สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) เปิดเผยรายงานถึงมาตรทางเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุด โดยรัฐบาลได้ปรับเพิ่มงบประมาณกลางปี 2552 อีก 115,000 ล้านบาท ซึ่งมีงบประมาณที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง 95,861 ล้านบาท คาดว่า จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการบริโภคได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2552 เป็นต้นไป โดยประเมินว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะขยายตัวเพิ่มอีก 0.6% และส่งผลให้ GDP ปี 2552 มีโอกาสขยายตัวในกรอบ 0 - 2 % ซึ่งยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่คาดว่า GDP ปี 2552 จะขยายตัวที่ 2.5% ดังนั้น คาดว่ารัฐบาลยังคงมีความจำเป็นต้องอาศัยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆในอนาคตและมีความเป็นไปได้สูงมากที่รัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศ และ ใช้มาตรการทางภาษี ในอนาคต
โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นการลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน และ การเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนทั่วไป คาดว่าจะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายแบบคูณทวี (MultiplierEffect) อย่างไรก็ดี ประเมินว่า ผลคูณทวีทางการบริโภคที่เกิดจากการสนับสนุนของรัฐบาลในครั้งนี้ จะไม่ยั่งยืนเท่ากับการลงทุนของรัฐบาล ดังนั้นจึงคาดว่ารัฐบาลอาจจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
SCRI ประเมินว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้มีผลช่วยลดภาระของประชาชนได้ โดยเฉพาะ ในเรื่อง ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิง เรื่องการขนส่ง และ การศึกษา ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ด้านมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็น 24% ของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคตามราคาประจำปี 2550 ขณะที่ กลุ่มค้าปลีก จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากมีสัดส่วนในโครงสร้างค่าใช้จ่ายของประชาชนมากที่สุดถึง41% และจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ GDP ปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.5 – 0.7% จากประมาณการณ์เดิม ส่งผลให้กรอบ GDP ปี 2552 อยู่ที่ 0 – 2% ซึ่งดีกว่าประมาณการครั้งก่อนของ SCRI ที่คาดไว้ในกรอบ -0.4% ถึง 1.4% แต่ยังต่ำกว่าประมาณการของรัฐบาลที่ 2.5%
นอกจากนี้ยังประเมินว่า แนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปนั้นจะต้องเน้นในเรื่องการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และ การแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ เกษตร ส่งออก และ ท่องเที่ยว ส่วน แหล่งที่มาของเงินทุนนั้นคาดว่าจะต้องหันไปพึ่งพาการกู้เงินจากต่างประเทศ โดย SCRI ประมาณว่าสามารถกู้เงินได้อีก 1.6 แสนล้านบาท ภาคธุรกิจที่จะได้รับผลบวกมากที่สุด คือภาคธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
ศักยภาพการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
รัฐบาลอาจขาดดุลงบประมาณเต็มเพดานตามกฎหมายกำหนด ตามกฎหมายเกี่ยวข้องกับงบประมาณ 2ฉบับคือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ และ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พบว่า รัฐบาลจะสามารถขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ได้เพิ่มอีกประมาณ 76,441 ล้านบาท แต่เนื่องจากภายใต้ปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลคาดว่าจะเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า ส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลจากเดิมที่ตั้งไว้ที่1,535,5000 ล้านบาท อาจจะลดลงจากเป้าประมาณ 100,000 ล้านบาท ส่งผลให้เพดานการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลจะเต็มเพดานทันที ดังนั้น SCRI จึงคาดว่ารัฐบาลจะไม่สามารถขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก และหากรัฐบาลต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2552 (สิ้นสุด ก.ย.2552) รัฐบาลมีทางเลือก คือ การกู้เงินจากต่างประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหนี้สาธารณะ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังมีช่องว่างในการกู้เงินต่างประเทศได้อีก 1.6 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่ารัฐบาลจะไม่สามารถขาดดุลงบประมาณได้เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต แต่รัฐบาลยังมีช่องว่างจากการกู้เงินจากต่างประเทศโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหนี้สาธารณะที่จะทำให้รัฐบาลกู้เงินต่างประเทศภายในปีงบประมาณ2552 ได้อีกราว 160,000 ล้านบาท เพิ่มเติมจากวงเงินกู้ต่างประเทศเดิมที่รัฐบาลกู้ไปแล้วประมาณ 35,000 ล้านบาท SCRI ประเมินว่า รัฐบาลจะใช้การกู้เงินจากต่างประเทศเป็นวงเงินสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไปโดยเฉพาะการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) เพื่อรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552 และปีต่อๆไป
