สพท. ประกาศใช้มาตรฐานเรือภัตตาคาร มั่นใจช่วยสร้างภาพลักษณ์ธุรกิจให้มีความเป็นสากล หวังสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวทางเรือ วาง 5 องค์ประกอบหลักเพื่อตรวจประเมิน รับรองมาตรฐาน
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เปิดเผยว่า สพท. ได้ประกาศใช้มาตรฐานเรือภัตตาคาร จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ใช้เป็นแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการบริการให้อยู่ในระดับที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล
ทั้งนี้ในมาตรฐานที่กำหนดได้ยึดหลักตามพระราชบัญญัติการเดินเรือน่านน้ำไทยว่าด้วยกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 35 พ.ศ. 2528 ที่กำหนดให้เรือโดยสารจัดให้มีบริการอาหารในเรือแต่ไม่มีสถานที่ประกอบอาหารบนเรือ กำหนดระดับคุณภาพบริการ เป็นมาตรฐานสากล 3 ระดับ คือ สามดาว, สี่ดาวและห้าดาว
นางธนิฏฐา กล่าวอีกว่า ได้กำหนด 5 องค์ประกอบ 38 เกณฑ์ ได้แก่ องค์ประกอบการสื่อสารการตลาดที่เน้นเนื้อหาไม่เกินจริง,มีระบบและหลักการในการขายอย่างรับผิดชอบ,มีการเก็บข้อมูลฐานลูกค้าเดิมและหาฐานลูกค้าใหม่อย่างเป็นระบบ,มีการนำเสนอสินค้าและบริการอย่างถูกต้องครบถ้วน,มีสื่อประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่องและมีสื่อการประชาสัมพันธ์ภาษาต่างประเทศ
องค์ประกอบการบริการ เน้นการอบรมเข้าใจขั้นตอนการให้บริการอย่างเป็นระบบของพนักงาน,มีขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตั้งแต่ต้อนรับถึงส่งลูกค้าเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง,แสดงความบันเทิงที่ไม่ขัดต่อประเพณี,มีสื่อบรรยายสถานที่ต่างๆให้เลือกมากกว่า 3 ภาษาคือจีน ฝรั่งเศสญี่ปุ่น,พนักงานต้องมีทักษะอย่างน้อยหนึ่งภาษา,ตกแต่งบรรยากาศในเรือสะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทย,ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมอันดี,จัดการอำนวยความสะดวกสำหรับความต้องการของกลุ่มเฉพาะเช่นเด็กเล็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ,ออกแบบและจัดการพื้นที่ให้บริการอย่างเหมาะสมและมีระบบการจัดการแก้ไขปัญหาด้านการบริการ
องค์ประกอบด้านการตระหนัก รักษาและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เน้นหลักความรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจ,จัดการด้านสิ่งแวดล้อม,มีระบบจัดการขยะที่ดี,บำบัดน้ำเสีย,ส่งเสริมใช้วัสดุช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม,ส่งเสริมให้ประหยัดพลังงานและน้ำ
ส่วนองค์ประกอบด้านความปลอดภัยเน้นแสดงใบประกาศนียบัตรของกรมขนส่งทางน้ำชัดเจน,มีระบบจัดการความปลอดภัยในเรือ,มีขั้นตอนแนะนำการโดยสารบนเรืออย่างปลอดภัยตลอดระยะเวลาเดินทาง,มีเครื่องยนต์เรือมากกว่าหนึ่งเครื่องยนต์,มีบุคลากรเชี่ยวชาญด้านเดินเรือเพียงพอ,เตรียมความพร้อมและตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน,มีเทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เปิดเผยว่า สพท. ได้ประกาศใช้มาตรฐานเรือภัตตาคาร จุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ใช้เป็นแนวทางพัฒนาและส่งเสริมการบริการให้อยู่ในระดับที่มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล
ทั้งนี้ในมาตรฐานที่กำหนดได้ยึดหลักตามพระราชบัญญัติการเดินเรือน่านน้ำไทยว่าด้วยกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 35 พ.ศ. 2528 ที่กำหนดให้เรือโดยสารจัดให้มีบริการอาหารในเรือแต่ไม่มีสถานที่ประกอบอาหารบนเรือ กำหนดระดับคุณภาพบริการ เป็นมาตรฐานสากล 3 ระดับ คือ สามดาว, สี่ดาวและห้าดาว
นางธนิฏฐา กล่าวอีกว่า ได้กำหนด 5 องค์ประกอบ 38 เกณฑ์ ได้แก่ องค์ประกอบการสื่อสารการตลาดที่เน้นเนื้อหาไม่เกินจริง,มีระบบและหลักการในการขายอย่างรับผิดชอบ,มีการเก็บข้อมูลฐานลูกค้าเดิมและหาฐานลูกค้าใหม่อย่างเป็นระบบ,มีการนำเสนอสินค้าและบริการอย่างถูกต้องครบถ้วน,มีสื่อประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่องและมีสื่อการประชาสัมพันธ์ภาษาต่างประเทศ
องค์ประกอบการบริการ เน้นการอบรมเข้าใจขั้นตอนการให้บริการอย่างเป็นระบบของพนักงาน,มีขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตั้งแต่ต้อนรับถึงส่งลูกค้าเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง,แสดงความบันเทิงที่ไม่ขัดต่อประเพณี,มีสื่อบรรยายสถานที่ต่างๆให้เลือกมากกว่า 3 ภาษาคือจีน ฝรั่งเศสญี่ปุ่น,พนักงานต้องมีทักษะอย่างน้อยหนึ่งภาษา,ตกแต่งบรรยากาศในเรือสะท้อนศิลปวัฒนธรรมไทย,ต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยวัฒนธรรมอันดี,จัดการอำนวยความสะดวกสำหรับความต้องการของกลุ่มเฉพาะเช่นเด็กเล็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ,ออกแบบและจัดการพื้นที่ให้บริการอย่างเหมาะสมและมีระบบการจัดการแก้ไขปัญหาด้านการบริการ
องค์ประกอบด้านการตระหนัก รักษาและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เน้นหลักความรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจ,จัดการด้านสิ่งแวดล้อม,มีระบบจัดการขยะที่ดี,บำบัดน้ำเสีย,ส่งเสริมใช้วัสดุช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม,ส่งเสริมให้ประหยัดพลังงานและน้ำ
ส่วนองค์ประกอบด้านความปลอดภัยเน้นแสดงใบประกาศนียบัตรของกรมขนส่งทางน้ำชัดเจน,มีระบบจัดการความปลอดภัยในเรือ,มีขั้นตอนแนะนำการโดยสารบนเรืออย่างปลอดภัยตลอดระยะเวลาเดินทาง,มีเครื่องยนต์เรือมากกว่าหนึ่งเครื่องยนต์,มีบุคลากรเชี่ยวชาญด้านเดินเรือเพียงพอ,เตรียมความพร้อมและตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน,มีเทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย