“เรื่องบ้านเรื่องเมือง” น่าจะเข้าที่เข้าทาง และ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ 1” ได้เริ่มพับแขนเสื้อทำงานกันไปแล้ว หลังจากที่ได้แถลงนโยบาย และผ่านพ้นการเลือกตั้งซ่อมจนรัฐบาลมี “เสถียรภาพ” ไม่ต้องกังวลกรณี “เสียงปริ่มน้ำ” ดังที่วิตกกันมาก่อนหน้านี้ ว่าถ้า “พรรคร่วมรัฐบาล” มีเสียงไม่มากนักที่จะถ่วงดุลกับ “พรรคร่วมฝ่ายค้าน” ได้ แต่ขณะนี้พรรคร่วมรัฐบาลมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มากถึง 255 ที่นั่ง ฝ่ายค้านเพียง 209 เสียงเท่านั้น
ดังนั้น ความห่างของจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในการโหวตนั้น ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ ถ้าเกิดมีกรณีฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสมัยประชุมสามัญทั่วไปในงวดนี้ และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลไม่มีเวลา “ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ (Honeymoon)” อย่างแน่นอน พูดง่ายๆ คือ “ลุยงาน!” ได้เลย
“แสงแดด” ของวดนี้สาธยายถึงภาคเศรษฐกิจที่สำคัญหรือ “เครื่องยนต์” สำคัญของการสร้าง “รายได้-เม็ดเงิน” ให้กับประเทศชาติคือ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ที่แต่ละปีสามารถสร้างรายได้นำเข้าสู่ประเทศชาติไม่ต่ำกว่า 6 แสน ถึง 8 แสนล้านบาท หรือบางปีน่าจะสูงถึงหลัก 1 ล้านล้านบาท
ในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา เราเจอ “วิกฤตการเมือง” ที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์มาก ว่าไปแล้ว น่าจะเกือบตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หลังจาก “การยึดอำนาจ ” รัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร เนื่องด้วยมีการชุมนุมประท้วงยืดเยื้อตลอดทั้งในช่วงก่อน 19 กันยายน 2549 และหลังจากที่มีการเลือกตั้งและจัดตั้ง “รัฐบาลสมัคร” ทอดยาวมาจนถึง “รัฐบาลสมชาย”
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ไม่ได้รับผลกระทบมากมายนักในช่วงระหว่างนั้น แต่ “ภาพพจน์-ภาพลักษณ์” ของประเทศชาติอาจเสียหายบ้าง จนกระทั่งการชุมนุมประท้วงเลยเถิดไปจนถึง “การยึดสนามบิน : ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ”
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 การชุมนุมปิดสนามบินทั้งสองก่อให้เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ทั้งในกรณีของ “ภาพพจน์-ภาพลักษณ์” แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ “ความรู้สึกแย่!” ของบรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ประมาณเกือบหนึ่งสัปดาห์
จากผลกระทบของการปิดสนามบิน ที่ไม่สามารถบินเข้า-ออกได้ ทำให้สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว เรียกว่า “เกือบเจ๊ง!” จน “เจ๊ง!” กันเป็นแถว “ครบวงจร” ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่า โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า พนักงานร้านขายของ สายการบิน จนมีการบ่นอุบว่า “นักท่องเที่ยวหายเรียบ!”
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้นคือ “ช่วงไฮซีซัน!” ของ “ฤดูท่องเที่ยว” ที่บรรดากลุ่มทัวร์และนักท่องเที่ยว “ยกเลิก-แคนเซิล (Cancel)”กันถ้วนหน้า ทั้งนักท่องเที่ยวชาวเอเชียด้วยกันเอง และจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เสียหายนับ 1-2 แสนล้านบาท พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยัง “อุตสาหกรรมการส่งออก” ด้วยเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี ไม่ว่า “วิกฤตการเมือง-วิกฤตเศรษฐกิจ” จะส่งผลกระทบมากมายเพียงใด แต่หน่วยงานที่ไม่เคยย่อท้อคือ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่แม้ว่าช่วงวิกฤตสุดๆ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ทาง ททท.ยังคงให้หน่วยงาน ททท.ต่างประเทศทำความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยวของประเทศนั้นๆ กรณีความคืบหน้าของสถานการณ์บ้านเมือง ว่าในส่วนของ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ตลอดจน “ททท.” และ “การบินไทย” ได้พยายามช่วยเหลือให้นักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ได้ใช้สนามบินใกล้เคียง โดยเฉพาะสนามบินอู่ตะเภา ทยอยลำเลียงส่งผู้โดยสารชาวต่างชาติให้สามารถเดินทางได้
นอกจากนั้น ทาง ททท.ยังดำเนินการ “เดินสาย-โรดโชว์” ไปทั่วโลก ว่าสถานการณ์ด้านการเมืองเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวและกำลังจะดำเนินการแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า “ความศรัทธา-ความเชื่อมั่น” ของชาวต่างชาติทั่วโลก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคมนั้น “ภาพลักษณ์” ประเทศชาติ “ติดลบ-พังยับเยิน!”
แต่ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ก็ทำงานอย่างไม่ลดละ และเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด จนเกิดการหมดกำลังใจจนผู้บริหารระดับสูง อาทิ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พรศิริ มโนหาญ เจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเดินทาง พร้อมทำการรณรงค์สร้างความเข้าใจและศรัทธาเชื่อมั่นให้กลับมาอย่างเร็วที่สุด
“การรณรงค์แคมเปญ” ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง “ไทยเที่ยวไทย” ช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยสโลแกน “เที่ยวไทยครึกครื้น-เศรษฐกิจไทยคึกคัก” พร้อมกับการจัดมหกรรมการท่องเที่ยวที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วย “แคมเปญแพกเกจทัวร์ลด แลก แจก แถม” ลดครึ่งราคา 50 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ตั๋วโดยสาร โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า ปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวอย่างคึกคัก
รายได้ของการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยก่อให้เกิด “เศรษฐกิจไทยคึกคัก” เพียงช่วงปิดยาวเทศกาลปีใหม่ สร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงถึงเกือบ 50,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นับว่าการสูญเสียรายได้ในช่วงไฮซีซันหรือฤดูท่องเที่ยว เราจะขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หันเหไปท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยการทำงานของ ททท.อย่างไม่ยอมแพ้ สามารถนำนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เดินทางกลับมาเที่ยวเมืองไทยได้จำนวนสูง จากที่ยกเลิกไปเกือบร้อยละ 90 ได้หวนกลับมาเกือบร้อยละ 50
และล่าสุด นับว่าเป็น “ข่าวดี” ที่เพียงหนึ่งเดือนกว่าๆ เท่านั้น สื่อของประเทศอังกฤษจาก “หนังสือพิมพ์ซันเดย์ มิเรอร์” และ “สำนักข่าวเพรส แอสโซซิเอชั่น” ได้นำเสนอข่าวว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่การท่องเที่ยวคุ้มค่าที่สุด” ทั้งนี้ ข้อมูลที่สื่อของอังกฤษนำเสนอนั้น เป็นการศึกษาของหน่วยงาน “โพสต์ออฟฟิศ แทรเวล เซอร์วิส” ที่ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับความคุ้มค่าของสถานที่ท่องเที่ยว โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าที่นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่า ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ทั้งสิ้น 8 รายการ ใน 15 ประเทศ
โดยประเทศไทยเป็น “อันดับหนึ่ง” ของการเป็นประเทศท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่บอกว่า “คุ้มค่าที่สุด” เหนือกว่าประเทศแอฟริกาใต้ มาเลเซีย และเคนยา ในกรณีนี้ช่วยทำให้การท่องเที่ยวที่ซบเซาอยู่กลับกระเตื้องขึ้นมาฉับพลัน “คุณงามความ ดี” ต้องยกให้กับ “ททท.”
