เดลิเมล์ - นักวิจัยเผยเคล็ดลับยาอายุวัฒนะใหม่ ทำงานหนักและใช้ชีวิตอย่างมีสติ ย้ำคนที่ขยันขันแข็ง และมีความมั่นคงทางจิตใจ จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่บุ่มบ่ามหรือเรื่อยเฉื่อยถึง 4 ปี
มาร์กาเร็ต เคิร์น ผู้ร่วมจัดทำรายงานเปิดเผยกับนิตยสารนิว ไซเอนทิสต์ว่า คนที่ทำงานหนัก มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักวิธีแก้ปัญหา มั่นใจ และมีจุดมุ่งหมายในชีวิต จะมีอายุยืนขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่ตอกย้ำว่า สุขภาพของคนเรามีความเกี่ยวพันแน่นหนากับอารมณ์
ดร.โฮเวิร์ด ฟรายด์แมน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ ผู้นำการวิจัย ได้ทำการศึกษาบุคลิกภาพและอายุขัยโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 8,900 คน
“คนที่มีสติในการครองชีวิตมีอายุยืนกว่าคนอื่นๆ เฉลี่ย 2-4 ปี
“มีหลักฐานที่สามารถอธิบายเรื่องนี้มากมาย เป็นต้นว่าคนที่มีสติมีแนวโน้มต่ำที่จะสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเมามาย หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเกินไป
“นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องจริงที่ว่าคนมีสติดำเนินชีวิตในรูปแบบที่เรียบง่าย มั่นคง และไม่สร้างความกดดันให้ตัวเอง
“สุดท้ายคือ หลักฐานที่บ่งชี้ความเกี่ยวข้องของปัจจัยทางชีววิทยาที่ส่งผลทั้งทางด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ”
ดร.ฟรายด์แมนนำผลการศึกษา 20 ฉบับมาวิเคราะห์รวมกันโดยเปรียบเทียบอายุขัยกับการทดสอบพื้นฐานทางจิตวิทยา ก่อนที่จะเผยแพร่ผลการค้นพบในวารสารเฮลท์ ไซโคโลจี้
สิ่งที่พบคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีสติน้อยที่สุดมีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยมากกว่าคนที่มีสติถึง 50%
หลังจากแบ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดออกเป็นกลุ่มย่อย นักวิจัยพบว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตสูงมีแนวโน้มอายุยืนที่สุด
รองลงมาคือ คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามด้วยคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ
“คนเหล่านี้ถือเป็นสมาชิกชุมชนที่สมควรได้รับการยกย่อง เป็นผู้ที่เสียสละเวลาและพลังงานให้สังคม ให้ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนบ้าน และไว้ใจได้”
งานวิจัยชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สุขภาพของคนเราเกี่ยวพันกับสถานะด้วยเช่นกัน
กล่าวคือผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกมีอายุยืนกว่าคนที่จบเพียงปริญญาตรี และผู้ที่จบปริญญาตรีอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่เคยเรียนระดับอุดมศึกษา ขณะที่นักแสดงที่ได้รางวัลออสการ์อายุยืนกว่านักแสดงที่เพียงไเด้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 3 ปี
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยแนะว่าการทำงานหนักเพื่อให้มีชีวิตยืนยาวไม่ได้หมายถึงการใช้ชีวิตซ้ำซากน่าเบื่อ
หนึ่งในรายงานการศึกษาที่เคิร์นให้ความสนใจคือ แผนภูมิชีวิตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งระบุว่าจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำคนแรกของอเมริกา มีอายุถึง 67 ปี หรือสองเท่าของอายุขัยเฉลี่ยของคนในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
“จอร์จ วอชิงตันเป็นคนที่มีสติและเฉลียวฉลาด แน่นอนว่าเขาไม่ได้ใช้ชีวิตซ้ำซากจำเจ”
รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระบบระเบียบมีอายุยืนรองลงมา
มาร์กาเร็ต เคิร์น ผู้ร่วมจัดทำรายงานเปิดเผยกับนิตยสารนิว ไซเอนทิสต์ว่า คนที่ทำงานหนัก มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักวิธีแก้ปัญหา มั่นใจ และมีจุดมุ่งหมายในชีวิต จะมีอายุยืนขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่ตอกย้ำว่า สุขภาพของคนเรามีความเกี่ยวพันแน่นหนากับอารมณ์
ดร.โฮเวิร์ด ฟรายด์แมน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ริเวอร์ไซด์ ผู้นำการวิจัย ได้ทำการศึกษาบุคลิกภาพและอายุขัยโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 8,900 คน
“คนที่มีสติในการครองชีวิตมีอายุยืนกว่าคนอื่นๆ เฉลี่ย 2-4 ปี
“มีหลักฐานที่สามารถอธิบายเรื่องนี้มากมาย เป็นต้นว่าคนที่มีสติมีแนวโน้มต่ำที่จะสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเมามาย หรือมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเกินไป
“นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องจริงที่ว่าคนมีสติดำเนินชีวิตในรูปแบบที่เรียบง่าย มั่นคง และไม่สร้างความกดดันให้ตัวเอง
“สุดท้ายคือ หลักฐานที่บ่งชี้ความเกี่ยวข้องของปัจจัยทางชีววิทยาที่ส่งผลทั้งทางด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ”
ดร.ฟรายด์แมนนำผลการศึกษา 20 ฉบับมาวิเคราะห์รวมกันโดยเปรียบเทียบอายุขัยกับการทดสอบพื้นฐานทางจิตวิทยา ก่อนที่จะเผยแพร่ผลการค้นพบในวารสารเฮลท์ ไซโคโลจี้
สิ่งที่พบคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีสติน้อยที่สุดมีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยมากกว่าคนที่มีสติถึง 50%
หลังจากแบ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดออกเป็นกลุ่มย่อย นักวิจัยพบว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตสูงมีแนวโน้มอายุยืนที่สุด
รองลงมาคือ คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามด้วยคนที่มีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือ
“คนเหล่านี้ถือเป็นสมาชิกชุมชนที่สมควรได้รับการยกย่อง เป็นผู้ที่เสียสละเวลาและพลังงานให้สังคม ให้ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนบ้าน และไว้ใจได้”
งานวิจัยชิ้นนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สุขภาพของคนเราเกี่ยวพันกับสถานะด้วยเช่นกัน
กล่าวคือผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกมีอายุยืนกว่าคนที่จบเพียงปริญญาตรี และผู้ที่จบปริญญาตรีอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่เคยเรียนระดับอุดมศึกษา ขณะที่นักแสดงที่ได้รางวัลออสการ์อายุยืนกว่านักแสดงที่เพียงไเด้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลถึง 3 ปี
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยแนะว่าการทำงานหนักเพื่อให้มีชีวิตยืนยาวไม่ได้หมายถึงการใช้ชีวิตซ้ำซากน่าเบื่อ
หนึ่งในรายงานการศึกษาที่เคิร์นให้ความสนใจคือ แผนภูมิชีวิตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งระบุว่าจอร์จ วอชิงตัน ผู้นำคนแรกของอเมริกา มีอายุถึง 67 ปี หรือสองเท่าของอายุขัยเฉลี่ยของคนในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
“จอร์จ วอชิงตันเป็นคนที่มีสติและเฉลียวฉลาด แน่นอนว่าเขาไม่ได้ใช้ชีวิตซ้ำซากจำเจ”
รายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระบบระเบียบมีอายุยืนรองลงมา