รัฐบาลมาร์ค 1 เดินหน้ารวบรวมทุกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยหลังความพยายามสร้างความเชื่อมั่นได้ผลในระดับหนึ่ง เผย 3 แผนหลัก ต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน การเพิ่มงบขาดดุลสูงสุดถึง 1.8 แสนล้าน พร้อมสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐอัดฉีดเงินกู้โดยเพื่อนำร่องก่อนงบประมาณจะถึงมือประชาชน
ความผันผวนของเศรษฐกิจในปี 2551 ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับทุกชาติทั่วโลกกันอย่างถ้วนหน้าถือเป็นการประสานความวุ่นวายที่เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างลงตัวทั้งวิกฤตการเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตหลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าระยะเวลาเพียง 1 ปีราคาน้ำมันจะมีการปรับขึ้นลงต่างกันสูงถึง 100 เหรียญสหรัญต่อบาร์เรล
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีมติอนุมัติ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือนเริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
โดยมาตรการทั้ง 6 ข้อดังกล่าวประกอบไปด้วย 1.ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 2.ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน 3.ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา 4.ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า 5.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ 6.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ซึ่งจากการประมินงบประมาณในเบื้องต้นของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่ารัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยรายได่ที่สูญเสียไปรวม 49,404 ล้านบาทจากการออกมาตรการในครั้งนี้
ซึ่งสามารถสรุปการใช้วงเงินสนับสนุนในแต่ละด้านดังนี้ รายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล 32,000 ล้านบาท ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า 12,000 ล้านบาท ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา 3,930 ล้านบาท และผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่งทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 1,474 ล้านบาท
แม้จะต้องใช้งบประมาณสนับสนุนมากเพียงใดแต่เพื่อบรรเทาความเดือดร้นในเบื้องตันของประชาชนไม่ว่ารัฐบาลใดที่เข้ามาบริหารประเทศก็พึงกระทำในระยะสั้น และหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ต่อจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.คลังอย่างนายกรณ์ จาติกวณิช ก็ออกมาประกาศอย่างชัดเจนในทันทีว่าจะยืด 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้วออกไปอีก 2-3 เดือนเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนยกเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันทุกชนิดเนื่องจากราคาน้ำมันปรับลดลงมากและเป็นการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐในช่วงที่ต้องใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากในขณะนี้
นอกจากมาตรการดังกล่าวที่รัฐบาลเตรียมยืดเวลาการใช้ออกไปนั้นนายกรณ์ ยังเตรียมจะหารือกับนายกรัฐมนตรีถึงนโยบายเศรษฐกิจที่เตรียมจะแถลงต่อรัฐสภาโดยจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งจากการพิจารณาแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจพบว่ายังมีช่องว่างให้สามารถจัดทำงบประมาณขาดดุลกลางปี 52 ได้อีก 1-1.8 แสนล้านบาท แต่จะเป็นวงเงินเท่าไหร่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการจัดเก็บรายได้
โดยในเบื้องต้นกรมสรรพากรรายงานแล้วว่าคาดการณ์รายได้ปี 52 จะต่ำเป้าถึง 1 แสนล้านบาท และหากรวมกับการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่จะปรับลดต่ำลงด้วยจะทำให้ผลจัดเก็บรายได้ปี 52 ต่ำกว่าประมาณการณ์ถึง 1.3-1.4 แสนล้านบาท ดังนั้นแนวคิดการปรับโครงสร้างภาษีจะทำได้หรือไม่ต้องดูความเหมาะสม แม้ว่าก่อนหน้านี้ได้เสนอให้ปรับลดภาษีนิติบุคคลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ แต่ปัจจุบันสภาวะการณ์เศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป น้ำหนักการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนี้จึงน่าจะเน้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากภาครัฐเป็นหลักมากกว่า
"ถ้าให้เลือกระหว่างลดภาษี ทำงบประมาณขาดดุลจำนวนมากและเร่งรัดเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผมจะให้น้ำหนักกับการเบิกจ่ายมากกว่า เนื่องจากต้องคิดยาวไปถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 53 ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว ฉะนั้นก็ยังต้องใช้เงินงบประมาณอีกมากเพื่อจัดทำงบขาดดุลต่อ แต่ทุกมาตรการก็มีความสำคัญซึ่งต้องหารืออย่างรอบคอบและเตรียมนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย"นายกรณ์กล่าวและว่า นอกจากนี้เตรียมหารือถึงทิศทางการบริหารนโยบายการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของนายกรณ์ไม่ได้ตั้งเป้าการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพี เพราะไม่อยากให้มีการสร้างตัวเลข ซึ่งในหลายครั้งจะเห็นว่าจีดีพีเติบโต แต่ประชาชนไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจะเน้นการอยู่ดีกินดีของประชาชนก่อน ซึ่งหากสะท้อนออกมาในรูปของจีดีพีที่เป็นบวกก็จะดี
"สำหรับมาตรการระยะสั้น ได้พิจารณาเพื่อเตรียมต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย ในส่วนของการลดหย่อนค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งไม่กระทบต่องบประมาณ แต่คงไม่ต่ออายุการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เนื่องจากราคาขณะนี้ปรับลดต่ำลงมาก ซึ่งเรื่องนี้จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารกระทรวงการคลังก่อน และจะนำเรื่องดังกล่าวหารือในคณะรัฐมนตรีด้วย"
คาดว่าในการแถลงนโยบายในการบริหารประเทศเสร็จสิ้นมาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะออกมาคงมีความชัดเจนมากขึ้น เมพราะหลังจากที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจในปี 52 จะขยายตัวในระดับ 0-2% เป็นการตั้งสมมติฐานจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งภายในประเทศและจากภายนอกประเทศ ซึ่งหากรวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะประกาศออกมาในช่วงปลายเดือนนี้มองว่าจีดีพีน่าจะขยายตัวได้มากกว่าเป้าหมายดังกล่าวบ้าง ส่วนตัวเลขจะเป็นเท่าใดยังไม่ได้ประเมินในขณะนี้ แต่ยอมรับว่าเป็นห่วงปัญหาการขาดดุลแฝดทั้งการขาดดุลงบประมาณ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะยอดการส่งออกในเดือน ธ.ค.อาจลดลงต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.
รัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อกรณีดังกล่าวและได้มีการร่วมหารรือกันระหว่างรมว.คลัง นายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมจากงบประมาณกลางปี 52 มูลค่า 100,000 ล้านบาท สำหรับนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินต่อได้ พร้อมทั้งเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นช่วงปลายเดือนม.ค. 52 นี้แน่นอน และเชื่อว่า จีดีพีปี 52 อาจจะเติบโตได้มากกว่า 0-2% ตามที่ สศค. คาดการณ์ไว้
“มองว่าจีดีพีปี52 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับที่ สศค.ประเมิน เพราะสศค.ยังไม่ได้นำนโยบายของรัฐบาลที่จะอัดฉีดเงินลงไปหลายแสนล้านผ่านโครงการต่าง ๆ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลออกมาตรการไปแล้ว เชื่อว่าจีดีพีของไทยจะดีขึ้นและจะพยายามทำให้จีดีพีเป็นบวกทุกไตรมาส”นายกรณ์กล่าวและว่า ยังคงเป็นห่วงเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณ เพราะการส่งออกส่งสัญญาณให้เห็นชัดเจนแล้วว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน โดยคาดว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.คาดว่าจะติดลบต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา แต่คงไม่มากเท่าเนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหดตัว รวมทั้งลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
การเข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านั้น ประชาชนต้องการเห็นนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในส่วนนโยบายที่จะให้เด็กนักเรียนเรียนฟรี เพื่อลดภาระครอบครัวนั้น เป็นความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ลำบาก และหากนโยบายส่งเสริมการเรียนฟรีมีงบไม่พอ รัฐบาลได้สำรองงบประมาณไว้ช่วยเหลือตรงนี้เพิ่มเติมด้วย
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ธนาคารของรัฐทุกแห่งเตรียมปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการให้มากขึ้น ในระหว่างที่ยังรองบประมาณกลางปี 52 อีก 100,000 ล้านบาทที่จะออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากคาดว่างบประมาณกลางปีแสนล้านบาทนั้น จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบได้อย่างเร็วในเดือน เม.ย. 52 เป็นต้นไป ซึ่งเห็นว่าล่าช้าเกินไป จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการปล่อยกู้ให้ประชาชนเพื่อดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้มีสภาพคล่องในระบบมากขึ้น
“เชื่อว่าสถาบันการเงินของรัฐได้เตรียมความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนไว้แล้ว เพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง มากกว่า 100% ของเงินฝาก และมากกว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยเพียง 95% ของเงินฝากเท่านั้น และผมเชื่อว่าแบงก์รัฐมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อไปได้ ระหว่างที่ยังไม่ใช้งบประมาณกลางปี 52 เพราะหลายคนคาดการณ์ว่างบประมาณอาจออกช้า ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันท่วงที จึงต้องหาแนวทางที่ต้องแก้ไขเฉพาะหน้าไปก่อน”
ความผันผวนของเศรษฐกิจในปี 2551 ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับทุกชาติทั่วโลกกันอย่างถ้วนหน้าถือเป็นการประสานความวุ่นวายที่เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างลงตัวทั้งวิกฤตการเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตหลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าระยะเวลาเพียง 1 ปีราคาน้ำมันจะมีการปรับขึ้นลงต่างกันสูงถึง 100 เหรียญสหรัญต่อบาร์เรล
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีมติอนุมัติ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยยึดหลักการในการประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในภาคประชาชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และการรักษาวินัยทางการคลัง โดยมีระยะเวลาประมาณ 6 เดือนเริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
โดยมาตรการทั้ง 6 ข้อดังกล่าวประกอบไปด้วย 1.ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 2.ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน 3.ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา 4.ลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า 5.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ 6.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ซึ่งจากการประมินงบประมาณในเบื้องต้นของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่ารัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยรายได่ที่สูญเสียไปรวม 49,404 ล้านบาทจากการออกมาตรการในครั้งนี้
ซึ่งสามารถสรุปการใช้วงเงินสนับสนุนในแต่ละด้านดังนี้ รายได้ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล 32,000 ล้านบาท ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า 12,000 ล้านบาท ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา 3,930 ล้านบาท และผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่งทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 1,474 ล้านบาท
แม้จะต้องใช้งบประมาณสนับสนุนมากเพียงใดแต่เพื่อบรรเทาความเดือดร้นในเบื้องตันของประชาชนไม่ว่ารัฐบาลใดที่เข้ามาบริหารประเทศก็พึงกระทำในระยะสั้น และหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ต่อจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รมว.คลังอย่างนายกรณ์ จาติกวณิช ก็ออกมาประกาศอย่างชัดเจนในทันทีว่าจะยืด 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้วออกไปอีก 2-3 เดือนเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนยกเว้นการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันทุกชนิดเนื่องจากราคาน้ำมันปรับลดลงมากและเป็นการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐในช่วงที่ต้องใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากในขณะนี้
นอกจากมาตรการดังกล่าวที่รัฐบาลเตรียมยืดเวลาการใช้ออกไปนั้นนายกรณ์ ยังเตรียมจะหารือกับนายกรัฐมนตรีถึงนโยบายเศรษฐกิจที่เตรียมจะแถลงต่อรัฐสภาโดยจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งจากการพิจารณาแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจพบว่ายังมีช่องว่างให้สามารถจัดทำงบประมาณขาดดุลกลางปี 52 ได้อีก 1-1.8 แสนล้านบาท แต่จะเป็นวงเงินเท่าไหร่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการจัดเก็บรายได้
โดยในเบื้องต้นกรมสรรพากรรายงานแล้วว่าคาดการณ์รายได้ปี 52 จะต่ำเป้าถึง 1 แสนล้านบาท และหากรวมกับการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่จะปรับลดต่ำลงด้วยจะทำให้ผลจัดเก็บรายได้ปี 52 ต่ำกว่าประมาณการณ์ถึง 1.3-1.4 แสนล้านบาท ดังนั้นแนวคิดการปรับโครงสร้างภาษีจะทำได้หรือไม่ต้องดูความเหมาะสม แม้ว่าก่อนหน้านี้ได้เสนอให้ปรับลดภาษีนิติบุคคลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ แต่ปัจจุบันสภาวะการณ์เศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป น้ำหนักการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนี้จึงน่าจะเน้นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจากภาครัฐเป็นหลักมากกว่า
"ถ้าให้เลือกระหว่างลดภาษี ทำงบประมาณขาดดุลจำนวนมากและเร่งรัดเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผมจะให้น้ำหนักกับการเบิกจ่ายมากกว่า เนื่องจากต้องคิดยาวไปถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 53 ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัว ฉะนั้นก็ยังต้องใช้เงินงบประมาณอีกมากเพื่อจัดทำงบขาดดุลต่อ แต่ทุกมาตรการก็มีความสำคัญซึ่งต้องหารืออย่างรอบคอบและเตรียมนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย"นายกรณ์กล่าวและว่า นอกจากนี้เตรียมหารือถึงทิศทางการบริหารนโยบายการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของนายกรณ์ไม่ได้ตั้งเป้าการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพี เพราะไม่อยากให้มีการสร้างตัวเลข ซึ่งในหลายครั้งจะเห็นว่าจีดีพีเติบโต แต่ประชาชนไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจะเน้นการอยู่ดีกินดีของประชาชนก่อน ซึ่งหากสะท้อนออกมาในรูปของจีดีพีที่เป็นบวกก็จะดี
"สำหรับมาตรการระยะสั้น ได้พิจารณาเพื่อเตรียมต่ออายุ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย ในส่วนของการลดหย่อนค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งไม่กระทบต่องบประมาณ แต่คงไม่ต่ออายุการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เนื่องจากราคาขณะนี้ปรับลดต่ำลงมาก ซึ่งเรื่องนี้จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารกระทรวงการคลังก่อน และจะนำเรื่องดังกล่าวหารือในคณะรัฐมนตรีด้วย"
คาดว่าในการแถลงนโยบายในการบริหารประเทศเสร็จสิ้นมาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จะออกมาคงมีความชัดเจนมากขึ้น เมพราะหลังจากที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจในปี 52 จะขยายตัวในระดับ 0-2% เป็นการตั้งสมมติฐานจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งภายในประเทศและจากภายนอกประเทศ ซึ่งหากรวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะประกาศออกมาในช่วงปลายเดือนนี้มองว่าจีดีพีน่าจะขยายตัวได้มากกว่าเป้าหมายดังกล่าวบ้าง ส่วนตัวเลขจะเป็นเท่าใดยังไม่ได้ประเมินในขณะนี้ แต่ยอมรับว่าเป็นห่วงปัญหาการขาดดุลแฝดทั้งการขาดดุลงบประมาณ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะยอดการส่งออกในเดือน ธ.ค.อาจลดลงต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.
รัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อกรณีดังกล่าวและได้มีการร่วมหารรือกันระหว่างรมว.คลัง นายกรัฐมนตรี และนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมจากงบประมาณกลางปี 52 มูลค่า 100,000 ล้านบาท สำหรับนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินต่อได้ พร้อมทั้งเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นช่วงปลายเดือนม.ค. 52 นี้แน่นอน และเชื่อว่า จีดีพีปี 52 อาจจะเติบโตได้มากกว่า 0-2% ตามที่ สศค. คาดการณ์ไว้
“มองว่าจีดีพีปี52 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับที่ สศค.ประเมิน เพราะสศค.ยังไม่ได้นำนโยบายของรัฐบาลที่จะอัดฉีดเงินลงไปหลายแสนล้านผ่านโครงการต่าง ๆ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลออกมาตรการไปแล้ว เชื่อว่าจีดีพีของไทยจะดีขึ้นและจะพยายามทำให้จีดีพีเป็นบวกทุกไตรมาส”นายกรณ์กล่าวและว่า ยังคงเป็นห่วงเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณ เพราะการส่งออกส่งสัญญาณให้เห็นชัดเจนแล้วว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน โดยคาดว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.คาดว่าจะติดลบต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา แต่คงไม่มากเท่าเนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหดตัว รวมทั้งลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
การเข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านั้น ประชาชนต้องการเห็นนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในส่วนนโยบายที่จะให้เด็กนักเรียนเรียนฟรี เพื่อลดภาระครอบครัวนั้น เป็นความตั้งใจของรัฐบาลชุดนี้ที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ลำบาก และหากนโยบายส่งเสริมการเรียนฟรีมีงบไม่พอ รัฐบาลได้สำรองงบประมาณไว้ช่วยเหลือตรงนี้เพิ่มเติมด้วย
นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ธนาคารของรัฐทุกแห่งเตรียมปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการให้มากขึ้น ในระหว่างที่ยังรองบประมาณกลางปี 52 อีก 100,000 ล้านบาทที่จะออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากคาดว่างบประมาณกลางปีแสนล้านบาทนั้น จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบได้อย่างเร็วในเดือน เม.ย. 52 เป็นต้นไป ซึ่งเห็นว่าล่าช้าเกินไป จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการปล่อยกู้ให้ประชาชนเพื่อดำเนินธุรกิจ และเพื่อให้มีสภาพคล่องในระบบมากขึ้น
“เชื่อว่าสถาบันการเงินของรัฐได้เตรียมความพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนไว้แล้ว เพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมาธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง มากกว่า 100% ของเงินฝาก และมากกว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยเพียง 95% ของเงินฝากเท่านั้น และผมเชื่อว่าแบงก์รัฐมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อไปได้ ระหว่างที่ยังไม่ใช้งบประมาณกลางปี 52 เพราะหลายคนคาดการณ์ว่างบประมาณอาจออกช้า ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันท่วงที จึงต้องหาแนวทางที่ต้องแก้ไขเฉพาะหน้าไปก่อน”