“ขาลง” ของธุรกิจการบินทั่วโลก มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุวินาศกรรมโจมตีอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และเพนตากอน ที่สหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2544 ภาพหลอนในวันนั้นส่งผลลบทางจิตวิทยา คนไม่กล้าขึ้นเครื่องไปชั่วระยะหนึ่ง และยังกินลึกไปถึงความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยการบินในระยะยาว คนหันมาใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียมและอินเทอร์เน็ตมากขึ้นแทนการเดินทาง สายการบินทั้งไทยและเทศที่ได้รับผลกระทบ ต่างฉายแววลำบากทั้งลดเที่ยวบิน ปลดคนงาน ยกเลิกบางเส้นทาง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องแบกรับต้นทุนการประกันภัยทางอากาศมหาศาล
“วิกฤตน้ำมันแพง” กลายมาเป็น ระเบิดลูกสอง ที่ถล่มซ้ำเข้าไปในแวดวงธุรกิจการบินจนต้องเจ็บตัวกันไประนาว นี่ยังไม่รวมถึงเรื่อง “สงครามราคา” ระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วเอเชีย ที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งสายการบินแห่งชาติ ยิ่งเมื่อมาเจอกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด และผู้นำสายการบินขาดประสิทธิภาพการบริหารอีก ยิ่งกลายเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจการบินพร้อมจะพังครืนได้ลงมาต่อหน้าต่อตา
แต่สำหรับปัญหาการ ขาดสภาพคล่อง และ ขาดทุน อย่างแสนสาหัสของ “การบินไทย” อันเป็นสายการบินแห่งชาติของเรา มีเรื่องเหลือเชื่อเกิดขึ้นมากมาย และได้กลายเป็นต้นตอทับถมให้ธุรกิจการบินของเจ้าจำปีตกต่ำจนอยู่ในขั้นทรุด ล่าสุดต้องวิ่งหน้าตั้งหาทางกู้เงินจำนวน 3.4 หมื่นล้านเพื่อนำมาหมุนและจ่ายหนี้ โดยสำนักข่าวหลายแห่งรายงานอ้างบอร์ดการบินไทยโยนความผิดให้เหตุการณ์ปิดสนามบิน 8 วันทำยอดรายได้สิ้นปีไม่ตรงเป้า ขณะที่กูรูเศรษฐกิจมากมายออกมาแย้งว่า เหตุปิดสนามบินเป็นเหตุผลเล็กๆ เพียงประการหนึ่งที่เข้ามาซ้ำเติม หลังเจ้าจำปีถูกย่ำยีด้วยสารพันปัญหา ทั้งเรื่องประสิทธิภาพฝ่ายบริหาร การเมืองแทรกแซง การทุจริตคอรัปชัน ฯลฯ
อย่างกรณี “ค่าโง่แอร์บัส” ที่กลายมาเป็นต้นเหตุให้การบินไทยเงินขาดมือ โดยล่าสุดการบินไทยมีแผนการขายเครื่องบินแอร์บัส A340-500 จำนวน 4 ลำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้องขาดทุนประมาณ 4.2 พันล้านบาท โดยสาเหตุที่ต้องขายทิ้งเพราะซื้อมาบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์กแล้วขาดทุนยับ
กรณี แอร์บัส A340 – 500 นั้น นสพ.ประชาชาติธุรกิจฉบับ 29 พค.51 เคยเปรียบเทียบไว้น่าสนใจว่า เรานำเข้าเครื่องบินรุ่นเดียวแบบเดียวกับ “สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส” และนำมาใช้ทำเที่ยวบินแบบไม่แวะพัก บินไกลที่สุด 16 ชั่วโมง (nonstop flight transpacific) เส้นทางกรุงเทพฯ - อเมริกา ทั้งนิวยอร์ก และลอสแองเจลิส เหมือนกัน แต่แนวทางการบริหารต่างกันลิบ กล่าวคือ “การบินไทย” นำเครื่องแอร์บัส A340-500/600 ติดตั้งเก้าอี้ 215 ที่นั่ง มารองรับผู้โดยสารเป้าหมายระดับนักท่องเที่ยว
ขณะที่สิงคโปร์สั่งรื้อเครื่องทำเป็นเที่ยวบินชั้นธุรกิจทั้งลำ ตั้งราคาขายตั๋วสูงกว่าชั้นประหยัดแพง 6 เท่า แต่สบายกว่า มีไฮ-เทคโนโลยีด้านความบันเทิงคอยอำนวยความสะดวก เก้าอี้กว้างกว่า 50 % ผลคือ สายการบินสิงคโปร์ไปได้ดีกับเครื่องบินรุ่นดังกล่าว แต่เราต้องรีบขายทิ้งทั้งฝูงเพราะบินขาดทุนเดือนละเกือบร้อยล้าน เรียกว่านอกจากจะผิดพลาดเพราะรีบซื้อเนื่องจากหวังค่าคอมมิชชั่นสูงๆ แล้ว ยังไร้ปัญญาในการนำมาใช้งานอีกด้วย
ยังไม่พอล่าสุด บอร์ดการบินไทยอยู่ระหว่างการดำเนินแผนจัดหาเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 8 ลำ ซึ่งมีการจ่ายเงินมัดจำ และเงินล่วงหน้าไปแล้วประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ถูกท้วงติงว่า เป็นการกระทำที่ขัดมติ ครม. ซึ่งต้องการให้ใช้วิธีการ “เช่า” แต่บอร์ดการบินไทยกลับใช้วิธีการ “เช่าซื้อ” ทำให้ต้องหาเงินจำนวนมากมาซับพอร์ตภาระผูกพันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกหลายหมื่นล้าน ทั้งหมดยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการตัดสินใจครั้งสำคัญของบอร์ดการบินไทยที่เคยทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันล่วงหน้า ในช่วงเกิดวิกฤตน้ำมันโลก ส่งผลให้วันนี้การบินไทยต้องขาดทุนจากการจ่ายค่าน้ำมันสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไปจนถึงอีก 2-3 เดือน ทั้งนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลงไม่รู้กี่รอบแล้ว
14 ธันวาคม 2543 ผู้จัดการออนไลน์ เคยอ้างคำให้สัมภาษณ์ อดีตกรรมการการบินไทยคนหนึ่ง ที่ออกมาวิเคราะห์ความผิดพลาดในแผนการบริหารการบินเมื่อปี 2543 และผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะเคยมีการปรับแผนงานเมื่อปี 2544 – 48 แต่ปัญหาเดิมๆ ก็ยังค้างคามาจนปัจจุบัน อาทิ ปัญหาการจัดซื้อเครื่องบินมากเกินความต้องการ การใช้เครื่องบินมากแบบทำการบินคละกัน ทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านการปฏิบัติการลูกเรือ ซ่อมบำรุง /การที่ฝูงบินไม่มีลักษณะที่ร่วมกัน (Commonality) ของแบบเครื่องบิน และไม่เน้นเครื่องบินแบบเดียวในเส้นทางเดียวกัน ทำให้ขาดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเครื่องบิน สร้างปัญหาในด้านปฏิบัติการ และมีข้อจำกัดของโอกาสทางรายได้
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ทางแก้ง่ายนิดเดียวคือต้องหาทางหยุดอำนาจการเมืองที่เข้ามาหากินกับ “ขุมทรัพย์การบินไทย” แล้วรีบส่งคนฉลาดๆ เป็นงาน จริงใจ ซื่อสัตย์ รักชาติ และเด็ดขาด เข้ามาแก้ปัญหา...
นี่ยังไม่นับรวมผลเลวร้ายที่เกิดจากอดีตผู้นำชั่วๆ บางคน ที่ส่งมือไม้ตัวเองเข้ามานั่งในฝ่ายบริหารหรือในบอร์ดการบินไทยในอดีต เพื่ออนุมัติเปิดทางให้บริษัทวงศาคณาญาติตัวเองเข้ามาหากินกับสายการบินแห่งนี้ ไม่เว้นแม้แต่การหากินกับเครื่องแบบของนางฟ้า ไวน์ ผ้าห่ม มันเอาหมดทุกอย่าง
หรือพิรุธในการแก้กฎหมาย ลดเงื่อนไขในการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจการบิน ที่รัฐดูแลอยู่ ทั้งในวิธีการลดต้นทุนค่าสัมปทาน ลดภาษี หรือผลตอบแทนต่างๆ ที่เอกชนจะต้องเสียให้ถูกลง ทำให้เกิดเอกชนรายใหม่เข้าสู่ตลาดแข่งขันการบิน และสายการบินเอกชนนั้นๆ ไม่พ้นเป็นของวงศ์วานว่านเครือตัวเอง ที่เลวได้อีกก็อาทิ การใช้อำนาจทางอ้อมสั่งปิดเส้นทางบินทั้งในและต่างประเทศหลายเส้นทางของการบินไทย โดยอ้างว่าขาดทุน ทั้งที่ยอดผู้ใช้บริการล้นเหลือ เพียงเพื่อหลีกทางให้สายการบินพรรคพวกตัวเองหากิน
ที่ขำไม่ออก คือคำบอกเล่าของ คุณโสภณ องค์การณ์ ในรายการชั่วโมงข่าวสุดสัปดาห์ว่า ผู้นำชั่วๆ บางคน (น่าจะคนเดียวกันกับข้างบน) ใช้อำนาจสั่งเปิดบริการเส้นทางบินงี่เง่า เช่น เชียงใหม่-จิตตะกอง เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้เซลส์แมนไปขายสัญญาณดาวเทียมทั้งที่เส้นทางนั้นจะทำให้ต้องขาดทุนการบิน
เหล่านี้ เป็นเรื่องจริงของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นแล้วกับสายการบินแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การบินไทยถูกบอนไซชนิด “ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โตมานานแล้ว” และที่อัปยศที่สุด เห็นจะไม่มีเหตุการณ์ใดเกินกรณีที่อดีตรัฐบาลนอมินีสั่งเครื่องบินชั้น 1 สายการบินทีจี 190 ทิ้งตารางบินทั้งหมด เพื่อตีตั๋วตรงไปรับตัว นักโทษหนีคุกบางคน จากฮ่องกงให้กลับมาเล่นละครเรื่อง “จูบแผ่นดิน” ถามจริงเหอะไอ้นักโทษคนนั้น มันจ่ายค่าตั๋วระดับวีไอพีของมันกับลูกชายหรือยัง..
“วิกฤตน้ำมันแพง” กลายมาเป็น ระเบิดลูกสอง ที่ถล่มซ้ำเข้าไปในแวดวงธุรกิจการบินจนต้องเจ็บตัวกันไประนาว นี่ยังไม่รวมถึงเรื่อง “สงครามราคา” ระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วเอเชีย ที่ประกาศตัวเป็นคู่แข่งสายการบินแห่งชาติ ยิ่งเมื่อมาเจอกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด และผู้นำสายการบินขาดประสิทธิภาพการบริหารอีก ยิ่งกลายเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจการบินพร้อมจะพังครืนได้ลงมาต่อหน้าต่อตา
แต่สำหรับปัญหาการ ขาดสภาพคล่อง และ ขาดทุน อย่างแสนสาหัสของ “การบินไทย” อันเป็นสายการบินแห่งชาติของเรา มีเรื่องเหลือเชื่อเกิดขึ้นมากมาย และได้กลายเป็นต้นตอทับถมให้ธุรกิจการบินของเจ้าจำปีตกต่ำจนอยู่ในขั้นทรุด ล่าสุดต้องวิ่งหน้าตั้งหาทางกู้เงินจำนวน 3.4 หมื่นล้านเพื่อนำมาหมุนและจ่ายหนี้ โดยสำนักข่าวหลายแห่งรายงานอ้างบอร์ดการบินไทยโยนความผิดให้เหตุการณ์ปิดสนามบิน 8 วันทำยอดรายได้สิ้นปีไม่ตรงเป้า ขณะที่กูรูเศรษฐกิจมากมายออกมาแย้งว่า เหตุปิดสนามบินเป็นเหตุผลเล็กๆ เพียงประการหนึ่งที่เข้ามาซ้ำเติม หลังเจ้าจำปีถูกย่ำยีด้วยสารพันปัญหา ทั้งเรื่องประสิทธิภาพฝ่ายบริหาร การเมืองแทรกแซง การทุจริตคอรัปชัน ฯลฯ
อย่างกรณี “ค่าโง่แอร์บัส” ที่กลายมาเป็นต้นเหตุให้การบินไทยเงินขาดมือ โดยล่าสุดการบินไทยมีแผนการขายเครื่องบินแอร์บัส A340-500 จำนวน 4 ลำ ซึ่งจะส่งผลให้ต้องขาดทุนประมาณ 4.2 พันล้านบาท โดยสาเหตุที่ต้องขายทิ้งเพราะซื้อมาบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-นิวยอร์กแล้วขาดทุนยับ
กรณี แอร์บัส A340 – 500 นั้น นสพ.ประชาชาติธุรกิจฉบับ 29 พค.51 เคยเปรียบเทียบไว้น่าสนใจว่า เรานำเข้าเครื่องบินรุ่นเดียวแบบเดียวกับ “สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส” และนำมาใช้ทำเที่ยวบินแบบไม่แวะพัก บินไกลที่สุด 16 ชั่วโมง (nonstop flight transpacific) เส้นทางกรุงเทพฯ - อเมริกา ทั้งนิวยอร์ก และลอสแองเจลิส เหมือนกัน แต่แนวทางการบริหารต่างกันลิบ กล่าวคือ “การบินไทย” นำเครื่องแอร์บัส A340-500/600 ติดตั้งเก้าอี้ 215 ที่นั่ง มารองรับผู้โดยสารเป้าหมายระดับนักท่องเที่ยว
ขณะที่สิงคโปร์สั่งรื้อเครื่องทำเป็นเที่ยวบินชั้นธุรกิจทั้งลำ ตั้งราคาขายตั๋วสูงกว่าชั้นประหยัดแพง 6 เท่า แต่สบายกว่า มีไฮ-เทคโนโลยีด้านความบันเทิงคอยอำนวยความสะดวก เก้าอี้กว้างกว่า 50 % ผลคือ สายการบินสิงคโปร์ไปได้ดีกับเครื่องบินรุ่นดังกล่าว แต่เราต้องรีบขายทิ้งทั้งฝูงเพราะบินขาดทุนเดือนละเกือบร้อยล้าน เรียกว่านอกจากจะผิดพลาดเพราะรีบซื้อเนื่องจากหวังค่าคอมมิชชั่นสูงๆ แล้ว ยังไร้ปัญญาในการนำมาใช้งานอีกด้วย
ยังไม่พอล่าสุด บอร์ดการบินไทยอยู่ระหว่างการดำเนินแผนจัดหาเครื่องบินแอร์บัส A330-300 จำนวน 8 ลำ ซึ่งมีการจ่ายเงินมัดจำ และเงินล่วงหน้าไปแล้วประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ถูกท้วงติงว่า เป็นการกระทำที่ขัดมติ ครม. ซึ่งต้องการให้ใช้วิธีการ “เช่า” แต่บอร์ดการบินไทยกลับใช้วิธีการ “เช่าซื้อ” ทำให้ต้องหาเงินจำนวนมากมาซับพอร์ตภาระผูกพันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกหลายหมื่นล้าน ทั้งหมดยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการตัดสินใจครั้งสำคัญของบอร์ดการบินไทยที่เคยทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันล่วงหน้า ในช่วงเกิดวิกฤตน้ำมันโลก ส่งผลให้วันนี้การบินไทยต้องขาดทุนจากการจ่ายค่าน้ำมันสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไปจนถึงอีก 2-3 เดือน ทั้งนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลงไม่รู้กี่รอบแล้ว
14 ธันวาคม 2543 ผู้จัดการออนไลน์ เคยอ้างคำให้สัมภาษณ์ อดีตกรรมการการบินไทยคนหนึ่ง ที่ออกมาวิเคราะห์ความผิดพลาดในแผนการบริหารการบินเมื่อปี 2543 และผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะเคยมีการปรับแผนงานเมื่อปี 2544 – 48 แต่ปัญหาเดิมๆ ก็ยังค้างคามาจนปัจจุบัน อาทิ ปัญหาการจัดซื้อเครื่องบินมากเกินความต้องการ การใช้เครื่องบินมากแบบทำการบินคละกัน ทำให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านการปฏิบัติการลูกเรือ ซ่อมบำรุง /การที่ฝูงบินไม่มีลักษณะที่ร่วมกัน (Commonality) ของแบบเครื่องบิน และไม่เน้นเครื่องบินแบบเดียวในเส้นทางเดียวกัน ทำให้ขาดความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเครื่องบิน สร้างปัญหาในด้านปฏิบัติการ และมีข้อจำกัดของโอกาสทางรายได้
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ทางแก้ง่ายนิดเดียวคือต้องหาทางหยุดอำนาจการเมืองที่เข้ามาหากินกับ “ขุมทรัพย์การบินไทย” แล้วรีบส่งคนฉลาดๆ เป็นงาน จริงใจ ซื่อสัตย์ รักชาติ และเด็ดขาด เข้ามาแก้ปัญหา...
นี่ยังไม่นับรวมผลเลวร้ายที่เกิดจากอดีตผู้นำชั่วๆ บางคน ที่ส่งมือไม้ตัวเองเข้ามานั่งในฝ่ายบริหารหรือในบอร์ดการบินไทยในอดีต เพื่ออนุมัติเปิดทางให้บริษัทวงศาคณาญาติตัวเองเข้ามาหากินกับสายการบินแห่งนี้ ไม่เว้นแม้แต่การหากินกับเครื่องแบบของนางฟ้า ไวน์ ผ้าห่ม มันเอาหมดทุกอย่าง
หรือพิรุธในการแก้กฎหมาย ลดเงื่อนไขในการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจการบิน ที่รัฐดูแลอยู่ ทั้งในวิธีการลดต้นทุนค่าสัมปทาน ลดภาษี หรือผลตอบแทนต่างๆ ที่เอกชนจะต้องเสียให้ถูกลง ทำให้เกิดเอกชนรายใหม่เข้าสู่ตลาดแข่งขันการบิน และสายการบินเอกชนนั้นๆ ไม่พ้นเป็นของวงศ์วานว่านเครือตัวเอง ที่เลวได้อีกก็อาทิ การใช้อำนาจทางอ้อมสั่งปิดเส้นทางบินทั้งในและต่างประเทศหลายเส้นทางของการบินไทย โดยอ้างว่าขาดทุน ทั้งที่ยอดผู้ใช้บริการล้นเหลือ เพียงเพื่อหลีกทางให้สายการบินพรรคพวกตัวเองหากิน
ที่ขำไม่ออก คือคำบอกเล่าของ คุณโสภณ องค์การณ์ ในรายการชั่วโมงข่าวสุดสัปดาห์ว่า ผู้นำชั่วๆ บางคน (น่าจะคนเดียวกันกับข้างบน) ใช้อำนาจสั่งเปิดบริการเส้นทางบินงี่เง่า เช่น เชียงใหม่-จิตตะกอง เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้เซลส์แมนไปขายสัญญาณดาวเทียมทั้งที่เส้นทางนั้นจะทำให้ต้องขาดทุนการบิน
เหล่านี้ เป็นเรื่องจริงของโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นแล้วกับสายการบินแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การบินไทยถูกบอนไซชนิด “ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โตมานานแล้ว” และที่อัปยศที่สุด เห็นจะไม่มีเหตุการณ์ใดเกินกรณีที่อดีตรัฐบาลนอมินีสั่งเครื่องบินชั้น 1 สายการบินทีจี 190 ทิ้งตารางบินทั้งหมด เพื่อตีตั๋วตรงไปรับตัว นักโทษหนีคุกบางคน จากฮ่องกงให้กลับมาเล่นละครเรื่อง “จูบแผ่นดิน” ถามจริงเหอะไอ้นักโทษคนนั้น มันจ่ายค่าตั๋วระดับวีไอพีของมันกับลูกชายหรือยัง..