ก่อนอื่นต้องขออำนวยพร “เทศกาลตรุษจีน” กับท่านผู้อ่านทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็น เชื้อสายไทยหรือใดๆ ทั้งสิ้น แต่ขออวยพรกับพี่น้องชาวไทยเชื้อจีน ที่ว่าไปแล้วกระจัดกระจายไปทั่วประเทศไทยเรา และทั่วโลก ด้วย “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้”
หน่วยงานสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีบทบาทและภารกิจสำคัญกับ “การแก้ไข-กอบกู้” กับ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ในปัจจุบัน ที่ว่าไปแล้ว เกิดขึ้นมาได้ไม่น้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมา จาก “สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก” ผนวก “วิกฤตการเมืองไทย” จึงส่งผลกระทบกับ “เศรษฐกิจบ้านเรา” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกระทั่ง “อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ-ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)” ในปี 2551 นี้ เติบโตได้เพียง 4-4.2 เปอร์เซ็นต์ และสองไตรมาสแรกของปี 2552 GDP น่าจะติดลบ แต่ตลอดปี 2552 GDP น่าจะไปแตะระดับสูงสุดเพียงแค่ร้อยละ 2 เท่านั้น
ทั้งนี้ “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” จะอยู่ในอาการ “โคม่า” ตลอดปี 2009 และน่าจะทอดยาวไปจนถึงปี 2010 (2553) ตลอดทั้งปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หมายความว่า “สภาวะเศรษฐกิจโลก” น่าจะ “อ่วมอรทัย” ไปอีก 2 ปีเต็มๆ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรปบางประเทศ และญี่ปุ่น ที่ “อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ-จีดีพี” น่าจะ “ติดลบ” หรืออย่างเก่งก็ไม่เกินร้อยละ 1.5
ส่วนจีน อินเดีย รัสเซีย และกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน และทวีปอเมริกาใต้ น่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจจะกระท่อนกระแท่นบ้าง ระดับจีดีพีอยู่ระหว่าง 4-9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เรียกว่า “คงสถานะเดิม (Status Quo)”
แต่เป็นเพียงปีเดียว ปี 2553 (2010) น่าจะกระเตื้องขึ้นบ้าง เนื่องด้วยปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะเริ่มดิ่งลงก้นเหวแล้ว แล้วก็พร้อมที่จะฟื้นฟูได้บ้าง จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจโลกพลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย!
ประเด็นสำคัญที่คนไทยมักกังวล จนถึงขั้นตกอกตกใจว่า “ปัญหาเร่งด่วน” ของชาติบ้านเมืองขณะนี้ คือ “ปัญหาปากท้อง-ค่าครองชีพ” เนื่องด้วย “วิกฤตการเมือง” ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 2 ปีกว่าๆ ส่งผลกระทบอย่างมากกับ “เศรษฐกิจ” จนในที่สุด รุนแรงสุดขีดช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนกับการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ผนวกกับ “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ที่ยังดิ่งลงไม่ถึงก้นเหว จึงทำให้เศรษฐกิจของไทยเราต้องชะลอตัว ถดถอยและทรุดในที่สุด
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรี พยายามเร่งผลักดันด้าน “นโยบาย-มาตรการ” ต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้น “เร่งด่วน” กับ “การกระจายรายได้” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนและสร้างขวัญกำลังใจได้บ้างกับ “เศรษฐกิจระดับรากหญ้า” เพื่อให้เกิด “การบริโภค” ซึ่งแน่นอนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายว่า “ประชานิยม” ที่ “ลอกเลียนแบบ” จาก “ระบบทักษิโณมิกส์” จนล้อว่าเป็น “มาร์คโคโณมิกส์” เสียอย่างนั้น
อุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมาโดยตลอด เรียงลำดับความสำคัญก่อนหนังได้แก่ หนึ่ง “อุตสาหกรรมการส่งออก” สอง “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” สาม “อุตสาหกรรมภาคการผลิต-การบริโภค-การเกษตร” และสี่ “อุตสาหกรรมการลงทุน”
