เมื่อบุคคลทั่วไปกระทำผิดกฎหมาย และมีผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นแจ้งความดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และถ้าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความ ก็จะเรียกตัวผู้ต้องหากระทำผิดมาทำการสอบสวน เพื่อเป็นหลักฐานก่อนที่จะส่งต่อให้พนักงานอัยการพิจารณาฟ้องร้องต่อศาลในกรณีที่มีหลักฐานพอฟ้อง และสั่งไม่ฟ้อง หากพบว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะส่งฟ้องได้
แต่ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการประจำ เมื่อมีผู้แจ้งความดำเนินคดีก็จะเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.พิจารณาสอบสวนหาหลักฐาน ข้อเท็จจริง รวมไปถึงประเด็นกฎหมายที่ว่าด้วยความผิดของข้าราชการ และหากพบว่ามีความผิดก็จะลงโทษทางวินัย ซึ่งมีโทษหนักเบาแตกต่างกันไปตามประเภทของความผิด มีตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก และไล่ออก
ในกรณีที่มีโทษถึงขั้นให้ออกและไล่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทษขั้นไล่ออกเนื่องจากผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจะต้องมีการส่งฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีลงโทษทางอาญาต่อไปตามประเภทของข้าราชการ ถ้าเป็นข้าราชการการเมืองก็จะส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าเป็นข้าราชการพลเรือนก็ส่งฟ้องศาลสถิตยุติธรรมเหมือนกับบุคคลทั่วไป จะแตกต่างกันระหว่างบุคคลทั่วไปกับข้าราชการพลเรือนก็คือ ขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรมที่บุคคลทั่วไปเริ่มที่ตำรวจ แต่ข้าราชการประจำรวมถึงข้าราชการการเมืองเริ่มที่ ป.ป.ช.
ไม่ว่าจะเริ่มกระบวนการยุติธรรมที่ตำรวจหรือเริ่มที่ ป.ป.ช.ผลสุดท้ายถ้าไม่มีความผิดก็จะพ้นผิดด้วยคำสั่งของศาล ในทางกลับกัน ถ้ามีความผิดก็จะต้องได้รับโทษตามคำสั่งของศาลเช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ สถาบันศาลจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ทั้งในฐานะโจทก์และจำเลย กล่าวคือ ถ้าโจทก์ได้รับความเป็นธรรมด้วยการชนะคดี ก็แปลว่าจำเลยได้รับโทษในฐานะผู้แพ้คดี
ในทางกลับกัน ถ้าโจทก์แพ้คดีจำเลยก็ได้รับความเป็นธรรมในฐานะผู้ชนะคดี ส่วนการแพ้หรือชนะคดีของโจทก์และจำเลย ในความเป็นจริงจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและความยุติธรรมของตุลาการเป็นหลัก มิได้ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้มีอยู่บ้างที่มีผู้ได้รับโทษทั้งๆ ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากพยานหลักฐานแน่นหนาจนทำให้น่าเชื่อได้ว่า กระทำผิด ในทางกลับกันผู้กระทำผิดไม่ได้รับโทษ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่ากระทำผิด
จากนัยดังกล่าวข้างต้น กระบวนการยุติธรรมจะเป็นที่พึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงไปตรงมา และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนได้ก็จะต้องมี 2 องค์ประกอบหลัก คือ
1. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสอบสวนเบื้องต้น อันได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ป.ป.ช.อันเป็นบันไดขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรม
2. ความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ และคุณธรรมกำกับการใช้วิชาการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในทุกภาคส่วน เริ่มตั้งแต่ขั้นสอบสวนไปจนถึงขั้นพิพากษาตัดสินคดีความ
ถ้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการดังกล่าวครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อได้ว่าผู้คนในสังคมจะได้รับความเป็นธรรมแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้และเวลานี้กระบวนการยุติธรรมของประเทศถือได้ว่าดีขึ้น เมื่อเปรียบกับในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตที่เพิ่งจะผ่านมา 4-5 ปีมานี้ ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ประชาชนได้ให้ความสนใจ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันให้กระบวนการยุติธรรมขับเคลื่อนได้รวดเร็วขึ้น และมีความกล้าพอที่จะทำงานได้อย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจากอำนาจแฝงเร้นเข้าแทรกแซง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแฝงเร้นจากการเมือง
2. ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายการเมืองที่ทำหน้าที่บริหาร คือรัฐบาลได้เอาจริงเอาจังกับการใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในสังคม จึงทำให้การดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทำงานได้ง่ายขึ้น
จากเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลงานในด้านการใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำคนผิดให้ได้รับโทษ และทำให้คนถูกแต่ถูกข้อหาว่ากระทำผิดได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระมีมากขึ้น
ในจำนวนผู้กระทำผิดแล้วได้รับโทษที่เห็นได้ชัดเจน และปรากฏเป็นรูปธรรมคือ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล หนึ่งในจำนวนกรรมการที่พิจารณาแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 4 คน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ พร้อมมีความผิดวินัยร้ายแรง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามข่าวนี้มาตลอด ก็พอจะมองเห็นความถูกต้องและเป็นธรรมอันเกิดจากกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ภายใต้ความรับผิดชอบของ ป.ป.ช.ได้อย่างชัดเจน เพราะการแต่งตั้งในครั้งนั้นได้มีผู้ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง และศาลปกครองได้วินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องมีผลให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งมีอันต้องรับผล และผู้ได้รับการแต่งตั้งมีอันต้องพ้นจากตำแหน่งไป
แต่ปรากฏว่าทางด้านปลัดกระทรวงการคลังมิได้ดำเนินการใดๆ คงปล่อยให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งต่อไป จึงเท่ากับว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง
ด้วยเหตุนี้ การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ก็เท่ากับยืนยันความผิดโดยการปฏิบัติ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบให้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมีข้าราชการใหญ่น้อยทั้งหลายยึดมา และจดจำไว้เป็นตัวอย่างและท่องให้ขึ้นใจว่าอย่าทำหรืองดเว้นการกระทำที่จะก่อให้เกิดความผิดในทำนองนี้ ไม่ว่าจะด้วยหวังผลตอบแทนหรือจะด้วยไม่หวังผลตอบแทน แต่อาศัยความดื้อรั้นอันเป็นนิสัยพื้นฐานของแต่ละบุคคล เพราะผลที่ได้รับจะเหมือนกันคือตนเองและครอบครัวเดือดร้อน
แต่ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการประจำ เมื่อมีผู้แจ้งความดำเนินคดีก็จะเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.พิจารณาสอบสวนหาหลักฐาน ข้อเท็จจริง รวมไปถึงประเด็นกฎหมายที่ว่าด้วยความผิดของข้าราชการ และหากพบว่ามีความผิดก็จะลงโทษทางวินัย ซึ่งมีโทษหนักเบาแตกต่างกันไปตามประเภทของความผิด มีตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก และไล่ออก
ในกรณีที่มีโทษถึงขั้นให้ออกและไล่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทษขั้นไล่ออกเนื่องจากผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจะต้องมีการส่งฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีลงโทษทางอาญาต่อไปตามประเภทของข้าราชการ ถ้าเป็นข้าราชการการเมืองก็จะส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าเป็นข้าราชการพลเรือนก็ส่งฟ้องศาลสถิตยุติธรรมเหมือนกับบุคคลทั่วไป จะแตกต่างกันระหว่างบุคคลทั่วไปกับข้าราชการพลเรือนก็คือ ขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรมที่บุคคลทั่วไปเริ่มที่ตำรวจ แต่ข้าราชการประจำรวมถึงข้าราชการการเมืองเริ่มที่ ป.ป.ช.
