ASTVผู้จัดการรายวัน - กบง.ไฟเขียวขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิด 1.55 บาทต่อลิตร เว้นอี 85 มีผล 1 ก.พ.นี้ พร้อมทยอยขึ้นอีก 3 ครั้งๆ ละไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตรจนกว่าจะครอบคลุมเท่ากับภาษีฯ ที่ขึ้นภายใน มี.ค. คาดใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดูแล 4,000 ล้านบาท จับตา 1-2 วันนี้ ปั๊มแตกแน่เหตุคนแห่เติม ปตท.ฟุ้งราคาน้ำมันหลังจัดเก็บภาษีแล้วยังต่ำกว่าช่วงที่น้ำมันแพง ด้านกลุ่มผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี ร้อง กมธ.วุฒิฯ กังขารัฐทุ่ม 8 พันล้าน อุดหนุน ปตท.ชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซแอลพีจี
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (29 ม.ค.) ว่า กบง.ได้เห็นชอบใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปดูแลผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ด้วยการให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกประเภท 1.55 บาทต่อลิตร เว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.เป็นต้นไป และส่วนที่เหลือให้ทยอยขึ้นเพื่อครอบคลุมภาษีสรรพสามิตครั้งละไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งคาดว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องใช้เงินดูแลราคาประมาณ 4,000 ล้านบาท
ผลจากมติครม. 1 ก.พ.ที่ให้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันกลับมาในอัตราเดิมจากที่ลดลงไปก่อนหน้านี้ตามมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลและเพิ่มขึ้นส่วนของดีเซลและกลุ่มเบนซินมีผลให้ภาษีสรรพสามิตน้ำมันปรับขึ้นดังนี้ เบนซิน 91และ95 ขึ้น 1.32 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91และ 95 ขึ้น 4.48 บาทต่อลิตร, อี 20 ขึ้น3.98 บาทต่อลิตร,อี 85 ขึ้น 0.73 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี2) ขึ้น 3.30 บาทต่อลิตร และดีเซล (บี5) ขึ้น 2.10 บาทต่อลิตร แต่ราคาขายปลีกจะต้องรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%และภาษีเทศบาลจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจริง ดังนี้เบนซิน 95 และเบนซิน 91 ขึ้น 1.55 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ขึ้น 5.28 บาทต่อลิตร อี 20 ขึ้น 4.69 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี2) ขึ้น 3.88 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี5) ขึ้น 2.47 บาทต่อลิตร
“เราส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะส่งเสริมพลังงานทดแทนอี 85 จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาโดยจะอิงตลาดโลกเป็นหลัก ขณะที่เบนซิน 91-95 ก็ขึ้นตามภาษีฯที่ขึ้นทันทีทั้งหมดคือ 1.55 บาทต่อลิตร ส่วนที่เหลือดูแลด้วยการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯเข้าไปชดเชยแทนแล้วค่อยๆ หาจังหวะจัดเก็บคืนเมื่อราคาตลาดโลกปรับลดลงโดยพยายามจะทำให้ครอบคลุมภาษีประมาณ 4 ครั้งหรือเฉลี่ย 2 เดือนครั้ง” รมว.พลังงานกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมอบอำนาจ รมว.พลังงาน มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)ไปดูแลบริหารราคาขายปลีกในครั้งต่อไป ทันทีในช่วงจังหวะที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังได้ยังได้พิจารณาแนวทางการเช็คสต็อกน้ำมันที่ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 2,539 สายงานเพื่อตรวจปั๊มน้ำมัน 1.8 แห่งทั่วประเทศเที่ยงคืนของวันที่ 31 ม.ค.