ถ้าจะเปรียบเทียบ “ประเทศไทย” เป็น “เครื่องบินจัมโบ้ 747” ที่ถ้าจะทะยานเหินฟ้าได้ต้องประกอบไปด้วย “เครื่องยนต์ 4 ตัว” ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ขอย้ำชัดเจนอีกครั้งกล่าวคือ “ส่งออก-ท่องเที่ยว-การผลิตและบริโภค-การลงทุน”
ปัจจุบัน “สภาวะปัญหาเศรษฐกิจไทย” ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ทั้งนี้ อุตสาหกรรมหลักทั้งสองเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ นำเม็ดเงินสู่ประเทศชาติปีละไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออกประมาณ 4 ล้านล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 6-8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถ้าเมื่อใดทั้งสองอุตสาหกรรมเผชิญปัญหา จะส่งผลกระทบกับ “ภาคการผลิต” โดยเฉพาะ “ภาคการเกษตร” และเลยเถิดไปจนถึง “ภาคการบริการ” ท้ายสุดส่งผลกระทบต่อ “ภาคการบริโภค” ของประชาชน จนก่อให้เกิด “สภาวะเงินฝืด” ที่เป็นอยู่ขณะนี้
ส่วน “ภาคการลงทุน” นั้น ปัจจุบันนี้แทบไม่ต้องกล่าวถึง เนื่องด้วย “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” โดยเฉพาะ “วิกฤตการเงิน” ที่ก่อกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ลามไปจนถึงสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นประเทศคู่ค้าสำคัญจน “การลงทุน” ในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต้อง “ระงับ-หยุด” อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี ดังนั้น ในช่วง 2-3 ปีนี้ ไทยเราต้องท่องคาถาว่า “ลืมได้เลย!” กับการลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
“อุตสาหกรรมการส่งออก” นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมากกว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” นับว่ายังโชคดีที่ “วิกฤตการเมือง” ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2551 ส่งผลกระทบเพียงประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าที่เข้าทางยิ่งขึ้น แต่กว่าจะเข้าสู่สถานการณ์เดิมได้ น่าจะเลยไปจนถึงไตรมาสที่สามของปี 2552
อย่างไรก็ดี สถานการณ์จะคงสภาพเดิม และ/หรือดีขึ้นนั้น เราคงจะมานั่งดูดายปล่อยให้เป็นไปตามสถานการณ์ตามธรรมชาติ “ยถากรรม” คงจะไม่ได้ “กระทรวงพาณิชย์” ในยุคที่เพิ่งจะเริ่ม “สตาร์ท (Start)” และค่อยๆ “เดินหน้า (Forward)” กับ “นโยบาย-มาตรการ-โครงการ” เร่งด่วน เพื่อแก้ไข “วิกฤตเศรษฐกิจ-ธุรกิจ” ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ว่าไปแล้ว น่าจะเรียกว่า “บังเอิญ” พอดิบพอดีกับการเริ่มต้นปีใหม่ทั้งระดับสากลและ “ตรุษจีน” ที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ใหม่เอี่ยมอ่อง “ป้ายแดง” กับสถานการณ์เศรษฐกิจแบบทันท่วงที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็หมายความว่า “รัฐบาลใหม่” ไม่มีเวลาที่จะมา “ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์” ต้องเริ่มพับแขนเสื้อและ “ลุยทันที!”
“กระทรวงพาณิชย์” ในยุคของรัฐมนตรีสาวสวย “ป้ายแดง” พรทิวา นาคาศัย ที่เพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2551 แต่กว่าจะเริ่มทำงานได้ก็เพิ่งจะหลังปีใหม่เพียง 5 วัน และทำงานกันจริงๆ จังๆ มาได้เพียง 3 สัปดาห์กว่าๆ เท่านั้น
“นโยบายคู่ขนาน : ปากท้อง-ส่งออก” เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐมนตรีฯ พรทิวา กำลังเร่งดำเนินการ ด้วยการจัด “ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)”ตั้งแต่วันแรกที่ทำงานได้คือ วันพุธที่ 7 มกราคม กับ “ยุทธศาสตร์การส่งออก” และตามติดมาด้วย “ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร” สัปดาห์ต่อมา ด้วยการระดมความคิดเห็นจาก “ภาคเอกชน” ทุกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาหอการค้าไทย และผู้ประกอบการด้านการส่งออก ผู้ผลิต ตลอดจนองค์กรต่างๆ ด้านการเกษตร เป็นต้น นับจำนวนได้ประมาณ 200 กว่าคน ในแต่ละการประชุมเวิร์กชอป