นอกจากนั้น คนโบราณเขาบอกว่า เมื่อมีหนึ่งข่าวดี ข่าวดีอื่นๆ จะตามติดมา โดยทางรัฐบาลและการท่องเที่ยวของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศ “ปลด” เรื่องการเตือนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยแล้ว
นักท่องเที่ยวชาวจีนล่าสุดน่าจะเดินทางมาประเทศไทย ด้วยการจองทัวร์มาช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วสูงถึงหลัก 50,000-60,000 คน เรียกว่า “รายได้” จากนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเพิ่มขึ้นถึงหลักนับพันล้านบาททีเดียวช่วงเทศกาลตรุษจีน
จากข้อมูลที่ประมาณการของการรายงานจากผู้ว่าฯ ททท. คาดว่าปี 2552 น่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเที่ยวไทยประมาณ 14.89 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าปี 2551 หรืออาจจะคงสถานะเดิม ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว
คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ “อภิสิทธิ์ 1” ว่าได้มีมติเห็นชอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือน การลดด้านดอกเบี้ยและภาษีเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว ให้ส่วนราชการโยกงบประมาณการจัดสัมมนาของในต่างประเทศกลับมาจัดในประเทศมากขึ้น เป็นต้น
อีกครั้งหนึ่งที่ต้องชื่นชม “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ทำงานกันอย่างหนัก และ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตาม งบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยเกินไป ทั้งนี้น่าเสียดายที่ผู้ว่าการฯ พรศิริ มโนหาญ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในเดือนมีนาคมนี้แล้ว
ดังนั้น ความห่างของจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในการโหวตนั้น ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ ถ้าเกิดมีกรณีฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสมัยประชุมสามัญทั่วไปในงวดนี้ และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลไม่มีเวลา “ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ (Honeymoon)” อย่างแน่นอน พูดง่ายๆ คือ “ลุยงาน!” ได้เลย
“แสงแดด” ของวดนี้สาธยายถึงภาคเศรษฐกิจที่สำคัญหรือ “เครื่องยนต์” สำคัญของการสร้าง “รายได้-เม็ดเงิน” ให้กับประเทศชาติคือ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ที่แต่ละปีสามารถสร้างรายได้นำเข้าสู่ประเทศชาติไม่ต่ำกว่า 6 แสน ถึง 8 แสนล้านบาท หรือบางปีน่าจะสูงถึงหลัก 1 ล้านล้านบาท
ในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา เราเจอ “วิกฤตการเมือง” ที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์มาก ว่าไปแล้ว น่าจะเกือบตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หลังจาก “การยึดอำนาจ ” รัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร เนื่องด้วยมีการชุมนุมประท้วงยืดเยื้อตลอดทั้งในช่วงก่อน 19 กันยายน 2549 และหลังจากที่มีการเลือกตั้งและจัดตั้ง “รัฐบาลสมัคร” ทอดยาวมาจนถึง “รัฐบาลสมชาย”
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ไม่ได้รับผลกระทบมากมายนักในช่วงระหว่างนั้น แต่ “ภาพพจน์-ภาพลักษณ์” ของประเทศชาติอาจเสียหายบ้าง จนกระทั่งการชุมนุมประท้วงเลยเถิดไปจนถึง “การยึดสนามบิน : ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ”
ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 การชุมนุมปิดสนามบินทั้งสองก่อให้เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ทั้งในกรณีของ “ภาพพจน์-ภาพลักษณ์” แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ “ความรู้สึกแย่!” ของบรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ประมาณเกือบหนึ่งสัปดาห์
จากผลกระทบของการปิดสนามบิน ที่ไม่สามารถบินเข้า-ออกได้ ทำให้สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว เรียกว่า “เกือบเจ๊ง!” จน “เจ๊ง!” กันเป็นแถว “ครบวงจร” ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ว่า โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า พนักงานร้านขายของ สายการบิน จนมีการบ่นอุบว่า “นักท่องเที่ยวหายเรียบ!”
แต่ที่เลวร้ายไปมากกว่านั้นคือ “ช่วงไฮซีซัน!” ของ “ฤดูท่องเที่ยว” ที่บรรดากลุ่มทัวร์และนักท่องเที่ยว “ยกเลิก-แคนเซิล (Cancel)”กันถ้วนหน้า ทั้งนักท่องเที่ยวชาวเอเชียด้วยกันเอง และจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เสียหายนับ 1-2 แสนล้านบาท พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยัง “อุตสาหกรรมการส่งออก” ด้วยเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ดี ไม่ว่า “วิกฤตการเมือง-วิกฤตเศรษฐกิจ” จะส่งผลกระทบมากมายเพียงใด แต่หน่วยงานที่ไม่เคยย่อท้อคือ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่แม้ว่าช่วงวิกฤตสุดๆ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ทาง ททท.ยังคงให้หน่วยงาน ททท.ต่างประเทศทำความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยวของประเทศนั้นๆ กรณีความคืบหน้าของสถานการณ์บ้านเมือง ว่าในส่วนของ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ตลอดจน “ททท.” และ “การบินไทย” ได้พยายามช่วยเหลือให้นักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ ได้ใช้สนามบินใกล้เคียง โดยเฉพาะสนามบินอู่ตะเภา ทยอยลำเลียงส่งผู้โดยสารชาวต่างชาติให้สามารถเดินทางได้
นอกจากนั้น ทาง ททท.ยังดำเนินการ “เดินสาย-โรดโชว์” ไปทั่วโลก ว่าสถานการณ์ด้านการเมืองเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวและกำลังจะดำเนินการแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า “ความศรัทธา-ความเชื่อมั่น” ของชาวต่างชาติทั่วโลก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคมนั้น “ภาพลักษณ์” ประเทศชาติ “ติดลบ-พังยับเยิน!”
