เอเอฟพี - สถานการณ์ทางเศรษฐกิจส่อเค้าจะเลวร้ายหนักขึ้นไปอีก หลังประธานาธิบดีบารัค โอบามาเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคาร(20)ที่ผ่านมา โดยที่วิกฤตธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลกทำท่าทรุดหนัก อีกทั้งมีเสียงคาดเก็งกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ภาครัฐของหลายประเทศอาจถึงขั้นต้องโอนกิจการในภาคนี้เข้าเป็นของรัฐ
ราคาหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในตลาดวอลสตรีทวันอังคารดิ่งลงอย่างรุนแรง หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลอังกฤษต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือแบงก์และสถาบันการเงินหลายแห่ง ขณะที่เบลเยี่ยมก็มีแผนจะเข้าช่วยชีวิตภาคการเงินเป็นครั้งที่ 2 ในเร็ว ๆ นี้
ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ดิ่งลงอย่างรุนแรงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะวิกฤตที่นับวันจะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง
"หุ้นภาคการเงินมีแนวโน้มจะดิ่งลงไปอีก เพราะมีการคาดการณ์กันว่าตัวเลขหนี้เสียจะเพิ่มสูงขึ้น" ร็อด สมิธ แห่งริเวอร์ฟรอนต์ อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป กล่าวและเสริมว่า ก่อนหน้านี้คาดการณ์กันว่าตัวเลขความสูญเสียในภาคการเงินมียอดสูงประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถึงตอนนี้นักวิเคราะห์ในตลาดวอลสตรีทและของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ. เชื่อว่าอาจสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์หรือใกล้เคียง
"สิ่งที่นักลงทุนกังวลกันมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ รัฐบาลอาจจะต้องอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากขึ้นอีก ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงินเหล่านั้นจะต้องนำผลกำไรที่ได้ในอนาคตมาใช้หนี้รัฐบาลก่อนจะปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น และยังกลัวกันอีกว่าสถาบันการเงินบางแห่งอาจถูกโอนเป็นของรัฐโดยผู้ถือหุ้นไม่ได้อะไรตอบแทนเลย" สมิธกล่าว
ในอังกฤษ ราคาหุ้นของธนาคารรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดิ่งลงเมื่อวันอังคาร 66.57 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ราคาหุ้นของลอยด์ ที่เป็นธนาคารคู่แข่งก็ลดต่ำลงกว่า 31 เปอร์เซ็นต์
ส่วนในสหรัฐฯ ราคาหุ้นซิตี้กรุ๊ปดิ่งลง 20 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 2.80 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหุ้นของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซึ่งเพิ่งได้รับเงินเสริมสภาพคล่องจากรัฐบาล 20,000 ล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ร่วงลง 28.9 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 5.10 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ขณะเดียวกัน ราคาหุ้นของ เจพีมอร์แกนเชส ก็ลดต่ำลง 20.7 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 18.09 ดอลลาร์ต่อหุ้น เวลส์ ฟาร์โก ติดลบ 23.8 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 14.23 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดรวมลดต่ำลงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
อลิซาเบธ แฮร์โรว์ แห่งสำนักวิจัยการลงทุนของเชฟเฟอร์กล่าวว่า การดิ่งลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้นในตลาดวอลสตรีทเมื่อวันอังคาร เหมือนจะช่วยเน้นย้ำถึงตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรุดอย่างหนัก
แพทริก โอแฮร์ แห่งบีฟฟิง ดอต คอม กล่าวว่า การดิ่งลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้นในภาคการเงิน เป็นสัญญาณเตือนว่าประธานาธิบดีโอบามาแทบจะไม่มีเวลาฮันนีมูนกับตำแหน่งใหม่เลย และว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวกันมากที่สุดในเวลานี้ก็คือการที่รัฐบาลเข้าโอนกิจการในภาคการเงินไปเป็นของรัฐ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในอังกฤษเป็นเบื้องต้นและอาจมีในประเทศอื่น ๆ ตามมาอีก
โอแฮร์กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ที่ระบุว่า อาร์บีเอส อาจประสบภาวะขาดทุนถึง 41,300 ล้านดอลลาร์ในปีการเงิน 2008 ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องตัดสินใจเข้าแทรกแซงกิจการ และนำไปสู่การคาดการณ์ว่าในที่สุดแล้ว อาร์บีเอส ก็คงจะต้องกลายเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัว และบางทีอาจจะไม่ใช่เพียงแค่ อาร์บีเอส เท่านั้น แต่อาจหมายถึงภาคการเงินทั้งระบบก็เป็นได้
ราคาหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในตลาดวอลสตรีทวันอังคารดิ่งลงอย่างรุนแรง หลังจากมีรายงานว่ารัฐบาลอังกฤษต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือแบงก์และสถาบันการเงินหลายแห่ง ขณะที่เบลเยี่ยมก็มีแผนจะเข้าช่วยชีวิตภาคการเงินเป็นครั้งที่ 2 ในเร็ว ๆ นี้
ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ดิ่งลงอย่างรุนแรงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะวิกฤตที่นับวันจะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง
"หุ้นภาคการเงินมีแนวโน้มจะดิ่งลงไปอีก เพราะมีการคาดการณ์กันว่าตัวเลขหนี้เสียจะเพิ่มสูงขึ้น" ร็อด สมิธ แห่งริเวอร์ฟรอนต์ อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป กล่าวและเสริมว่า ก่อนหน้านี้คาดการณ์กันว่าตัวเลขความสูญเสียในภาคการเงินมียอดสูงประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถึงตอนนี้นักวิเคราะห์ในตลาดวอลสตรีทและของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ. เชื่อว่าอาจสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์หรือใกล้เคียง
"สิ่งที่นักลงทุนกังวลกันมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ รัฐบาลอาจจะต้องอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากขึ้นอีก ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงินเหล่านั้นจะต้องนำผลกำไรที่ได้ในอนาคตมาใช้หนี้รัฐบาลก่อนจะปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น และยังกลัวกันอีกว่าสถาบันการเงินบางแห่งอาจถูกโอนเป็นของรัฐโดยผู้ถือหุ้นไม่ได้อะไรตอบแทนเลย" สมิธกล่าว
ในอังกฤษ ราคาหุ้นของธนาคารรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดิ่งลงเมื่อวันอังคาร 66.57 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ราคาหุ้นของลอยด์ ที่เป็นธนาคารคู่แข่งก็ลดต่ำลงกว่า 31 เปอร์เซ็นต์
ส่วนในสหรัฐฯ ราคาหุ้นซิตี้กรุ๊ปดิ่งลง 20 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 2.80 ดอลลาร์ต่อหุ้น และหุ้นของแบงก์ ออฟ อเมริกา ซึ่งเพิ่งได้รับเงินเสริมสภาพคล่องจากรัฐบาล 20,000 ล้านดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ร่วงลง 28.9 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 5.10 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ขณะเดียวกัน ราคาหุ้นของ เจพีมอร์แกนเชส ก็ลดต่ำลง 20.7 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 18.09 ดอลลาร์ต่อหุ้น เวลส์ ฟาร์โก ติดลบ 23.8 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 14.23 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดรวมลดต่ำลงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
อลิซาเบธ แฮร์โรว์ แห่งสำนักวิจัยการลงทุนของเชฟเฟอร์กล่าวว่า การดิ่งลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้นในตลาดวอลสตรีทเมื่อวันอังคาร เหมือนจะช่วยเน้นย้ำถึงตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมทรุดอย่างหนัก
แพทริก โอแฮร์ แห่งบีฟฟิง ดอต คอม กล่าวว่า การดิ่งลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้นในภาคการเงิน เป็นสัญญาณเตือนว่าประธานาธิบดีโอบามาแทบจะไม่มีเวลาฮันนีมูนกับตำแหน่งใหม่เลย และว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวกันมากที่สุดในเวลานี้ก็คือการที่รัฐบาลเข้าโอนกิจการในภาคการเงินไปเป็นของรัฐ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในอังกฤษเป็นเบื้องต้นและอาจมีในประเทศอื่น ๆ ตามมาอีก
โอแฮร์กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ที่ระบุว่า อาร์บีเอส อาจประสบภาวะขาดทุนถึง 41,300 ล้านดอลลาร์ในปีการเงิน 2008 ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องตัดสินใจเข้าแทรกแซงกิจการ และนำไปสู่การคาดการณ์ว่าในที่สุดแล้ว อาร์บีเอส ก็คงจะต้องกลายเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัว และบางทีอาจจะไม่ใช่เพียงแค่ อาร์บีเอส เท่านั้น แต่อาจหมายถึงภาคการเงินทั้งระบบก็เป็นได้