ส่วนปลายสัปดาห์นี้ จะจัดการประชุมเวิร์กชอป สุดท้าย เกี่ยวกับ “ผู้บริโภค” และผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม (SME’s) และภาคเอกชนด้านการค้าปลีกและส่ง เพื่อร่วมระดมกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า เพียงระยะเวลาเกือบ 1 เดือนเท่านั้น “กระทรวงพาณิชย์” นำโดยรัฐมนตรีว่าการฯ พรทิวา นาคาศัย เป็น “หัวหอก” สำคัญ ร่วมกับรัฐมนตรีช่วยฯ อลงกรณ์ พลบุตร สามารถจัดให้มีการประชุมระดมสรรพความคิดจากทุกภาคส่วน กล่าวคือ ภาครัฐบาล ภาคการเมือง ภาคราชการ โดยเฉพาะ “ภาคเอกชน” ทุกระดับชั้น เพื่อกำหนด “ยุทธศาสตร์” ในการแก้ไขและฟื้นฟู “ปัญหาการค้า-การขาย” ทั้งระดับ “ปากท้อง-ค่าครองชีพ-สินค้าเกษตร” และ “การส่งออก” เพื่อให้หลุดรอดจาก “สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ” อย่างเร่งด่วน
ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ได้เริ่มจัด “โครงการสีฟ้า (Blue)” กับสโลแกนว่า “โครงการฟ้าสดใส คนไทยยิ้มได้” โดยยึดมั่นอยู่กับหลักการสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง รัฐต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการตอบแทนสูงสุด สอง มาตรการรักษาเสถียรภาพด้านราคา รวมถึงกระจายสินค้าสู่ชุมชนให้ทั่วถึง และการเพิ่มมูลค่าสินค้า และสาม กำหนดกรอบนโยบายให้เป็นไปตาม “คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ” โดยการเข้าพยุงราคาและเร่งระบายสินค้าเกษตรและพืชผลออกสู่ตลาดต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม “โครงการสีฟ้า” จะประกอบไปด้วย การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเกษตรกร กับปัญหาปากท้อง ลดค่าครองชีพ และระบายสินค้าเกษตรกับการเปิด “ร้านบลูชอป (Blue Shop) – บลูฟาร์ม (Blue Farm) – บลูเซอร์วิส (Blue Service) – บลูเอาต์เล็ต (Blue Outlet)” ด้วยการยึดมั่นในหลักการข้างต้น
ดังนั้น “นโยบายคู่ขนาน : รากหญ้า-ปากท้อง-ส่งออก” จะเป็นมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ เร่งดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งน่ามั่นใจว่าภายใน 3 เดือน ประสิทธิผลของกระทรวงเศรษฐกิจหลักนี้ จะช่วยแก้ไข กอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง!
หน่วยงานสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีบทบาทและภารกิจสำคัญกับ “การแก้ไข-กอบกู้” กับ “วิกฤตเศรษฐกิจ” ในปัจจุบัน ที่ว่าไปแล้ว เกิดขึ้นมาได้ไม่น้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมา จาก “สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก” ผนวก “วิกฤตการเมืองไทย” จึงส่งผลกระทบกับ “เศรษฐกิจบ้านเรา” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกระทั่ง “อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ-ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)” ในปี 2551 นี้ เติบโตได้เพียง 4-4.2 เปอร์เซ็นต์ และสองไตรมาสแรกของปี 2552 GDP น่าจะติดลบ แต่ตลอดปี 2552 GDP น่าจะไปแตะระดับสูงสุดเพียงแค่ร้อยละ 2 เท่านั้น
ทั้งนี้ “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” จะอยู่ในอาการ “โคม่า” ตลอดปี 2009 และน่าจะทอดยาวไปจนถึงปี 2010 (2553) ตลอดทั้งปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หมายความว่า “สภาวะเศรษฐกิจโลก” น่าจะ “อ่วมอรทัย” ไปอีก 2 ปีเต็มๆ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรปบางประเทศ และญี่ปุ่น ที่ “อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ-จีดีพี” น่าจะ “ติดลบ” หรืออย่างเก่งก็ไม่เกินร้อยละ 1.5
ส่วนจีน อินเดีย รัสเซีย และกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน และทวีปอเมริกาใต้ น่าจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจจะกระท่อนกระแท่นบ้าง ระดับจีดีพีอยู่ระหว่าง 4-9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เรียกว่า “คงสถานะเดิม (Status Quo)”
แต่เป็นเพียงปีเดียว ปี 2553 (2010) น่าจะกระเตื้องขึ้นบ้าง เนื่องด้วยปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะเริ่มดิ่งลงก้นเหวแล้ว แล้วก็พร้อมที่จะฟื้นฟูได้บ้าง จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจโลกพลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย!
