ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐสภาถกกรอบความร่วมมืออาเซียน 19 ฉบับวันแรก เจอฝ่ายค้านกินเงินเดือนประชาชนแต่ไร้ภูมิความรู้ ใช้สภามุ่งอภิปรายโจมตี "กษิต-พันธมิตรฯ" พร้อมเล่นเกมยื้อเรียกร้องตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาก่อนผ่านรัฐสภา ลั่นถ้าไม่ยอมยื่นศาล รธน.ตีความ แถมเลยเถิดไปเล่นงาน สถาบันพระปกเกล้า อภิสิทธิ์ ตอกกลับเอกสารทั้งปึกมาจากรัฐบาลสมชาย ย้ำตั้ง กษิตจากประสบการณ์ทำงานไม่เกี่ยวพันธมิตรฯ บ่นฝ่ายค้านมุ่งเล่นงานรัฐมนตรีมากกว่าเนื้อหากรอบอาเซียน ปู่ชัย ขู่ส.ส.ทำสภาล่มบ่อยมีสิทธิถูกยุบสภา
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.35น. วานนี้ (26 ม.ค.) ได้มีการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป เพื่อให้ความเห็นชอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับ ข้อตกลง การลงนามกรอบความร่วมมือและข้อตกลงอาเซียน โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธาน
ทั้งนี้ เนื่องจากมีสมาชิกลงชื่อเข้าประชุมเพียง 253 คนยังไม่ครบองค์ประชุม จึงยังไม่สามารถเริ่มประชุมได้ จึงขอเปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือ 30 นาที จนกระทั่ง เวลา10.00 น.จึงเริ่มเปิดประชุมร่วมสองสภาโดยที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา จำนวน 9 ครั้ง ซึ่งรวมทั้งรายงานการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 30 ธ.ค.2551ในการประชุมร่วมรัฐสภาในการแถลงนโยบายรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ต่างอภิปรายคัดค้านการนำกรอบความร่วมมืออาเซียนมาพิจารณารวม โดยอ้างว่า มีเอกสารเป็นจำนวนมาก ควรให้เวลาสมาชิกไปศึกษา พร้อมเห็นว่าควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดงที่ค้างไว้ มาพิจารณาก่อนตามระเบียบวาาระ โดยไม่เห็นด้วยที่จะมีการให้ความเห็นชอบ เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียนทีเดียว 23 ฉบับ แต่ควรพิจารณาเป็นรายฉบับไป เพราะเป็นเรื่องสำคัญ รัฐสภาไม่ใช่สภาตรายาง ที่จะให้พิจารณารวบไปเลย และไม่ทราบว่าคณะรัฐมนตรีได้เคยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอะไรหรือไม่
**ฝ่ายค้านดันถกแก้ รธน.แต่ไร้ผล
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อ้างว่า การหยิบร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญมาพิจารณาถือว่าเป็นกำลังใจกับประชาชน ซึ่งจะต้องรักษาสัจจะกับประชาชน
ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้หอบเอกสารกรอบ การเจรจาความร่วมมืออาเซียน จำนวนปึกใหญ่สูงกว่า1ศอกเข้ามาในห้องประชุมให้ประธานได้เห็นและว่าถ้าจะพิจารณาตามมาตรา190จ ะต้องทำให้ประชาชนรับทราบ แล้วตอนนี้เอกสารยังกองอยู่ที่สภาอีกมากกมาย ถ้าเราพิจารณาวันนี้ก็ทำได้ เพียงพิธีกรรมเท่านั้น จึงอยากให้เวลาสมาชิกเพราะยังมีเวลาซึ่งฝ่ายค้าน พร้อมให้ความร่วมมือ แต่ประธานฯ ได้ยืนยันว่าการพิจารณาได้ผ่านไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอญัตติขอให้ เลื่อนวาระการพิจารณากรอบพิจารณาอาเซียนขึ้นมาก่อน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเลื่อนให้ความเห็นชอบพิจารณาด้วยเสียง 296 ต่อ 74 เสียง และยัง เห็นชอบให้พิจารณารายกลุ่ม แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
***มาร์คแจงความสำคัญไทยต่ออาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายโจมตี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ โดยระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญมาชี้แจง ทำให้นายชัย ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า นายกษิต เดินทาไปเยือนกัมพูชา จึงมอบหมาย นายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชี้แจงแทน
เมื่อเริ่มเข้าสู่วาระการประชุมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รายงาน ว่าประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือน ก.ค.51 เป็นต้นมา ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงนี้ถือว่ามีความเป็นพิเศษจากการดำเนินงานของอาเซียนที่มาเกี่ยวข้องกับประเทศไทย 3 ประการคือ 1.กฎบัตรของอาเซียนเปรียบเสมือนธรรมนูญ ที่วางกฎกติกาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของประชาคมอาเซียน ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.เป็นต้นมา และจากนี้ไปจะเป็นช่วงที่สมาชิกจะได้เดินหน้าในการนำ แผนงาน กฎกติกา ต่างๆ ภายในกรอบที่กำหนดไว้ในกฎบัตร มาผลักดันต่อเพื่อนำไปสู่ การเป็น ประชาคมอาเซียน ใน 2558 ต่อไป
2.การเป็นประธานอาเซียนของไทยซึ่งจะดำรงตำแหน่ง 1 ปีครึ่ง และ3. การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนอยู่ในช่วงเดียวกันกับที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้หมายถึงความรับผิดชอบที่ประเทศไทย ต้องดำเนินการของอาเซียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นอกจากนี้การดำเนินงานก็เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลชุดก่อนได้ให้ความเห็นชอบการตรากฎหมายเพื่อทำความชัดเจนใน ครม. ไปแล้ว และได้ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่รัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
