ถึงวันนี้ชื่อของ “บารัค และมิเชล โอบามา” ได้ขึ้นทำเนียบบุคคลสำคัญของโลกที่ถูกค้นหาใน “กูเกิล” มากที่สุดไปเรียบร้อยแล้ว
เขาและเธอถูกเปลี่ยนสรรพนามเรียกขานกันและกันจาก “มิสเตอร์ และมิสซิส” มาเป็น “ประธานาธิบดี และสุภาพสตรีหมายเลข 1 แห่งสหรัฐอเมริกา”
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการสิ้นสุดลงไปแล้วท่ามกลางความยิ่งใหญ่ และหนาวเย็นต่อหน้าผู้คนชาวอเมริกันกว่า 2 ล้านคนที่เบียดเสียดกันเข้าชมพิธีสาบานตนครั้งประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดยมีสายตาของคนทั่วโลกเฝ้าชมการถ่ายทอดสดก้าวประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีคนที่ 44 แห่งสหรัฐอเมริกา
สื่อมวลชนอเมริกากล่าวขานกันว่า ประธานาธิบดีผิวสีผู้มาดมั่นคนนี้ได้ก้าวขึ้นมาเพื่อทุบ และสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับสังคมอเมริกันมากกว่าจะเป็นแค่ “คนผิวสีผู้สร้างประวัติศาสตร์” และการได้มาซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 แห่งสหรัฐอเมริกา : ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งมหาอำนาจในทุกๆ ด้าน แต่กลับยากไร้ซึ่งเสรีภาพในการดำรงตนของชนชั้นอย่างแท้จริง
ส่วน “มิเชล โอบามา” สุภาพสตรีหมายเลข 1 วัย 44 ปีของทำเนียบขาวนั้นก็ใช่จะน้อยหน้าไปกว่าสามีไม่ เพราะนาทีนี้โลกทั้งใบต่างจับจ้องส่องไฟสปอตไลต์ไปที่อดีตนักกฎหมายผู้ชาญฉลาดจากมหาวิทยาลัยปรินส์ตัน และฮาร์วาร์ดผู้นี้ไม่วางตา
ด้วยความสูง ด้วยความสาว ด้วยสุขภาพจิตสุขภาพใจแข็งแรง แถมยังเปี่ยมด้วยรสนิยมการกินอยู่และแต่งกาย ทำให้คุณแม่ของลูกสาว 2 คนกลายเป็น “ต้นแบบ” แห่งความพากเพียรและวางตัวของผู้หญิงทั่วโลกไปเรียบร้อย
ล่าสุดนิตยสารโว๊คได้ออกหนังสือพิเศษชื่อ “มิเชล ไกด์” เพื่อให้ผู้หญิงอเมริกันและทั้งโลกได้ถือเป็นคัมภีร์ในการลอกแบบอย่างการแต่งกาย และวางตัวของนายหญิงคนใหม่แห่งทำเนียบขาว
ปรากฏการณ์มิเชล ฟีเวอร์ จึงไม่ต่างอะไรไปจากที่ แจ๊คเกอรีน เคนเนดี้ แฟชั่นไอคอนคนแรกแห่งทำเนียบขาวที่เคยสร้างปรากฏการณ์แจ๊กกี้ ฟีเวอร์ ให้สังคมอเมริกันและสาวๆ ทั้งโลกมาแล้ว
ส่วนบารัค โอบามานั่นเล่าก็กลายเป็นประธานาธิบดีที่ถูกจับตามองทุกฝีก้าว เขามีหุ่นขี้ผึ้งในพิพิธภัณฑ์มาดามทูซโซ และตุ๊กตาเลียนแบบท่าทางเชิดๆ ของเขา ขายดีถล่มทลายยิ่งกว่าผู้นำคนใดๆ ของอเมริกา
ผู้ชายผิวสีผู้มีความสามารถพิเศษในด้านภาษา และการแสดงออกคนนี้ทำให้ทำเนียบขาวร้อนฉ่านับแต่ก้าวแรกที่เดินฝ่าอุปสรรคการเลือกตั้งเข้ามาก็ว่าได้ เขามาแรง ก้าวเร็วพรวดพราด และแจ้งเกิดจากการปราศรัยใหญ่ในการประชุมพรรคเดโมเครต ส่งผลให้อดีตวุฒิสมาชิกจากอิลลินอยส์คนนี้มีผู้สนับสนุนเชื่อมั่น จนกลายเป็นเจ้าของเงินบริจาคที่ใช้ในการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของอเมริกา
ประกาย และมนต์ขลังของบารัค โอบามาได้เจิดจ้าแจ้งเกิดมากที่สุดในการปราศรัยใหญ่ของพรรคเดโมเครต และจรัสแสงมากยิ่งขึ้นจากการปราศรัยที่ประกาศชัยชนะของเขาในค่ำคืนที่หนาวเหน็บ และน่าตื่นตะลึงกับคำมั่นบน “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” กลางสนามมิลเลนเนียม ใจกลางมหานครชิคาโก
บารัคโอบกอดและรัดใจชาวอเมริกันทุกคนด้วยสัญญา “จะเป็นประธานาธิบดีของทุกคน” และปลุกเร้าให้ทุกคนรู้ตื่นกับการต่อสู้ครั้งสำคัญท่ามกลางพายุเศรษฐกิจโหมกระหน่ำรุนแรงด้วย “การเปลี่ยนแปลงของผู้กล้า และงานหนักที่ท้าทาย”
บารัค โอบามา คนเดียวก็ไม่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าอเมริกาได้ แต่ด้วยทีมงานที่ชาญฉลาด และกล้าหาญที่จะแหกกฎทำให้เขาพบกับความสำเร็จ
ทีมงานคนหนุ่มสาวของบารัค โอบามามีจำนวนมากกว่า 150 คน และมีอายุตั้งแต่ 24 ปี จนถึง 70 ปี ที่สำคัญ “กระทิงดุ” ของเขาทีมนี้ต่างเติบโตมาด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ “เดโมเครต” ที่ยืดมั่นในกรอบ ถือระเบียบ เปี่ยมวินัย แต่เฟี้ยวฟ้าวฟู่ฟ่าราวกองทัพดอกไม้ไฟเหนือฟากฟ้าฮอลลีวูดก็ไม่ปาน
ทีมงานที่ฉวัดเฉวียนกลุ่มนี้ได้สร้างหนุ่มผิวสีนักสังคมสงเคราะห์บ้าการเมืองที่มีเมียสวยสง่า และรายได้งดงามกว่าสามีให้กลายเป็น “นักการเมืองแห่งอนาคต” ด้วยการระดมใช้สื่อทุกประเภทและถูกจังหวะเวลา สื่อมวลชนในอเมริกาเปรียบเทียบว่า บารัค โอบามาและทีมงานเหลือเชื่อของเขา เหมือนวงดนตรีร็อค แอนด์ โรล ผสมออเคสตราที่เล่นเพลง “แร็ป” ของนักร้อง 50 เซนต์
นั่นคือที่มาของบารัค โอบามา ในชุดเสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกไท พับแขนเสื้อ และคำว่า “Change” ที่ถูกวางลงไปใจกลางชนอเมริกันชั้นกลาง ที่เกาะเกี่ยวกันปูทางส่งเขาก้าวสู่ “ทำเนียบขาว”
แนวทาง ความหวัง และความฝันได้พาบารัค โอบามาก้าวมาเป็นขวัญใจคนอเมริกันทุกชนชั้นอย่างรวดเร็ว จนสร้างปรากฏการณ์ “โอบามา ฟีเวอร์”
จังหวะจะโคนของเขาราวพระเจ้าเป็นใจ แค่เพียงเขาว่ายน้ำอวดมัดกล้ามอย่างชายสุขภาพดีต่อหน้ากล้องนับร้อยเท่านั้น เหลือเชื่อเพียงภาพนี้ภาพเดียวทำให้บารัค โอบามา ทำลายความรักความหลงใหลที่อเมริกันเคยเทใจให้อดีตประธานาธิบดีจอนห์ เอฟ เคนเนดี้ไปอย่างหมดสิ้น
นาทีนี้บารัค โอบามากำชัยชนะในทุกๆ ด้านเหนือนักการเมืองทุกๆ คนในวอชิงตันขาดลอย ที่เหลือคือ บันไดสุดท้ายก้าวสู่ทำเนียบขาวกับงานใหญ่ครั้งสำคัญทั้งของเขาและทุกๆ คนกับงาน “พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ”
วันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ถูกกำหนดขึ้นในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2009 ซึ่งตรงกับเที่ยงคืนของเมืองไทย งานสำคัญครั้งนี้ถูกจัดขึ้นยังมุขด้านทิศตะวันตกของอาคารรัฐสภาเช่นที่เคยเป็นมา
นี่ไม่เพียงเป็นวันประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีผิวสีคนที่ 44 ของอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นวันประวัติศาสตร์ร่วมกันของคนผิวสีทุกคนใน “อเมริกา” ด้วยพวกเขาเชื่อว่าโอบามาทำให้คนผิวสี “เงยหน้าอ้าปาก” เท่าเทียมกับคนผิวขาวได้ในที่สุด ขณะที่คนผิวขาวคลั่งลัทธิ “คลู คลั๊ก แคลน” กำลังเดือดดาลท่ามกลางข่าว “ลอบสังหารโอบามา” ส่วนดัชนีดาวโจนส์ฟึดฟัดอ่อนตัวลงท้าทายสติปัญญา และความเด็ดขาดของโอบามา
สุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของเขาจึงถูกจับตามอง และนำไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีคนอื่นๆ เป็นวาระของการถูกจับตา ระหว่างคนใหม่กับคนเก่า และระหว่างอดีตที่เดินมาบรรจบพบกับปัจจุบัน
สื่อมวลชนอเมริกันนำสุนทรพจน์ที่ว่าด้วย “ศักราชแห่งความรับผิดชอบ” ท่ามกลาง “ความหวังที่อยู่เหนือความกลัว” ของโอบามาไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ของ “ประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น” ที่ถูกนักประวัติศาสตร์ยกย่องให้เป็นสุนทรพจน์กลางไฟสงครามกลางเมืองที่สวยงามราวบทกวี และตราตรึงใจจนได้รับการยกย่องให้เป็นอมตะระดับชั่วนิจนิรันดร์
เมื่อโอบามาก้าวขึ้นมาในขณะที่อเมริกากำลังเผชิญหน้ากับ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” สุนทรพจน์ของเขาจึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ของ “แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์” ที่ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งในขณะที่อเมริกาถูกพายุเศรษฐกิจโหมกระหน่ำ แต่ยังสามารถเร่งเร้าชาวอเมริกันให้หลุดพ้นจากความหวาดกลัวด้วยถ้อยคำกินใจเกินจะหวาดกลัวและเหลือที่จะกล่าว
สุดท้ายสุนทรพจน์ของโอบามาผู้ทระนงและมั่นใจสูงสุด ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวาทะแกร่งกร้าวเหลือร้ายของ “จอห์น เอฟ เคนเนดี้” ที่คมคายปลุกเร้าความรักชาติ และความรับผิดชอบของชนในชาติจนเป็นที่จดจำไม่รู้ลืม
Voice of America โดย Steve Ember และ Barbara Klein รายงานพิเศษเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์แห่งสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
ในอดีตวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีขึ้นในวันที่ 4 เดือนมีนาคม หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงไปในเดือนพฤศจิกายน ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีการพัฒนามากขึ้น ได้มีการแก้ไขกฎหมายและร่นวันทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งมาเป็นวันที่ 20 ของเดือนมกราคม
โดย แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม1933 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เข้ากล่าวสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนในเดือนมกราคมในอีก 4 ปีถัดมา
คำสาบานตนอย่างเป็นทางการมีใจความสั้นๆ ยาวไม่กี่นาทีดังนี้ “ ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยศรัทธาและสุดความสามารถ เพื่อปกป้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นขอพระเจ้าได้โปรดประทานพรด้วย”
คำลงท้ายว่า “So help me God” คาดกันว่ามาเพิ่มเติมในภายหลัง และใช้อย่างจริงจังในสมัยของประธานาธิบดีเชสเตอร์ ออร์เธอร์
ส่วนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้เริ่มต้นการกล่าวสุนทรพจน์หลังพิธีการกล่าวคำสาบานตนเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองของเขาในปี 1793 จนกลายเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้ระบุไว้ก็ตามที ... ในครั้งนั้นเขากล่าวสุนทรพจน์สั้นๆ แต่กินใจในความยาวเพียง 135 คำ
สุนทรพจน์ที่ได้รับการบันทึกว่ายาวที่สุดเป็นของประธานาธิบดี วิลเลียม เฮนรี่ แฮริสัน ในปี 1841 โดยกินความยาวเกือบ 2 ชั่วโมง ท่ามกลางความหนาวเย็น และลมฝนกระหน่ำ ขณะที่ประธานาธิบดีวิลเลียมไม่ได้สวมหมวก หรือเสื้อโอเวอร์โค้ต แน่นอนหลังสุนทรพจน์ยืดยาดและยาวนานสิ้นสุดลงไป ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ต้องเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในทันที เพราะวิลเลียม เฮนรี่ แฮริสัน ป่วยด้วยโรคปอดบวมและตายในอีก 1 เดือนถัดมา
การเฉลิมฉลองพิธีการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการอย่างโอ่อ่าอลังการต่อหน้าสาธารณชน และจัดอย่างยิ่งใหญ่หน้าโดมสีขาวภายนอกอาคารรัฐสภานั้นถูกเริ่มขึ้นในปี 1817 สมัยประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร
แรกเริ่มใช้สถานที่ด้านหน้าอาคารรัฐสภาด้านตะวันออก ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นด้านทิศตะวันตกและใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ยกเว้นสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ที่อากาศไม่เป็นใจมีฝนตก ลมแรง หนาวจัด จนต้องย้ายกลับไปจัดงานในอาคารรัฐสภาดังเดิม
สุทรพจน์ที่เด็ดดวงที่สุด และเป็นที่จดจำได้มากที่สุด เป็นของประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ที่มีวาทะทองว่า “ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเหลือเกินว่า มีเพียงสิ่งเดียวที่น่ากลัว คือ ความกลัว”
และสุนทรพจน์ที่ทำให้คนอเมริกันฮึกเหิมมากที่สุดเป็นของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่กล่าวไว้ในปี 1961 ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะทำอะไรให้กับคุณ แต่จงถามว่าคุณจะทำอะไรให้กับประทศบ้าง ...เพื่อนร่วมโลกที่รักทั้งหลาย อย่าถามว่าประเทศอเมริกาจะทำอะไรให้กับคุณ แต่เราทั้งผองจะต้องร่วมมือกันทำเพื่ออิสระเสรีภาพของมวลมนุษยชาติ”
