คลังแถลงจีดีพีไตรมาส 4 ปี 51 ติดลบ 3.5% หวั่นกระทบต่อการขยายตัวไตรมาสแรกของปีนี้ดิ่งต่อ เดินหน้าเร่งใช้ 3 ประสาน "ดอกเบี้ยต่ำ-แบงก์รัฐอัดฉีดเงินกู้-ค่าบาทอ่อน" หวังผลักดันเศรษฐกิจเร่งฟื้นตัวรูปตัววี พร้อมเร่งผลักดันงบประมาณปกติออกมากระตุ้น 2 เดือนที่เหลือของไตรมาสแรก หลังงบประมาณเพิ่มเติม 1.167 แสนล้าน กว่าจะออกใช้ต้องรอถึงเดือน เม.ย.
วานนี้ (29 ม.ค.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของสศค.ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จะขยายตัวติดลบ และเมื่อรวบรวมตัวเลขตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ติดลบอยู่ที่ระดับ 3.5% ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้แน่นอน
“จีดีพีในไตรมาส 4 ที่ติดลบสะท้อนปัญหาในช่วงปลายปีที่มีการชะลอตัวลงทุกภาคส่วน ทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐ การบริโภคที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องต่อเนื่อง และการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแอและปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 3 ขณะที่ปริมาณการส่งออกก็หดตัวลงซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง” นายสมชัยกล่าวและว่า ในไตรมาส 1 อาจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้หากสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันเนื่องจากมีการเตือนล่วงหน้าแล้วถึง 2 เดือน
***สาน 3 นโยบายให้ ศก.เป็นวีเชฟ
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า สำหรับแนวทางในการฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเป็นบวกนั้น 3 นโยบายที่ประเทศต่างๆ ทั่วนำออกมาใช้เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันคือ 1.นโยบายการเงินโดยเน้นการใช้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งบางประเทศอยู่ที่ระดับ 0% 2.นโยบายการคลังโดยใช้การขาดดุลงบประมาณเพื่ออัดเม็ดเงินเข้าไปในระบบในช่วงที่เอกชนอ่อนแอ รวมทั้งนโยบายกึ่งการคลังโดยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้ปล่อยสินเชื่อ
และ 3.นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนนี้ก็คงจะตระหนักดีว่าทิศทางควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งทุกประเทศเขาก็เฝ้าติดตามค่าเงินให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้จึงจำเป็นต้องให้ค่าเงินอ่อนลงทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ โดยประเทศเพื่อบ้านทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ค่าเงินอ่อนลงจากต้นปีแล้ว 4.5-4.6% เพื่อพยุงการส่งออกให้สามารถแข่งขันได้
“อยากเห็นการบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วนทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐ อัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบ ส่งออก รากหญ้า เอสเอ็มอี แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งบริหารจัดการ 3 นโยบายได้อย่างเหมาะสม ให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับและระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันได้และจะเป็นส่วนร่วมผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นรูปตัววีได้” โฆษกกระทรวงการคลังกล่าว
***ดัชนีบ่งชี้ทุกอย่างหดตัว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษก สศค.กล่าวว่า การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัญหาการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าสอดคล้องกับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 67.7 จุดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 อันเป็นผลจากความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมือง การปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง รวมทั้งวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ทำให้ผู้บริโภคลดความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอย
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4/51 ชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวที่ -5.6% ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 22.2% ต่อปี และหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ 0.6% ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 13.1% ต่อปี
ด้านการคลังในไตรมาสที่ 4 ของปี รายได้สุทธิของรัฐบาล 272.8 พันล้านบาท หดตัว -16.1% ต่อปี ส่วนหนึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพาสามิตน้ำมัน และผลประกอบการของภาคธุรกิจและรายได้ของประชาชนที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ด้านการส่งออกหดตัวลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยที่ชะลอตัวลง และผลกระทบจากการปิดสนามบินภายในประเทศซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า
***เงินเฟ้อหนุนเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเสถียรภาพภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 อยู่ที่ 2.2% ต่อปี ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.2% ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2551 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี 4 เดือน ที่ 0.4% ต่อปี
โดยมีสาเหตุจากราคาสินค้าพลังงานและอาหารปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.3% ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2551 อยู่ที่ 37.0% ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 50.0% ค่อนข้างมาก
ด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤติการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับสูงที่ 111.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 4.0 เท่า.
