ASTVผู้จัดการายวัน – นักวิชาการ -โบรกเกอร์ แนะภาครัฐหันมาช่วยสภาพคล่องผู้ประกอบการท่องเที่ยว พร้อมจี้เร่งลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะมาตรที่ผ่านมาอาจไม่ช่วยดันจีดีพีโตถึง 2%ได้ สบน.หนี้สาธารณะยังไม่เกินโควต้า แม้รัฐขนหลายมาตรการออกมากระตุ้น
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผย ในงานเสวนาหัวข้อ "Crisis Watch Series 4: Investment Package for Economic Stimulus-ผ่ามาตรการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ" ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกน่าจะเห็นสัญญาณที่ชะลอตัวที่ชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ จากการที่คำสังซื้อสินค้า (ออร์เดอร์) ลดลง ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน ขณะที่การท่องเที่ยวก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและการปิดสนามบินในช่วงปีที่ผ่าน ทำให้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อด้านบริการและการจับจ่ายของประชาชน
"ส่วนตัวคิดว่าภาครัฐควรหันมาช่วยทางด้านสภาพคล่องของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถประคองตัวไปได้ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี และเชื่อว่าประเทศไทยยังมีศักยภาพที่ดี โดยเฉพาะแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวที่จะกลับมาดีขึ้น"
สำหรับมาตรภาษีของรัฐบาลในการขยายวงเงินลดหย่อนภาษีในการซื้อที่อยู่อาศัยจากเดิม 1 แสนบาท เป็น 3 แสนบาท และเพิ่มหักลดหย่อนในส่วนดอกเบี้ยอีก 1 แสนบาท อีกทั้งการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่อ (มอร์เกจอินชัวรันส์) เพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ 100% ในส่วนการซื้อที่อยู่อาศัยโดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ มองว่านโยบายดังกล่าวน่าจะส่งผลดีในด้านจิตวิทยาของผู้ที่อยู่ระหว่างการโอนเท่านั้น ไม่น่าจะส่งผลต่อยอดขายที่อยู่อาศัยมากนักเมื่อเทียบกับมาตรการที่ภาครัฐออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ส่วนการตั้งมอร์เกจอินชัวรันส์นั้นหากทำได้จริงน่าจะทำให้ยอดการใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ขณะที่มาตรต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้น่ายังไม่เพียงพอหากรัฐบาลต้องการให้จีดีพีเติบโตที่ 2% บนสมมุติฐานที่ว่างบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 แสนล้านบาท จะทำให้จีดีพีเติบโตได้ 0.7% ดังนั้นภาครัฐควรเร่งเดินหน้าลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อช่วยเรียกความเชื่อมั่นของภาคเอกชนให้กลับคืนมา และกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 2552 สามารถเติบโตได้ถึง 2%
ทั้งนี้ จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาลคาดว่าจะส่งผลดีกับกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งน่าจะเห็นการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในไตรมาส2 โดยกลุ่มที่จะได้รับผลชัดเจนจากมาตรการดังกล่าวน่าจะเป็นหุ้นกลุ่มค้าปลีกอย่างบมจ.ซีพี ออล์ หรือCPALL เนื่องจากราคาอาหารไม่ได้ลดลงและเป็นสินค้าที่ยังมีการเติบโต ขณะที่กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ซึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการลดหย่อนภาษีน่าจะเป็น บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ AP เพราะยังมีความสามารถในการแข่งขันสูง
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School ประธานที่ปรึกษาโครงสร้าง "CFO มืออาชีพ"และที่ปรึกษาบล.นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในด้านสาธารณูปโภคเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศให้ดีขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมานโยบายต่างๆของภาครัฐเป็นเพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดการจับจ่ายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นแค่มาตรการในระยะสั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มาก และเชื่อว่าเงินกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำให้จีดีพีของไทยโตได้เพียง 1.4% เท่านั้น
"รัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อาทิ โครงการรถไฟฟ้า พลังงานทดแทน และการศึกษา แม้ว่าบางโครงการอาจจะใช้เวลายาวนานกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ถ้าเม็ดเงินก้อนแรกในบางโครงการสามารถเริ่มได้ในปีนี้ ก็จะช่วยให้เกิดการจ้างงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้มากกว่านโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว " นายเอกชัยกล่าว
ด้านนายเอกนิติ นิตทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหาภาคและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (สบน.) กล่าวว่า ปัจจุบันสบน.อยู่ระหว่างการขอกู้เงินกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) จำนวน 1,000 ล้านเหรียญฯ และเวิล์ดแบงก์อีกมูลค่า 2 พันล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท เพื่อหวังนำเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ และเตรียมให้ธนาคารรัฐค้ำประกันธนาคารพาณิชย์อีกขั้นหนึ่งในการปล่อยกู้ ซึ่งจุดนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการประชุมของธนาคารรัฐอีกครั้ง แต่จากเหตุการณ์ต่างในช่วงปลายปีน่าจะทำให้จีดีพีไตรมาส4/2551 ติดลบ
ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมาแล้วก่อนหน้านี้ เชื่อว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ดังนั้นภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้จะยังคงติดลบ เมื่อเทียบกับไตรมาส1/2551 ที่จีดีพีเติบโต 6 % ส่วนมาตรการของกระทรวงการคลังที่ออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคนั้นเป็นเพียงมาตรระยะสั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนก่อนที่จะออกโครงการเมกะโปรเจกต์มาภายหลัง เพราะโครงการขนาดใหญ่มีงบประมาณสูงและใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่านอกเหนือจากนี้ รัฐบาลควรหันมาพัฒนาระบบชลประทานเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรกรรมให้ดีขึ้น เพราะประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ทั้งนี้ จากการประเมินตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยปัจจุบัน30% หากรวมกับวงเงินที่ใช้ในมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมา จะทำให้หนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้นถึง 42 %ในปี 2553 ซึ่งยังไม่เกินกรอบพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ว่าจะต้องไม่เกิน 50%
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผย ในงานเสวนาหัวข้อ "Crisis Watch Series 4: Investment Package for Economic Stimulus-ผ่ามาตรการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ" ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกน่าจะเห็นสัญญาณที่ชะลอตัวที่ชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ จากการที่คำสังซื้อสินค้า (ออร์เดอร์) ลดลง ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน ขณะที่การท่องเที่ยวก็จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและการปิดสนามบินในช่วงปีที่ผ่าน ทำให้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อด้านบริการและการจับจ่ายของประชาชน
"ส่วนตัวคิดว่าภาครัฐควรหันมาช่วยทางด้านสภาพคล่องของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถประคองตัวไปได้ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี และเชื่อว่าประเทศไทยยังมีศักยภาพที่ดี โดยเฉพาะแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวที่จะกลับมาดีขึ้น"
สำหรับมาตรภาษีของรัฐบาลในการขยายวงเงินลดหย่อนภาษีในการซื้อที่อยู่อาศัยจากเดิม 1 แสนบาท เป็น 3 แสนบาท และเพิ่มหักลดหย่อนในส่วนดอกเบี้ยอีก 1 แสนบาท อีกทั้งการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดตั้งบริษัทประกันสินเชื่อ (มอร์เกจอินชัวรันส์) เพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ 100% ในส่วนการซื้อที่อยู่อาศัยโดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ มองว่านโยบายดังกล่าวน่าจะส่งผลดีในด้านจิตวิทยาของผู้ที่อยู่ระหว่างการโอนเท่านั้น ไม่น่าจะส่งผลต่อยอดขายที่อยู่อาศัยมากนักเมื่อเทียบกับมาตรการที่ภาครัฐออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ส่วนการตั้งมอร์เกจอินชัวรันส์นั้นหากทำได้จริงน่าจะทำให้ยอดการใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ขณะที่มาตรต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้น่ายังไม่เพียงพอหากรัฐบาลต้องการให้จีดีพีเติบโตที่ 2% บนสมมุติฐานที่ว่างบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 1 แสนล้านบาท จะทำให้จีดีพีเติบโตได้ 0.7% ดังนั้นภาครัฐควรเร่งเดินหน้าลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มเติมเพื่อช่วยเรียกความเชื่อมั่นของภาคเอกชนให้กลับคืนมา และกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 2552 สามารถเติบโตได้ถึง 2%
ทั้งนี้ จากมาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาลคาดว่าจะส่งผลดีกับกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งน่าจะเห็นการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในไตรมาส2 โดยกลุ่มที่จะได้รับผลชัดเจนจากมาตรการดังกล่าวน่าจะเป็นหุ้นกลุ่มค้าปลีกอย่างบมจ.ซีพี ออล์ หรือCPALL เนื่องจากราคาอาหารไม่ได้ลดลงและเป็นสินค้าที่ยังมีการเติบโต ขณะที่กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้ซึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการลดหย่อนภาษีน่าจะเป็น บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ AP เพราะยังมีความสามารถในการแข่งขันสูง
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School ประธานที่ปรึกษาโครงสร้าง "CFO มืออาชีพ"และที่ปรึกษาบล.นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในด้านสาธารณูปโภคเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรทำเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศให้ดีขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมานโยบายต่างๆของภาครัฐเป็นเพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดการจับจ่ายในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นแค่มาตรการในระยะสั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มาก และเชื่อว่าเงินกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำให้จีดีพีของไทยโตได้เพียง 1.4% เท่านั้น
"รัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อาทิ โครงการรถไฟฟ้า พลังงานทดแทน และการศึกษา แม้ว่าบางโครงการอาจจะใช้เวลายาวนานกว่าจะแล้วเสร็จ แต่ถ้าเม็ดเงินก้อนแรกในบางโครงการสามารถเริ่มได้ในปีนี้ ก็จะช่วยให้เกิดการจ้างงานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้มากกว่านโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว " นายเอกชัยกล่าว
ด้านนายเอกนิติ นิตทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหาภาคและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (สบน.) กล่าวว่า ปัจจุบันสบน.อยู่ระหว่างการขอกู้เงินกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) จำนวน 1,000 ล้านเหรียญฯ และเวิล์ดแบงก์อีกมูลค่า 2 พันล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท เพื่อหวังนำเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ และเตรียมให้ธนาคารรัฐค้ำประกันธนาคารพาณิชย์อีกขั้นหนึ่งในการปล่อยกู้ ซึ่งจุดนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการประชุมของธนาคารรัฐอีกครั้ง แต่จากเหตุการณ์ต่างในช่วงปลายปีน่าจะทำให้จีดีพีไตรมาส4/2551 ติดลบ
ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่ออกมาแล้วก่อนหน้านี้ เชื่อว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ดังนั้นภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้จะยังคงติดลบ เมื่อเทียบกับไตรมาส1/2551 ที่จีดีพีเติบโต 6 % ส่วนมาตรการของกระทรวงการคลังที่ออกมาเพื่อกระตุ้นการบริโภคนั้นเป็นเพียงมาตรระยะสั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนก่อนที่จะออกโครงการเมกะโปรเจกต์มาภายหลัง เพราะโครงการขนาดใหญ่มีงบประมาณสูงและใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่านอกเหนือจากนี้ รัฐบาลควรหันมาพัฒนาระบบชลประทานเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรกรรมให้ดีขึ้น เพราะประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ทั้งนี้ จากการประเมินตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยปัจจุบัน30% หากรวมกับวงเงินที่ใช้ในมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมา จะทำให้หนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้นถึง 42 %ในปี 2553 ซึ่งยังไม่เกินกรอบพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ว่าจะต้องไม่เกิน 50%