แต่สุนทรพจน์ที่นักประวัติศาสตร์ชื่นชมอย่างหาที่เปรียบไม่ได้คือ สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น ซึ่งการนำเสนอราวกับบทกวีของนักประพันธ์ชั้นยอดก็ไม่ปาน แถมสุนทรพจน์ที่งดงามราวพระเจ้าแต่งแต้มนี้ดันมีขึ้นในปีที่เกิดสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ในปี 1861-1865
“เราไม่ได้เป็นศัตรูกันดอก แต่เราเป็นเพื่อนกันต่างหาก แม้นว่าความโกรธแค้นจะส่งผลให้เราทั้งผองเกิดความมึนตึงรวดร้าว แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ใช่โซ่ตรวนที่จะแยกผองเราออกจากความรักความเมตตา ท่วงทำนองแห่งความทรงจำอันแสนหวานค่อยๆจางลงไปในทุกๆ การเต้นของหัวใจแห่งสงครามและการสู้รบ ดนตรีแห่งการรบทัพจับศึกพาผู้รักชาติเดินทางมุ่งสู่สุสาน ณ ดินแดนไกลโพ้น”
ด้วยความทรงจำที่ตราตรึงไม่รู้ลืมนี่เองเป็นผลให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เลือกที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิลฉบับตำนานของประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น ที่เก็บไว้อย่างดีในห้องสมุดสภาคองเกรส ตั้งแต่ปี 1861 มาเป็นสักขีพยานของการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
การวางมือข้างหนึ่งประทับลงบนคัมภีร์ไบเบิลระหว่างสาบานตน เป็นประเพณีที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน
แต่ประธานาธิบดีจอห์น ควินซี่ อดัมส์ กลับเลือกที่จะใช้ตำรากฎหมายมาแทนที่คัมภีร์ไบเบิล ทั้งๆ ที่เขาเป็นคนเคร่งศาสนา แต่เห็นว่า การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งด้วยคัมภีร์ไบเบิลเป็นการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์ไปสักหน่อย
สำหรับพิธีการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาที่ดูออกจะเอิกเกริกวุ่นวายที่สุด น่าจะเกิดขึ้นในสมัยของประธานธิบดีแอนดรูว์ แจ๊คสัน เจ้าของฉายา “ประธานาธิบดีของประชาชน” เพราะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งคับคั่ง ฝูงชนที่เบียดเสียดกันเข้ามาทำให้ผู้หญิงหลายคนเป็นลมพับลงกับพื้นหญ้า และพวกผู้ชายวัยฉกรรจ์ชกต่อยกันเพื่อแย่งที่ยืน ส่วนประธานาธิบดีถูกคลื่นมหาชนผลักดันจนติดข้างฝาอาคารรัฐสภา
ในการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทุบสถิติของประธานาธิบดีทุกคนในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน ปรากฏการณ์โอบามา ฟีเวอร์ พาคนมาร่วมชมพิธีมากกว่า 2 ล้านคน ใช้ตำรวจ-ทหารเกือบ 50,000 คน ติดตั้งส้วมสาธารณะมากกว่า 5,000 จุด เข้มงวดกับการรักษาความปลอดภัยถึงขั้นปิดถนน และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ “กระหน่ำลดราคา” เพื่อต้อนลูกค้าที่เบื่อวอชิงตันและถ่ายทอดสด
“Jon Favreau” หนุ่มอเมริกัน – เอเชียวัย 27 ปีที่เคยฝากผลงานในชุด “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” และ Change มาแล้ว ถูกเลือกให้มาคุมทีมร่างสุนทรพจน์ร่วมกับประธานาธิบดีโอบามาอีกครั้ง คราวนี้พวกเขาร่ายเวทมนต์กับสุนทรพจน์ที่ฮึกเหิมของ “ความหวังเหนือความกลัว” เพื่อเปิดรับ “ศักราชแห่งความรับผิดชอบ” ที่จะไม่มีวันประนีประนอมกับผู้ก่อการร้ายที่คุกคามอเมริกาและโลกใบนี้อีกต่อไป
เสียงปรบมือกึกก้องและน้ำตาของประชาชนท่ามกลางความหนาวเย็นของอุณหภูมิติดลบหน้าเดอะเนชั่นแนล มอลล์ สะท้อนว่า วิญญาณกล้าแกร่งของอเมริกันชนถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว และโอบามาคือ ความหวัง คือ พลัง คือ ความศรัทธาเชื่อมั่นกลางพายุเศรษฐกิจและภัยคุกคามทุกรูปแบบ
ก้าวต่อไปของโอบามาจะหลุดออกจากสุนทรพจน์พาฝันไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างไร นาทีต่อจากนี้ไปจะเป็นเครื่องพิสูจน์ “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” กับก้าวแรกของศักราชแห่งความร่วมมือและรับผิดชอบเพื่อชัยชนะของอเมริกา - ชัยชนะของคนผิวสี และชัยชนะของโอบามา
