การบินไทยอ้างรับมอบแอร์บัส A330 เจ้าปัญหา 6 ลำปี 52 ตามกำหนด ส่งผลดีต่อบริษัท เผยเหตุรับมอบเร็วกลบแผลฝ่ายบริหารที่เอาเงินสด 1.1 หมื่นล้านบาทจ่ายล่วงหน้าซื้อ A330 ขัดมติ ครม. แถมแอร์บัสไม่ยอมเลื่อนส่งมอบหลังยอมให้เลื่อนชำระเงิน 3 เดือนไปแล้ว เพราะเกรงสายการบินอื่นเอาอย่าง เสนอบอร์ด พิจารณาแผน 11 กุมภาพันธ์ พร้อมเตรียมเจรจาคลังขอกู้อีก 1.9 หมื่นล้านบาทจ่ายค่าเครื่องบิน โต้ข่าวประกันความเสี่ยง ราคาน้ำมันผิดพลาด ชี้ทำตามมติบอร์ด
แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารไป เจรจากับบริษัท แอร์บัส อินดัสทรี จำกัด เพื่อขอเลื่อนการรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 330-300 จำนวน 6 ลำที่จะเริ่มทยอยส่งมอบตั้งแต่เดือนเม.ย. 2552 นี้ออกไปก่อนโดยคาดว่าน่าจะช่วยประหยัด เงินให้กับการบินไทยได้กว่า 10,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ฝ่ายบริหาร ได้สรุปว่า จะไม่เลื่อนกำหนดรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 330 เนื่อง จากการรับมอบเครื่องบินเข้ามาใช้ตามกำหนดจะเป็นผลดีกับบริษัท มากกว่า เพราะเครื่องบินใหม่จะเข้ามาช่วยสร้างรายได้และขยายธุรกิจ
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอกู้เงินอีก 1.9 หมื่นล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชำระค่าเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 6 ลำ ซึ่งมั่นใจว่าบริษัทยังมีความน่าเชื่อในระยะยาว พอที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้ โดยจะสรุปแผนการบริหารทั้งหมดเสนอที่ประชุมบอร์ดการบินไทยในวันที่ 11 ก.พ. 52
'การได้เครื่องบินใหม่เข้ามาให้บริการมีผลดีต่อบริษัทแน่นอน แต่ปัญหาคือ ต้องกู้เงินอีก 1.9 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระค่าเครื่องบิน ซึ่งจะเป็นเงินกู้ที่เพิ่มจากแผนที่บริษัทจะกู้ 1.9 หมื่นล้านบาทเพื่อนำ มาเสริมสภาพคล่องทางการเงินในปี 2552 ดังนั้นจึงต้องหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ และคลังค้ำประกัน มั่นใจว่ายังมีสถาบันการเงินอีกมากที่พร้อมให้กู้ เพราะหากมองในระยะยาว 2-3 ปีข้างหน้าเครดิตบริษัทยังดีอยู่' แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ บริษัทการบินไทยเคยเจรจากับแอร์บัสเพื่อขอเลื่อนการจ่ายเงินค่าเครื่องบิน ไปแล้ว โดยแอร์บัสยอมเลื่อนจ่ายออกไปให้งวดละ 3 เดือนโดยงวดแรกให้เลื่อนจ่ายจากเดือนม.ค. 2552 ไปเป็นเดือนก.พ. และงวด ต่อไป จะเลื่อนออกไปครั้งละ 3 เดือน แต่กรณีการเลื่อนรับมอบเครื่อง บินนั้นจากการเจรจาเบื้องต้นกับแอร์บัสไม่สามารถดำเนินการได้เพราะจะ กระทบกับภาพรวมในการส่งมอบเครื่องบินของแอร์บัสกับลูกค้าอื่นๆ ได้
'หากแอร์บัสยอมเลื่อนส่งมอบเครื่องบินให้การบินไทยก็อาจจะเป็นปัญหากับแอร์บัสเอง เพราะสายการบินอื่นที่เป็นลูกค้าก็อาจจะอ้างปัญหากทางเศรษฐกิจมาขอเลื่อนตามบ้าง' แหล่งข่าวกล่าว
เผยรับเครื่องบินเร็วแก้ปัญหาเงินสดหมุนเวียน
อย่างไรก็ตาม แอร์บัส A 330-300 นั้นเป็นเครื่องบินล็อตปัญหาที่การบินไทยถูกผู้ถือหุ้นฟ้องว่าดำเนินการขัดมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บริษัทจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่า (Operating Lease) และมีการจ่ายเงินชำระค่างวดล่วงหน้า (Pre Delivery Payment/PDP) เพื่อซื้อเครื่องบินดังกล่าวกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท จนกระทบต่อสถานะทางการเงินบริษัท จากปกติที่บริษัทจะมีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท แต่การที่นำเงินไปชำระค่างวดล่วงหน้าในการจัดซื้อเครื่องบิน A330 และการจัดซื้อ เครื่องยนต์และอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบินซึ่งขัดมติ ครม. ทำให้เงินสดของบริษัทเหลือเพียง 5,000-6,000 ล้านบาทเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในขณะนี้ที่มีปัญหา
แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่ฝ่ายบริหารอ้างเหตุผลไม่เลื่อนกำหนด รับมอบเครื่องบิน A330 ออกไปว่าจะส่งผลดีต่อบริษัทในแง่การให้บริการเพราะมีเครื่องบินใหม่นั้น ในขณะเดียวกันการรับมอบเครื่อง บินตามกำหนดก็ส่งผลดีต่อฝ่ายบริหารบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะยิ่งรับเครื่องบินเข้ามาเร็วเท่าไรก็จะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทกลับสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนที่จะมีการชำระค่างวดล่วงหน้าให้แอร์บัส เพราะจะสามารถนำเครื่องบินที่ได้รับมาเข้าสู่กระบวนการ ด้าน Finance ซึ่งจะมีเงินกลับเข้าบริษัทเป็นเงินสดหมุนเวียนได้เร็วไปด้วย
แจงประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันตามมติบอร์ด
วานนี้ (21 ม.ค.) บริษัทการบินไทย ได้ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่าบริษัทได้ประกันความเสี่ยง น้ำมันในราคาสูงไว้เป็นจำนวนมากและเป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนและมีปัญหาสภาพคล่องว่า การที่บริษัทได้จัดทำ การประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันนั้น เป็นการปฏิบัติตามมติของบอร์ดเมื่อเดือนม.ค.2546 ที่ให้บริษัททำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้แต่ละปีและระยะเวลาประกันไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นแนวทางที่สายการบินต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน ของราคาน้ำมัน มิใช่การแสวงหากำไรแต่อย่างใด
โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 บริษัทได้ทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณ ร้อยละ 41 ของปริมาณการใช้ โดยวิธีการกำหนด ราคาขั้นต่ำและสูงไว้ คิดเป็นราคาน้ำมันดิบประมาณ 6-125 เหรียญต่อบาร์เรล หากราคาน้ำมันสูงเกินกว่าราคาขั้นสูงที่ตกลง บริษัทจะได้รับเงินชดเชยจากสถาบันการเงินคู่ค้า
หากราคาน้ำมันต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ บริษัทจะต้องจ่ายชดเชยให้แก่สถาบันการเงินคู่ค้าเช่นกัน ส่วนปริมาณอีกร้อยละ 59 จะเป็นไปตามราคาน้ำมันตลาดจร การดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการทยอยทำครั้งละประมาณร้อยละ 3-5 ตามความเหมาะสมของสภาพตลาด อีกทั้งสายการบินอื่นๆ ที่จัดทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันก็ได้ใช้แนวทางการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของราคาและระยะเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว บริษัทจัดทำประกัน ความเสี่ยงฯ ในระยะเวลาที่สั้นมากคือ 3-6 เดือน โดยจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2552 และในปริมาณ เพียงร้อยละ 17 ของปริมาณการใช้เท่านั้น
โยนบาปวิกฤต ศก.โลก-ปิดสนามบิน
สำหรับการกู้เงินระยะยาวและการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินนั้น การบิน ไทยได้มีการชี้แจงว่า เป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤต- การณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2551 เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ตลอดจนการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันส่งผลให้การดำเนินงาน ของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท
โดยบริษัทได้แก้ปัญหาทางการเงินโดยการกู้เงินระยะยาว 15,000 ล้านบาท เพื่อทดแทน เงินกู้ระยะสั้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ และจากเหตุการณ์การปิดสนามบินซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเดินทางของผู้โดยสารลดลงอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงได้พิจารณาที่จะกู้เงินระยะยาวอีก 19,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพ คล่องในปี 2552 ในการนี้ บริษัทได้เสนอขายหุ้นกู้ชนิดเจาะจง (Private Placement) มูลค่ารวมไม่เกิน 5,000 ล้านบาท สำหรับระยะเวลา 3 ปี 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี โดยหากความต้องการ การเดินทางของผู้โดยสารกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ ความต้องการใช้เงินอาจลดลง ซึ่งมีผลให้การกู้เงินของบริษัทลดลงด้วย
แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารไป เจรจากับบริษัท แอร์บัส อินดัสทรี จำกัด เพื่อขอเลื่อนการรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 330-300 จำนวน 6 ลำที่จะเริ่มทยอยส่งมอบตั้งแต่เดือนเม.ย. 2552 นี้ออกไปก่อนโดยคาดว่าน่าจะช่วยประหยัด เงินให้กับการบินไทยได้กว่า 10,000 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ฝ่ายบริหาร ได้สรุปว่า จะไม่เลื่อนกำหนดรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 330 เนื่อง จากการรับมอบเครื่องบินเข้ามาใช้ตามกำหนดจะเป็นผลดีกับบริษัท มากกว่า เพราะเครื่องบินใหม่จะเข้ามาช่วยสร้างรายได้และขยายธุรกิจ
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอกู้เงินอีก 1.9 หมื่นล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อชำระค่าเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 6 ลำ ซึ่งมั่นใจว่าบริษัทยังมีความน่าเชื่อในระยะยาว พอที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้ โดยจะสรุปแผนการบริหารทั้งหมดเสนอที่ประชุมบอร์ดการบินไทยในวันที่ 11 ก.พ. 52
'การได้เครื่องบินใหม่เข้ามาให้บริการมีผลดีต่อบริษัทแน่นอน แต่ปัญหาคือ ต้องกู้เงินอีก 1.9 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระค่าเครื่องบิน ซึ่งจะเป็นเงินกู้ที่เพิ่มจากแผนที่บริษัทจะกู้ 1.9 หมื่นล้านบาทเพื่อนำ มาเสริมสภาพคล่องทางการเงินในปี 2552 ดังนั้นจึงต้องหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ และคลังค้ำประกัน มั่นใจว่ายังมีสถาบันการเงินอีกมากที่พร้อมให้กู้ เพราะหากมองในระยะยาว 2-3 ปีข้างหน้าเครดิตบริษัทยังดีอยู่' แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ บริษัทการบินไทยเคยเจรจากับแอร์บัสเพื่อขอเลื่อนการจ่ายเงินค่าเครื่องบิน ไปแล้ว โดยแอร์บัสยอมเลื่อนจ่ายออกไปให้งวดละ 3 เดือนโดยงวดแรกให้เลื่อนจ่ายจากเดือนม.ค. 2552 ไปเป็นเดือนก.พ. และงวด ต่อไป จะเลื่อนออกไปครั้งละ 3 เดือน แต่กรณีการเลื่อนรับมอบเครื่อง บินนั้นจากการเจรจาเบื้องต้นกับแอร์บัสไม่สามารถดำเนินการได้เพราะจะ กระทบกับภาพรวมในการส่งมอบเครื่องบินของแอร์บัสกับลูกค้าอื่นๆ ได้
'หากแอร์บัสยอมเลื่อนส่งมอบเครื่องบินให้การบินไทยก็อาจจะเป็นปัญหากับแอร์บัสเอง เพราะสายการบินอื่นที่เป็นลูกค้าก็อาจจะอ้างปัญหากทางเศรษฐกิจมาขอเลื่อนตามบ้าง' แหล่งข่าวกล่าว
เผยรับเครื่องบินเร็วแก้ปัญหาเงินสดหมุนเวียน
อย่างไรก็ตาม แอร์บัส A 330-300 นั้นเป็นเครื่องบินล็อตปัญหาที่การบินไทยถูกผู้ถือหุ้นฟ้องว่าดำเนินการขัดมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บริษัทจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำ โดยวิธีการเช่า (Operating Lease) และมีการจ่ายเงินชำระค่างวดล่วงหน้า (Pre Delivery Payment/PDP) เพื่อซื้อเครื่องบินดังกล่าวกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท จนกระทบต่อสถานะทางการเงินบริษัท จากปกติที่บริษัทจะมีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท แต่การที่นำเงินไปชำระค่างวดล่วงหน้าในการจัดซื้อเครื่องบิน A330 และการจัดซื้อ เครื่องยนต์และอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบินซึ่งขัดมติ ครม. ทำให้เงินสดของบริษัทเหลือเพียง 5,000-6,000 ล้านบาทเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในขณะนี้ที่มีปัญหา
แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่ฝ่ายบริหารอ้างเหตุผลไม่เลื่อนกำหนด รับมอบเครื่องบิน A330 ออกไปว่าจะส่งผลดีต่อบริษัทในแง่การให้บริการเพราะมีเครื่องบินใหม่นั้น ในขณะเดียวกันการรับมอบเครื่อง บินตามกำหนดก็ส่งผลดีต่อฝ่ายบริหารบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะยิ่งรับเครื่องบินเข้ามาเร็วเท่าไรก็จะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทกลับสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนที่จะมีการชำระค่างวดล่วงหน้าให้แอร์บัส เพราะจะสามารถนำเครื่องบินที่ได้รับมาเข้าสู่กระบวนการ ด้าน Finance ซึ่งจะมีเงินกลับเข้าบริษัทเป็นเงินสดหมุนเวียนได้เร็วไปด้วย
แจงประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันตามมติบอร์ด
วานนี้ (21 ม.ค.) บริษัทการบินไทย ได้ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่าบริษัทได้ประกันความเสี่ยง น้ำมันในราคาสูงไว้เป็นจำนวนมากและเป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนและมีปัญหาสภาพคล่องว่า การที่บริษัทได้จัดทำ การประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันนั้น เป็นการปฏิบัติตามมติของบอร์ดเมื่อเดือนม.ค.2546 ที่ให้บริษัททำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของปริมาณการใช้แต่ละปีและระยะเวลาประกันไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเป็นแนวทางที่สายการบินต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน ของราคาน้ำมัน มิใช่การแสวงหากำไรแต่อย่างใด
โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 บริษัทได้ทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณ ร้อยละ 41 ของปริมาณการใช้ โดยวิธีการกำหนด ราคาขั้นต่ำและสูงไว้ คิดเป็นราคาน้ำมันดิบประมาณ 6-125 เหรียญต่อบาร์เรล หากราคาน้ำมันสูงเกินกว่าราคาขั้นสูงที่ตกลง บริษัทจะได้รับเงินชดเชยจากสถาบันการเงินคู่ค้า
หากราคาน้ำมันต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ บริษัทจะต้องจ่ายชดเชยให้แก่สถาบันการเงินคู่ค้าเช่นกัน ส่วนปริมาณอีกร้อยละ 59 จะเป็นไปตามราคาน้ำมันตลาดจร การดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการทยอยทำครั้งละประมาณร้อยละ 3-5 ตามความเหมาะสมของสภาพตลาด อีกทั้งสายการบินอื่นๆ ที่จัดทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันก็ได้ใช้แนวทางการปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของราคาและระยะเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว บริษัทจัดทำประกัน ความเสี่ยงฯ ในระยะเวลาที่สั้นมากคือ 3-6 เดือน โดยจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2552 และในปริมาณ เพียงร้อยละ 17 ของปริมาณการใช้เท่านั้น
โยนบาปวิกฤต ศก.โลก-ปิดสนามบิน
สำหรับการกู้เงินระยะยาวและการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินนั้น การบิน ไทยได้มีการชี้แจงว่า เป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤต- การณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2551 เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ ตลอดจนการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันส่งผลให้การดำเนินงาน ของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท
โดยบริษัทได้แก้ปัญหาทางการเงินโดยการกู้เงินระยะยาว 15,000 ล้านบาท เพื่อทดแทน เงินกู้ระยะสั้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ และจากเหตุการณ์การปิดสนามบินซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเดินทางของผู้โดยสารลดลงอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงได้พิจารณาที่จะกู้เงินระยะยาวอีก 19,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพ คล่องในปี 2552 ในการนี้ บริษัทได้เสนอขายหุ้นกู้ชนิดเจาะจง (Private Placement) มูลค่ารวมไม่เกิน 5,000 ล้านบาท สำหรับระยะเวลา 3 ปี 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี โดยหากความต้องการ การเดินทางของผู้โดยสารกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว กว่าที่คาดการณ์ไว้ ความต้องการใช้เงินอาจลดลง ซึ่งมีผลให้การกู้เงินของบริษัทลดลงด้วย