***โต้เป็นเอกสารสมัยรัฐบาลสมชาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เอกสารจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ จะมีการประชุมที่ลงนาม ระหว่างผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างที่วัน 27 ก.พ.- 1 มี.ค.นี้ โดยอาจมีข้อตกลงบางฉบับที่ทำกับคู่เจรจาที่จะได้รับการลงนามในช่วงนั้นด้วย แต่เอกสารอีกจำนวนหนึ่งจะลงนามรับรองในช่วงเดือน เม.ย. ซึ่งเอกสารทั้งหมด ที่ได้เสนอมานั้นประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 41 ฉบับ ลงนามโดยผู้นำของอาเซียน 8 ฉบับ ลงนามโดย รมว.ต่างประเทศ 5 ฉบับ และลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 28 ฉบับ ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เกระทรวงกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพลังงาน
ส่วนเอกสารทุกฉบับเป็นเอกสารที่รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้นำเสนอต่อสภา และมีความตั้งใจจะประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 51 ดังนั้นที่บอกว่ามีเอกสารเป็นศอก ส่วนใหญ่ได้ส่งมาแล้วรอบหนึ่งตั้งแต่เดือนพ.ย. เพียงแต่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้นก็จะจำเป็นที่จะนำเรื่องเสนอกลับเข้ามาใหม่ แต่เอกสารจะเป็นชุดเดิมทั้งสิ้น ยกเว้น 3 เรื่องคือข้อตกลงเรื่อง การค้าเสรีที่อาเซียนจะไปทำกับจีนฉบับ 1 กับอินเดีย 1 ฉบับ และกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อีก1 ฉบับ
การนำเสนอของรัฐบาลในวันนี้ก็เพื่อที่จะยืนยันในความพร้อมของไทย ในการจะเป็นเจ้าภาพ และร่วมลงนามในข้อตกลงสำคัญ ๆเหล่านี้ หากบรรลุผลสำเร็จ ก็จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายเรื่องเช่น พลังงาน อาหาร ความร่วมมือจากภัยพิบัติ การป้องกันผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทั่วโลกประสบอยู่ในขณะนี้
***"กษิต" มาร่วมประชุมสภาวันนี้
นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า รมว.ต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางมา ชี้แจงได้ เพราะติดภารกิจไปเยือนกัมพูชา ทั้งนี้เดิม ครม.ปัจจุบันเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ตนลงนามเพื่อเสนอสภาตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 51 และ 5 มกราคม 52 เพื่อประชุมได้ในสมัยวิสามัญ แต่เมื่อสภาไม่สะดวกจึงเลื่อนมาในช่วงสมัยสามัญ และคาดว่าจะประชุมได้ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็มีการนัดประชุมสภาผู้แทนฯ ขณะที่ รมว.ต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนกัมพูชาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ดี รมว.ต่างประเทศจะกลับมาคืนนี้ และวันที่ 27 มกราคม คงมาประชุมได้
ส่วนเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตนได้หารือกับประธานวิปฝ่ายค้านและกำลังจะดูลู่ทางในการที่จะผลักดันการปฎิรูปการเมืองต่อไป ซึ่งตนถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน
จากนั้นนายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงาน ร่างกรอบความร่วมมืออาเซียนทั้ง 19 ฉบับต่อที่ประชุมว่าเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี ต่อการลงนามในเอกสารความร่วมมือนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความ ร่วมมือในภูมิภาคซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยยังเป็นการส่งสัญญาณต่อความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกจะให้ความเห็นขอบในการพิจารณาร่างเอกสารทั้งหมดเพื่อให้ประเทศไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีในอาเซียน
***ฝ่ายค้านไม่สนเนื้อหารุมถล่ม "กษิต"
จากนั้นเปิดให้สมาชิกได้อภิปราย แต่ปรากฏว่า ส.ส.ฝ่ายค้านไม่ได้อภิปราย ในเรื่องสาระสำคัญของร่างข้อตกลง แต่กลับมีการอภิปรายโจมตีนายกฯ และรัฐมนตรี ที่จะไปร่วมประชุมอาเซียนด้วย ว่าไม่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะนายกษิต ที่ถูกโจมตีมากที่สุดโดยพยายามโยงให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับแกนนำกลุ่มพันธมิตร และ เหตุการณ์ยึดสนามบิน2 แห่ง อยู่ตลอดเวลา รวมถึงโจมตี นางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ ว่าไม่มีความรู้ทางด้านการค้า นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.พัฒนาสังคมฯที่มี่เรื่องปลากระป๋องเน่า
นายสุนัย จุลพงษธร ส.ส.นครสวรรค์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ก่อนเหตุการณ์ 19 ก.ย. ประเทศไทยมีสถานะเข้มแข็ง ที่สำคัญรัฐบาลชุดนี้ยังมีปัญหาในเรื่อง ความชอบธรรมของที่มาลงไปถึงบุคลากรที่แวดล้อมนายกฯก็ล้วนมีความอ่อนแอ ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะทำให้นายกฯอ่อนแอไปด้วย เพราะขณะนี้ม็อบมีเส้น ท่านเป็นนายกฯขาใหญ่ ดังนั้นทางที่ดี นายกฯควรลาออกหลังเสร็จสิ้นการประชุมผู้นำอาเซียน เพื่อให้มีการเลือกนายกฯใหม่ เพื่อความสง่างาม ซึ่งผมเชื่อว่า ถึงเวลานั้นก็จะมีคนสนับสนุนท่านให้เป็นนายกฯอีกโดยเฉพาะกลุ่มเนวิน
***"กษิต" มีประสบการณ์ไม่เกี่ยว พธม.
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้ลุกชี้แจงอีกครั้งโดยยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตย การเลือกนายกฯเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง ส่วนที่บอกว่าตนตอบแทนกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วยการตั้งนายกษิต เป็นรมว.ต่างประเทศ นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตนเป็นคนชวนนายกษิต มาสู่เส้นทางการเมืองแต่การเลือกตั้งที่ผ่านมานายกษิต ก็ไม่ได้ลง ส.ส. แต่สาเหตุ ที่เลือกเพราะดูจากประสบการณ์การทำงาน อาจจะไม่ถูกใจทุกคน ซึ่ง 1 เดือนที่ผ่านมา นายกษิต ก็ทำงานเรียบร้อย เดินหน้าประชุมผู้นำอาเซียนให้เร็วขึ้นและทุกประเทศก็ตอบรับเข้าร่วม
สำหรับการรับผิดชอบรัฐมนตรีเป็นหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ ในการประเมินผลการทำงาน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมในการประชุมอาเซียน และทุกสัปดาห์รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ประชุมกันอยู่แล้ว
***เลยเถิดเล่นงานสถาบันพระปกเกล้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการอภิปรายในช่วงบ่าย ฝ่ายค้านยังคง อภิปรายโจมตีการแต่งตั้งนายก ษิต ภิรมย์ เป็น รมว.ต่างประเทศ ว่าไม่เหมาะสม และนายกรัฐมนตรีควรจะปลดออกจากตำแหน่งได้แล้ว ซึ่งการอภิปรายในช่วง 14.30 น. นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม เนื่องจากบรรยายพิเศษ เรื่องรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม และการบริหารประเทศในภาวะวิกฤต ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรียน จ.นนทบุรี
โดยร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขณะนี้นายกฯ อยู่ไหน อยากให้เข้ามาฟังในห้องประชุมสภาฯ ด้วย เพราะมีการ ส่ง SMS ถึงสมาชิกรัฐสภาทุกคน เพื่อให้มาประชุมสภา ซึ่งสมาชิกบางส่วนไปเรียนอยู่ที่สถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องมาประชุม ซึ่งตนเรียนที่สถาบันพระปกเกล้าผ่านมา 7 ปีแล้ว เป็นคนเดียวที่ติดเข็มวิทยฐานะของสถาบันมาโดยตลอด วันนี้ขอถอดออก เพราะสถาบันดังกล่าวเชิญนักวิชาการไปด่าพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนให้ผู้มาเรียนและสมาชิก ส.ส.ฟัง และยังมีการมาบอกว่าสมาชิก ส.ส.มาร่วมประชุมสภาถือว่า ไม่ขาดเรียน
ทั้งนี้ตนเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี หากมีเวลาว่าง ก็ควรจะไปเรียนภาษาจีนเพิ่ม เพราะภาษาจีนจะมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก เนื่องจาก กรอบเจรจาหลายฉบับเกี่ยวพันกับจีน ซึ่งเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของ นายอภิสิทธิ์แน่นอน
ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ชี้แจงว่าเรื่องนี้เป็นผู้ประสานงาน ไปที่สถาบันพระปกเกล้าเอง ขอหยุดการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่หยุดเรียนทั้งหมด เพราะผู้ที่ไม่ได้เป็นส.ส.ก็ยังต้องเรียนต่อไป ทั้งนี้เห็นว่าสถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันประชาธิปไตย ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ส.ส.มาประชุมขอให้ร.ต.ท.เชาวริน ติดเข็มวิทยฐานะไว้ที่เดิมหรือเก็บใส่กระเป๋าไว้ ทางด้าน ร.ต.ท.เชาวรินบอกว่านักวิชาการทำไม่ถูก แบบนี้ไม่ติดเข็มหรอก
จากนั้นร.ต.ท.เชาวรินได้อภิปรายต่อว่า ขอให้เริ่มต้นการเมืองใหม่ โดยให้ส.ส.ให้เกียรตินายกฯ เริ่มจากนายกฯอภิสิทธิ์ และสื่อมวลชนจะมาเรียก นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ เห็นแล้วมันขัดตา ขอให้เรียกว่าท่านนายกฯ นอกจากนี้ขอฝากให้ นายกฯตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ
***ยื้อตั้ง กมธ.ถ้าไม่ยอมส่งตีความ
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะส่งผลกระทบให้รัฐบาลทำงานไม่ได้ เช่น กองทัพอากาศ มีปัญหาการก่อหนี้ งบผูกพันในการจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟน ซึ่งไม่ได้ผ่านความเห็นชอบ จากรัฐสภา นอกจากนี้ตนอยากเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา เรื่องกรอบอาเซียนให้ชัดเจน ถ้าไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการฯตนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 154 เพราะขณะนี้ สมาชิกมีความเห็นขัดแย้ง ตนเชื่อว่าจะมีสมาชิก 60 คนร่วมลงชื่อด้วยแน่ และถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีความขัดแย้งจริง ก็จะทำให้เรื่องกรอบอาเซียนตกไป
นอกจากนี้ ตนยังได้รับข้อมูลเป็นภาษายาวีจากนักศึกษาคนหนึ่งว่า มี ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ สมัยรัฐบาลทหาร มีการแจกปืนเป็นจำนวนมากใน จ.นราธิวาส โดยมีการระบุว่า ถ้าเป็นชาวพุทธครอบครองถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าเป็น อิสลามถือว่าผิดกฎหมาย ตนจะยื่นเรื่องให้นายกฯตรวจสอบ ซึ่งจะมอบเอกสาร ให้ภายหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการอภิปรายช่วงหลังส่วนใหญ่ ฝ่ายค้านเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา อ้างเพื่อความรอบคอบ เพราะมีหลายอย่างยังต้องพิจารณาในรายละเอียดกับประเทศชาติ โดยยืนยันว่าจะไม่ทำให้ล่าช้าเพราะฝ่ายค้านจะพยายามเร่งรัดพิจารณาให้เร็วที่สุด แต่หากรัฐบาลยังดึงดันไม่ตั้งคณะกรรมาธิการฯฝ่ายค้านก็จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งจะทำให้เกิดความ ล่าช้ามากยิ่งขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม . แสดงความเป็นห่วงว่า หากกรอบ ข้อตกลงทั้งหมดไม่ได้ผ่านการสอบถามความเห็นจากประชาชน อาจจะเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสามหรือไม่ ขณะที่ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลต่างอภิปรายสนับสนุนให้ผ่านกรอบดังกล่าว เพราะจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้
***ส.ส.นราฯ ซัดเพื่อไทยไม่รู้จริงอย่าพูด
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยอภิปรายระหว่างการประชุมสภาว่า ในสมัยรัฐบาลทหาร ได้มีการแจกปืนให้ชาวบ้านจ.นราธิวาสว่า มีการแจกปืนจริง แต่คิดว่าน่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ประชาชนใช้ป้องกันตัวภายในหมู่บ้าน ไม่ได้พกไป ภายนอก ส่วนการที่จะยื่นเรื่องดังกล่าวนี้ให้นายกฯตรวจสอบนั้นก็สามารถทำได้ แต่อยากถามว่าก่อนหน้านี้ที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลทำไมไม่มีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว
คนที่พูดไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ไม่เข้าใจปัญหา จึงสื่อสารออกมาผิด ๆ อยากเรียกร้องว่าอย่าพูดอะไรเพื่อความสะใจ เพราะไม่เป็นผลดี
***"มาร์ค" บ่นฝ่ายค้านมุ่งแต่โจมตี รมต.
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ให้สัมภารณ์ว่า การประชุมร่วม 2 สภา เพื่อพิจารณา กรอบข้อตกลงอาเซียนบรรยากาศเรียบร้อยดี ส่วนการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่อง ที่ส.ส.สามารถทำได้ ซึ่งฝ่ายค้านอาจมุ่งที่ตัวรัฐมนตรีมากกว่าสาระในการอภิปราย หากประธานวินิจฉัยว่าสามารถอภิปรายได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ส่วนที่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกภายหลังการประชุมอาเซียนซัมมิท และอยากให้ตั้งครม.ใหม่นั้น นายอภิสิทธิ กล่าวว่า ประเทศได้เดินหน้าทำงานแล้ว จะมีการประเมินผลงานต่างๆ เป็นระยะๆ คิดว่าการไปกำหนดอะไรเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์
ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ขู่ว่าถ้าการประชุมสภาไม่ราบรื่น หากเกิดสภาล่มอีก จะเสนอให้ยุบสภานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นวิธีการของนายชัยที่จะกระตุ้นให้ส.ส.อยู่ในสภา ส่วนปัญหาสภาล่มนั้นทางวิปรัฐบาลกำลังดูอยู่ ส่วนการเปิดประชุมล่าช้าเนื่องจากสส.มาสายนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเป็นครั้งสุดท้ายที่สภาล่ม นายอภิสิทธิ กล่าวว่า ทุกฝ่ายกำลังดูอยู่อย่างเต็มที่ เมื่อถามว่ากรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ประกาศสู้เพื่อความเป็นธรรมไม่ว่าจะอยู่
***"ชัย" ขู่สภาล่มบ่อยรัฐบาลอาจยุบทิ้ง
นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวเหตุการณ์สภาฯล่มเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นคงจะไปกำชับใครไม่ได้ เพราะ ส.ส.ทุกคนต่างก็เป็นผู้มีเกียรติ และคงไม่ฝากอะไรกับลูกหลาน แต่อยากให้ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง อยากให้อยู่ในห้องประชุมตลอดเวลา ในการพิจารณากฎหมายและวาระสำคัญ เช่น การพิจารณากรอบ ข้อตกลงอาเซียน 9 ประเทศลงนามแล้วเหลือประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่ได้ลงนาม จึงอยากถามว่าเราไม่อายเขาหรือ
ถ้าสภาล่มอีก 2-3 ครั้ง ภาพของสภาก็จะเสียหาย เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่เอาไว้ เพราะมีอำนาจในการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีใครมาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติ และอยากขอร้องฝ่ายค้านว่าถ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรก็อย่านับองค์ประชุม ให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานบ้าง แต่ก็คงไปบังคับฝ่ายค้านไม่ได้ เพราะเขาต้องการให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ เขาต้องการเป็นรัฐบาล ดังนั้นจากนี้ไปรัฐบาลต้องระวังทุกฝีก้าว
***ฝ่ายค้านดันตั้ง กมธ.วิสามัญ
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมรัฐสภา นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ว่า ในการประชุมรัฐสภาครั้งนี้วิปฝ่ายค้านมีมติจะเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการสามัญพิจารณากฎบัตรอาเซียน เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลไม่ควรเร่งรีบให้ผ่านสภา ไปโดยง่าย โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงการพาณิชย์และกระทรวงการคมนาคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ หากเร่งรีบอาจจะทำให้เกิด ความเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายค้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญฯขึ้นมานั้น ไม่ได้เป็นการเล่นเกมการเมือง เพราะในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็เคย เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเกือบทุกครั้งที่มีการขอมติต่อสภาในเรื่องสำคัญๆ
***"เทพเทือก" ขำเสนอตั้ง กมธ.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ทางพรคเพื่อไทย เสนอตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้นมาเพื่อชลอไม่ให้พิจารณากรอบอาเซียนเพราะเห็นว่า เร็วเกินไปอาจจะทำให้ไม่รอบคอบและจะเป็นอันตรายต่อประเทศนั้น เป็นเรื่องน่าตลกดี เพราะกรอบเจรจาอาเซียนไม่ได้มาทำกันวัน สองวันนี้ ทำมาตั้งแต่สมัยที่ฝ่ายค้านเขาเป็นรัฐบาล เขาทำมาก็ไม่สงสัย ไม่ติดใจอะไร แต่มาวันนี้พอ พรรคเพื่อไทยมาเป็นฝ่ายค้านก็เกิดระลึกชาติขึ้นมาได้ ก็มาสงสัยติดใจ รัฐบาล ก็ไม่ได้ว่าอะไร ก็แล้วแต่ในสภาจะวินิจฉัยว่าอย่างไร
ส่วนจะมีการถ่วงให้การประชุมที่สภาวันนี้(26 ม.ค.)ล่าช้า แล้วจะกระทบกับการประชุมอาเซียนหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่าอยู่ที่สภา เสียงส่วนใหญในสภา มีเหตุผลเสมอไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าวจะมีผลทำให้การประชุมอาเซียนจะล่าช้า
***เสื้อแดงเพ้อ พธม.ปิดสนามบิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มนปช.จะขัดขวางไม่ให้มีการประชุมอาเซียนซัมมิตหรือไม่ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อดีตแกนนำ นปช. และกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวว่า การประชุมอาเซียนซัมมิตนั้น นปช.ไม่ได้ขัดขวาง เราให้ประชุม เพียงแต่เราไม่ต้องการ ให้ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรมว.ต่างประเทศ ขอถามว่าพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส.ที่มี ความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมากทำไมจึงให้คนที่ปิดล้อมสนามบินมาเป็นรัฐมนตรี หรือต้องการที่จะให้มาป้องกันการปิดล้อมสนามบินอีก.
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.35น. วานนี้ (26 ม.ค.) ได้มีการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป เพื่อให้ความเห็นชอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับ ข้อตกลง การลงนามกรอบความร่วมมือและข้อตกลงอาเซียน โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธาน
ทั้งนี้ เนื่องจากมีสมาชิกลงชื่อเข้าประชุมเพียง 253 คนยังไม่ครบองค์ประชุม จึงยังไม่สามารถเริ่มประชุมได้ จึงขอเปิดโอกาสให้สมาชิกได้หารือ 30 นาที จนกระทั่ง เวลา10.00 น.จึงเริ่มเปิดประชุมร่วมสองสภาโดยที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา จำนวน 9 ครั้ง ซึ่งรวมทั้งรายงานการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 30 ธ.ค.2551ในการประชุมร่วมรัฐสภาในการแถลงนโยบายรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ต่างอภิปรายคัดค้านการนำกรอบความร่วมมืออาเซียนมาพิจารณารวม โดยอ้างว่า มีเอกสารเป็นจำนวนมาก ควรให้เวลาสมาชิกไปศึกษา พร้อมเห็นว่าควรพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่เสนอโดย นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดงที่ค้างไว้ มาพิจารณาก่อนตามระเบียบวาาระ โดยไม่เห็นด้วยที่จะมีการให้ความเห็นชอบ เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียนทีเดียว 23 ฉบับ แต่ควรพิจารณาเป็นรายฉบับไป เพราะเป็นเรื่องสำคัญ รัฐสภาไม่ใช่สภาตรายาง ที่จะให้พิจารณารวบไปเลย และไม่ทราบว่าคณะรัฐมนตรีได้เคยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอะไรหรือไม่
**ฝ่ายค้านดันถกแก้ รธน.แต่ไร้ผล
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อ้างว่า การหยิบร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญมาพิจารณาถือว่าเป็นกำลังใจกับประชาชน ซึ่งจะต้องรักษาสัจจะกับประชาชน
ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้หอบเอกสารกรอบ การเจรจาความร่วมมืออาเซียน จำนวนปึกใหญ่สูงกว่า1ศอกเข้ามาในห้องประชุมให้ประธานได้เห็นและว่าถ้าจะพิจารณาตามมาตรา190จ ะต้องทำให้ประชาชนรับทราบ แล้วตอนนี้เอกสารยังกองอยู่ที่สภาอีกมากกมาย ถ้าเราพิจารณาวันนี้ก็ทำได้ เพียงพิธีกรรมเท่านั้น จึงอยากให้เวลาสมาชิกเพราะยังมีเวลาซึ่งฝ่ายค้าน พร้อมให้ความร่วมมือ แต่ประธานฯ ได้ยืนยันว่าการพิจารณาได้ผ่านไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอญัตติขอให้ เลื่อนวาระการพิจารณากรอบพิจารณาอาเซียนขึ้นมาก่อน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเลื่อนให้ความเห็นชอบพิจารณาด้วยเสียง 296 ต่อ 74 เสียง และยัง เห็นชอบให้พิจารณารายกลุ่ม แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
***มาร์คแจงความสำคัญไทยต่ออาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย อภิปรายโจมตี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ โดยระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญมาชี้แจง ทำให้นายชัย ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า นายกษิต เดินทาไปเยือนกัมพูชา จึงมอบหมาย นายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชี้แจงแทน
เมื่อเริ่มเข้าสู่วาระการประชุมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้รายงาน ว่าประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนตั้งแต่เดือน ก.ค.51 เป็นต้นมา ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงนี้ถือว่ามีความเป็นพิเศษจากการดำเนินงานของอาเซียนที่มาเกี่ยวข้องกับประเทศไทย 3 ประการคือ 1.กฎบัตรของอาเซียนเปรียบเสมือนธรรมนูญ ที่วางกฎกติกาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของประชาคมอาเซียน ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ธ.ค.เป็นต้นมา และจากนี้ไปจะเป็นช่วงที่สมาชิกจะได้เดินหน้าในการนำ แผนงาน กฎกติกา ต่างๆ ภายในกรอบที่กำหนดไว้ในกฎบัตร มาผลักดันต่อเพื่อนำไปสู่ การเป็น ประชาคมอาเซียน ใน 2558 ต่อไป
2.การเป็นประธานอาเซียนของไทยซึ่งจะดำรงตำแหน่ง 1 ปีครึ่ง และ3. การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนอยู่ในช่วงเดียวกันกับที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้หมายถึงความรับผิดชอบที่ประเทศไทย ต้องดำเนินการของอาเซียนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นอกจากนี้การดำเนินงานก็เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลชุดก่อนได้ให้ความเห็นชอบการตรากฎหมายเพื่อทำความชัดเจนใน ครม. ไปแล้ว และได้ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่รัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ
***โต้เป็นเอกสารสมัยรัฐบาลสมชาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เอกสารจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ จะมีการประชุมที่ลงนาม ระหว่างผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างที่วัน 27 ก.พ.- 1 มี.ค.นี้ โดยอาจมีข้อตกลงบางฉบับที่ทำกับคู่เจรจาที่จะได้รับการลงนามในช่วงนั้นด้วย แต่เอกสารอีกจำนวนหนึ่งจะลงนามรับรองในช่วงเดือน เม.ย. ซึ่งเอกสารทั้งหมด ที่ได้เสนอมานั้นประกอบไปด้วยเอกสารสำคัญ 41 ฉบับ ลงนามโดยผู้นำของอาเซียน 8 ฉบับ ลงนามโดย รมว.ต่างประเทศ 5 ฉบับ และลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 28 ฉบับ ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เกระทรวงกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพลังงาน
ส่วนเอกสารทุกฉบับเป็นเอกสารที่รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้นำเสนอต่อสภา และมีความตั้งใจจะประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 51 ดังนั้นที่บอกว่ามีเอกสารเป็นศอก ส่วนใหญ่ได้ส่งมาแล้วรอบหนึ่งตั้งแต่เดือนพ.ย. เพียงแต่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้นก็จะจำเป็นที่จะนำเรื่องเสนอกลับเข้ามาใหม่ แต่เอกสารจะเป็นชุดเดิมทั้งสิ้น ยกเว้น 3 เรื่องคือข้อตกลงเรื่อง การค้าเสรีที่อาเซียนจะไปทำกับจีนฉบับ 1 กับอินเดีย 1 ฉบับ และกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อีก1 ฉบับ
การนำเสนอของรัฐบาลในวันนี้ก็เพื่อที่จะยืนยันในความพร้อมของไทย ในการจะเป็นเจ้าภาพ และร่วมลงนามในข้อตกลงสำคัญ ๆเหล่านี้ หากบรรลุผลสำเร็จ ก็จะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายเรื่องเช่น พลังงาน อาหาร ความร่วมมือจากภัยพิบัติ การป้องกันผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ทั่วโลกประสบอยู่ในขณะนี้
***"กษิต" มาร่วมประชุมสภาวันนี้
นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า รมว.ต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางมา ชี้แจงได้ เพราะติดภารกิจไปเยือนกัมพูชา ทั้งนี้เดิม ครม.ปัจจุบันเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ตนลงนามเพื่อเสนอสภาตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 51 และ 5 มกราคม 52 เพื่อประชุมได้ในสมัยวิสามัญ แต่เมื่อสภาไม่สะดวกจึงเลื่อนมาในช่วงสมัยสามัญ และคาดว่าจะประชุมได้ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็มีการนัดประชุมสภาผู้แทนฯ ขณะที่ รมว.ต่างประเทศ มีกำหนดการเยือนกัมพูชาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ดี รมว.ต่างประเทศจะกลับมาคืนนี้ และวันที่ 27 มกราคม คงมาประชุมได้
ส่วนเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตนได้หารือกับประธานวิปฝ่ายค้านและกำลังจะดูลู่ทางในการที่จะผลักดันการปฎิรูปการเมืองต่อไป ซึ่งตนถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน
จากนั้นนายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงาน ร่างกรอบความร่วมมืออาเซียนทั้ง 19 ฉบับต่อที่ประชุมว่าเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี ต่อการลงนามในเอกสารความร่วมมือนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความ ร่วมมือในภูมิภาคซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยยังเป็นการส่งสัญญาณต่อความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกจะให้ความเห็นขอบในการพิจารณาร่างเอกสารทั้งหมดเพื่อให้ประเทศไทยได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีในอาเซียน
***ฝ่ายค้านไม่สนเนื้อหารุมถล่ม "กษิต"
จากนั้นเปิดให้สมาชิกได้อภิปราย แต่ปรากฏว่า ส.ส.ฝ่ายค้านไม่ได้อภิปราย ในเรื่องสาระสำคัญของร่างข้อตกลง แต่กลับมีการอภิปรายโจมตีนายกฯ และรัฐมนตรี ที่จะไปร่วมประชุมอาเซียนด้วย ว่าไม่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะนายกษิต ที่ถูกโจมตีมากที่สุดโดยพยายามโยงให้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับแกนนำกลุ่มพันธมิตร และ เหตุการณ์ยึดสนามบิน2 แห่ง อยู่ตลอดเวลา รวมถึงโจมตี นางพรทิวา นาคาสัย รมว.พาณิชย์ ว่าไม่มีความรู้ทางด้านการค้า นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.พัฒนาสังคมฯที่มี่เรื่องปลากระป๋องเน่า
นายสุนัย จุลพงษธร ส.ส.นครสวรรค์ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ก่อนเหตุการณ์ 19 ก.ย. ประเทศไทยมีสถานะเข้มแข็ง ที่สำคัญรัฐบาลชุดนี้ยังมีปัญหาในเรื่อง ความชอบธรรมของที่มาลงไปถึงบุคลากรที่แวดล้อมนายกฯก็ล้วนมีความอ่อนแอ ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะทำให้นายกฯอ่อนแอไปด้วย เพราะขณะนี้ม็อบมีเส้น ท่านเป็นนายกฯขาใหญ่ ดังนั้นทางที่ดี นายกฯควรลาออกหลังเสร็จสิ้นการประชุมผู้นำอาเซียน เพื่อให้มีการเลือกนายกฯใหม่ เพื่อความสง่างาม ซึ่งผมเชื่อว่า ถึงเวลานั้นก็จะมีคนสนับสนุนท่านให้เป็นนายกฯอีกโดยเฉพาะกลุ่มเนวิน