เขาและเธอถูกเปลี่ยนสรรพนามเรียกขานกันและกันจาก “มิสเตอร์ และมิสซิส” มาเป็น “ประธานาธิบดี และสุภาพสตรีหมายเลข 1 แห่งสหรัฐอเมริกา”
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการสิ้นสุดลงไปแล้วท่ามกลางความยิ่งใหญ่ และหนาวเย็นต่อหน้าผู้คนชาวอเมริกันกว่า 2 ล้านคนที่เบียดเสียดกันเข้าชมพิธีสาบานตนครั้งประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกา โดยมีสายตาของคนทั่วโลกเฝ้าชมการถ่ายทอดสดก้าวประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีคนที่ 44 แห่งสหรัฐอเมริกา
สื่อมวลชนอเมริกากล่าวขานกันว่า ประธานาธิบดีผิวสีผู้มาดมั่นคนนี้ได้ก้าวขึ้นมาเพื่อทุบ และสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับสังคมอเมริกันมากกว่าจะเป็นแค่ “คนผิวสีผู้สร้างประวัติศาสตร์” และการได้มาซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 44 แห่งสหรัฐอเมริกา : ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งมหาอำนาจในทุกๆ ด้าน แต่กลับยากไร้ซึ่งเสรีภาพในการดำรงตนของชนชั้นอย่างแท้จริง
ส่วน “มิเชล โอบามา” สุภาพสตรีหมายเลข 1 วัย 44 ปีของทำเนียบขาวนั้นก็ใช่จะน้อยหน้าไปกว่าสามีไม่ เพราะนาทีนี้โลกทั้งใบต่างจับจ้องส่องไฟสปอตไลต์ไปที่อดีตนักกฎหมายผู้ชาญฉลาดจากมหาวิทยาลัยปรินส์ตัน และฮาร์วาร์ดผู้นี้ไม่วางตา
ด้วยความสูง ด้วยความสาว ด้วยสุขภาพจิตสุขภาพใจแข็งแรง แถมยังเปี่ยมด้วยรสนิยมการกินอยู่และแต่งกาย ทำให้คุณแม่ของลูกสาว 2 คนกลายเป็น “ต้นแบบ” แห่งความพากเพียรและวางตัวของผู้หญิงทั่วโลกไปเรียบร้อย
ล่าสุดนิตยสารโว๊คได้ออกหนังสือพิเศษชื่อ “มิเชล ไกด์” เพื่อให้ผู้หญิงอเมริกันและทั้งโลกได้ถือเป็นคัมภีร์ในการลอกแบบอย่างการแต่งกาย และวางตัวของนายหญิงคนใหม่แห่งทำเนียบขาว
ปรากฏการณ์มิเชล ฟีเวอร์ จึงไม่ต่างอะไรไปจากที่ แจ๊คเกอรีน เคนเนดี้ แฟชั่นไอคอนคนแรกแห่งทำเนียบขาวที่เคยสร้างปรากฏการณ์แจ๊กกี้ ฟีเวอร์ ให้สังคมอเมริกันและสาวๆ ทั้งโลกมาแล้ว
ส่วนบารัค โอบามานั่นเล่าก็กลายเป็นประธานาธิบดีที่ถูกจับตามองทุกฝีก้าว เขามีหุ่นขี้ผึ้งในพิพิธภัณฑ์มาดามทูซโซ และตุ๊กตาเลียนแบบท่าทางเชิดๆ ของเขา ขายดีถล่มทลายยิ่งกว่าผู้นำคนใดๆ ของอเมริกา
ผู้ชายผิวสีผู้มีความสามารถพิเศษในด้านภาษา และการแสดงออกคนนี้ทำให้ทำเนียบขาวร้อนฉ่านับแต่ก้าวแรกที่เดินฝ่าอุปสรรคการเลือกตั้งเข้ามาก็ว่าได้ เขามาแรง ก้าวเร็วพรวดพราด และแจ้งเกิดจากการปราศรัยใหญ่ในการประชุมพรรคเดโมเครต ส่งผลให้อดีตวุฒิสมาชิกจากอิลลินอยส์คนนี้มีผู้สนับสนุนเชื่อมั่น จนกลายเป็นเจ้าของเงินบริจาคที่ใช้ในการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของอเมริกา
ประกาย และมนต์ขลังของบารัค โอบามาได้เจิดจ้าแจ้งเกิดมากที่สุดในการปราศรัยใหญ่ของพรรคเดโมเครต และจรัสแสงมากยิ่งขึ้นจากการปราศรัยที่ประกาศชัยชนะของเขาในค่ำคืนที่หนาวเหน็บ และน่าตื่นตะลึงกับคำมั่นบน “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” กลางสนามมิลเลนเนียม ใจกลางมหานครชิคาโก
บารัคโอบกอดและรัดใจชาวอเมริกันทุกคนด้วยสัญญา “จะเป็นประธานาธิบดีของทุกคน” และปลุกเร้าให้ทุกคนรู้ตื่นกับการต่อสู้ครั้งสำคัญท่ามกลางพายุเศรษฐกิจโหมกระหน่ำรุนแรงด้วย “การเปลี่ยนแปลงของผู้กล้า และงานหนักที่ท้าทาย”
บารัค โอบามา คนเดียวก็ไม่อาจเปลี่ยนโฉมหน้าอเมริกาได้ แต่ด้วยทีมงานที่ชาญฉลาด และกล้าหาญที่จะแหกกฎทำให้เขาพบกับความสำเร็จ
ทีมงานคนหนุ่มสาวของบารัค โอบามามีจำนวนมากกว่า 150 คน และมีอายุตั้งแต่ 24 ปี จนถึง 70 ปี ที่สำคัญ “กระทิงดุ” ของเขาทีมนี้ต่างเติบโตมาด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ “เดโมเครต” ที่ยืดมั่นในกรอบ ถือระเบียบ เปี่ยมวินัย แต่เฟี้ยวฟ้าวฟู่ฟ่าราวกองทัพดอกไม้ไฟเหนือฟากฟ้าฮอลลีวูดก็ไม่ปาน