ขณะเดียวกันในระยะยาว ศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจถูกจำกัดจากเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไม่เกิน 50%ของ GDP โดย ประเมินว่าศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาวของไทยมีแนวโน้มจะถูกจำกัดตามกรอบความยั่งยืนการคลัง เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สินสาธารณะต่อ GDP คิดเป็นสัดส่วน 36% ดังนั้น หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดจนค้ำประกันหนี้สาธารณะให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจรวมประมาณ 550,000 ล้านบาทต่อปี จะกดดันให้รัฐบาลไทยต้องจัดทำงบประมาณแบบสมดุลภายใน 3 – 4 ปีข้างหน้า
SCRI ประเมินว่าหากว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวแต่ยังขยายตัวในระดับที่ต่ำ (ต่ำกว่า 3%) ซึ่งจะกดดันให้เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับต่ำเช่นเดียวกัน ดังนั้น รัฐบาลยังคงมีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เติบโตและลดปัญหาการว่างงานอย่างไรก็ดี รัฐบาลจะต้องเผชิญกับอุปสรรคจากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (50% ของ GDP) ซึ่งจะจำกัดบทบาทภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้การจัดทำงบประมาณรัฐแบบสมดุลภายใต้เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวในอัตราต่ำ อาจจะส่งผลซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวที่ชะลอตัวลง
ผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
SCRI ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะได้รับปัจจัยบวกมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของ
รัฐบาล และจากการประเมินในเบื้องต้น คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5 – 0.7% อยู่ในระดับเฉลี่ย 0.0% ถึง 2.0% จากการประเมินในครั้งก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -0.4% ถึง1.4%
ทั้งนี้จากการประเมินในเบื้องต้นแล้ว ค่อนข้างที่จะมีมุมมองในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนที่จะทำการออกมาภายใน ไตรมาสที่ 1นี้ เนื่องจาก มองว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจจะได้รับแรงกระตุ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากการขยายตัวดีขึ้นของภาคอุปสงค์ในประเทศจากการที่เม็ดเงินที่จะทำลงมากระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นเม็ดเงินที่ส่งเข้าถึงในระดับประชาชนโดยตรงโดยที่ไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งถือได้ว่าจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของเม็ดเงินก่อนที่จะลงไปกระตุ้นระบบเศรษฐกิจอย่างมาตรการในช่วงก่อนหน้า ดังนั้น ในระยะสั้นจึงถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ค่อนข้างจะส่งผลบวกอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจ
อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยให้การถดถอยของภาวะเศรษฐกิจในช่วง 1H/52 ลดความรุนแรงลงไปซึ่งจะทำให้ภาพโดยรวมของความเชื่อมั่นในประเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาวะเศรษฐกิจไทยช่วง 2H/52 กลับมาขยายตัวได้เร็วกว่าที่คาดก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้ต้องแลกด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาลสำหรับประเทศไทย เนื่องจากเป็นเม็ดเงินที่ถือได้ว่ารัฐบาลจะควบคุมในการนำไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์โดยตรงไม่ได้ และประกอบกับจะส่งผลในระยะยาวไปถึงเสถียรภาพทางการเงินของไทยในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ให้มีการอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง
แต่คาดว่างบประมาณจะขาดดุลต่อเนื่องอีก 1-2 ปี จากการใช้นโยบายขาดดุลการคลังอย่างมากในปีงบประมาณ2552 และอาจจะต้องมีการทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอีก 1-2 ปี ดังนั้นแล้วผลกระทบที่จะตามมา คือโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆของประเทศไทยคงจะต้องมีการเลื่อนแผนการลงทุนออกไปอย่างไม่มีกำหนดโดยเฉพาะในด้านของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ที่แผนในช่วงแรกกำหนดไว้ในระดับ 7-10 สาย หรือ โครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งจะส่งผลให้ในรยะยาวแล้วไทยจะต้องเสียศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งไป
สถาบันวิจัยคนรหลวงไทยคาดว่า GDP ปี 2552 ขยายตัวในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ 0% - 2.0% โดยสรุป จากการประเมินในเบื้องต้นSCRI คาดว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในครั้งนี้จะส่งผลให้ระดับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงปี 2552 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ 0.6% ซึ่งจะส่งผลให้จากการคาดการณ์ของ SCRI ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2552 ขยายตัวในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ0.0% ถึง 2.0% จากการประเมินในครั้งก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -0.4% ถึง 1.4%
ที่มา: สถาบันวิจัยคนรหลวงไทย
โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นการลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน และ การเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนทั่วไป คาดว่าจะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายแบบคูณทวี (MultiplierEffect) อย่างไรก็ดี ประเมินว่า ผลคูณทวีทางการบริโภคที่เกิดจากการสนับสนุนของรัฐบาลในครั้งนี้ จะไม่ยั่งยืนเท่ากับการลงทุนของรัฐบาล ดังนั้นจึงคาดว่ารัฐบาลอาจจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ
SCRI ประเมินว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้มีผลช่วยลดภาระของประชาชนได้ โดยเฉพาะ ในเรื่อง ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิง เรื่องการขนส่ง และ การศึกษา ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ด้านมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็น 24% ของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคตามราคาประจำปี 2550 ขณะที่ กลุ่มค้าปลีก จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากมีสัดส่วนในโครงสร้างค่าใช้จ่ายของประชาชนมากที่สุดถึง41% และจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ GDP ปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.5 – 0.7% จากประมาณการณ์เดิม ส่งผลให้กรอบ GDP ปี 2552 อยู่ที่ 0 – 2% ซึ่งดีกว่าประมาณการครั้งก่อนของ SCRI ที่คาดไว้ในกรอบ -0.4% ถึง 1.4% แต่ยังต่ำกว่าประมาณการของรัฐบาลที่ 2.5%
นอกจากนี้ยังประเมินว่า แนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปนั้นจะต้องเน้นในเรื่องการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ และ การแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ เกษตร ส่งออก และ ท่องเที่ยว ส่วน แหล่งที่มาของเงินทุนนั้นคาดว่าจะต้องหันไปพึ่งพาการกู้เงินจากต่างประเทศ โดย SCRI ประมาณว่าสามารถกู้เงินได้อีก 1.6 แสนล้านบาท ภาคธุรกิจที่จะได้รับผลบวกมากที่สุด คือภาคธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
ศักยภาพการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
รัฐบาลอาจขาดดุลงบประมาณเต็มเพดานตามกฎหมายกำหนด ตามกฎหมายเกี่ยวข้องกับงบประมาณ 2ฉบับคือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ และ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พบว่า รัฐบาลจะสามารถขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ได้เพิ่มอีกประมาณ 76,441 ล้านบาท แต่เนื่องจากภายใต้ปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลคาดว่าจะเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า ส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลจากเดิมที่ตั้งไว้ที่1,535,5000 ล้านบาท อาจจะลดลงจากเป้าประมาณ 100,000 ล้านบาท ส่งผลให้เพดานการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลจะเต็มเพดานทันที ดังนั้น SCRI จึงคาดว่ารัฐบาลจะไม่สามารถขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก และหากรัฐบาลต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2552 (สิ้นสุด ก.ย.2552) รัฐบาลมีทางเลือก คือ การกู้เงินจากต่างประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหนี้สาธารณะ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังมีช่องว่างในการกู้เงินต่างประเทศได้อีก 1.6 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่ารัฐบาลจะไม่สามารถขาดดุลงบประมาณได้เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต แต่รัฐบาลยังมีช่องว่างจากการกู้เงินจากต่างประเทศโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหนี้สาธารณะที่จะทำให้รัฐบาลกู้เงินต่างประเทศภายในปีงบประมาณ2552 ได้อีกราว 160,000 ล้านบาท เพิ่มเติมจากวงเงินกู้ต่างประเทศเดิมที่รัฐบาลกู้ไปแล้วประมาณ 35,000 ล้านบาท SCRI ประเมินว่า รัฐบาลจะใช้การกู้เงินจากต่างประเทศเป็นวงเงินสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไปโดยเฉพาะการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) เพื่อรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552 และปีต่อๆไป
ขณะเดียวกันในระยะยาว ศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจถูกจำกัดจากเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไม่เกิน 50%ของ GDP โดย ประเมินว่าศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาวของไทยมีแนวโน้มจะถูกจำกัดตามกรอบความยั่งยืนการคลัง เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สินสาธารณะต่อ GDP คิดเป็นสัดส่วน 36% ดังนั้น หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดจนค้ำประกันหนี้สาธารณะให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจรวมประมาณ 550,000 ล้านบาทต่อปี จะกดดันให้รัฐบาลไทยต้องจัดทำงบประมาณแบบสมดุลภายใน 3 – 4 ปีข้างหน้า
SCRI ประเมินว่าหากว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวแต่ยังขยายตัวในระดับที่ต่ำ (ต่ำกว่า 3%) ซึ่งจะกดดันให้เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับต่ำเช่นเดียวกัน ดังนั้น รัฐบาลยังคงมีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เติบโตและลดปัญหาการว่างงานอย่างไรก็ดี รัฐบาลจะต้องเผชิญกับอุปสรรคจากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง (50% ของ GDP) ซึ่งจะจำกัดบทบาทภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้การจัดทำงบประมาณรัฐแบบสมดุลภายใต้เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวในอัตราต่ำ อาจจะส่งผลซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวที่ชะลอตัวลง
ผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
SCRI ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะได้รับปัจจัยบวกมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของ
รัฐบาล และจากการประเมินในเบื้องต้น คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5 – 0.7% อยู่ในระดับเฉลี่ย 0.0% ถึง 2.0% จากการประเมินในครั้งก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -0.4% ถึง1.4%
ทั้งนี้จากการประเมินในเบื้องต้นแล้ว ค่อนข้างที่จะมีมุมมองในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนที่จะทำการออกมาภายใน ไตรมาสที่ 1นี้ เนื่องจาก มองว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจจะได้รับแรงกระตุ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากการขยายตัวดีขึ้นของภาคอุปสงค์ในประเทศจากการที่เม็ดเงินที่จะทำลงมากระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นเม็ดเงินที่ส่งเข้าถึงในระดับประชาชนโดยตรงโดยที่ไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งถือได้ว่าจะช่วยป้องกันการรั่วไหลของเม็ดเงินก่อนที่จะลงไปกระตุ้นระบบเศรษฐกิจอย่างมาตรการในช่วงก่อนหน้า ดังนั้น ในระยะสั้นจึงถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ค่อนข้างจะส่งผลบวกอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจ
อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยให้การถดถอยของภาวะเศรษฐกิจในช่วง 1H/52 ลดความรุนแรงลงไปซึ่งจะทำให้ภาพโดยรวมของความเชื่อมั่นในประเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาวะเศรษฐกิจไทยช่วง 2H/52 กลับมาขยายตัวได้เร็วกว่าที่คาดก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบนี้ต้องแลกด้วยงบประมาณจำนวนมหาศาลสำหรับประเทศไทย เนื่องจากเป็นเม็ดเงินที่ถือได้ว่ารัฐบาลจะควบคุมในการนำไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์โดยตรงไม่ได้ และประกอบกับจะส่งผลในระยะยาวไปถึงเสถียรภาพทางการเงินของไทยในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ให้มีการอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง
แต่คาดว่างบประมาณจะขาดดุลต่อเนื่องอีก 1-2 ปี จากการใช้นโยบายขาดดุลการคลังอย่างมากในปีงบประมาณ2552 และอาจจะต้องมีการทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องอีก 1-2 ปี ดังนั้นแล้วผลกระทบที่จะตามมา คือโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆของประเทศไทยคงจะต้องมีการเลื่อนแผนการลงทุนออกไปอย่างไม่มีกำหนดโดยเฉพาะในด้านของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ที่แผนในช่วงแรกกำหนดไว้ในระดับ 7-10 สาย หรือ โครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งจะส่งผลให้ในรยะยาวแล้วไทยจะต้องเสียศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งไป
สถาบันวิจัยคนรหลวงไทยคาดว่า GDP ปี 2552 ขยายตัวในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ 0% - 2.0% โดยสรุป จากการประเมินในเบื้องต้นSCRI คาดว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ในครั้งนี้จะส่งผลให้ระดับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงปี 2552 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ 0.6% ซึ่งจะส่งผลให้จากการคาดการณ์ของ SCRI ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ในปี 2552 ขยายตัวในระดับโดยเฉลี่ยประมาณ0.0% ถึง 2.0% จากการประเมินในครั้งก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -0.4% ถึง 1.4%
ที่มา: สถาบันวิจัยคนรหลวงไทย