ประเด็นสำคัญที่คนไทยมักกังวล จนถึงขั้นตกอกตกใจว่า “ปัญหาเร่งด่วน” ของชาติบ้านเมืองขณะนี้ คือ “ปัญหาปากท้อง-ค่าครองชีพ” เนื่องด้วย “วิกฤตการเมือง” ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด 2 ปีกว่าๆ ส่งผลกระทบอย่างมากกับ “เศรษฐกิจ” จนในที่สุด รุนแรงสุดขีดช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนกับการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ผนวกกับ “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ที่ยังดิ่งลงไม่ถึงก้นเหว จึงทำให้เศรษฐกิจของไทยเราต้องชะลอตัว ถดถอยและทรุดในที่สุด
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรี พยายามเร่งผลักดันด้าน “นโยบาย-มาตรการ” ต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้น “เร่งด่วน” กับ “การกระจายรายได้” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนและสร้างขวัญกำลังใจได้บ้างกับ “เศรษฐกิจระดับรากหญ้า” เพื่อให้เกิด “การบริโภค” ซึ่งแน่นอนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมายว่า “ประชานิยม” ที่ “ลอกเลียนแบบ” จาก “ระบบทักษิโณมิกส์” จนล้อว่าเป็น “มาร์คโคโณมิกส์” เสียอย่างนั้น
อุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมาโดยตลอด เรียงลำดับความสำคัญก่อนหนังได้แก่ หนึ่ง “อุตสาหกรรมการส่งออก” สอง “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” สาม “อุตสาหกรรมภาคการผลิต-การบริโภค-การเกษตร” และสี่ “อุตสาหกรรมการลงทุน”
ถ้าจะเปรียบเทียบ “ประเทศไทย” เป็น “เครื่องบินจัมโบ้ 747” ที่ถ้าจะทะยานเหินฟ้าได้ต้องประกอบไปด้วย “เครื่องยนต์ 4 ตัว” ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ขอย้ำชัดเจนอีกครั้งกล่าวคือ “ส่งออก-ท่องเที่ยว-การผลิตและบริโภค-การลงทุน”
ปัจจุบัน “สภาวะปัญหาเศรษฐกิจไทย” ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ทั้งนี้ อุตสาหกรรมหลักทั้งสองเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ นำเม็ดเงินสู่ประเทศชาติปีละไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการส่งออกประมาณ 4 ล้านล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 6-8 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ถ้าเมื่อใดทั้งสองอุตสาหกรรมเผชิญปัญหา จะส่งผลกระทบกับ “ภาคการผลิต” โดยเฉพาะ “ภาคการเกษตร” และเลยเถิดไปจนถึง “ภาคการบริการ” ท้ายสุดส่งผลกระทบต่อ “ภาคการบริโภค” ของประชาชน จนก่อให้เกิด “สภาวะเงินฝืด” ที่เป็นอยู่ขณะนี้
ส่วน “ภาคการลงทุน” นั้น ปัจจุบันนี้แทบไม่ต้องกล่าวถึง เนื่องด้วย “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” โดยเฉพาะ “วิกฤตการเงิน” ที่ก่อกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ลามไปจนถึงสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นประเทศคู่ค้าสำคัญจน “การลงทุน” ในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต้อง “ระงับ-หยุด” อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี ดังนั้น ในช่วง 2-3 ปีนี้ ไทยเราต้องท่องคาถาว่า “ลืมได้เลย!” กับการลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
“อุตสาหกรรมการส่งออก” นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติมากกว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” นับว่ายังโชคดีที่ “วิกฤตการเมือง” ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2551 ส่งผลกระทบเพียงประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งขณะนี้เริ่มเข้าที่เข้าทางยิ่งขึ้น แต่กว่าจะเข้าสู่สถานการณ์เดิมได้ น่าจะเลยไปจนถึงไตรมาสที่สามของปี 2552
อย่างไรก็ดี สถานการณ์จะคงสภาพเดิม และ/หรือดีขึ้นนั้น เราคงจะมานั่งดูดายปล่อยให้เป็นไปตามสถานการณ์ตามธรรมชาติ “ยถากรรม” คงจะไม่ได้ “กระทรวงพาณิชย์” ในยุคที่เพิ่งจะเริ่ม “สตาร์ท (Start)” และค่อยๆ “เดินหน้า (Forward)” กับ “นโยบาย-มาตรการ-โครงการ” เร่งด่วน เพื่อแก้ไข “วิกฤตเศรษฐกิจ-ธุรกิจ” ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ว่าไปแล้ว น่าจะเรียกว่า “บังเอิญ” พอดิบพอดีกับการเริ่มต้นปีใหม่ทั้งระดับสากลและ “ตรุษจีน” ที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ใหม่เอี่ยมอ่อง “ป้ายแดง” กับสถานการณ์เศรษฐกิจแบบทันท่วงที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็หมายความว่า “รัฐบาลใหม่” ไม่มีเวลาที่จะมา “ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์” ต้องเริ่มพับแขนเสื้อและ “ลุยทันที!”
