ASTVผู้จัดการรายวัน - ขุนคลังปะทะนายแบงก์ เรียกร้องลดส่วนต่างดอกเบี้ยเลิกเอาเปรียบประชาชน "เสี่ยปั้น" ให้คลังไปจับเข่าคุยแบงก์ชาติ อย่าต่างคนต่างพูดผ่านสื่อ บอกต้องใช้กลไกแบงก์รัฐ "กรณ์" สวนที่ผ่านมาแบงก์ของรัฐรับภาระตลอด แต่ไม่มีกำลังพอ แบงก์เอกชนต้องเสียสละบ้าง เพราะสุดท้ายลูกค้าจะได้ชำระหนี้ให้แบงก์อยู่รอด "วิโรจน์" ชำแหละที่มาส่วนต่างดอกเบี้ยถ่าง พบขูดรีดสูงถึง 5% เหตุเอาต้นทุนนำส่งกองทุนฟื้นฟูกับค่าบริหารหนี้เสียมาหักดอกเบี้ยฝาก-โปะดอกเบี้ยกู้ แนะเลิกโยนความรับผิดชอบของแบงก์ให้ลูกค้า
วานนี้ (22 ม.ค.) ในงานTHAILAND ICT EXCELLENCE AWARDS 200 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ปาถกฐาพิเศษ หัวข้อ Crisis is Opportunity พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการประยุกต์ใช้ ICT
นายบัณฑูรกล่าวถึงปัญหาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ (สเปรด) ของธนาคารพาณิชย์ที่ค่อนข้างสูงในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องของภาครัฐที่จะต้องไปคิดว่าจะแก้อย่างไร และต้องคิดด้วยว่าดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับธุรกิจในขณะนี้อยู่ที่เท่าไหร่ หากภาครัฐเห็นว่าปัจจุบันไม่เหมาะสม ก็ควรจะมีวิธีการจัดการ เช่น 1.ใช้ธนาคารของรัฐนำทางลดดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วดูว่าตลาดจะตามหรือไม่ เพราะทุกสถาบันต้องการปกป้องลูกค้าเงินฝากและลูกค้าเงินกู้ที่ดีของตัวเอง แต่ถ้าโดนกดดันจากธนาคารรัฐอาจจะสามารถดึงตัวเลขลงไปได้ ปัญหาก็คือปัจจุบันในทุกตลาดที่ใช้ระบบเสรีอยู่ และเมื่อระบบมีปัญหาก็ต้องมีรัฐเข้ามาดู ซึ่งแล้วแต่ประเทศจะเลือกวิธีไหน
2.กำหนดราคาอัตราดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ต้องเท่านี้ แต่กรณีต้องคิดให้ดีเพราะจะเข้ามาเกี่ยวข้องกลไกของตลาดและระบบการบริหารความเสี่ยง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ผลักดันมาตลอด แต่การควบคุมระบบการเงินและระบบการปล่อยสินเชื่อ ควรจะสอดคล้องกัน
อย่างไรก็ตาม ธปท.กับกระทรวงการคลัง น่าจะมีการมานั่งหารือกัน ไม่ใช่ต่างคนออกมาพูดผ่านสื่อ ควรมาหารือกันเพื่อหาทิศทางแนวทางวิเคราะห์ดูว่ามาตรการไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ส่วนธนาคารก็หน้าที่ที่เสนอความคิดเห็น แต่ท้ายที่สุด ธปท.จะต้องดูแทนระบบสถาบันการเงินว่าจะตัดสินใจอย่างไร เพราะมาตรการมีความเสี่ยงตามมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน ภาคตลาดหุ้น ตลาดทุน ซึ่งในส่วนของธนาคารก็พร้อมจะปฏิบัติตามมาตรการอยู่แล้ว
"โจทย์นี้ทั้งคลังและ ธปท.ต้องถกกันว่าความเหมาะสมของราคาในระบบควรจะอยู่ตรงไหน ซึ่งระบบเสรีไม่ใช่คำตอบเสมอไป อย่างไรก็ตามต้องคิดโจทย์ให้ดีว่าจะแทรกแซงตรงไหน และต้องแทรกแซงให้ดี ไม่ใช่โต้กันทางหน้าหนังสือพิมพ์" นายบัณฑูรกล่าวและว่า สำหรับเป้าสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยในปีนี้ ตั้งไว้ที่ 5% ก็ไม่เปลี่ยนแปลง และยังคงมีการบริหารความเสี่ยงอยู่
เขาย้ำเรื่องของสภาพคล่องในขณะนี้ว่า ไม่ได้เป็นปัญหากับประเทศไทย ไม่เหมือนกับช่วงปี 2540 สาเหตุที่ตอนนี้ธุรกิจไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะมุ่งแต่จะแก้ปัญหาขององค์กรไม่ให้ล่มสลายอย่างเดียว ซึ่งเกิดจากบทเรียนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจคราวก่อน ทำให้ระบบสถาบันการเงินมีความระมัดระวังมากขึ้น แล้วก็เป็นส่วนที่ทำให้ภาคสถาบันการเงินของไทยในรอบนี้ไม่ล่มสลาย ส่วนการที่มีสถาบันการเงินบางแห่งต้องเพิ่มทุนบ้าง ก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดสภาพคล่อง แต่เป็นการเพิ่มทุนเพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน
**แนะทางรอดภาคส่งออก
นายบัณฑูรกล่าวว่า จากสภาวะแวดล้อมในขณะนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าภาคการส่งออกทั่วโลกมีปัญหา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของคนใดคนหนึ่ง เศรษฐกิจโลกมีขึ้นมีลง ลำบากด้วยกันทุกประเทศ ยกเว้นประเทศน้ำมัน แต่วิกฤติครั้งนี้มีเรื่องดีใจอยู่ 2 เรื่องคือ 1.ไทยไม่ถึงกับระเบิดเหมือนปี 2540 ที่นำโดยสถาบันการเงินทำให้เกิดวิกฤตหนักจริงๆ แต่ตอนนี้มีบทเรียนมาแล้ว 2.พิสูจน์ได้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจริง ที่ล่มกันก็เป็นประเทศที่มีมันสมองของคนเก่งซีกโลกตะวันออก
สิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำมีอยู่ 2 อย่างคือ 1.มีนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของตลาดและลูกค้า และ2.การดูแลต้นทุนทำ ต้องมีวิธีที่ทำอย่างไรไม่ให้ทุนท่วมหัว ทุกบริษัทมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งถ้าปล่อยตามแรงเฉื่อยก็จะหนัก ต้องลุกมาปรับเปลี่ยนสร้างวินัยใหม่ๆ ซึ่งหากจัดการ 2 ส่วนนี้ได้ก็จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้
นายบัณฑูรชี้ว่า โจทย์ของรัฐบาลในทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ คือเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งการจับเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นสิ่งแรกถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว โดยส่วนของประเทศไทยถือว่าโชคดีจากวิกฤตครั้งนี้ที่ไม่ถึงกับระเบิด แต่อย่างไรก็ตามทั้งโลกต้องมีการผลักดันพร้อมกันให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะช่วงนี้ก็อยู่ในภาวะซบเซากันทั้งนั้น
"มาตรการต่างๆของรัฐนั้นไปในทิศทางถูก แต่รายละเอียดของแต่ละมาตรการก็จะมีคนชมและติต่างกันไป ปัญหาก็คือโจทย์เศรษฐกิจที่เป็นสีเทาๆไม่ใช่ขาว-ดำ ที่ต้องทำอะไรสักอย่าง ซึ่งคงไม่สามารถที่จะรับประกันผลได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ด้านการส่งออกเอเชียก็แย่ไม่ใช่แค่เรา และไม่ได้เป็นความผิดของใคร เพราะตอนนี้กำลังซื้อมันหมด โลกหยุดค้าขายซีกโลกตะวันตกกำลังซื้อหดไป อันนี้ก็หวังว่าจะแก้ไขได้ไม่ช้าเกินไป" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
**กรณ์ปลุกสำนึกแบงก์ทำเพื่อลูกค้า
นายกรณ์กล่าวกรณีที่นายบัณฑูรเสนอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นผู้นำลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ว่า ที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐก็ดำเนินการมาโดยตลอด แต่เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่เป็นของธนาคารพาณิชย์ การริเริ่มหลักจึงควรมาจากธนาคารพาณิชย์เอง ที่ผ่านมาภาครัฐเองก็ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการที่ธนาคารพาณิชย์ควรปรับลดสัดส่วนระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝากลงเพื่อลดต้นทุนเอกชนภาคการผลิต ซึ่งนายธนาคารก็ออกมาขานรับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่สุดแล้วผลสุดท้ายผู้ได้ประโยชน์คือลูกค้าของธนาคารที่สามารถลดรายจ่ายเงินกู้ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผู้ประกอบการ และจะส่งผลให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ มีการชำระหนี้ต่อเนื่องต่อไป
ส่วนกรณีผลประกอบการหลายธนาคารยังมีกำไรหลายหมื่นล้านบาทนั้น นายกรณ์ระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของตนจะไปวิพากษ์วิจารณ์อะไร
สำหรับผลประกอบการปี 2551 ของธนาคารพาณิชย์ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ 11 แห่ง ปรากฎว่า มีกำไรสุทธิ 8 หมื่นล้าน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1,458% ธนาคารที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นมากสุดเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์คือ ธนาคารหลวงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ตามลำดับ ส่วนธนาคารกสิกรไทยกำไรทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.75% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 7%
**วิโรจน์ชำแหละแบงก์ขูดรีด
นายวิโรจน์ นวลแข อดีตประธานกรรมการบริหาร บล.ภัทร และอดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงระบบธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันว่า มีการเอาเปรียบลูกค้าทั้งลูกค้าเงินฝากและลูกค้าเงินกู้ เห็นได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยหรือสเปรดที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ โดยปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 5% สูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศอาเซียน เป็นรองแค่อินโดนีเซียเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยอ้างว่าได้ส่วนต่างดอกเบี้ยแค่ 2.5% เท่านั้น อีก 2.5% ที่เหลือเป็นต้นทุนการบริหารงาน เรื่องดังกล่าว ตนถือว่าไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะธนาคารไม่จูงใจให้ผู้ฝากเกิดการออม ส่วนผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่แพง
"ต้นทุนการบริหารงานในความหมายของแบงก์คือการรวมเอาเงินนำส่งเงินกองทุนฟื้นฟู 0.4% กับค่าบริหารหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) อีก 0.8-1.0% การนำสองส่วนนี้มารีดจากดอกเบี้ยถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะสองส่วนดังกล่าวโดยเฉพาะค่าบริหารเอ็นพีแอลถือเป็นความรับผิดชอบของแบงก์ หากเกิดหนี้เสียสิ่งที่ต้องทำคือการเพิ่มทุน แต่แบงก์ไม่ยอมเพิ่มทุน" นายวิโรจน์กล่าวและว่า หากธนาคารไม่นำเงินนำส่งเงินกองทุนฟื้นฟู กับค่าบริหารหนี้เสียมารวมเป็นต้นทุน ดอกเบี้ยลูกค้าเงินกู้ในปัจจุบันลงได้ประมาณ 0.5% ส่วนผู้ฝากเงินก็จะได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 0.4%
**หนุนมาตรการรัฐมาถูกทาง
นายวิโรจน์ ยังกล่าวสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้ความเห็นว่ามาตรการที่ออกมาน่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ตรงจุด รูปแบบอาจจะแตกต่างจากสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทางการเลือกวิธีใส่เงินผ่านธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ครั้งนี้เป็นการใส่เงินในมือประชาชนเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายโดยตรง เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ
"วิกฤตครั้งก่อนถือว่าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เห็นได้จากปัจจุบันแบงก์และตลาดหุ้นยังไม่ฟื้นไข้ รัฐบาลจึงเลือกรูปแบบการกระจายเงินสู่ให้หลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้น้อย การใช้เงิน 2,000 บาทต่อราย รัฐบาลต้องการให้นำไปซื้อข้าวของ หากให้คราวละมากๆ เงินส่วนนี้อาจถูกเก็บ การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เกิด" นายวิโรจน์กล่าวและว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์โดยใช้การลดหย่อนภาษีจะทำให้เป้าหมายโอนที่อยู่อาศัย 100,000 ยูนิต มีความเป็นไปได้
วานนี้ (22 ม.ค.) ในงานTHAILAND ICT EXCELLENCE AWARDS 200 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ปาถกฐาพิเศษ หัวข้อ Crisis is Opportunity พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการประยุกต์ใช้ ICT
นายบัณฑูรกล่าวถึงปัญหาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ (สเปรด) ของธนาคารพาณิชย์ที่ค่อนข้างสูงในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องของภาครัฐที่จะต้องไปคิดว่าจะแก้อย่างไร และต้องคิดด้วยว่าดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับธุรกิจในขณะนี้อยู่ที่เท่าไหร่ หากภาครัฐเห็นว่าปัจจุบันไม่เหมาะสม ก็ควรจะมีวิธีการจัดการ เช่น 1.ใช้ธนาคารของรัฐนำทางลดดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วดูว่าตลาดจะตามหรือไม่ เพราะทุกสถาบันต้องการปกป้องลูกค้าเงินฝากและลูกค้าเงินกู้ที่ดีของตัวเอง แต่ถ้าโดนกดดันจากธนาคารรัฐอาจจะสามารถดึงตัวเลขลงไปได้ ปัญหาก็คือปัจจุบันในทุกตลาดที่ใช้ระบบเสรีอยู่ และเมื่อระบบมีปัญหาก็ต้องมีรัฐเข้ามาดู ซึ่งแล้วแต่ประเทศจะเลือกวิธีไหน
2.กำหนดราคาอัตราดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ต้องเท่านี้ แต่กรณีต้องคิดให้ดีเพราะจะเข้ามาเกี่ยวข้องกลไกของตลาดและระบบการบริหารความเสี่ยง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ผลักดันมาตลอด แต่การควบคุมระบบการเงินและระบบการปล่อยสินเชื่อ ควรจะสอดคล้องกัน
อย่างไรก็ตาม ธปท.กับกระทรวงการคลัง น่าจะมีการมานั่งหารือกัน ไม่ใช่ต่างคนออกมาพูดผ่านสื่อ ควรมาหารือกันเพื่อหาทิศทางแนวทางวิเคราะห์ดูว่ามาตรการไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ส่วนธนาคารก็หน้าที่ที่เสนอความคิดเห็น แต่ท้ายที่สุด ธปท.จะต้องดูแทนระบบสถาบันการเงินว่าจะตัดสินใจอย่างไร เพราะมาตรการมีความเสี่ยงตามมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน ภาคตลาดหุ้น ตลาดทุน ซึ่งในส่วนของธนาคารก็พร้อมจะปฏิบัติตามมาตรการอยู่แล้ว
"โจทย์นี้ทั้งคลังและ ธปท.ต้องถกกันว่าความเหมาะสมของราคาในระบบควรจะอยู่ตรงไหน ซึ่งระบบเสรีไม่ใช่คำตอบเสมอไป อย่างไรก็ตามต้องคิดโจทย์ให้ดีว่าจะแทรกแซงตรงไหน และต้องแทรกแซงให้ดี ไม่ใช่โต้กันทางหน้าหนังสือพิมพ์" นายบัณฑูรกล่าวและว่า สำหรับเป้าสินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยในปีนี้ ตั้งไว้ที่ 5% ก็ไม่เปลี่ยนแปลง และยังคงมีการบริหารความเสี่ยงอยู่
เขาย้ำเรื่องของสภาพคล่องในขณะนี้ว่า ไม่ได้เป็นปัญหากับประเทศไทย ไม่เหมือนกับช่วงปี 2540 สาเหตุที่ตอนนี้ธุรกิจไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยกู้ เพราะมุ่งแต่จะแก้ปัญหาขององค์กรไม่ให้ล่มสลายอย่างเดียว ซึ่งเกิดจากบทเรียนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจคราวก่อน ทำให้ระบบสถาบันการเงินมีความระมัดระวังมากขึ้น แล้วก็เป็นส่วนที่ทำให้ภาคสถาบันการเงินของไทยในรอบนี้ไม่ล่มสลาย ส่วนการที่มีสถาบันการเงินบางแห่งต้องเพิ่มทุนบ้าง ก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดสภาพคล่อง แต่เป็นการเพิ่มทุนเพื่อป้องกันปัญหาไว้ก่อน
**แนะทางรอดภาคส่งออก
นายบัณฑูรกล่าวว่า จากสภาวะแวดล้อมในขณะนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าภาคการส่งออกทั่วโลกมีปัญหา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของคนใดคนหนึ่ง เศรษฐกิจโลกมีขึ้นมีลง ลำบากด้วยกันทุกประเทศ ยกเว้นประเทศน้ำมัน แต่วิกฤติครั้งนี้มีเรื่องดีใจอยู่ 2 เรื่องคือ 1.ไทยไม่ถึงกับระเบิดเหมือนปี 2540 ที่นำโดยสถาบันการเงินทำให้เกิดวิกฤตหนักจริงๆ แต่ตอนนี้มีบทเรียนมาแล้ว 2.พิสูจน์ได้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครเก่งจริง ที่ล่มกันก็เป็นประเทศที่มีมันสมองของคนเก่งซีกโลกตะวันออก
สิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำมีอยู่ 2 อย่างคือ 1.มีนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของตลาดและลูกค้า และ2.การดูแลต้นทุนทำ ต้องมีวิธีที่ทำอย่างไรไม่ให้ทุนท่วมหัว ทุกบริษัทมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งถ้าปล่อยตามแรงเฉื่อยก็จะหนัก ต้องลุกมาปรับเปลี่ยนสร้างวินัยใหม่ๆ ซึ่งหากจัดการ 2 ส่วนนี้ได้ก็จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้
นายบัณฑูรชี้ว่า โจทย์ของรัฐบาลในทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ คือเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งการจับเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นสิ่งแรกถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว โดยส่วนของประเทศไทยถือว่าโชคดีจากวิกฤตครั้งนี้ที่ไม่ถึงกับระเบิด แต่อย่างไรก็ตามทั้งโลกต้องมีการผลักดันพร้อมกันให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะช่วงนี้ก็อยู่ในภาวะซบเซากันทั้งนั้น
"มาตรการต่างๆของรัฐนั้นไปในทิศทางถูก แต่รายละเอียดของแต่ละมาตรการก็จะมีคนชมและติต่างกันไป ปัญหาก็คือโจทย์เศรษฐกิจที่เป็นสีเทาๆไม่ใช่ขาว-ดำ ที่ต้องทำอะไรสักอย่าง ซึ่งคงไม่สามารถที่จะรับประกันผลได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ด้านการส่งออกเอเชียก็แย่ไม่ใช่แค่เรา และไม่ได้เป็นความผิดของใคร เพราะตอนนี้กำลังซื้อมันหมด โลกหยุดค้าขายซีกโลกตะวันตกกำลังซื้อหดไป อันนี้ก็หวังว่าจะแก้ไขได้ไม่ช้าเกินไป" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
**กรณ์ปลุกสำนึกแบงก์ทำเพื่อลูกค้า
นายกรณ์กล่าวกรณีที่นายบัณฑูรเสนอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นผู้นำลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ว่า ที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐก็ดำเนินการมาโดยตลอด แต่เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่เป็นของธนาคารพาณิชย์ การริเริ่มหลักจึงควรมาจากธนาคารพาณิชย์เอง ที่ผ่านมาภาครัฐเองก็ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการที่ธนาคารพาณิชย์ควรปรับลดสัดส่วนระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝากลงเพื่อลดต้นทุนเอกชนภาคการผลิต ซึ่งนายธนาคารก็ออกมาขานรับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่สุดแล้วผลสุดท้ายผู้ได้ประโยชน์คือลูกค้าของธนาคารที่สามารถลดรายจ่ายเงินกู้ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผู้ประกอบการ และจะส่งผลให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ มีการชำระหนี้ต่อเนื่องต่อไป
ส่วนกรณีผลประกอบการหลายธนาคารยังมีกำไรหลายหมื่นล้านบาทนั้น นายกรณ์ระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของตนจะไปวิพากษ์วิจารณ์อะไร
สำหรับผลประกอบการปี 2551 ของธนาคารพาณิชย์ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ 11 แห่ง ปรากฎว่า มีกำไรสุทธิ 8 หมื่นล้าน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 1,458% ธนาคารที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นมากสุดเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์คือ ธนาคารหลวงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ตามลำดับ ส่วนธนาคารกสิกรไทยกำไรทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.75% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 7%
**วิโรจน์ชำแหละแบงก์ขูดรีด
นายวิโรจน์ นวลแข อดีตประธานกรรมการบริหาร บล.ภัทร และอดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงระบบธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันว่า มีการเอาเปรียบลูกค้าทั้งลูกค้าเงินฝากและลูกค้าเงินกู้ เห็นได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยหรือสเปรดที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ โดยปัจจุบันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 5% สูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศอาเซียน เป็นรองแค่อินโดนีเซียเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยอ้างว่าได้ส่วนต่างดอกเบี้ยแค่ 2.5% เท่านั้น อีก 2.5% ที่เหลือเป็นต้นทุนการบริหารงาน เรื่องดังกล่าว ตนถือว่าไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะธนาคารไม่จูงใจให้ผู้ฝากเกิดการออม ส่วนผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่แพง
"ต้นทุนการบริหารงานในความหมายของแบงก์คือการรวมเอาเงินนำส่งเงินกองทุนฟื้นฟู 0.4% กับค่าบริหารหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) อีก 0.8-1.0% การนำสองส่วนนี้มารีดจากดอกเบี้ยถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะสองส่วนดังกล่าวโดยเฉพาะค่าบริหารเอ็นพีแอลถือเป็นความรับผิดชอบของแบงก์ หากเกิดหนี้เสียสิ่งที่ต้องทำคือการเพิ่มทุน แต่แบงก์ไม่ยอมเพิ่มทุน" นายวิโรจน์กล่าวและว่า หากธนาคารไม่นำเงินนำส่งเงินกองทุนฟื้นฟู กับค่าบริหารหนี้เสียมารวมเป็นต้นทุน ดอกเบี้ยลูกค้าเงินกู้ในปัจจุบันลงได้ประมาณ 0.5% ส่วนผู้ฝากเงินก็จะได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 0.4%
**หนุนมาตรการรัฐมาถูกทาง
นายวิโรจน์ ยังกล่าวสนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้ความเห็นว่ามาตรการที่ออกมาน่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ตรงจุด รูปแบบอาจจะแตกต่างจากสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทางการเลือกวิธีใส่เงินผ่านธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ครั้งนี้เป็นการใส่เงินในมือประชาชนเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายโดยตรง เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ
"วิกฤตครั้งก่อนถือว่าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เห็นได้จากปัจจุบันแบงก์และตลาดหุ้นยังไม่ฟื้นไข้ รัฐบาลจึงเลือกรูปแบบการกระจายเงินสู่ให้หลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้น้อย การใช้เงิน 2,000 บาทต่อราย รัฐบาลต้องการให้นำไปซื้อข้าวของ หากให้คราวละมากๆ เงินส่วนนี้อาจถูกเก็บ การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ไม่เกิด" นายวิโรจน์กล่าวและว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์โดยใช้การลดหย่อนภาษีจะทำให้เป้าหมายโอนที่อยู่อาศัย 100,000 ยูนิต มีความเป็นไปได้