นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 ก.พ.นี้ สคบ.จะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงและธุรกิจตลาดแบบตรง ที่จดทะเบียนกับสคบ.กว่า 500 บริษัท มาชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด ทั้งกฎหมายขายตรง และตลาดแบบตรง และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 หรือ พีแอล ลอว์ ซึ่งเป็นการย้ำเตือนให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความผิดชอบต่อผู้บริโภคและเป็นเป้าหมายสูงสุดของสคบ.ที่พยายามสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการ
นอกจากนี้สคบ.จะสำรวจการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการว่ายังดำเนินกิจการในธุรกิจสินค้าที่แจ้งไว้กับสคบ.หรือไม่ หรือมีการเลิกกิจการไปแล้วหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจครั้งแรกในรอบหลายปี หลังจากพบว่าธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การต้มตุ๋นหลอกลวงในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ จนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริโภคจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการย้ำเตือนกันไปแล้วยังตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการได้กระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก สคบ.จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทันที หากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับสคบ. แต่หากเป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนแต่ได้กระทำการที่หลอกลวงต้มตุ๋นผู้บริโภค สคบ.จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนต่อไป
หลังจากประชุมสัมมนาชี้แจงนโยบายและข้อกฎหมายแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงแล้ว ขั้นตอนต่อไปสคบ.จะร่วมมือกับหน่วยงาน รัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพราะที่ผ่านมา ถือว่าผ่อนปรนกันมากพอแล้ว หากยังตรวจพบการกระทำความผิดซ้ำซ้อน ก็จะดำเนิน การตามกฎหมายทันที ไม่เพียงริบ ใบอนุญาต แต่จะดำเนินการไปตามทุกตัวบทกฎหมายที่เข้าข่ายความผิดด้วย
นอกจากนี้สคบ.จะสำรวจการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการว่ายังดำเนินกิจการในธุรกิจสินค้าที่แจ้งไว้กับสคบ.หรือไม่ หรือมีการเลิกกิจการไปแล้วหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจครั้งแรกในรอบหลายปี หลังจากพบว่าธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การต้มตุ๋นหลอกลวงในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ จนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริโภคจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการย้ำเตือนกันไปแล้วยังตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการได้กระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก สคบ.จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทันที หากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับสคบ. แต่หากเป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนแต่ได้กระทำการที่หลอกลวงต้มตุ๋นผู้บริโภค สคบ.จะประสานไปยังกระทรวงการคลัง และกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนต่อไป
หลังจากประชุมสัมมนาชี้แจงนโยบายและข้อกฎหมายแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงแล้ว ขั้นตอนต่อไปสคบ.จะร่วมมือกับหน่วยงาน รัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพราะที่ผ่านมา ถือว่าผ่อนปรนกันมากพอแล้ว หากยังตรวจพบการกระทำความผิดซ้ำซ้อน ก็จะดำเนิน การตามกฎหมายทันที ไม่เพียงริบ ใบอนุญาต แต่จะดำเนินการไปตามทุกตัวบทกฎหมายที่เข้าข่ายความผิดด้วย