รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบอุดหนุนค่าใช้จ่าย ตามมาตรการช่วยเหลือการครองชีพของบุคลากรภาครัฐ โดยจัดเป็นงบกลาง 2,652 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ของทุกหน่วยงาน จำนวน ประมาณ 1,326,000 คน โดยจ่ายตามหลักเกณฑ์ ให้กลุ่มเป้าหมาย (บุคลากรภาครัฐ) ผ่านกระบวนการเหมือนกับการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนตามปกติ
ทั้งนี้จาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ได้มีการปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ จากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นกำหนดให้จำแนกตำแหน่งตามลักษณะของประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภทนั้น เมื่อพิจารณาตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ จะพบว่า ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ ข้าราชการตำแหน่งกระดับปฏิบัติการ และข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไปที่จะได้รับประโยชน์จากหลักเกณฑ์นี้
เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฯ ปี 51 และหลักเกณฑ์ได้รับเงินค่าครองชีพ 2,000 บาท พบว่า ข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทผู้อำนวยการ เช่น ปลัดกระทรวง เลขาธิการฯ อธิบดี ผู้อำนวยการกองฯ ผู้อำนวยการสำนักงาน ฯลฯ จะไม่เข้าหลักเกณฑ์นี้เนื่องจากมีอัตราตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำต่ำสุดที่ 23,230 บาทต่อเดือน และ 18,910 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีเงินประจำตำแหน่งขั้นต่ำอีก 10,000 บาท และ 5,600 บาทตามลำดับ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับข้าราชการตำแหน่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และทั่วไปที่เข้าหลักเกณฑ์นั้น กลับพบว่า ข้าราชการทั้ง 3 ระดับในประเภทวิชาการ ผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้แก่ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ(เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว) ที่ 6,800 บาท และระดับปฏิบัติการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 7,940 บาท,
อย่างไรก็ตาม ข้าราชการระดับชำนาญการ (เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว) ที่ 12,530 บาทต่อเดือนและระดับชำนาญการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 14,330 บาทต่อเดือนกลับมีเงินประจำตำแหน่งอีก 3,500 บาทจะไม่เข้าหลักเกณฑ์รับเงินอุดหนุนค่าครองชีพของรัฐ
ส่วนข้าราชการตำแหน่งวิชาการที่เหลือ ทั้งระดับปฏิบัติการ (ขั้นสูง) ระดับชำนาญการ (ขั้นสูง) ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำสุดที่ 18,910 บาทต่อเดือนจะไม่ได้รับเงินอุดหนุน 2,000 บาทในหลักเกณฑ์นี้ โดยเฉพาะยังมีเงินประจำตำแหน่งอีกด้วย
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในระดับล่าง คือ ระดับทั่วไปที่ได้รับเงินค่าครองชีพตามหลักเกณฑ์นั้น ประกอบด้วย ระดับปฏิบัติการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 4,630 บาทต่อเดือน ระดับชำนาญงาน (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่10,190 บาทต่อเดือน ส่วนที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์คือ ข้าราชการประเภทอาวุโส และข้าราชการประเภททักษะพิเศษ ที่มีขั้นเงินเดือนขั้นต่ำที่ 15,410 บาทต่อเดือน และ 48,220 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะระดับทักษะพิเศษที่มีเงินประจำตำแหน่งให้อีก 9,900 บาทต่อเดือน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า จากการปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สามัญ จากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นกำหนดให้จำแนกตำแหน่งตามลักษณะของประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ทั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบกับเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนของเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูที่กำหนดไว้เดิมตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 โดยเฉพาะจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายบ่าอินทรธนู ข้าราชการ (ชุดสีกากี และชุดขาว)
ทั้งนี้ ให้เครื่องแบบปฏิบัติราชการเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ (เครื่องแบบสีกากี) ระดับทั่วไป และระดับปฏิบัติงาน ให้คงเครื่องแบบคงเดิม ทั้งนี้ เครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทตำแหน่งทั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทตำแหน่งวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง และประเภทตำแหน่งบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ยังคงกำหนดให้ใช้อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของระดับ 7-11 เดิมแต่เพิ่มเครื่องหมายตราครุฑพ่าห์ ทำด้วยโลหะสีทอง สูง 2.5 เซนติเมตร ติดบนกึ่งกลางแถบกว้าง 3 เซนติเมตร
ให้ยกเลิกเครื่องหมายตำแหน่งเป็นอินทรธนู ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 2 ที่มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ ขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร และของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 1 มีแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 5 มิลลิเมตร”
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเครื่องแบบพิธีการเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ (เครื่องแบบปกติขาว)ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทตำแหน่งทั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทตำแหน่งวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง และประเภทตำแหน่งบริหาร ระดับต้นและระดับสูง โดยยังคงกำหนดให้ใช้อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของระดับ 7-11 เดิม แต่เพิ่มแถบสีทองกว้าง 5 มิลลิเมตรปิดที่ฐานด้านล่างของอินทรธนู
ให้ยกเลิก เครื่องหมายข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 2 ที่มีแถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 1 ดอก ไม่เกิน 1 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู และเครื่องหมายข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 1 มีแถบสีทองกว้าง 5 มิลลิเมตร เป็นขอบ”
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0106/ว94 ลงวันที่ 16 มกราคม 2552 แจ้งเวียนส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อทราบและแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ เรื่อง การแต่งเครื่องแบบ ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดำรงตำแหน่งใหม่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดย อนุโลมให้ยังคงสิทธิในการแต่งเครื่องแบบ ตามตำแหน่งและระดับเดิมในระบบซีตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พศ. 2523) ออกตามความใน พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 ไปพลางก่อน จนกว่าร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความใน พรบ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 จะดำเนินการแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว
ทั้งนี้จาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ได้มีการปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ จากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นกำหนดให้จำแนกตำแหน่งตามลักษณะของประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภทนั้น เมื่อพิจารณาตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ จะพบว่า ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาการ ข้าราชการตำแหน่งกระดับปฏิบัติการ และข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไปที่จะได้รับประโยชน์จากหลักเกณฑ์นี้
เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฯ ปี 51 และหลักเกณฑ์ได้รับเงินค่าครองชีพ 2,000 บาท พบว่า ข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทผู้อำนวยการ เช่น ปลัดกระทรวง เลขาธิการฯ อธิบดี ผู้อำนวยการกองฯ ผู้อำนวยการสำนักงาน ฯลฯ จะไม่เข้าหลักเกณฑ์นี้เนื่องจากมีอัตราตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำต่ำสุดที่ 23,230 บาทต่อเดือน และ 18,910 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีเงินประจำตำแหน่งขั้นต่ำอีก 10,000 บาท และ 5,600 บาทตามลำดับ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับข้าราชการตำแหน่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และทั่วไปที่เข้าหลักเกณฑ์นั้น กลับพบว่า ข้าราชการทั้ง 3 ระดับในประเภทวิชาการ ผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้แก่ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ(เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว) ที่ 6,800 บาท และระดับปฏิบัติการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 7,940 บาท,
อย่างไรก็ตาม ข้าราชการระดับชำนาญการ (เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว) ที่ 12,530 บาทต่อเดือนและระดับชำนาญการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 14,330 บาทต่อเดือนกลับมีเงินประจำตำแหน่งอีก 3,500 บาทจะไม่เข้าหลักเกณฑ์รับเงินอุดหนุนค่าครองชีพของรัฐ
ส่วนข้าราชการตำแหน่งวิชาการที่เหลือ ทั้งระดับปฏิบัติการ (ขั้นสูง) ระดับชำนาญการ (ขั้นสูง) ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำสุดที่ 18,910 บาทต่อเดือนจะไม่ได้รับเงินอุดหนุน 2,000 บาทในหลักเกณฑ์นี้ โดยเฉพาะยังมีเงินประจำตำแหน่งอีกด้วย
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในระดับล่าง คือ ระดับทั่วไปที่ได้รับเงินค่าครองชีพตามหลักเกณฑ์นั้น ประกอบด้วย ระดับปฏิบัติการ (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่ 4,630 บาทต่อเดือน ระดับชำนาญงาน (เงินเดือนขั้นต่ำ) ที่10,190 บาทต่อเดือน ส่วนที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์คือ ข้าราชการประเภทอาวุโส และข้าราชการประเภททักษะพิเศษ ที่มีขั้นเงินเดือนขั้นต่ำที่ 15,410 บาทต่อเดือน และ 48,220 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะระดับทักษะพิเศษที่มีเงินประจำตำแหน่งให้อีก 9,900 บาทต่อเดือน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า จากการปรับปรุงระบบตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน สามัญ จากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นกำหนดให้จำแนกตำแหน่งตามลักษณะของประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ทั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบกับเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนของเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูที่กำหนดไว้เดิมตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 โดยเฉพาะจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายบ่าอินทรธนู ข้าราชการ (ชุดสีกากี และชุดขาว)
ทั้งนี้ ให้เครื่องแบบปฏิบัติราชการเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ (เครื่องแบบสีกากี) ระดับทั่วไป และระดับปฏิบัติงาน ให้คงเครื่องแบบคงเดิม ทั้งนี้ เครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทตำแหน่งทั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทตำแหน่งวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง และประเภทตำแหน่งบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ยังคงกำหนดให้ใช้อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของระดับ 7-11 เดิมแต่เพิ่มเครื่องหมายตราครุฑพ่าห์ ทำด้วยโลหะสีทอง สูง 2.5 เซนติเมตร ติดบนกึ่งกลางแถบกว้าง 3 เซนติเมตร
ให้ยกเลิกเครื่องหมายตำแหน่งเป็นอินทรธนู ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 2 ที่มีแถบกว้าง 1 เซนติเมตร 1 แถบ ขมวดเป็นวงกลมขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 1 เซนติเมตร และของข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 1 มีแถบกว้าง 5 มิลลิเมตร 2 แถบ แถบบนขมวดเป็นวงกลม ขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางวงใน 5 มิลลิเมตร”
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเครื่องแบบพิธีการเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ (เครื่องแบบปกติขาว)ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทตำแหน่งทั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ประเภทตำแหน่งวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ประเภทตำแหน่งอำนวยการ ระดับสูง และประเภทตำแหน่งบริหาร ระดับต้นและระดับสูง โดยยังคงกำหนดให้ใช้อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของระดับ 7-11 เดิม แต่เพิ่มแถบสีทองกว้าง 5 มิลลิเมตรปิดที่ฐานด้านล่างของอินทรธนู
ให้ยกเลิก เครื่องหมายข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 2 ที่มีแถบสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร เป็นขอบ และปักดิ้นสีทองลายช่อชัยพฤกษ์มีดอก 1 ดอก ไม่เกิน 1 ใน 4 ส่วนของอินทรธนู และเครื่องหมายข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ระดับ 1 มีแถบสีทองกว้าง 5 มิลลิเมตร เป็นขอบ”
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0106/ว94 ลงวันที่ 16 มกราคม 2552 แจ้งเวียนส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อทราบและแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ เรื่อง การแต่งเครื่องแบบ ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ดำรงตำแหน่งใหม่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดย อนุโลมให้ยังคงสิทธิในการแต่งเครื่องแบบ ตามตำแหน่งและระดับเดิมในระบบซีตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พศ. 2523) ออกตามความใน พ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 ไปพลางก่อน จนกว่าร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความใน พรบ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 จะดำเนินการแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้แล้ว