ทีมงานที่ฉวัดเฉวียนกลุ่มนี้ได้สร้างหนุ่มผิวสีนักสังคมสงเคราะห์บ้าการเมืองที่มีเมียสวยสง่า และรายได้งดงามกว่าสามีให้กลายเป็น “นักการเมืองแห่งอนาคต” ด้วยการระดมใช้สื่อทุกประเภทและถูกจังหวะเวลา สื่อมวลชนในอเมริกาเปรียบเทียบว่า บารัค โอบามาและทีมงานเหลือเชื่อของเขา เหมือนวงดนตรีร็อค แอนด์ โรล ผสมออเคสตราที่เล่นเพลง “แร็ป” ของนักร้อง 50 เซนต์
นั่นคือที่มาของบารัค โอบามา ในชุดเสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกไท พับแขนเสื้อ และคำว่า “Change” ที่ถูกวางลงไปใจกลางชนอเมริกันชั้นกลาง ที่เกาะเกี่ยวกันปูทางส่งเขาก้าวสู่ “ทำเนียบขาว”
แนวทาง ความหวัง และความฝันได้พาบารัค โอบามาก้าวมาเป็นขวัญใจคนอเมริกันทุกชนชั้นอย่างรวดเร็ว จนสร้างปรากฏการณ์ “โอบามา ฟีเวอร์”
จังหวะจะโคนของเขาราวพระเจ้าเป็นใจ แค่เพียงเขาว่ายน้ำอวดมัดกล้ามอย่างชายสุขภาพดีต่อหน้ากล้องนับร้อยเท่านั้น เหลือเชื่อเพียงภาพนี้ภาพเดียวทำให้บารัค โอบามา ทำลายความรักความหลงใหลที่อเมริกันเคยเทใจให้อดีตประธานาธิบดีจอนห์ เอฟ เคนเนดี้ไปอย่างหมดสิ้น
นาทีนี้บารัค โอบามากำชัยชนะในทุกๆ ด้านเหนือนักการเมืองทุกๆ คนในวอชิงตันขาดลอย ที่เหลือคือ บันไดสุดท้ายก้าวสู่ทำเนียบขาวกับงานใหญ่ครั้งสำคัญทั้งของเขาและทุกๆ คนกับงาน “พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ”
วันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ถูกกำหนดขึ้นในวันอังคารที่ 20 มกราคม 2009 ซึ่งตรงกับเที่ยงคืนของเมืองไทย งานสำคัญครั้งนี้ถูกจัดขึ้นยังมุขด้านทิศตะวันตกของอาคารรัฐสภาเช่นที่เคยเป็นมา
นี่ไม่เพียงเป็นวันประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีผิวสีคนที่ 44 ของอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นวันประวัติศาสตร์ร่วมกันของคนผิวสีทุกคนใน “อเมริกา” ด้วยพวกเขาเชื่อว่าโอบามาทำให้คนผิวสี “เงยหน้าอ้าปาก” เท่าเทียมกับคนผิวขาวได้ในที่สุด ขณะที่คนผิวขาวคลั่งลัทธิ “คลู คลั๊ก แคลน” กำลังเดือดดาลท่ามกลางข่าว “ลอบสังหารโอบามา” ส่วนดัชนีดาวโจนส์ฟึดฟัดอ่อนตัวลงท้าทายสติปัญญา และความเด็ดขาดของโอบามา
สุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของเขาจึงถูกจับตามอง และนำไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีคนอื่นๆ เป็นวาระของการถูกจับตา ระหว่างคนใหม่กับคนเก่า และระหว่างอดีตที่เดินมาบรรจบพบกับปัจจุบัน
สื่อมวลชนอเมริกันนำสุนทรพจน์ที่ว่าด้วย “ศักราชแห่งความรับผิดชอบ” ท่ามกลาง “ความหวังที่อยู่เหนือความกลัว” ของโอบามาไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ของ “ประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น” ที่ถูกนักประวัติศาสตร์ยกย่องให้เป็นสุนทรพจน์กลางไฟสงครามกลางเมืองที่สวยงามราวบทกวี และตราตรึงใจจนได้รับการยกย่องให้เป็นอมตะระดับชั่วนิจนิรันดร์
เมื่อโอบามาก้าวขึ้นมาในขณะที่อเมริกากำลังเผชิญหน้ากับ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” สุนทรพจน์ของเขาจึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับสุนทรพจน์ของ “แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์” ที่ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งในขณะที่อเมริกาถูกพายุเศรษฐกิจโหมกระหน่ำ แต่ยังสามารถเร่งเร้าชาวอเมริกันให้หลุดพ้นจากความหวาดกลัวด้วยถ้อยคำกินใจเกินจะหวาดกลัวและเหลือที่จะกล่าว
สุดท้ายสุนทรพจน์ของโอบามาผู้ทระนงและมั่นใจสูงสุด ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับวาทะแกร่งกร้าวเหลือร้ายของ “จอห์น เอฟ เคนเนดี้” ที่คมคายปลุกเร้าความรักชาติ และความรับผิดชอบของชนในชาติจนเป็นที่จดจำไม่รู้ลืม
Voice of America โดย Steve Ember และ Barbara Klein รายงานพิเศษเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์แห่งสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
ในอดีตวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีขึ้นในวันที่ 4 เดือนมีนาคม หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงไปในเดือนพฤศจิกายน ต่อมาเมื่อบ้านเมืองมีการพัฒนามากขึ้น ได้มีการแก้ไขกฎหมายและร่นวันทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งมาเป็นวันที่ 20 ของเดือนมกราคม
โดย แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ เป็นประธานาธิบดีคนสุดท้ายที่ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม1933 และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เข้ากล่าวสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนในเดือนมกราคมในอีก 4 ปีถัดมา
คำสาบานตนอย่างเป็นทางการมีใจความสั้นๆ ยาวไม่กี่นาทีดังนี้ “ ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยศรัทธาและสุดความสามารถ เพื่อปกป้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นขอพระเจ้าได้โปรดประทานพรด้วย”
คำลงท้ายว่า “So help me God” คาดกันว่ามาเพิ่มเติมในภายหลัง และใช้อย่างจริงจังในสมัยของประธานาธิบดีเชสเตอร์ ออร์เธอร์
ส่วนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้เริ่มต้นการกล่าวสุนทรพจน์หลังพิธีการกล่าวคำสาบานตนเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองของเขาในปี 1793 จนกลายเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้ระบุไว้ก็ตามที ... ในครั้งนั้นเขากล่าวสุนทรพจน์สั้นๆ แต่กินใจในความยาวเพียง 135 คำ
สุนทรพจน์ที่ได้รับการบันทึกว่ายาวที่สุดเป็นของประธานาธิบดี วิลเลียม เฮนรี่ แฮริสัน ในปี 1841 โดยกินความยาวเกือบ 2 ชั่วโมง ท่ามกลางความหนาวเย็น และลมฝนกระหน่ำ ขณะที่ประธานาธิบดีวิลเลียมไม่ได้สวมหมวก หรือเสื้อโอเวอร์โค้ต แน่นอนหลังสุนทรพจน์ยืดยาดและยาวนานสิ้นสุดลงไป ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ต้องเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ในทันที เพราะวิลเลียม เฮนรี่ แฮริสัน ป่วยด้วยโรคปอดบวมและตายในอีก 1 เดือนถัดมา
การเฉลิมฉลองพิธีการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการอย่างโอ่อ่าอลังการต่อหน้าสาธารณชน และจัดอย่างยิ่งใหญ่หน้าโดมสีขาวภายนอกอาคารรัฐสภานั้นถูกเริ่มขึ้นในปี 1817 สมัยประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร
แรกเริ่มใช้สถานที่ด้านหน้าอาคารรัฐสภาด้านตะวันออก ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นด้านทิศตะวันตกและใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ยกเว้นสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ที่อากาศไม่เป็นใจมีฝนตก ลมแรง หนาวจัด จนต้องย้ายกลับไปจัดงานในอาคารรัฐสภาดังเดิม
สุทรพจน์ที่เด็ดดวงที่สุด และเป็นที่จดจำได้มากที่สุด เป็นของประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ที่มีวาทะทองว่า “ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเหลือเกินว่า มีเพียงสิ่งเดียวที่น่ากลัว คือ ความกลัว”
และสุนทรพจน์ที่ทำให้คนอเมริกันฮึกเหิมมากที่สุดเป็นของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่กล่าวไว้ในปี 1961 ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะทำอะไรให้กับคุณ แต่จงถามว่าคุณจะทำอะไรให้กับประทศบ้าง ...เพื่อนร่วมโลกที่รักทั้งหลาย อย่าถามว่าประเทศอเมริกาจะทำอะไรให้กับคุณ แต่เราทั้งผองจะต้องร่วมมือกันทำเพื่ออิสระเสรีภาพของมวลมนุษยชาติ”
แต่สุนทรพจน์ที่นักประวัติศาสตร์ชื่นชมอย่างหาที่เปรียบไม่ได้คือ สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น ซึ่งการนำเสนอราวกับบทกวีของนักประพันธ์ชั้นยอดก็ไม่ปาน แถมสุนทรพจน์ที่งดงามราวพระเจ้าแต่งแต้มนี้ดันมีขึ้นในปีที่เกิดสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ในปี 1861-1865
“เราไม่ได้เป็นศัตรูกันดอก แต่เราเป็นเพื่อนกันต่างหาก แม้นว่าความโกรธแค้นจะส่งผลให้เราทั้งผองเกิดความมึนตึงรวดร้าว แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ใช่โซ่ตรวนที่จะแยกผองเราออกจากความรักความเมตตา ท่วงทำนองแห่งความทรงจำอันแสนหวานค่อยๆจางลงไปในทุกๆ การเต้นของหัวใจแห่งสงครามและการสู้รบ ดนตรีแห่งการรบทัพจับศึกพาผู้รักชาติเดินทางมุ่งสู่สุสาน ณ ดินแดนไกลโพ้น”
ด้วยความทรงจำที่ตราตรึงไม่รู้ลืมนี่เองเป็นผลให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เลือกที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิลฉบับตำนานของประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น ที่เก็บไว้อย่างดีในห้องสมุดสภาคองเกรส ตั้งแต่ปี 1861 มาเป็นสักขีพยานของการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
การวางมือข้างหนึ่งประทับลงบนคัมภีร์ไบเบิลระหว่างสาบานตน เป็นประเพณีที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน
แต่ประธานาธิบดีจอห์น ควินซี่ อดัมส์ กลับเลือกที่จะใช้ตำรากฎหมายมาแทนที่คัมภีร์ไบเบิล ทั้งๆ ที่เขาเป็นคนเคร่งศาสนา แต่เห็นว่า การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งด้วยคัมภีร์ไบเบิลเป็นการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์ไปสักหน่อย
สำหรับพิธีการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาที่ดูออกจะเอิกเกริกวุ่นวายที่สุด น่าจะเกิดขึ้นในสมัยของประธานธิบดีแอนดรูว์ แจ๊คสัน เจ้าของฉายา “ประธานาธิบดีของประชาชน” เพราะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งคับคั่ง ฝูงชนที่เบียดเสียดกันเข้ามาทำให้ผู้หญิงหลายคนเป็นลมพับลงกับพื้นหญ้า และพวกผู้ชายวัยฉกรรจ์ชกต่อยกันเพื่อแย่งที่ยืน ส่วนประธานาธิบดีถูกคลื่นมหาชนผลักดันจนติดข้างฝาอาคารรัฐสภา
ในการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทุบสถิติของประธานาธิบดีทุกคนในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน ปรากฏการณ์โอบามา ฟีเวอร์ พาคนมาร่วมชมพิธีมากกว่า 2 ล้านคน ใช้ตำรวจ-ทหารเกือบ 50,000 คน ติดตั้งส้วมสาธารณะมากกว่า 5,000 จุด เข้มงวดกับการรักษาความปลอดภัยถึงขั้นปิดถนน และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ “กระหน่ำลดราคา” เพื่อต้อนลูกค้าที่เบื่อวอชิงตันและถ่ายทอดสด
“Jon Favreau” หนุ่มอเมริกัน – เอเชียวัย 27 ปีที่เคยฝากผลงานในชุด “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” และ Change มาแล้ว ถูกเลือกให้มาคุมทีมร่างสุนทรพจน์ร่วมกับประธานาธิบดีโอบามาอีกครั้ง คราวนี้พวกเขาร่ายเวทมนต์กับสุนทรพจน์ที่ฮึกเหิมของ “ความหวังเหนือความกลัว” เพื่อเปิดรับ “ศักราชแห่งความรับผิดชอบ” ที่จะไม่มีวันประนีประนอมกับผู้ก่อการร้ายที่คุกคามอเมริกาและโลกใบนี้อีกต่อไป
เสียงปรบมือกึกก้องและน้ำตาของประชาชนท่ามกลางความหนาวเย็นของอุณหภูมิติดลบหน้าเดอะเนชั่นแนล มอลล์ สะท้อนว่า วิญญาณกล้าแกร่งของอเมริกันชนถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว และโอบามาคือ ความหวัง คือ พลัง คือ ความศรัทธาเชื่อมั่นกลางพายุเศรษฐกิจและภัยคุกคามทุกรูปแบบ
ก้าวต่อไปของโอบามาจะหลุดออกจากสุนทรพจน์พาฝันไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างไร นาทีต่อจากนี้ไปจะเป็นเครื่องพิสูจน์ “อรุณรุ่งแห่งความหวัง” กับก้าวแรกของศักราชแห่งความร่วมมือและรับผิดชอบเพื่อชัยชนะของอเมริกา - ชัยชนะของคนผิวสี และชัยชนะของโอบามา