ASTVผู้จัดการรายวัน-การบินไทยยันรับมอบเครื่องบินแอร์บัสปี 2552 ตามกำหนด หลังเจรจาแอร์บัส เลื่อนกำหนดจ่ายเงินออกไป 3 เดือน แต่ กำหนดรับมอบ A380 ปี 53 มีแววเลื่อน เตรียมปรับแผนเลื่อนการปลดระวางใหม่
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการ บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทยังคงแผนและกำหนดการรับมอบเครื่องบินในปี 2552 ซึ่งจะรับมอบแอร์บัส A 330 ทั้งสิ้น 6 ลำ ไว้เช่นเดิมโดยเริ่มรับมอบเครื่องบินลำแรกตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 นี้ เป็นต้นไป โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้เจรจากับบริษัทแอร์บัสเพื่อขอเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าเครื่องบินที่จะรับมอบในปี 2552 ออกไปจากกำหนดเดิม 3 เดือนแล้ว ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทได้ โดยภายในสัปดาห์หน้า บริษัทจะรายงานแผนที่ปรับใหม่ต่อกระทรวงคมนาคม
ทั้งนี้ยอมรับว่าบริษัทกำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง จึงต้องปรับแผนการเงินใหม่ ด้วยการเจรจากับแอร์บัสในการเลื่อนกำหนดการจ่ายค่าเครื่องบินออกไป ที่ตามแผนเราจะต้องรับมอบ A330 ในปี 2552 นี้ 6 ลำ และต้องจ่ายเงินล่วงหน้า โดยงวดแรกจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าในเดือนม.ค.จากข้อตกลง แอร์บัสให้เลื่อนจ่าย 1 เดือน เท่ากับต้องจ่ายในเดือนก.พ.แต่ในงวดต่อไป จะเลื่อนจากกำหนดเดิมไปงวดละ 3 เดือน
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2553 บริษัทมีกำหนดรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 380 จำนวน 6 ลำ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะต้องเลื่อนกำหนดออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยรับมอบประมาณต้นปี 2554 ซึ่งก่อนหน้านี้แอร์บัสเคยเลื่อนการส่งมอบเครื่องบินดังกล่าวมาแล้วถึง 22 เดือน ดังนั้นการบินไทยจึงต้องปรับแผนการปลดระวางเครื่องบินเก่าให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการรับมอบเครื่องบินใหม่เพื่อนำมาใช้ทดแทน
“ตอนนี้ยังไม่แน่ว่าจะเลื่อนหรือไม่ เพียงแต่มีแนวโน้มว่าอาจเลื่อน ซึ่งจะมีความชัดเจนภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ บริษัทต้องปรับแผนเพื่อรับมือไว้ก่อน ถ้าต้องเลื่อนการรับมอบ ก็จะขยายเวลาการปลดระวางเครื่องบินเก่าออกไปอีก 3 เดือน จนกว่า A 380 จะเข้ามาให้บริการได้ ส่วนปี 2552 นี้ การบินไทย จะปลดระวาง A300-600 อีก 3 ลำ” พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การจัดหาเครื่องบินของบริษัทการบินไทยใหม่เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินเก่าที่มีอายุมาก และเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการ และการแข่งขันในธุรกิจการบิน ทั้งนี้ในปี 2552 มีกำหนดที่จะรับมอบเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัส โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับบริษัทแอร์บัส เพื่อขอยืดระยะเวลาการจ่ายค่าเครื่องบินออกไปจากกำหนดเดิม 3 เดือนแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้นโยบายในการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยแล้ว โดยจะมีการประชุมwork shop ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวมและจะหารือในกรณีการลดค่าใช้จ่าย และความเหมาะสมในการรยีดระยะเวลาการรับมอบเครื่องบินออกไปจากเดิมเพื่อชะลอการจ่ายเงินด้วยว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เช่น หากรับมอบเครื่องล่าช้ากว่ากำหนด บริษัทยังสามารถใช้เครื่องบินเก่าได้ต่อหรือไม่ ซึ่งหากมีความเป็นจำเป็นต้องเลื่อนการรับมอบเครื่องบินจริง ก็ต้องเจรจากับบริษัทแอร์บัสเพิ่มเติม
ในส่วนของการเพิ่มเที่ยวบินในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 นั้น พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การเพิ่มเที่ยวบิน ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 2551-4 ม.