฏิบัติการค้นหาดำเนินไปอีกเกือบ 5 ชั่วโมง เขาบอกว่า "ทหารอเมริกันเข้ามาค้นตัวพวกผู้หญิง" ซึ่งตามวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้ว การถูกแตะเนื้อต้องตัวโดยชายอื่นซึ่งไม่ใช่คนในครอบครัว ถือเป็นก่ออาชญากรรมต่อผู้หญิง
"ทหารอเมริกันยึดเงินเก็บของเรา ปืนของเราทั้งหมด ซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันตัว, และกระทั่งเอกสารต่าง ๆ ซึ่งบางฉบับเป็นเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน... ทำไมถึงต้องทำขนาดนั้น"
หลังเกิดกรณีอื้อฉาวหลายวันถัดมา กองทัพสหรัฐฯ ออกคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า ปฏิบัติการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ "ตัดตอนเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์" โดยมี "กลุ่มติดอาวุธ"3 คน ถูกสังหารเสียชีวิต ขณะพยายามยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่
ผู้ต้องสงสัย 5 คนถูกควบคุมตัว โดยหนึ่งในนั้นเป็นเป้าหมายของการจู่โจมครั้งนี้ ซึ่งเชื่อว่า "มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์" นอกประเทศอัฟกานิสถาน กองทัพสหรัฐฯ กล่าวในคำแถลง
อย่างไรก็ตาม คนจำนวนมากในเมืองกอสต์ รวมทั้งชาวต่างชาติที่พากันเฝ้าติดตามเหตุการณ์นี้ ซึ่งรู้จักกันดีในนาม "คดีบิลาล" ต่างยืนยันตามคำบอกเล่าของหมอฮัซซัน
ถัดจากนั้นอีกหนึ่งเดือนครึ่ง "ผู้ต้องสงสัยพัวพันกับกลุ่มอัลกออิดะห์" ซึ่งถูกจับในครั้งนั้น ได้รับการปล่อยตัวออกมา 4 คน โดยยังเหลืออีก 1 คนถูกควบคุมตัวอยู่
ฮัซซันเล่าว่า กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะสำนึกแล้วว่าทำผิดพลาดอย่างร้ายแรง มอบเงิน 4,500 ดอลลาร์ให้กับเขา เพื่อชดใช้ค่าเสียหายจากการจู่โจมดังกล่าว
กระนั้นก็ตาม กองทัพสหรัฐฯ ไม่ยอมคืนสิ่งของและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ยึดไป รวมทั้งยังคงควบคุมตัวหลานชายของเขาคนที่ชื่ออะเหม็ด นูร ซึ่งเดินทางกลับจากดูไบที่ซึ่งเขาทำงานเป็นพนักงานขับรถ เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวในช่วงวันหยุด
นูร วัย 25 ปี "ก็เหมือนกับเราทุกคน พวกเราไม่ใช่กลุ่มตอลิบาน" ฮัซซันกล่าว
หมอผู้นี้แสดงจดหมายฉบับหนึ่งจากนายจ้างของนูร ซึ่งพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีข้อความระบุว่า หนุ่มวัย 25 ปีผู้นี้ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดงาน พร้อมกันนี้ทางการดูไบยังยืนยันด้วยว่า เขาทำงานอยู่ที่นั่นจริง ๆ
อย่างน้อยฮัซซันต้องการเพียงให้กองทัพสหรัฐฯ ยอมรับว่าทำผิดพลาด
หมอคนดังกล่าวเชื่อว่า การจู่โจมครั้งนี้ เกิดจากการชักใยของพวกคู่อริฝ่ายซ้ายของเขา ซึ่งสนับสนุนให้โซเวียตบุกอัฟกานิสถานในช่วง 1980 โดยตอนนี้พวกอริของเขาทำงานเป็นตำรวจ
"ผมขัดแย้งเรื่องที่ดินกับพวกเขา และน่าจะเป็นพวกเขาที่ปรักปรำผม"
เจ้าหน้าที่นานาชาติผู้หนึ่งในจังหวัดแห่งนี้ ยืนยันโดยขอไม่เปิดเผยชื่อว่า ตำรวจกล่าวหาว่า "บิลาลพัวพันกับกลุ่มกบฎ"