นี้ โดยจะดำเนินการเช็คสต็อกน้ำมันให้เสร็จภายใน 2-3 ชั่วโมงเพื่อที่จะเรียกเก็บเงินส่วนเกินของน้ำมันคงเหลือจากผู้ประกอบการคลังน้ำมันและปั๊มเพื่อนำคืนส่งกองทุนฯ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล เลขาธิการ สนพ. กล่าวว่า ราคาขายปลีกน้ำมันที่จะปรับขึ้น 1.55 บาทต่อลิตรเมื่อนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาดูแลจะส่งผลการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เปลี่ยนแปลงดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 จากที่เก็บเข้าฯ 2.35 บาทต่อลิตรก็จะเป็นชดเชยเพิ่มอีก 1.15 บาทต่อลิตร ,แก๊สโซฮอล์ 91 จากที่เก็บ 1.75 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยเพิ่ม 1.75 บาทต่อลิตร ,อี 20 จากที่ชดเชย 20 สตางค์ต่อลิตรเป็นชดเชย 3.25 บาทต่อลิตร,ดีเซล (บี2) จากที่เก็บ 1.70 บาทต่อลิตรเป็นชดเชย 50 สตางค์ต่อลิตร และบี 5 จากชดเชย 20 สตางค์ต่อลิตรเป็นชดเชย 1.08 บาทต่อลิตร
“ราคาขายปลีกที่ขึ้นทันที 1.55 บาทต่อลิตรทุกประเภทนั้นเราอิงจากฐานเบนซินที่ขึ้นทันที 1.55 บาทต่อลิตรไม่มีการดูแลด้วยกองทุนฯ เพื่อการคำนวณที่ง่ายขึ้นและเราขอให้ผู้ค้าน้ำมันอย่าได้เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกช่วงนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนซึ่งถือเป็นจังหวะดีที่ค่าการตลาดไม่ได้มีการลักลั่นมากนักโดยเบนซิน 91 ค่าการตลาดจะอยู่ประมาณ 60 สตางค์ต่อลิตร ดีเซลเฉลี่ย 2 บาทต่อลิตรก็หักลบกันไปและราคาอีก 1-2 วันก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก” นายวีระพลกล่าว
แนวทางการบริหารราคาน้ำมันหลังจากวันที่ 1 ก.พ.ได้มองไว้ประมาณ ช่วง 15-28 ก.พ.ที่จะมีการพิจารณาการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ช่วงวันที่ 1-14 มี.ค.และครั้งที่ 4 ช่วง 15-28 มี.ค. ซึ่งแต่ละครั้งจะปรับขึ้นไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปคงจะต้องติดตามสถานการณ์น้ำมันตลาดสิงคโปร์อย่างใกล้ชิด หากลดลงมากก็อาจจะเรียกเงินเก็บเข้าคืนกองทุนฯ ไปพร้อมๆ กันด้วย โดยการขึ้นจะพยายามทำในช่วงจังหวะขาลงให้เร็วที่สุด เพราะหากขึ้นในช่วงที่น้ำมันตลาดโลกขึ้นอาจจะทำให้การขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมภาษีสรรพสามิตช้าออกไปได้อีก
“ปัจจุบันเงินกองทุนฯ มีฐานะเป็นบวก โดยเมื่อตัดหนี้การนำเข้าแอลพีจีของ บมจ. ปตท. กว่า 8,000 ล้านบาทแล้ว เงินกองทุนฯ มีฐานะเป็นบวกสุทธิ 4,000 ล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบันก่อนที่จะเข้าไปรับภาระภาษีมีรายรับเดือนละประมาณ 3,500 ล้านบาท ”นายวีระพลกล่าว
***หวั่นหันไปใช้LPGมากขึ้น
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันในวันที่ 1 ก.พ.นี้จะมีผลทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มขึ้น 5-6 บาท/ลิตร (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเทศบาล) โดยจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเนื่องจากมีกองทุนน้ำมันฯช่วยอุดหนุนอยู่ แต่สุดท้ายเมื่อกองทุนน้ำมันฯ หยุดอุ้มแล้ว ราคาขายปลีกน้ำมันยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าช่วงราคาน้ำมันแพงลิตรละ 40 บาท ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บนี้รัฐก็นำไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนประชาชนสาขาต่างๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีเป็นสิ่งที่จำเป็นและทุกประเทศก็มีการจัดเก็บภาษีน้ำมันอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นห่วงคือ การจัดเก็บภาษีครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ใช้รถหันไปใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซNGVเพิ่มขึ้น หากโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีและNGVไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลก สุดท้ายปตท.ก็ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศเข้ามา ทำให้รัฐมีภาระอุดหนุนส่วนต่างราคานำเข้ากับราคาขายในประเทศมากขึ้น
ในปีที่แล้ว ไทยนำเข้าแอลพีจี 470,000 ตันจากยอดการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งประเทศ 3.5 ล้านตัน คาดว่าปีนี้ยอดการนำเข้าจะอยู่ที่ 500,000-1,000,000 ตันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้บริโภคและนโยบายของรัฐ ซึ่งแนวโน้มราคาก๊าซแอลพีจีตลาดโลกในช่วง ก.พ.นี้จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับกว่า 400 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาก๊าซแอลพีจีในประเทศควบคุมอยู่ที่ 330 เหรียญสหรัฐ/ตัน
***บางจากอ้างผู้ค้าไม่ได้ประโยชน์
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า บางจากจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกจนกว่าจะถึงวันที่ 1 ก.พ. ที่จะขึ้นตามการขึ้นภาษีฯ 1.55 บาทต่อลิตรเท่านั้น และยืนยันว่าผู้ค้าน้ำมันไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากการขึ้นราคาครั้งนี้เพราะค่าการตลาดเฉลี่ยถือว่ายังไม่ได้กำไร และจากนโยบายนี้คาดว่าจะมีผู้หันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นทั้งแก๊สโซฮอล์และบี 5
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศหลังรัฐประกาศขึ้นน้ำมันวันที่ 1 ก.พ. 1.55 บาทต่อลิตรเริ่มมีผู้ขับขี่ไปเติมน้ำมันมากขึ้นและคาดว่า 1-2 วันนี้ผู้ใช้รถจะแห่ไปเติมไว้ก่อนที่จะขึ้นจำนวนมาก
***ค้าน ก.พลังงานให้ ปตท. 8 พันล.
เมื่อเวลา 15.30 น.วานนี้ (29ม.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษากรณีทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้เชิญกลุ่มสมาคมผู้ใช้ก๊าซ 3 สมาคม ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์แห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจอุปกรณ์ใช้ก๊าซสำหรับรถยนต์ และชมรมผู้ประกอบการปั้มก๊าซแอลพีจี มาให้ข้อมูล และหารือร่วมกันถึงโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี และความร่วมมือในการตรวจสอบด้านเทคนิค และความปลอดภัย
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า กลุ่มสมาคมฯมีความห่วงใยกรณีรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพลังงานจะให้เงินอุดหนุนแก่ปตท. จำนวน 8 พันล้านบาท เพื่อชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีเมื่อปีที่แล้ว ตลอดจนได้เสนอให้ออกกฎหมายไม่ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม เข้าไปนั่งเป็นกรรมการบริหาร (บอร์ด) หรือที่ปรึกษาในนิติบุคคลเอกชน หรือองค์กรเอกชนทุกองค์กร หรือรัฐวิสาหกิจกึ่งมหาชนโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือให้คุณให้โทษกับผู้บริโภคได้ รวมทั้งการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี อย่างเป็นธรรม
ดังนั้น การตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบเรื่องราคาก๊าซฯ แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล ทำให้มีข้อกังขาเรื่องธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ อนุกรรมาธิการฯ กำลังศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างราคา มาตรฐานความปลอดภัยในการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งหมด และจะมีการจัดสัมมนาขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อร่วมกันศึกษาระบบพลังงานทั้งหมด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเรื่องราคา และมาตรฐานการใช้ก๊าซฯ เพราะทุกวันนี้บริษัทเอกชนได้กำไรจากการขายก๊าซแอลพีจีกิโลกรัมละ 8 บาทอยู่แล้ว.
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (29 ม.ค.) ว่า กบง.ได้เห็นชอบใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปดูแลผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ด้วยการให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันทุกประเภท 1.55 บาทต่อลิตร เว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.เป็นต้นไป และส่วนที่เหลือให้ทยอยขึ้นเพื่อครอบคลุมภาษีสรรพสามิตครั้งละไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งคาดว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องใช้เงินดูแลราคาประมาณ 4,000 ล้านบาท
ผลจากมติครม. 1 ก.พ.ที่ให้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันกลับมาในอัตราเดิมจากที่ลดลงไปก่อนหน้านี้ตามมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลและเพิ่มขึ้นส่วนของดีเซลและกลุ่มเบนซินมีผลให้ภาษีสรรพสามิตน้ำมันปรับขึ้นดังนี้ เบนซิน 91และ95 ขึ้น 1.32 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91และ 95 ขึ้น 4.48 บาทต่อลิตร, อี 20 ขึ้น3.98 บาทต่อลิตร,อี 85 ขึ้น 0.73 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี2) ขึ้น 3.30 บาทต่อลิตร และดีเซล (บี5) ขึ้น 2.10 บาทต่อลิตร แต่ราคาขายปลีกจะต้องรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%และภาษีเทศบาลจะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจริง ดังนี้เบนซิน 95 และเบนซิน 91 ขึ้น 1.55 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ขึ้น 5.28 บาทต่อลิตร อี 20 ขึ้น 4.69 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี2) ขึ้น 3.88 บาทต่อลิตร ดีเซล (บี5) ขึ้น 2.47 บาทต่อลิตร
“เราส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะส่งเสริมพลังงานทดแทนอี 85 จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาโดยจะอิงตลาดโลกเป็นหลัก ขณะที่เบนซิน 91-95 ก็ขึ้นตามภาษีฯที่ขึ้นทันทีทั้งหมดคือ 1.55 บาทต่อลิตร ส่วนที่เหลือดูแลด้วยการใช้เงินกองทุนน้ำมันฯเข้าไปชดเชยแทนแล้วค่อยๆ หาจังหวะจัดเก็บคืนเมื่อราคาตลาดโลกปรับลดลงโดยพยายามจะทำให้ครอบคลุมภาษีประมาณ 4 ครั้งหรือเฉลี่ย 2 เดือนครั้ง” รมว.พลังงานกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมอบอำนาจ รมว.พลังงาน มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)ไปดูแลบริหารราคาขายปลีกในครั้งต่อไป ทันทีในช่วงจังหวะที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังได้ยังได้พิจารณาแนวทางการเช็คสต็อกน้ำมันที่ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 2,539 สายงานเพื่อตรวจปั๊มน้ำมัน 1.8 แห่งทั่วประเทศเที่ยงคืนของวันที่ 31 ม.ค.นี้ โดยจะดำเนินการเช็คสต็อกน้ำมันให้เสร็จภายใน 2-3 ชั่วโมงเพื่อที่จะเรียกเก็บเงินส่วนเกินของน้ำมันคงเหลือจากผู้ประกอบการคลังน้ำมันและปั๊มเพื่อนำคืนส่งกองทุนฯ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล เลขาธิการ สนพ. กล่าวว่า ราคาขายปลีกน้ำมันที่จะปรับขึ้น 1.55 บาทต่อลิตรเมื่อนำเงินกองทุนน้ำมันฯ มาดูแลจะส่งผลการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เปลี่ยนแปลงดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 จากที่เก็บเข้าฯ 2.35 บาทต่อลิตรก็จะเป็นชดเชยเพิ่มอีก 1.15 บาทต่อลิตร ,แก๊สโซฮอล์ 91 จากที่เก็บ 1.75 บาทต่อลิตร เป็นชดเชยเพิ่ม 1.75 บาทต่อลิตร ,อี 20 จากที่ชดเชย 20 สตางค์ต่อลิตรเป็นชดเชย 3.25 บาทต่อลิตร,ดีเซล (บี2) จากที่เก็บ 1.70 บาทต่อลิตรเป็นชดเชย 50 สตางค์ต่อลิตร และบี 5 จากชดเชย 20 สตางค์ต่อลิตรเป็นชดเชย 1.08 บาทต่อลิตร
“ราคาขายปลีกที่ขึ้นทันที 1.55 บาทต่อลิตรทุกประเภทนั้นเราอิงจากฐานเบนซินที่ขึ้นทันที 1.55 บาทต่อลิตรไม่มีการดูแลด้วยกองทุนฯ เพื่อการคำนวณที่ง่ายขึ้นและเราขอให้ผู้ค้าน้ำมันอย่าได้เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกช่วงนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนซึ่งถือเป็นจังหวะดีที่ค่าการตลาดไม่ได้มีการลักลั่นมากนักโดยเบนซิน 91 ค่าการตลาดจะอยู่ประมาณ 60 สตางค์ต่อลิตร ดีเซลเฉลี่ย 2 บาทต่อลิตรก็หักลบกันไปและราคาอีก 1-2 วันก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก” นายวีระพลกล่าว
แนวทางการบริหารราคาน้ำมันหลังจากวันที่ 1 ก.พ.ได้มองไว้ประมาณ ช่วง 15-28 ก.พ.ที่จะมีการพิจารณาการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ช่วงวันที่ 1-14 มี.ค.และครั้งที่ 4 ช่วง 15-28 มี.ค. ซึ่งแต่ละครั้งจะปรับขึ้นไม่เกิน 1.50 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปคงจะต้องติดตามสถานการณ์น้ำมันตลาดสิงคโปร์อย่างใกล้ชิด หากลดลงมากก็อาจจะเรียกเงินเก็บเข้าคืนกองทุนฯ ไปพร้อมๆ กันด้วย โดยการขึ้นจะพยายามทำในช่วงจังหวะขาลงให้เร็วที่สุด เพราะหากขึ้นในช่วงที่น้ำมันตลาดโลกขึ้นอาจจะทำให้การขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมภาษีสรรพสามิตช้าออกไปได้อีก
“ปัจจุบันเงินกองทุนฯ มีฐานะเป็นบวก โดยเมื่อตัดหนี้การนำเข้าแอลพีจีของ บมจ. ปตท. กว่า 8,000 ล้านบาทแล้ว เงินกองทุนฯ มีฐานะเป็นบวกสุทธิ 4,000 ล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบันก่อนที่จะเข้าไปรับภาระภาษีมีรายรับเดือนละประมาณ 3,500 ล้านบาท ”นายวีระพลกล่าว
***หวั่นหันไปใช้LPGมากขึ้น
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันในวันที่ 1 ก.พ.นี้จะมีผลทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มขึ้น 5-6 บาท/ลิตร (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเทศบาล) โดยจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเนื่องจากมีกองทุนน้ำมันฯช่วยอุดหนุนอยู่ แต่สุดท้ายเมื่อกองทุนน้ำมันฯ หยุดอุ้มแล้ว ราคาขายปลีกน้ำมันยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าช่วงราคาน้ำมันแพงลิตรละ 40 บาท ขณะที่ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บนี้รัฐก็นำไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนประชาชนสาขาต่างๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีเป็นสิ่งที่จำเป็นและทุกประเทศก็มีการจัดเก็บภาษีน้ำมันอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นห่วงคือ การจัดเก็บภาษีครั้งนี้ อาจทำให้ผู้ใช้รถหันไปใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซNGVเพิ่มขึ้น หากโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจีและNGVไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลก สุดท้ายปตท.ก็ต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศเข้ามา ทำให้รัฐมีภาระอุดหนุนส่วนต่างราคานำเข้ากับราคาขายในประเทศมากขึ้น
ในปีที่แล้ว ไทยนำเข้าแอลพีจี 470,000 ตันจากยอดการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งประเทศ 3.5 ล้านตัน คาดว่าปีนี้ยอดการนำเข้าจะอยู่ที่ 500,000-1,000,000 ตันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้บริโภคและนโยบายของรัฐ ซึ่งแนวโน้มราคาก๊าซแอลพีจีตลาดโลกในช่วง ก.พ.นี้จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับกว่า 400 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาก๊าซแอลพีจีในประเทศควบคุมอยู่ที่ 330 เหรียญสหรัฐ/ตัน
***บางจากอ้างผู้ค้าไม่ได้ประโยชน์
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า บางจากจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกจนกว่าจะถึงวันที่ 1 ก.พ. ที่จะขึ้นตามการขึ้นภาษีฯ 1.55 บาทต่อลิตรเท่านั้น และยืนยันว่าผู้ค้าน้ำมันไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากการขึ้นราคาครั้งนี้เพราะค่าการตลาดเฉลี่ยถือว่ายังไม่ได้กำไร และจากนโยบายนี้คาดว่าจะมีผู้หันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นทั้งแก๊สโซฮอล์และบี 5
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศหลังรัฐประกาศขึ้นน้ำมันวันที่ 1 ก.พ. 1.55 บาทต่อลิตรเริ่มมีผู้ขับขี่ไปเติมน้ำมันมากขึ้นและคาดว่า 1-2 วันนี้ผู้ใช้รถจะแห่ไปเติมไว้ก่อนที่จะขึ้นจำนวนมาก
***ค้าน ก.พลังงานให้ ปตท. 8 พันล.
เมื่อเวลา 15.30 น.วานนี้ (29ม.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษากรณีทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้เชิญกลุ่มสมาคมผู้ใช้ก๊าซ 3 สมาคม ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์แห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจอุปกรณ์ใช้ก๊าซสำหรับรถยนต์ และชมรมผู้ประกอบการปั้มก๊าซแอลพีจี มาให้ข้อมูล และหารือร่วมกันถึงโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี และความร่วมมือในการตรวจสอบด้านเทคนิค และความปลอดภัย
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า กลุ่มสมาคมฯมีความห่วงใยกรณีรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพลังงานจะให้เงินอุดหนุนแก่ปตท. จำนวน 8 พันล้านบาท เพื่อชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าก๊าซแอลพีจีเมื่อปีที่แล้ว ตลอดจนได้เสนอให้ออกกฎหมายไม่ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม เข้าไปนั่งเป็นกรรมการบริหาร (บอร์ด) หรือที่ปรึกษาในนิติบุคคลเอกชน หรือองค์กรเอกชนทุกองค์กร หรือรัฐวิสาหกิจกึ่งมหาชนโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือให้คุณให้โทษกับผู้บริโภคได้ รวมทั้งการปรับโครงสร้างราคาก๊าซแอลพีจี อย่างเป็นธรรม
ดังนั้น การตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบเรื่องราคาก๊าซฯ แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล ทำให้มีข้อกังขาเรื่องธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ อนุกรรมาธิการฯ กำลังศึกษาและรวบรวมข้อมูลทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างราคา มาตรฐานความปลอดภัยในการใช้ก๊าซแอลพีจีทั้งหมด และจะมีการจัดสัมมนาขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อร่วมกันศึกษาระบบพลังงานทั้งหมด เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเรื่องราคา และมาตรฐานการใช้ก๊าซฯ เพราะทุกวันนี้บริษัทเอกชนได้กำไรจากการขายก๊าซแอลพีจีกิโลกรัมละ 8 บาทอยู่แล้ว.