ไม่ว่าจะเริ่มกระบวนการยุติธรรมที่ตำรวจหรือเริ่มที่ ป.ป.ช.ผลสุดท้ายถ้าไม่มีความผิดก็จะพ้นผิดด้วยคำสั่งของศาล ในทางกลับกัน ถ้ามีความผิดก็จะต้องได้รับโทษตามคำสั่งของศาลเช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ สถาบันศาลจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ทั้งในฐานะโจทก์และจำเลย กล่าวคือ ถ้าโจทก์ได้รับความเป็นธรรมด้วยการชนะคดี ก็แปลว่าจำเลยได้รับโทษในฐานะผู้แพ้คดี
ในทางกลับกัน ถ้าโจทก์แพ้คดีจำเลยก็ได้รับความเป็นธรรมในฐานะผู้ชนะคดี ส่วนการแพ้หรือชนะคดีของโจทก์และจำเลย ในความเป็นจริงจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและความยุติธรรมของตุลาการเป็นหลัก มิได้ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้มีอยู่บ้างที่มีผู้ได้รับโทษทั้งๆ ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากพยานหลักฐานแน่นหนาจนทำให้น่าเชื่อได้ว่า กระทำผิด ในทางกลับกันผู้กระทำผิดไม่ได้รับโทษ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่ากระทำผิด
จากนัยดังกล่าวข้างต้น กระบวนการยุติธรรมจะเป็นที่พึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงไปตรงมา และเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนได้ก็จะต้องมี 2 องค์ประกอบหลัก คือ
1. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสอบสวนเบื้องต้น อันได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ป.ป.ช.อันเป็นบันไดขั้นต้นของกระบวนการยุติธรรม
2. ความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ และคุณธรรมกำกับการใช้วิชาการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในทุกภาคส่วน เริ่มตั้งแต่ขั้นสอบสวนไปจนถึงขั้นพิพากษาตัดสินคดีความ
ถ้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการดังกล่าวครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อได้ว่าผู้คนในสังคมจะได้รับความเป็นธรรมแน่นอน
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้และเวลานี้กระบวนการยุติธรรมของประเทศถือได้ว่าดีขึ้น เมื่อเปรียบกับในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตที่เพิ่งจะผ่านมา 4-5 ปีมานี้ ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ประชาชนได้ให้ความสนใจ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันให้กระบวนการยุติธรรมขับเคลื่อนได้รวดเร็วขึ้น และมีความกล้าพอที่จะทำงานได้อย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจากอำนาจแฝงเร้นเข้าแทรกแซง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแฝงเร้นจากการเมือง
2. ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายการเมืองที่ทำหน้าที่บริหาร คือรัฐบาลได้เอาจริงเอาจังกับการใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในสังคม จึงทำให้การดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทำงานได้ง่ายขึ้น
จากเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลงานในด้านการใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำคนผิดให้ได้รับโทษ และทำให้คนถูกแต่ถูกข้อหาว่ากระทำผิดได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระมีมากขึ้น
ในจำนวนผู้กระทำผิดแล้วได้รับโทษที่เห็นได้ชัดเจน และปรากฏเป็นรูปธรรมคือ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล หนึ่งในจำนวนกรรมการที่พิจารณาแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 4 คน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ พร้อมมีความผิดวินัยร้ายแรง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าท่านผู้อ่านได้ติดตามข่าวนี้มาตลอด ก็พอจะมองเห็นความถูกต้องและเป็นธรรมอันเกิดจากกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ภายใต้ความรับผิดชอบของ ป.ป.ช.ได้อย่างชัดเจน เพราะการแต่งตั้งในครั้งนั้นได้มีผู้ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง และศาลปกครองได้วินิจฉัยว่าไม่ถูกต้องมีผลให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งมีอันต้องรับผล และผู้ได้รับการแต่งตั้งมีอันต้องพ้นจากตำแหน่งไป
แต่ปรากฏว่าทางด้านปลัดกระทรวงการคลังมิได้ดำเนินการใดๆ คงปล่อยให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งต่อไป จึงเท่ากับว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง
ด้วยเหตุนี้ การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ก็เท่ากับยืนยันความผิดโดยการปฏิบัติ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบให้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมีข้าราชการใหญ่น้อยทั้งหลายยึดมา และจดจำไว้เป็นตัวอย่างและท่องให้ขึ้นใจว่าอย่าทำหรืองดเว้นการกระทำที่จะก่อให้เกิดความผิดในทำนองนี้ ไม่ว่าจะด้วยหวังผลตอบแทนหรือจะด้วยไม่หวังผลตอบแทน แต่อาศัยความดื้อรั้นอันเป็นนิสัยพื้นฐานของแต่ละบุคคล เพราะผลที่ได้รับจะเหมือนกันคือตนเองและครอบครัวเดือดร้อน