ค. 2552 ในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่,เชียงราย,ขอนแก่น,กระบี่ และภูเก็ต จากปกติอีก 9-10% หรือ กว่า 30,000 ที่นั่งนั้น ปรากฎว่ามีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (cabin factor) ในระดับดีมากที่ 85-86% ในขณะที่มียอดจองตั๋วโดยสารสูงถึง 70% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารโซนยุโรปและสแกนดิเนเวีย แต่ผู้โดยสารโซนเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ยังลดลงต่อเนื่อง เพราะเหตุที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการ บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทยังคงแผนและกำหนดการรับมอบเครื่องบินในปี 2552 ซึ่งจะรับมอบแอร์บัส A 330 ทั้งสิ้น 6 ลำ ไว้เช่นเดิมโดยเริ่มรับมอบเครื่องบินลำแรกตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 นี้ เป็นต้นไป โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้เจรจากับบริษัทแอร์บัสเพื่อขอเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าเครื่องบินที่จะรับมอบในปี 2552 ออกไปจากกำหนดเดิม 3 เดือนแล้ว ซึ่งช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทได้ โดยภายในสัปดาห์หน้า บริษัทจะรายงานแผนที่ปรับใหม่ต่อกระทรวงคมนาคม
ทั้งนี้ยอมรับว่าบริษัทกำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง จึงต้องปรับแผนการเงินใหม่ ด้วยการเจรจากับแอร์บัสในการเลื่อนกำหนดการจ่ายค่าเครื่องบินออกไป ที่ตามแผนเราจะต้องรับมอบ A330 ในปี 2552 นี้ 6 ลำ และต้องจ่ายเงินล่วงหน้า โดยงวดแรกจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าในเดือนม.ค.จากข้อตกลง แอร์บัสให้เลื่อนจ่าย 1 เดือน เท่ากับต้องจ่ายในเดือนก.พ.แต่ในงวดต่อไป จะเลื่อนจากกำหนดเดิมไปงวดละ 3 เดือน
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2553 บริษัทมีกำหนดรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A 380 จำนวน 6 ลำ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจจะต้องเลื่อนกำหนดออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยรับมอบประมาณต้นปี 2554 ซึ่งก่อนหน้านี้แอร์บัสเคยเลื่อนการส่งมอบเครื่องบินดังกล่าวมาแล้วถึง 22 เดือน ดังนั้นการบินไทยจึงต้องปรับแผนการปลดระวางเครื่องบินเก่าให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการรับมอบเครื่องบินใหม่เพื่อนำมาใช้ทดแทน
“ตอนนี้ยังไม่แน่ว่าจะเลื่อนหรือไม่ เพียงแต่มีแนวโน้มว่าอาจเลื่อน ซึ่งจะมีความชัดเจนภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ บริษัทต้องปรับแผนเพื่อรับมือไว้ก่อน ถ้าต้องเลื่อนการรับมอบ ก็จะขยายเวลาการปลดระวางเครื่องบินเก่าออกไปอีก 3 เดือน จนกว่า A 380 จะเข้ามาให้บริการได้ ส่วนปี 2552 นี้ การบินไทย จะปลดระวาง A300-600 อีก 3 ลำ” พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การจัดหาเครื่องบินของบริษัทการบินไทยใหม่เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินเก่าที่มีอายุมาก และเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการ และการแข่งขันในธุรกิจการบิน ทั้งนี้ในปี 2552 มีกำหนดที่จะรับมอบเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัส โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับบริษัทแอร์บัส เพื่อขอยืดระยะเวลาการจ่ายค่าเครื่องบินออกไปจากกำหนดเดิม 3 เดือนแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้นโยบายในการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยแล้ว โดยจะมีการประชุมwork shop ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวมและจะหารือในกรณีการลดค่าใช้จ่าย และความเหมาะสมในการรยีดระยะเวลาการรับมอบเครื่องบินออกไปจากเดิมเพื่อชะลอการจ่ายเงินด้วยว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง เช่น หากรับมอบเครื่องล่าช้ากว่ากำหนด บริษัทยังสามารถใช้เครื่องบินเก่าได้ต่อหรือไม่ ซึ่งหากมีความเป็นจำเป็นต้องเลื่อนการรับมอบเครื่องบินจริง ก็ต้องเจรจากับบริษัทแอร์บัสเพิ่มเติม
ในส่วนของการเพิ่มเที่ยวบินในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 นั้น พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การเพิ่มเที่ยวบิน ระหว่างวันที่ 26 ธ.ค. 2551-4 ม.ค. 2552 ในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่,เชียงราย,ขอนแก่น,กระบี่ และภูเก็ต จากปกติอีก 9-10% หรือ กว่า 30,000 ที่นั่งนั้น ปรากฎว่ามีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารต่อเที่ยวบิน (cabin factor) ในระดับดีมากที่ 85-86% ในขณะที่มียอดจองตั๋วโดยสารสูงถึง 70% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารโซนยุโรปและสแกนดิเนเวีย แต่ผู้โดยสารโซนเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ยังลดลงต่อเนื่อง เพราะเหตุที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง