(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Washington loses a vital link
By Syed Saleem Shahzad
09/01/2009
เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนเปิดฉากปราบปรามพวกหัวรุนแรง ตามที่วอชิงตันและเดลีปรารถนา รัฐบาลปากีสถานก็กลับลำยอมทำตามความต้องการของฝ่ายทหารของตน โดยหันไปออกคำสั่งปลดที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ มาหมุด ดูร์รานี ทั้งนี้ ดูร์รานีผู้มีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ คือกุญแจดอกสำคัญของสหรัฐฯในการดำเนินแผนการต่างๆ อันจัดวางไว้สำหรับภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอัฟกานิสถาน
การาจี – ปากีสถานกำลังทำท่าจะลงมือปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญชีรายการสิ่งที่จะต้องกระทำ ซึ่ง ริชาร์ด บาวเชอร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯฝ่ายกิจการเอเชียใต้และเอเชียกลาง ได้ส่งมอบให้เมื่อไม่นานมานี้อยู่แล้ว โดยในวันพฤหัสบดี(8)ที่ผ่านมานั้น ได้มีการเตรียมตัวอย่างแข็งขันที่จะเปิดฉากการปราบปรามเล่นงานกลุ่ม ลัชการ์-อี-ตอยบา (Lashkar-e-Toiba หรือ LET) ตลอดจนองค์การจิฮัดอื่นๆ
แต่แล้วปฏิบัติการปราบปรามดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการประสานงานระหว่างกระทรวงมหาดไทย, ตำรวจ, และองค์การข่าวกรอง ก็ได้ถูกฝ่ายทหารของปากีสถานสั่งระงับไปในชั่วโมงสุดท้ายก่อนเริ่มลงมือ แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ รายในแวดวงข่าวกรองของปากีสถานบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์เช่นนี้
ไม่เพียงเท่านั้น พล.ต.(เกษียณอายุ) มาหมุด ดูร์รานี ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติผู้ทรงอำนาจมาก ยังถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งด้วย ก่อนหน้านี้ ดูร์รานีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลคนอื่นๆ ได้ยอมรับว่า อัชมัล กาซาบ ผู้เหลือรอดชีวิตอยู่เพียงคนเดียวของกลุ่ม 10 ผู้ก่อการร้ายซึ่งเปิดการโจมตีอย่างนองเดือดในนครมุมไบของอินเดียเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน นั้น เป็นชาวปากีสถาน ขณะที่ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ก็ได้ถูกโยงใยเชื่อมโยงอยู่ก่อนแล้วกับทางกลุ่มแอลอีที ซึ่งเป็นองค์การที่ถูกสั่งยุบไปแล้วในปากีสถาน
ดูร์รานีถือเป็นตัวเชื่อมโยงที่สำคัญยิ่งยวดระหว่างสหรัฐฯ, รัฐบาลปากีสถาน, และฝ่ายทหารปากีสถาน
ปีใหม่ปีนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยข้อเสนอริเริ่มที่สดใหม่เกี่ยวกับการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” อันมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ เมื่อพิจารณาจากการที่บาวเชอร์ได้เปิดเผยถึงแผนการที่เรียกกันว่า วิธีการแบบก้าวเดินไปสองขาพร้อมๆ กัน กล่าวคือ ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ของปากีสถาน จะต้องหาทางปรองดองรอมชอมกับอินเดีย ด้วยการทำตามข้อเรียกร้องต่างๆ ของทางนิวเดลีภายหลังเหตุการณ์โจมตีนครมุมไบ และอีกด้านหนึ่งซาร์ดารีก็จะต้องไปเยือนกรุงคาบูล เพื่อสร้างความร่วมมือประสานงานกันที่ดียิ่งขึ้นกับทางประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน
อีกไม่นานนักต่อจากนี้ไป ทางผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ พล.อ.เดวิด เพเทรอุส จะเปิดฉาก “การเพิ่มกำลังแบบพุ่งทะยาน” ในอัฟกานิสถาน โดยที่จะเพิ่มจำนวนทหารอเมริกันขึ้นเป็นสองเท่าตัว จาก 30,000 คนเป็น 60,000 คน ในเวลาเดียวกัน พื้นที่ชาวชนเผ่าของปากีสถาน ซึ่งพวกหัวรุนแรงมีที่มั่นอยู่อย่างมากมายและกว้างขวางนั้น ก็จะกลายเป็นพื้นที่เปิดให้กองทัพสหรัฐฯที่จะได้รับการหนุนหลังจากการลาดตระเวนร่วมกันของกองทัพแห่งชาติของทั้งอัฟกานิสถานและปากีสถาน ตลอดจนจากการสนับสนุนของกองกำลังขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ(นาโต้) เข้าไปไล่ล่าปราบปรามพวกกองกำลังอาวุธท้องถิ่นของชนเผ่า ไมว่าจะเป็นพวกที่ถือว่าเป็นชาวอัฟกันหรือชาวปากีสถานก็ตามที
อย่างไรก็ตาม ส่วนแรกของแผนการของอเมริกันซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอินเดียนั้น เวลานี้ได้ถูกทำลายย่อยยับเสียแล้วจากการปลดดูร์รานี อีกทั้งยังทำให้น่าสงสัยว่าอีกส่วนหนึ่งของแผนการที่ยังเหลืออยู่ จะยังมีการเดินหน้าต่อไปหรือไม่ สภาพเช่นนี้ยังทำให้รัฐบาลพลเรือนของซาร์ดานีต้องกระมิดกระเมี้ยนวางตัวไม่ค่อยถูก เมื่อตกอยู่ท่ามกลางความปรารถนาที่ไปกันคนละทางกันของฝ่ายสหรัฐฯ และของฝ่ายทหารปากีสถานเอง
**ตัวเชื่อมที่ขาดหายไป**
ภายหลังการก้าวลงจากเวทีของอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ และการเลือกตั้งซึ่งทำให้ได้รัฐบาลที่เป็นพลเรือนเมื่อต้นปีที่แล้ว บทบาทของดูร์รานีในฐานะคนกลางคอยติดต่อระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็เพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างยิ่งยวด ในขณะที่เขาก็พยายามทำให้แรงกดดันต่างๆ ที่โถมใส่รัฐบาลพลเรือน มีการทัดทานถ่วงรั้งกันให้เกิดความสมดุลขึ้นมา
ดูร์รานีมีไมตรีจิตมิตรภาพอันใกล้ชิดกับพวกผู้วางนโยบายด้านเอเชียใต้ของอเมริกัน อีกทั้งได้เคยเกี่ยวข้องกับกับความพยายามอย่างลับๆ ที่อุปถัมภ์โดยอเมริกันทั้งในเรื่องกรณีพิพาทเกี่ยวกับแคว้นแคชเมียร์ และในเรื่องอัฟกานิสถาน เขายังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตปากีสถานประจำกรุงวอชิงตันอยู่ระยะหนึ่งด้วย
หลังเหตุการณ์โจมตีนครมุมไบ ได้มีความเคลื่อนไหวที่จะจัดตั้งองค์การข่าวกรองแห่งชาติของปากีสถานขึ้นมา เพื่อถ่วงน้ำหนักองค์การประมวลข่าวกรองกลาง (ไอเอสไอ) ซึ่งทรงอำนาจอย่างยิ่ง และถูกกล่าวหาเรื่อยมาว่าคอยเตะถ่วงไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ศาสตาจารย์ชาวปากีสถานผู้หนึ่งในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะเจ้าหน้าที่ประจำตัวของซาร์ดานีมาก่อน อีกทั้งเคยเป็นตำรวจด้วย ได้ถูกระบุชื่อว่าจะมาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของหน่วยงานใหม่แห่งนี้ แต่แล้วเนื่องจากถูกฝ่ายทหารแทรกแซงทัดทาน แผนการนี้จึงถูกเก็บพับเข้าตู้ไป
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐฯ รัฐบาลปากีสถานก็ได้พยายามที่จะเล่นชั้นเชิงเอาชนะฝ่ายทหาร จนทำให้องค์การ จามาอะตุต ดาวะ (Jamaatut Dawa) ถูกสหประชาชาติประกาศว่าเป็นองค์กรบังหน้าของกลุ่มแอลอีที และถูกขึ้นบัญชีรายชื่อเป็นองค์กรก่อการร้ายด้วย เช่นเดียวกับตอลิบานและอัลกออิดะห์
เรื่องนี้ทำให้รัฐบาลปากีสถานมีเหตุผลความชอบธรรมในการเข้าจับกุมพวกผู้นำของจามาอะตุต ดาวะ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทหารได้ออกมาแย้งว่า หากอินเดียไม่ได้แสดงหลักฐานที่สามารถเล่นงานพวกผู้นำเหล่านี้แล้ว ก็จะต้องปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ ปรากฏว่ารัฐบาลมีท่าทีเห็นชอบด้วยกับข้อโต้แย้งนี้
หลังจากนั้นรัฐบาลก็มีท่าทีกลับกลอกสับสน กระทั่งอ้างว่า มาซูด อัซฮาร์ ผู้นำคนสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาลอินเดียเนื่องจากต้องสงสัยว่ามีบทบาทในการโจมตีที่มุมไบนั้น กำลังอยู่ระหว่างการหลบหนี และไม่สามารถติดตามตัวได้แม้จะพยายามค้นหากันเต็มที่แล้ว ทว่าทั้งวอชิงตันและเดลีต่างก็ไม่เชื่อคำแถลงนี้ และมีการใช้แรงบีบคั้นให้พวกหน่วยงานพลเรือน อย่างเช่น ตำรวจ และสำนักงานข่าวกรอง ต้องดำเนินการอะไรสักอย่าง
พวกหน่วยงานมหาดไทยตามแคว้นต่างๆ ของปากีสถาน ได้ตระเตรียมรายชื่อพวกหัวรุนแรงที่ถูกหมายหัวต้องการตัว รวมทั้งกำลังจะเริ่มออกปฏิบัติการปราบปรามจับกุมอยู่รอมร่อแล้วในวันพฤหัสบดี(8) ภายหลังดูร์รานีและคนอื่นๆ ตระเตรียมจัดฉากเอาไว้ให้ ด้วยการออกมาแถลงยอมรับว่า กาซาบ ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวในกลุ่ม 10 ผู้ก่อการร้ายโจมตีมุมไบ เป็นชาวปากีสถาน
เรื่องนี้ทำให้พวกผู้นำทหารรู้สึกว่ามากเกินไปแล้ว และพวกเขาจึงได้ออก “หนังสือให้คำแนะนำ” ถึงประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี ยูซุฟ กิลานี ว่าดูร์รานีจะต้องออกจากตำแหน่งในทันที
ปรากฏว่ารัฐบาลยอมจำนน และวอชิงตันก็เลยสูญเสียผู้เสนอแนะช่วยเหลือคนสำคัญยิ่ง ขณะที่กำลังเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติการขั้นใหม่ในอัฟกานิสถาน ดังนั้น ว่าที่รองประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ผู้กำหนดมาเยือนภูมิภาคแถบนี้ในเร็ววันนี้ จึงมีอะไรที่จะต้องกังวลเป็นห่วงอยู่มากทีเดียว
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่ saleem_shahzad2002@yahoo.com
Washington loses a vital link
By Syed Saleem Shahzad
09/01/2009
เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนเปิดฉากปราบปรามพวกหัวรุนแรง ตามที่วอชิงตันและเดลีปรารถนา รัฐบาลปากีสถานก็กลับลำยอมทำตามความต้องการของฝ่ายทหารของตน โดยหันไปออกคำสั่งปลดที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ มาหมุด ดูร์รานี ทั้งนี้ ดูร์รานีผู้มีสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ คือกุญแจดอกสำคัญของสหรัฐฯในการดำเนินแผนการต่างๆ อันจัดวางไว้สำหรับภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอัฟกานิสถาน
การาจี – ปากีสถานกำลังทำท่าจะลงมือปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญชีรายการสิ่งที่จะต้องกระทำ ซึ่ง ริชาร์ด บาวเชอร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯฝ่ายกิจการเอเชียใต้และเอเชียกลาง ได้ส่งมอบให้เมื่อไม่นานมานี้อยู่แล้ว โดยในวันพฤหัสบดี(8)ที่ผ่านมานั้น ได้มีการเตรียมตัวอย่างแข็งขันที่จะเปิดฉากการปราบปรามเล่นงานกลุ่ม ลัชการ์-อี-ตอยบา (Lashkar-e-Toiba หรือ LET) ตลอดจนองค์การจิฮัดอื่นๆ
แต่แล้วปฏิบัติการปราบปรามดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการประสานงานระหว่างกระทรวงมหาดไทย, ตำรวจ, และองค์การข่าวกรอง ก็ได้ถูกฝ่ายทหารของปากีสถานสั่งระงับไปในชั่วโมงสุดท้ายก่อนเริ่มลงมือ แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีหลายๆ รายในแวดวงข่าวกรองของปากีสถานบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์เช่นนี้
ไม่เพียงเท่านั้น พล.ต.(เกษียณอายุ) มาหมุด ดูร์รานี ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติผู้ทรงอำนาจมาก ยังถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งด้วย ก่อนหน้านี้ ดูร์รานีและเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลคนอื่นๆ ได้ยอมรับว่า อัชมัล กาซาบ ผู้เหลือรอดชีวิตอยู่เพียงคนเดียวของกลุ่ม 10 ผู้ก่อการร้ายซึ่งเปิดการโจมตีอย่างนองเดือดในนครมุมไบของอินเดียเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน นั้น เป็นชาวปากีสถาน ขณะที่ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ก็ได้ถูกโยงใยเชื่อมโยงอยู่ก่อนแล้วกับทางกลุ่มแอลอีที ซึ่งเป็นองค์การที่ถูกสั่งยุบไปแล้วในปากีสถาน
ดูร์รานีถือเป็นตัวเชื่อมโยงที่สำคัญยิ่งยวดระหว่างสหรัฐฯ, รัฐบาลปากีสถาน, และฝ่ายทหารปากีสถาน
ปีใหม่ปีนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยข้อเสนอริเริ่มที่สดใหม่เกี่ยวกับการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” อันมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ เมื่อพิจารณาจากการที่บาวเชอร์ได้เปิดเผยถึงแผนการที่เรียกกันว่า วิธีการแบบก้าวเดินไปสองขาพร้อมๆ กัน กล่าวคือ ประธานาธิบดีอาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ของปากีสถาน จะต้องหาทางปรองดองรอมชอมกับอินเดีย ด้วยการทำตามข้อเรียกร้องต่างๆ ของทางนิวเดลีภายหลังเหตุการณ์โจมตีนครมุมไบ และอีกด้านหนึ่งซาร์ดารีก็จะต้องไปเยือนกรุงคาบูล เพื่อสร้างความร่วมมือประสานงานกันที่ดียิ่งขึ้นกับทางประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ของอัฟกานิสถาน
อีกไม่นานนักต่อจากนี้ไป ทางผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ พล.อ.เดวิด เพเทรอุส จะเปิดฉาก “การเพิ่มกำลังแบบพุ่งทะยาน” ในอัฟกานิสถาน โดยที่จะเพิ่มจำนวนทหารอเมริกันขึ้นเป็นสองเท่าตัว จาก 30,000 คนเป็น 60,000 คน ในเวลาเดียวกัน พื้นที่ชาวชนเผ่าของปากีสถาน ซึ่งพวกหัวรุนแรงมีที่มั่นอยู่อย่างมากมายและกว้างขวางนั้น ก็จะกลายเป็นพื้นที่เปิดให้กองทัพสหรัฐฯที่จะได้รับการหนุนหลังจากการลาดตระเวนร่วมกันของกองทัพแห่งชาติของทั้งอัฟกานิสถานและปากีสถาน ตลอดจนจากการสนับสนุนของกองกำลังขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ(นาโต้) เข้าไปไล่ล่าปราบปรามพวกกองกำลังอาวุธท้องถิ่นของชนเผ่า ไมว่าจะเป็นพวกที่ถือว่าเป็นชาวอัฟกันหรือชาวปากีสถานก็ตามที
อย่างไรก็ตาม ส่วนแรกของแผนการของอเมริกันซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอินเดียนั้น เวลานี้ได้ถูกทำลายย่อยยับเสียแล้วจากการปลดดูร์รานี อีกทั้งยังทำให้น่าสงสัยว่าอีกส่วนหนึ่งของแผนการที่ยังเหลืออยู่ จะยังมีการเดินหน้าต่อไปหรือไม่ สภาพเช่นนี้ยังทำให้รัฐบาลพลเรือนของซาร์ดานีต้องกระมิดกระเมี้ยนวางตัวไม่ค่อยถูก เมื่อตกอยู่ท่ามกลางความปรารถนาที่ไปกันคนละทางกันของฝ่ายสหรัฐฯ และของฝ่ายทหารปากีสถานเอง
**ตัวเชื่อมที่ขาดหายไป**
ภายหลังการก้าวลงจากเวทีของอดีตประธานาธิบดี พล.อ.เปอร์เวซ มูชาร์รัฟ และการเลือกตั้งซึ่งทำให้ได้รัฐบาลที่เป็นพลเรือนเมื่อต้นปีที่แล้ว บทบาทของดูร์รานีในฐานะคนกลางคอยติดต่อระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็เพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างยิ่งยวด ในขณะที่เขาก็พยายามทำให้แรงกดดันต่างๆ ที่โถมใส่รัฐบาลพลเรือน มีการทัดทานถ่วงรั้งกันให้เกิดความสมดุลขึ้นมา