แต่ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ก็ทำงานอย่างไม่ลดละ และเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด จนเกิดการหมดกำลังใจจนผู้บริหารระดับสูง อาทิ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พรศิริ มโนหาญ เจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเดินทาง พร้อมทำการรณรงค์สร้างความเข้าใจและศรัทธาเชื่อมั่นให้กลับมาอย่างเร็วที่สุด
“การรณรงค์แคมเปญ” ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง “ไทยเที่ยวไทย” ช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยสโลแกน “เที่ยวไทยครึกครื้น-เศรษฐกิจไทยคึกคัก” พร้อมกับการจัดมหกรรมการท่องเที่ยวที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วย “แคมเปญแพกเกจทัวร์ลด แลก แจก แถม” ลดครึ่งราคา 50 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ตั๋วโดยสาร โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า ปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวอย่างคึกคัก
รายได้ของการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยก่อให้เกิด “เศรษฐกิจไทยคึกคัก” เพียงช่วงปิดยาวเทศกาลปีใหม่ สร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงถึงเกือบ 50,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นับว่าการสูญเสียรายได้ในช่วงไฮซีซันหรือฤดูท่องเที่ยว เราจะขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หันเหไปท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยการทำงานของ ททท.อย่างไม่ยอมแพ้ สามารถนำนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เดินทางกลับมาเที่ยวเมืองไทยได้จำนวนสูง จากที่ยกเลิกไปเกือบร้อยละ 90 ได้หวนกลับมาเกือบร้อยละ 50
และล่าสุด นับว่าเป็น “ข่าวดี” ที่เพียงหนึ่งเดือนกว่าๆ เท่านั้น สื่อของประเทศอังกฤษจาก “หนังสือพิมพ์ซันเดย์ มิเรอร์” และ “สำนักข่าวเพรส แอสโซซิเอชั่น” ได้นำเสนอข่าวว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่การท่องเที่ยวคุ้มค่าที่สุด” ทั้งนี้ ข้อมูลที่สื่อของอังกฤษนำเสนอนั้น เป็นการศึกษาของหน่วยงาน “โพสต์ออฟฟิศ แทรเวล เซอร์วิส” ที่ได้ทำการวิจัย เกี่ยวกับความคุ้มค่าของสถานที่ท่องเที่ยว โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าที่นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่า ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ทั้งสิ้น 8 รายการ ใน 15 ประเทศ
โดยประเทศไทยเป็น “อันดับหนึ่ง” ของการเป็นประเทศท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่บอกว่า “คุ้มค่าที่สุด” เหนือกว่าประเทศแอฟริกาใต้ มาเลเซีย และเคนยา ในกรณีนี้ช่วยทำให้การท่องเที่ยวที่ซบเซาอยู่กลับกระเตื้องขึ้นมาฉับพลัน “คุณงามความ ดี” ต้องยกให้กับ “ททท.”
นอกจากนั้น คนโบราณเขาบอกว่า เมื่อมีหนึ่งข่าวดี ข่าวดีอื่นๆ จะตามติดมา โดยทางรัฐบาลและการท่องเที่ยวของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศ “ปลด” เรื่องการเตือนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยแล้ว
นักท่องเที่ยวชาวจีนล่าสุดน่าจะเดินทางมาประเทศไทย ด้วยการจองทัวร์มาช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วสูงถึงหลัก 50,000-60,000 คน เรียกว่า “รายได้” จากนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเพิ่มขึ้นถึงหลักนับพันล้านบาททีเดียวช่วงเทศกาลตรุษจีน
จากข้อมูลที่ประมาณการของการรายงานจากผู้ว่าฯ ททท. คาดว่าปี 2552 น่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเที่ยวไทยประมาณ 14.89 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าปี 2551 หรืออาจจะคงสถานะเดิม ซึ่งก็ถือว่าดีแล้ว
คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ “อภิสิทธิ์ 1” ว่าได้มีมติเห็นชอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือน การลดด้านดอกเบี้ยและภาษีเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่องเที่ยว ให้ส่วนราชการโยกงบประมาณการจัดสัมมนาของในต่างประเทศกลับมาจัดในประเทศมากขึ้น เป็นต้น
อีกครั้งหนึ่งที่ต้องชื่นชม “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ทำงานกันอย่างหนัก และ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ที่เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แต่อย่างไรก็ตาม งบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยเกินไป ทั้งนี้น่าเสียดายที่ผู้ว่าการฯ พรศิริ มโนหาญ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในเดือนมีนาคมนี้แล้ว