ASTVผู้จัดการรายวัน-ทีดีอาร์ไอเสนอตั้งกรมรถไฟ เปิดให้เอกชนร่วมเดินรถ ปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท. ดูแลหน่วยธุรกิจ และบริษัทลูก จัดสรรงบประมาณ ผลักดันรถไฟทางคู่ เพื่อพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ ลดต้นทุนการขนส่ง อย่างจริงจัง คมนาคมชี้ต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดก่อน
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาเพื่อการปรับโครงสร้างสาขาการขนส่งทางรถไฟของประเทศ ว่า วานนี้ (28 ม.ค.) ว่า ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้มีการเสนอแนวทางให้จัดตั้งกรมการรถไฟ ขึ้นเพื่อบริหารจัดการการขนส่งทางรถไฟ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการศึกษาและจัดทำรายละเอียดอีกระยะหนึ่ง รวมถึงการให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งทางรางมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีปัญหาภาระหนี้สินสะสมจำนวนมาก จึงต้องพิจารณาในส่วนของงบประมาณดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการศึกษารายละเอียดโดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ร.ฟ.ท.จะได้รับ
โดยผลศึกษาของทีดีอาร์ไอ แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1. จัดตั้งกรมรถไฟ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีภาระหน้าที่ ในการตั้งงบประมาณด้านการขนส่งทางรถไฟ ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และหัวรถจักร รวมทั้งดูแลและปรับโครงสร้างภายในร.ฟ.ท. แยกเป็นหน่วยธุรกิจ และบริษัทลูก การตั้งหน่วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการบำรุงรักษาราง อาณัติสัญญาณ และสถานี , การตั้งบริษัทลูก เพื่อเดินรถ, บริษัท บริหารสินทรัพย์ และบริษัทระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์)
ระยะที่ 2 การให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ซึ่งขึ้นกับว่าจะมีการจัดทำพรบ.บริหารการขนส่งหรือไม่ เพื่อเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการขนส่งทางรถไฟ กำกับดูแลกรมการรถไฟ และเอกชน และระยะที่ 3 นั้น เป็นการแยกการแข่งขันที่ชัดเจนระหว่างรัฐและเอกชน หากมีการผลักดันให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย
นายสุวิทย์ รัตนจินดา นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในระยะที่ 2 คณะกรรมการฯจะต้องมีการบริหารงานให้เป็นธรรมระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งปัญหา คือ การทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. ในกรณีให้เอกชนร่วมเดินรถ นอกจากนี้จะต้องเร่งผลักดัน ระบบรถไฟรางคู่ ซึ่งรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่ง
นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในข้อคิดเห็นของการเสวนาครั้งนี้ทางกระทรวงคมนาคม ในส่วนของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านขนส่ง ก็จะมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์คช็อป) กับ ร.ฟ.ท. อีกครั้ง ในเร็วๆนี้ เพื่อหารือให้ชัดเจน และทราบถึงปัญหา ว่าจะมีการปรับปรุงอย่างไร ซึ่งหากได้มีการหารือและมีข้อสรุปออกมาอย่างไรก็จะนำเสนอต่อรมว.คมนาคม พิจารณาต่อไป
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาเพื่อการปรับโครงสร้างสาขาการขนส่งทางรถไฟของประเทศ ว่า วานนี้ (28 ม.ค.) ว่า ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้มีการเสนอแนวทางให้จัดตั้งกรมการรถไฟ ขึ้นเพื่อบริหารจัดการการขนส่งทางรถไฟ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการศึกษาและจัดทำรายละเอียดอีกระยะหนึ่ง รวมถึงการให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งทางรางมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีปัญหาภาระหนี้สินสะสมจำนวนมาก จึงต้องพิจารณาในส่วนของงบประมาณดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการศึกษารายละเอียดโดยเฉพาะผลประโยชน์ที่ร.ฟ.ท.จะได้รับ
โดยผลศึกษาของทีดีอาร์ไอ แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1. จัดตั้งกรมรถไฟ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีภาระหน้าที่ ในการตั้งงบประมาณด้านการขนส่งทางรถไฟ ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และหัวรถจักร รวมทั้งดูแลและปรับโครงสร้างภายในร.ฟ.ท. แยกเป็นหน่วยธุรกิจ และบริษัทลูก การตั้งหน่วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการบำรุงรักษาราง อาณัติสัญญาณ และสถานี , การตั้งบริษัทลูก เพื่อเดินรถ, บริษัท บริหารสินทรัพย์ และบริษัทระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์)
ระยะที่ 2 การให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ซึ่งขึ้นกับว่าจะมีการจัดทำพรบ.บริหารการขนส่งหรือไม่ เพื่อเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการขนส่งทางรถไฟ กำกับดูแลกรมการรถไฟ และเอกชน และระยะที่ 3 นั้น เป็นการแยกการแข่งขันที่ชัดเจนระหว่างรัฐและเอกชน หากมีการผลักดันให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย
นายสุวิทย์ รัตนจินดา นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในระยะที่ 2 คณะกรรมการฯจะต้องมีการบริหารงานให้เป็นธรรมระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งปัญหา คือ การทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. ในกรณีให้เอกชนร่วมเดินรถ นอกจากนี้จะต้องเร่งผลักดัน ระบบรถไฟรางคู่ ซึ่งรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่ง
นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในข้อคิดเห็นของการเสวนาครั้งนี้ทางกระทรวงคมนาคม ในส่วนของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านขนส่ง ก็จะมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์คช็อป) กับ ร.ฟ.ท. อีกครั้ง ในเร็วๆนี้ เพื่อหารือให้ชัดเจน และทราบถึงปัญหา ว่าจะมีการปรับปรุงอย่างไร ซึ่งหากได้มีการหารือและมีข้อสรุปออกมาอย่างไรก็จะนำเสนอต่อรมว.คมนาคม พิจารณาต่อไป