ดูร์รานีมีไมตรีจิตมิตรภาพอันใกล้ชิดกับพวกผู้วางนโยบายด้านเอเชียใต้ของอเมริกัน อีกทั้งได้เคยเกี่ยวข้องกับกับความพยายามอย่างลับๆ ที่อุปถัมภ์โดยอเมริกันทั้งในเรื่องกรณีพิพาทเกี่ยวกับแคว้นแคชเมียร์ และในเรื่องอัฟกานิสถาน เขายังดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตปากีสถานประจำกรุงวอชิงตันอยู่ระยะหนึ่งด้วย
หลังเหตุการณ์โจมตีนครมุมไบ ได้มีความเคลื่อนไหวที่จะจัดตั้งองค์การข่าวกรองแห่งชาติของปากีสถานขึ้นมา เพื่อถ่วงน้ำหนักองค์การประมวลข่าวกรองกลาง (ไอเอสไอ) ซึ่งทรงอำนาจอย่างยิ่ง และถูกกล่าวหาเรื่อยมาว่าคอยเตะถ่วงไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการทำ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ศาสตาจารย์ชาวปากีสถานผู้หนึ่งในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะเจ้าหน้าที่ประจำตัวของซาร์ดานีมาก่อน อีกทั้งเคยเป็นตำรวจด้วย ได้ถูกระบุชื่อว่าจะมาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของหน่วยงานใหม่แห่งนี้ แต่แล้วเนื่องจากถูกฝ่ายทหารแทรกแซงทัดทาน แผนการนี้จึงถูกเก็บพับเข้าตู้ไป
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐฯ รัฐบาลปากีสถานก็ได้พยายามที่จะเล่นชั้นเชิงเอาชนะฝ่ายทหาร จนทำให้องค์การ จามาอะตุต ดาวะ (Jamaatut Dawa) ถูกสหประชาชาติประกาศว่าเป็นองค์กรบังหน้าของกลุ่มแอลอีที และถูกขึ้นบัญชีรายชื่อเป็นองค์กรก่อการร้ายด้วย เช่นเดียวกับตอลิบานและอัลกออิดะห์
เรื่องนี้ทำให้รัฐบาลปากีสถานมีเหตุผลความชอบธรรมในการเข้าจับกุมพวกผู้นำของจามาอะตุต ดาวะ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทหารได้ออกมาแย้งว่า หากอินเดียไม่ได้แสดงหลักฐานที่สามารถเล่นงานพวกผู้นำเหล่านี้แล้ว ก็จะต้องปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ ปรากฏว่ารัฐบาลมีท่าทีเห็นชอบด้วยกับข้อโต้แย้งนี้
หลังจากนั้นรัฐบาลก็มีท่าทีกลับกลอกสับสน กระทั่งอ้างว่า มาซูด อัซฮาร์ ผู้นำคนสำคัญซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาลอินเดียเนื่องจากต้องสงสัยว่ามีบทบาทในการโจมตีที่มุมไบนั้น กำลังอยู่ระหว่างการหลบหนี และไม่สามารถติดตามตัวได้แม้จะพยายามค้นหากันเต็มที่แล้ว ทว่าทั้งวอชิงตันและเดลีต่างก็ไม่เชื่อคำแถลงนี้ และมีการใช้แรงบีบคั้นให้พวกหน่วยงานพลเรือน อย่างเช่น ตำรวจ และสำนักงานข่าวกรอง ต้องดำเนินการอะไรสักอย่าง
พวกหน่วยงานมหาดไทยตามแคว้นต่างๆ ของปากีสถาน ได้ตระเตรียมรายชื่อพวกหัวรุนแรงที่ถูกหมายหัวต้องการตัว รวมทั้งกำลังจะเริ่มออกปฏิบัติการปราบปรามจับกุมอยู่รอมร่อแล้วในวันพฤหัสบดี(8) ภายหลังดูร์รานีและคนอื่นๆ ตระเตรียมจัดฉากเอาไว้ให้ ด้วยการออกมาแถลงยอมรับว่า กาซาบ ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวในกลุ่ม 10 ผู้ก่อการร้ายโจมตีมุมไบ เป็นชาวปากีสถาน
เรื่องนี้ทำให้พวกผู้นำทหารรู้สึกว่ามากเกินไปแล้ว และพวกเขาจึงได้ออก “หนังสือให้คำแนะนำ” ถึงประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี ยูซุฟ กิลานี ว่าดูร์รานีจะต้องออกจากตำแหน่งในทันที
ปรากฏว่ารัฐบาลยอมจำนน และวอชิงตันก็เลยสูญเสียผู้เสนอแนะช่วยเหลือคนสำคัญยิ่ง ขณะที่กำลังเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติการขั้นใหม่ในอัฟกานิสถาน ดังนั้น ว่าที่รองประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ผู้กำหนดมาเยือนภูมิภาคแถบนี้ในเร็ววันนี้ จึงมีอะไรที่จะต้องกังวลเป็นห่วงอยู่มากทีเดียว
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่ saleem_shahzad2002@yahoo.com