“กระทรวงพาณิชย์” ในยุคของรัฐมนตรีสาวสวย “ป้ายแดง” พรทิวา นาคาศัย ที่เพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2551 แต่กว่าจะเริ่มทำงานได้ก็เพิ่งจะหลังปีใหม่เพียง 5 วัน และทำงานกันจริงๆ จังๆ มาได้เพียง 3 สัปดาห์กว่าๆ เท่านั้น
“นโยบายคู่ขนาน : ปากท้อง-ส่งออก” เป็นนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐมนตรีฯ พรทิวา กำลังเร่งดำเนินการ ด้วยการจัด “ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)”ตั้งแต่วันแรกที่ทำงานได้คือ วันพุธที่ 7 มกราคม กับ “ยุทธศาสตร์การส่งออก” และตามติดมาด้วย “ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตร” สัปดาห์ต่อมา ด้วยการระดมความคิดเห็นจาก “ภาคเอกชน” ทุกสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาหอการค้าไทย และผู้ประกอบการด้านการส่งออก ผู้ผลิต ตลอดจนองค์กรต่างๆ ด้านการเกษตร เป็นต้น นับจำนวนได้ประมาณ 200 กว่าคน ในแต่ละการประชุมเวิร์กชอป
ส่วนปลายสัปดาห์นี้ จะจัดการประชุมเวิร์กชอป สุดท้าย เกี่ยวกับ “ผู้บริโภค” และผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม (SME’s) และภาคเอกชนด้านการค้าปลีกและส่ง เพื่อร่วมระดมกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน
พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า เพียงระยะเวลาเกือบ 1 เดือนเท่านั้น “กระทรวงพาณิชย์” นำโดยรัฐมนตรีว่าการฯ พรทิวา นาคาศัย เป็น “หัวหอก” สำคัญ ร่วมกับรัฐมนตรีช่วยฯ อลงกรณ์ พลบุตร สามารถจัดให้มีการประชุมระดมสรรพความคิดจากทุกภาคส่วน กล่าวคือ ภาครัฐบาล ภาคการเมือง ภาคราชการ โดยเฉพาะ “ภาคเอกชน” ทุกระดับชั้น เพื่อกำหนด “ยุทธศาสตร์” ในการแก้ไขและฟื้นฟู “ปัญหาการค้า-การขาย” ทั้งระดับ “ปากท้อง-ค่าครองชีพ-สินค้าเกษตร” และ “การส่งออก” เพื่อให้หลุดรอดจาก “สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ” อย่างเร่งด่วน
ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ได้เริ่มจัด “โครงการสีฟ้า (Blue)” กับสโลแกนว่า “โครงการฟ้าสดใส คนไทยยิ้มได้” โดยยึดมั่นอยู่กับหลักการสำคัญ 3 ประการ หนึ่ง รัฐต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการตอบแทนสูงสุด สอง มาตรการรักษาเสถียรภาพด้านราคา รวมถึงกระจายสินค้าสู่ชุมชนให้ทั่วถึง และการเพิ่มมูลค่าสินค้า และสาม กำหนดกรอบนโยบายให้เป็นไปตาม “คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ” โดยการเข้าพยุงราคาและเร่งระบายสินค้าเกษตรและพืชผลออกสู่ตลาดต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม “โครงการสีฟ้า” จะประกอบไปด้วย การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเกษตรกร กับปัญหาปากท้อง ลดค่าครองชีพ และระบายสินค้าเกษตรกับการเปิด “ร้านบลูชอป (Blue Shop) – บลูฟาร์ม (Blue Farm) – บลูเซอร์วิส (Blue Service) – บลูเอาต์เล็ต (Blue Outlet)” ด้วยการยึดมั่นในหลักการข้างต้น
ดังนั้น “นโยบายคู่ขนาน : รากหญ้า-ปากท้อง-ส่งออก” จะเป็นมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ เร่งดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งน่ามั่นใจว่าภายใน 3 เดือน ประสิทธิผลของกระทรวงเศรษฐกิจหลักนี้ จะช่วยแก้ไข กอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง!