รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานกรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ 2552 โดยระบุว่ามีรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนอย่างหนัก คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่คาดว่าในปี 2552 ทั้ง 4 แห่ง จะขาดทุนจากผลประกอบการไม่ต่ำกว่า 27,000 ล้านบาท ขณะที่บมจ.การบินไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เริ่มขาดทุน รวมกว่าแสนล้านบาท
ทั้งนี้ สศช.ได้เสนอแนะให้รัฐบาล ครม. เร่งแก้ไขใน 5 แนวทาง คือ เร่งปรับโครงสร้างองค์กร การบริหารงาน การดำเนินงาน และการเงิน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนดำเนินการได้ต่อเนื่อง ส่วนรัฐวิสาหกิจที่เริ่มขาดทุน ควรเร่งให้ปรับปรุงผลการดำเนินงานโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจต้องทบทวน แผนการลงทุน และจัดทำแผนลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะด้านลอจิสติกส์และพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจากกรอบ และงบประมาณปี 2552 มีเพียง 237,142 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่มีงบประมาณ 289,756 ล้านบาท เพราะไม่ได้รวมโครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างเตรียมการ เช่น โครงการจัดซื้อเครื่องบิน 20 ลำ ของการบินไทย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ของ รฟท. และโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. และต้องเพิ่มการลงทุนพัฒนาด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการวิจัยพัฒนาให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในระยะยาว
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดต้องกำกับดูแลเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ลงทุนให้เต็มประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร รวมทั้งจัดทำแผนงานและการเบิกจ่ายลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การลงทุน โดยเฉพาะงบลงทุนที่ขออนุมัติเป็นรายปี
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สศช. ยังเสนอให้เร่งสรรหาผู้บริหารสูงสุดขององค์กรรัฐวิสาหกิจ โดยเร็วที่สุด เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เข้ามาขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สุดท้ายรัฐบาลต้องให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ เพื่อรองรับการขยายฐานและความต้องการของลูกค้าได้อย่างเพียงพอ และทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ประหยัดค่าใช้จ่ายและการใช้พลังงาน เพื่อให้แข่งขันกับอุตสาหกรรมเดียวกันได้ และกำหนดให้ส่งแผนฯประกอบการพิจารณางบประมาณประจำปี และให้ศึกษาสภาพปัญหาดำเนินงานและจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย
**ตะลึง!!หนี้สินรัฐวิสาหกิจ 47แห่ง
รวมกว่า 2,789,809.94 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับฐานะการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 47 แห่ง มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,910,350.28 ล้านบาท หนี้สินรวมทั้งสิ้น 2,789,809.94 ล้านบาท ส่วนของทุนรวมทั้งสิ้น 1,120,540,37 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังพบว่า รัฐวิสาหกิจด้านการเกษตร มีหนี้สินรวมถึง 10,520.13 ล้านบาท โดยเฉพาะองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มีหนี้สินมากกว่าพันล้านบาท ด้านอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ มีหนี้สินรวม 8,729.16 ล้านบาท เน้นที่การนิคอุตสาหกรรมและโรงงานยาสูบ ที่มีหนี้สินเกินพันล้านบาท ด้านคมนาคม ขนส่ง และการสื่อสาร มีหนี้สินรวม 846,179.38 ล้านบาท โดยเฉพาะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีหนี้สิน 105,544.77 ล้านบาท บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 198,220.20 ล้านบาท บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 147,939.80 ล้านบาท บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 108,107.68ล้านบาท
ด้านการท่องเที่ยว มีหนี้สินรวม 27,742.38 ล้านบาท ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีหนี้สินรวม 377,559.47 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีหนี้สินมากกว่า 1 แสนล้านบาท ด้านการบริหารสังคม มีหนี้สินรวม 159,425.04 ล้านบาท โดยเฉพาะการเคหะแห่งชาติ (กคช.) มีหนี้สินถึง 113,434.74 ล้านบาท และด้านการธนาคาร มีหนี้สินรวม 1,359,654.38 ล้านบาท โดย ธ.ออมสิน มีหนี้สินมากกว่าที่สุดถึง 690 ล้านบาท
ทั้งนี้ สศช.ได้เสนอแนะให้รัฐบาล ครม. เร่งแก้ไขใน 5 แนวทาง คือ เร่งปรับโครงสร้างองค์กร การบริหารงาน การดำเนินงาน และการเงิน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนดำเนินการได้ต่อเนื่อง ส่วนรัฐวิสาหกิจที่เริ่มขาดทุน ควรเร่งให้ปรับปรุงผลการดำเนินงานโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันรัฐวิสาหกิจต้องทบทวน แผนการลงทุน และจัดทำแผนลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะด้านลอจิสติกส์และพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจากกรอบ และงบประมาณปี 2552 มีเพียง 237,142 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่มีงบประมาณ 289,756 ล้านบาท เพราะไม่ได้รวมโครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างเตรียมการ เช่น โครงการจัดซื้อเครื่องบิน 20 ลำ ของการบินไทย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ของ รฟท. และโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. และต้องเพิ่มการลงทุนพัฒนาด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการวิจัยพัฒนาให้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในระยะยาว
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดต้องกำกับดูแลเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ลงทุนให้เต็มประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร รวมทั้งจัดทำแผนงานและการเบิกจ่ายลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การลงทุน โดยเฉพาะงบลงทุนที่ขออนุมัติเป็นรายปี
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สศช. ยังเสนอให้เร่งสรรหาผู้บริหารสูงสุดขององค์กรรัฐวิสาหกิจ โดยเร็วที่สุด เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เข้ามาขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล สุดท้ายรัฐบาลต้องให้รัฐวิสาหกิจจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ เพื่อรองรับการขยายฐานและความต้องการของลูกค้าได้อย่างเพียงพอ และทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ประหยัดค่าใช้จ่ายและการใช้พลังงาน เพื่อให้แข่งขันกับอุตสาหกรรมเดียวกันได้ และกำหนดให้ส่งแผนฯประกอบการพิจารณางบประมาณประจำปี และให้ศึกษาสภาพปัญหาดำเนินงานและจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย
**ตะลึง!!หนี้สินรัฐวิสาหกิจ 47แห่ง
รวมกว่า 2,789,809.94 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับฐานะการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 47 แห่ง มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,910,350.28 ล้านบาท หนี้สินรวมทั้งสิ้น 2,789,809.94 ล้านบาท ส่วนของทุนรวมทั้งสิ้น 1,120,540,37 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังพบว่า รัฐวิสาหกิจด้านการเกษตร มีหนี้สินรวมถึง 10,520.13 ล้านบาท โดยเฉพาะองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มีหนี้สินมากกว่าพันล้านบาท ด้านอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ มีหนี้สินรวม 8,729.16 ล้านบาท เน้นที่การนิคอุตสาหกรรมและโรงงานยาสูบ ที่มีหนี้สินเกินพันล้านบาท ด้านคมนาคม ขนส่ง และการสื่อสาร มีหนี้สินรวม 846,179.38 ล้านบาท โดยเฉพาะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีหนี้สิน 105,544.77 ล้านบาท บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 198,220.20 ล้านบาท บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 147,939.80 ล้านบาท บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีหนี้สิน 108,107.68ล้านบาท
ด้านการท่องเที่ยว มีหนี้สินรวม 27,742.38 ล้านบาท ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีหนี้สินรวม 377,559.47 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีหนี้สินมากกว่า 1 แสนล้านบาท ด้านการบริหารสังคม มีหนี้สินรวม 159,425.04 ล้านบาท โดยเฉพาะการเคหะแห่งชาติ (กคช.) มีหนี้สินถึง 113,434.74 ล้านบาท และด้านการธนาคาร มีหนี้สินรวม 1,359,654.38 ล้านบาท โดย ธ.ออมสิน มีหนี้สินมากกว่าที่สุดถึง 690 ล้านบาท