***"กษิต" มีประสบการณ์ไม่เกี่ยว พธม.
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้ลุกชี้แจงอีกครั้งโดยยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้มาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ตามระบอบประชาธิปไตย การเลือกนายกฯเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง ส่วนที่บอกว่าตนตอบแทนกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วยการตั้งนายกษิต เป็นรมว.ต่างประเทศ นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะตนเป็นคนชวนนายกษิต มาสู่เส้นทางการเมืองแต่การเลือกตั้งที่ผ่านมานายกษิต ก็ไม่ได้ลง ส.ส. แต่สาเหตุ ที่เลือกเพราะดูจากประสบการณ์การทำงาน อาจจะไม่ถูกใจทุกคน ซึ่ง 1 เดือนที่ผ่านมา นายกษิต ก็ทำงานเรียบร้อย เดินหน้าประชุมผู้นำอาเซียนให้เร็วขึ้นและทุกประเทศก็ตอบรับเข้าร่วม
สำหรับการรับผิดชอบรัฐมนตรีเป็นหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ ในการประเมินผลการทำงาน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมในการประชุมอาเซียน และทุกสัปดาห์รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ประชุมกันอยู่แล้ว
***เลยเถิดเล่นงานสถาบันพระปกเกล้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการอภิปรายในช่วงบ่าย ฝ่ายค้านยังคง อภิปรายโจมตีการแต่งตั้งนายก ษิต ภิรมย์ เป็น รมว.ต่างประเทศ ว่าไม่เหมาะสม และนายกรัฐมนตรีควรจะปลดออกจากตำแหน่งได้แล้ว ซึ่งการอภิปรายในช่วง 14.30 น. นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้อยู่ในห้องประชุม เนื่องจากบรรยายพิเศษ เรื่องรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม และการบริหารประเทศในภาวะวิกฤต ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรียน จ.นนทบุรี
โดยร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ขณะนี้นายกฯ อยู่ไหน อยากให้เข้ามาฟังในห้องประชุมสภาฯ ด้วย เพราะมีการ ส่ง SMS ถึงสมาชิกรัฐสภาทุกคน เพื่อให้มาประชุมสภา ซึ่งสมาชิกบางส่วนไปเรียนอยู่ที่สถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องมาประชุม ซึ่งตนเรียนที่สถาบันพระปกเกล้าผ่านมา 7 ปีแล้ว เป็นคนเดียวที่ติดเข็มวิทยฐานะของสถาบันมาโดยตลอด วันนี้ขอถอดออก เพราะสถาบันดังกล่าวเชิญนักวิชาการไปด่าพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนให้ผู้มาเรียนและสมาชิก ส.ส.ฟัง และยังมีการมาบอกว่าสมาชิก ส.ส.มาร่วมประชุมสภาถือว่า ไม่ขาดเรียน
ทั้งนี้ตนเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี หากมีเวลาว่าง ก็ควรจะไปเรียนภาษาจีนเพิ่ม เพราะภาษาจีนจะมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก เนื่องจาก กรอบเจรจาหลายฉบับเกี่ยวพันกับจีน ซึ่งเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของ นายอภิสิทธิ์แน่นอน
ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ชี้แจงว่าเรื่องนี้เป็นผู้ประสานงาน ไปที่สถาบันพระปกเกล้าเอง ขอหยุดการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่หยุดเรียนทั้งหมด เพราะผู้ที่ไม่ได้เป็นส.ส.ก็ยังต้องเรียนต่อไป ทั้งนี้เห็นว่าสถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันประชาธิปไตย ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ส.ส.มาประชุมขอให้ร.ต.ท.เชาวริน ติดเข็มวิทยฐานะไว้ที่เดิมหรือเก็บใส่กระเป๋าไว้ ทางด้าน ร.ต.ท.เชาวรินบอกว่านักวิชาการทำไม่ถูก แบบนี้ไม่ติดเข็มหรอก
จากนั้นร.ต.ท.เชาวรินได้อภิปรายต่อว่า ขอให้เริ่มต้นการเมืองใหม่ โดยให้ส.ส.ให้เกียรตินายกฯ เริ่มจากนายกฯอภิสิทธิ์ และสื่อมวลชนจะมาเรียก นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ เห็นแล้วมันขัดตา ขอให้เรียกว่าท่านนายกฯ นอกจากนี้ขอฝากให้ นายกฯตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนจากต่างประเทศ
***ยื้อตั้ง กมธ.ถ้าไม่ยอมส่งตีความ
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะส่งผลกระทบให้รัฐบาลทำงานไม่ได้ เช่น กองทัพอากาศ มีปัญหาการก่อหนี้ งบผูกพันในการจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟน ซึ่งไม่ได้ผ่านความเห็นชอบ จากรัฐสภา นอกจากนี้ตนอยากเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา เรื่องกรอบอาเซียนให้ชัดเจน ถ้าไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการฯตนจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 154 เพราะขณะนี้ สมาชิกมีความเห็นขัดแย้ง ตนเชื่อว่าจะมีสมาชิก 60 คนร่วมลงชื่อด้วยแน่ และถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีความขัดแย้งจริง ก็จะทำให้เรื่องกรอบอาเซียนตกไป
นอกจากนี้ ตนยังได้รับข้อมูลเป็นภาษายาวีจากนักศึกษาคนหนึ่งว่า มี ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ สมัยรัฐบาลทหาร มีการแจกปืนเป็นจำนวนมากใน จ.นราธิวาส โดยมีการระบุว่า ถ้าเป็นชาวพุทธครอบครองถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าเป็น อิสลามถือว่าผิดกฎหมาย ตนจะยื่นเรื่องให้นายกฯตรวจสอบ ซึ่งจะมอบเอกสาร ให้ภายหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการอภิปรายช่วงหลังส่วนใหญ่ ฝ่ายค้านเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา อ้างเพื่อความรอบคอบ เพราะมีหลายอย่างยังต้องพิจารณาในรายละเอียดกับประเทศชาติ โดยยืนยันว่าจะไม่ทำให้ล่าช้าเพราะฝ่ายค้านจะพยายามเร่งรัดพิจารณาให้เร็วที่สุด แต่หากรัฐบาลยังดึงดันไม่ตั้งคณะกรรมาธิการฯฝ่ายค้านก็จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งจะทำให้เกิดความ ล่าช้ามากยิ่งขึ้น
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม . แสดงความเป็นห่วงว่า หากกรอบ ข้อตกลงทั้งหมดไม่ได้ผ่านการสอบถามความเห็นจากประชาชน อาจจะเกิดปัญหาขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสามหรือไม่ ขณะที่ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลต่างอภิปรายสนับสนุนให้ผ่านกรอบดังกล่าว เพราะจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าได้
***ส.ส.นราฯ ซัดเพื่อไทยไม่รู้จริงอย่าพูด
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยอภิปรายระหว่างการประชุมสภาว่า ในสมัยรัฐบาลทหาร ได้มีการแจกปืนให้ชาวบ้านจ.นราธิวาสว่า มีการแจกปืนจริง แต่คิดว่าน่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ประชาชนใช้ป้องกันตัวภายในหมู่บ้าน ไม่ได้พกไป ภายนอก ส่วนการที่จะยื่นเรื่องดังกล่าวนี้ให้นายกฯตรวจสอบนั้นก็สามารถทำได้ แต่อยากถามว่าก่อนหน้านี้ที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลทำไมไม่มีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว
คนที่พูดไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ไม่เข้าใจปัญหา จึงสื่อสารออกมาผิด ๆ อยากเรียกร้องว่าอย่าพูดอะไรเพื่อความสะใจ เพราะไม่เป็นผลดี
***"มาร์ค" บ่นฝ่ายค้านมุ่งแต่โจมตี รมต.
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ให้สัมภารณ์ว่า การประชุมร่วม 2 สภา เพื่อพิจารณา กรอบข้อตกลงอาเซียนบรรยากาศเรียบร้อยดี ส่วนการแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่อง ที่ส.ส.สามารถทำได้ ซึ่งฝ่ายค้านอาจมุ่งที่ตัวรัฐมนตรีมากกว่าสาระในการอภิปราย หากประธานวินิจฉัยว่าสามารถอภิปรายได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร
ส่วนที่มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกภายหลังการประชุมอาเซียนซัมมิท และอยากให้ตั้งครม.ใหม่นั้น นายอภิสิทธิ กล่าวว่า ประเทศได้เดินหน้าทำงานแล้ว จะมีการประเมินผลงานต่างๆ เป็นระยะๆ คิดว่าการไปกำหนดอะไรเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์
ส่วนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ขู่ว่าถ้าการประชุมสภาไม่ราบรื่น หากเกิดสภาล่มอีก จะเสนอให้ยุบสภานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นวิธีการของนายชัยที่จะกระตุ้นให้ส.ส.อยู่ในสภา ส่วนปัญหาสภาล่มนั้นทางวิปรัฐบาลกำลังดูอยู่ ส่วนการเปิดประชุมล่าช้าเนื่องจากสส.มาสายนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเป็นครั้งสุดท้ายที่สภาล่ม นายอภิสิทธิ กล่าวว่า ทุกฝ่ายกำลังดูอยู่อย่างเต็มที่ เมื่อถามว่ากรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ประกาศสู้เพื่อความเป็นธรรมไม่ว่าจะอยู่
***"ชัย" ขู่สภาล่มบ่อยรัฐบาลอาจยุบทิ้ง
นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวเหตุการณ์สภาฯล่มเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นคงจะไปกำชับใครไม่ได้ เพราะ ส.ส.ทุกคนต่างก็เป็นผู้มีเกียรติ และคงไม่ฝากอะไรกับลูกหลาน แต่อยากให้ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง อยากให้อยู่ในห้องประชุมตลอดเวลา ในการพิจารณากฎหมายและวาระสำคัญ เช่น การพิจารณากรอบ ข้อตกลงอาเซียน 9 ประเทศลงนามแล้วเหลือประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่ได้ลงนาม จึงอยากถามว่าเราไม่อายเขาหรือ
ถ้าสภาล่มอีก 2-3 ครั้ง ภาพของสภาก็จะเสียหาย เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่เอาไว้ เพราะมีอำนาจในการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีใครมาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่เป็นไปตามธรรมชาติ และอยากขอร้องฝ่ายค้านว่าถ้าไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรก็อย่านับองค์ประชุม ให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานบ้าง แต่ก็คงไปบังคับฝ่ายค้านไม่ได้ เพราะเขาต้องการให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ เขาต้องการเป็นรัฐบาล ดังนั้นจากนี้ไปรัฐบาลต้องระวังทุกฝีก้าว
***ฝ่ายค้านดันตั้ง กมธ.วิสามัญ
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมรัฐสภา นายวิทยา บูรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ว่า ในการประชุมรัฐสภาครั้งนี้วิปฝ่ายค้านมีมติจะเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการสามัญพิจารณากฎบัตรอาเซียน เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลไม่ควรเร่งรีบให้ผ่านสภา ไปโดยง่าย โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงการพาณิชย์และกระทรวงการคมนาคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ หากเร่งรีบอาจจะทำให้เกิด ความเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายค้านเสนอให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญฯขึ้นมานั้น ไม่ได้เป็นการเล่นเกมการเมือง เพราะในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็เคย เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเกือบทุกครั้งที่มีการขอมติต่อสภาในเรื่องสำคัญๆ
***"เทพเทือก" ขำเสนอตั้ง กมธ.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ทางพรคเพื่อไทย เสนอตั้งคณะกรรมการวิสามัญขึ้นมาเพื่อชลอไม่ให้พิจารณากรอบอาเซียนเพราะเห็นว่า เร็วเกินไปอาจจะทำให้ไม่รอบคอบและจะเป็นอันตรายต่อประเทศนั้น เป็นเรื่องน่าตลกดี เพราะกรอบเจรจาอาเซียนไม่ได้มาทำกันวัน สองวันนี้ ทำมาตั้งแต่สมัยที่ฝ่ายค้านเขาเป็นรัฐบาล เขาทำมาก็ไม่สงสัย ไม่ติดใจอะไร แต่มาวันนี้พอ พรรคเพื่อไทยมาเป็นฝ่ายค้านก็เกิดระลึกชาติขึ้นมาได้ ก็มาสงสัยติดใจ รัฐบาล ก็ไม่ได้ว่าอะไร ก็แล้วแต่ในสภาจะวินิจฉัยว่าอย่างไร
ส่วนจะมีการถ่วงให้การประชุมที่สภาวันนี้(26 ม.ค.)ล่าช้า แล้วจะกระทบกับการประชุมอาเซียนหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่าอยู่ที่สภา เสียงส่วนใหญในสภา มีเหตุผลเสมอไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าวจะมีผลทำให้การประชุมอาเซียนจะล่าช้า
***เสื้อแดงเพ้อ พธม.ปิดสนามบิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มนปช.จะขัดขวางไม่ให้มีการประชุมอาเซียนซัมมิตหรือไม่ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย อดีตแกนนำ นปช. และกลุ่มคนเสื้อแดง กล่าวว่า การประชุมอาเซียนซัมมิตนั้น นปช.ไม่ได้ขัดขวาง เราให้ประชุม เพียงแต่เราไม่ต้องการ ให้ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรมว.ต่างประเทศ ขอถามว่าพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ส.ที่มี ความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมากทำไมจึงให้คนที่ปิดล้อมสนามบินมาเป็นรัฐมนตรี หรือต้องการที่จะให้มาป้องกันการปิดล้อมสนามบินอีก.