วานนี้ (29 ม.ค.) นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของสศค.ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จะขยายตัวติดลบ และเมื่อรวบรวมตัวเลขตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ติดลบอยู่ที่ระดับ 3.5% ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้แน่นอน
“จีดีพีในไตรมาส 4 ที่ติดลบสะท้อนปัญหาในช่วงปลายปีที่มีการชะลอตัวลงทุกภาคส่วน ทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐ การบริโภคที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องต่อเนื่อง และการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแอและปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 3 ขณะที่ปริมาณการส่งออกก็หดตัวลงซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง” นายสมชัยกล่าวและว่า ในไตรมาส 1 อาจทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้หากสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันเนื่องจากมีการเตือนล่วงหน้าแล้วถึง 2 เดือน
***สาน 3 นโยบายให้ ศก.เป็นวีเชฟ
โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวว่า สำหรับแนวทางในการฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวเป็นบวกนั้น 3 นโยบายที่ประเทศต่างๆ ทั่วนำออกมาใช้เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันคือ 1.นโยบายการเงินโดยเน้นการใช้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งบางประเทศอยู่ที่ระดับ 0% 2.นโยบายการคลังโดยใช้การขาดดุลงบประมาณเพื่ออัดเม็ดเงินเข้าไปในระบบในช่วงที่เอกชนอ่อนแอ รวมทั้งนโยบายกึ่งการคลังโดยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้ปล่อยสินเชื่อ
และ 3.นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนนี้ก็คงจะตระหนักดีว่าทิศทางควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งทุกประเทศเขาก็เฝ้าติดตามค่าเงินให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้จึงจำเป็นต้องให้ค่าเงินอ่อนลงทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ โดยประเทศเพื่อบ้านทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ค่าเงินอ่อนลงจากต้นปีแล้ว 4.5-4.6% เพื่อพยุงการส่งออกให้สามารถแข่งขันได้
“อยากเห็นการบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วนทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐ อัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบ ส่งออก รากหญ้า เอสเอ็มอี แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งบริหารจัดการ 3 นโยบายได้อย่างเหมาะสม ให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับและระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันได้และจะเป็นส่วนร่วมผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเป็นรูปตัววีได้” โฆษกกระทรวงการคลังกล่าว
***ดัชนีบ่งชี้ทุกอย่างหดตัว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษก สศค.กล่าวว่า การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง จากปัญหาการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าสอดคล้องกับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 67.7 จุดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 อันเป็นผลจากความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมือง การปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง รวมทั้งวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ทำให้ผู้บริโภคลดความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอย
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4/51 ชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวที่ -5.6% ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 22.2% ต่อปี และหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ 0.6% ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 13.1% ต่อปี
ด้านการคลังในไตรมาสที่ 4 ของปี รายได้สุทธิของรัฐบาล 272.8 พันล้านบาท หดตัว -16.1% ต่อปี ส่วนหนึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพาสามิตน้ำมัน และผลประกอบการของภาคธุรกิจและรายได้ของประชาชนที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ด้านการส่งออกหดตัวลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยที่ชะลอตัวลง และผลกระทบจากการปิดสนามบินภายในประเทศซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้า
***เงินเฟ้อหนุนเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเสถียรภาพภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 อยู่ที่ 2.2% ต่อปี ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 7.2% ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2551 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี 4 เดือน ที่ 0.4% ต่อปี
โดยมีสาเหตุจากราคาสินค้าพลังงานและอาหารปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.3% ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2551 อยู่ที่ 37.0% ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกิน 50.0% ค่อนข้างมาก
ด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤติการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับสูงที่ 111.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 4.0 เท่า.