ตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามขยายตัวไปทั่วทั้งในยุโรปและเอเชีย จนในที่สุดส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาทางการเมืองอีกด้านหนึ่งด้วย จากปัญหา 2 ประการข้างต้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รวมถึงนักธุรกิจ ผู้บริโภค ตลอดจนนักวิชาการบางท่าน มองเศรษฐกิจในแง่ลบมากขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงเศรษฐกิจขาลงอย่างรุนแรงเช่นปัจจุบัน ก็มักจะมีข่าวในทางลบต่อเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยิ่งทำให้มีการมองภาพเศรษฐกิจเลวร้ายเกินความจริง
ตัวอย่างของการมองเศรษฐกิจในแง่ร้ายเกินไปก็เช่น ในช่วงแรกของปีที่ผ่านมาที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและส่งผลให้เงินเฟ้อขยายตัว ก็มีการแสดงความเห็นจากหลายฝ่ายว่าอาจจะเกิดปัญหา Stagflation (เศรษฐกิจซบเซาและเงินเฟ้อสูง) ขี้นในประเทศ และเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อลดลงมากก็มีความเห็นกันว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืดหรือ Deflation ซึ่งผมได้เคยเขียนบทความที่ไม่เห็นด้วยกับทั้งแนวความคิดว่าประเทศไทยจะเกิดปัญหา Stagflation และ Deflation ไปแล้ว และจากสถานการณ์เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2551 ก็พิสูจน์ได้ว่า ประเทศไทยไม่ได้เกิดปัญหา Stagflation ซึ่งเป็นไปตามที่ผมคาดไว้ และครั้งนี้ ผมก็คาดว่าในอนาคตข้อมูลเศรษฐกิจจะชี้ว่าประเทศไทยก็ไม่มีภาวะเงินฝืดเช่นเดียวกัน
ล่าสุดได้มีการนำเหตุการณ์มหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกหรือ The Great Depression ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 มาเปรียบเทียบกับวิกฤติการเงินครั้งนี้ ซึ่งผมก็มีความเห็นเหมือนกับกรณี Stagflation และ Deflation ว่า สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังห่างไกลอย่างมากต่อการกลายเป็นมหาวิกฤติและเป็นการวิตกกังวลมากเกินไป
ผมขอเล่าสถานการณ์และสาเหตุของการเกิด The Great Depression คร่าวๆ ก่อนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคืออะไร ปัญหาในครั้งนั้นเริ่มจากสหรัฐฯและลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติของโลก โดยเริ่มจากการทรุดตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯในปี 1929 (พ.ศ. 2472) ซึ่งในที่สุดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ลดลงถึงร้อยละ 80 จากระดับสูงสุด ตามด้วยการหดตัวอย่างรุนแรงของการใช้จ่ายในการบริโภค ขณะเดียวกันก็เกิดภาวะแห้งแล้งทำให้พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์ก็ลดลงไปด้วยตามสภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวอย่างรุนแรงและยืดเยื้อจากปี 1930 ต่อเนื่องไปจนเกือบตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930 อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 25 ในปี 1933 เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนแตกตี่นรีบถอนเงินจากธนาคาร (Bank run) จนทำให้ธนาคารล้มละลายมากถึง 9,000 แห่ง ปัญหาทั้งหมดทำให้กว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวก็กลางคริสต์ทศวรรษ 1940
ในช่วง The Great Depression ปัญหาเกิดในสหรัฐฯ และลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ผ่านการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก สิ่งสำคัญก็คือ สหรัฐฯ (และต่อมาตามด้วยประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ) ได้หันมาใช้นโยบายการกีดกันการค้า (Protectionist Policy) อย่างรุนแรง โดยออกกฎหมายขึ้นภาษีนำเข้าเรียกว่า Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 และใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับคู่ค้าที่มีการกีดกันการค้า จนในที่สุดหลายประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าพร้อมๆ กัน ทำให้การค้าระหว่างประเทศทรุดตัวลงมาก และนำไปสู่การหดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศ
แนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิด The Great Depression มีหลากหลาย ผมขอสรุปแนวความคิดที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัญหาเริ่มจากการขยายปริมาณเงินมากเกินไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 จนเกิดปัญหาฟองสบู่ทั้งในตลาดทุน ตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์แต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันในเรื่องความรุนแรงของปัญหา
แนวความคิดของ Keynes หรือกลุ่ม Keynesian กล่าวว่า การแตกของฟองสบู่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจคือปัญหาเงินฝืด เนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ จึงเกิดการลดลงของราคาสินค้าอย่างยืดเยื้อจากการที่อุปสงค์ต่ำกว่าอุปทานอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันรัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับพยายามรักษาให้งบประมาณสมดุล ทำให้ในที่สุดเกิดการขาดความมั่นใจและเกิดความตื่นตระหนกจนนำไปสู่วิกฤติที่รุนแรง
ขณะที่ ศาสตราจารย์ Irving Fisher ได้อธิบายถึงสาเหตุหลักของการล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์และกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรง เพราะมีการก่อหนี้จำนวนมาก โดยเฉพาะหนี้เพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ (Margin Loan) โดยสามารถกู้ได้ถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าหลักทรัพย์ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงทำให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกสินเชื่อคืนหรือเรียกเงินค้ำประกันเพิ่ม ผู้ลงทุนไม่มีเงินคืนจึงนำไปสู่การไม่ชำระหนี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทรุดตัวลงอย่างรุนแรง
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มอื่น เช่น กลุ่ม Austrian และกลุ่ม Monetarist (รวมถึงประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คนปัจจุบันคือ Bernanke) เชื่อว่าสาเหตุที่วิกฤติรุนแรงมาก มาจากเมื่อเกิดวิกฤติ Fed ปรับลดปริมาณเงินลงถึง 1 ใน 3 ในช่วงตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1933 ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องตึงตัวอย่างฉับพลัน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของตลาดทุน การล้มละลายของธุรกิจ และธนาคารจำนวนมากต้องปิดตัวลง
ผมขอสรุปง่ายๆ ว่า The Great Depression มาจากนโยบายการเงินที่ผิดพลาด โดยเริ่มจากการให้ปริมาณเงินขยายตัวมากเกินไปจนนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ที่รุนแรง ประกอบกับการขาดการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ที่ดี ทำให้มีการให้สินเชื่อแบบ Margin Loan สูงมาก ขณะที่ Fed ได้ใช้มาตรการการเงินผิดซ้ำสอง ด้วยการลดปริมาณเงินลงทำให้ฟองสบู่แตกอย่างรุนแรง และเกิดการล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ภาครัฐก็ไม่ได้เข้าไปดูแลสถาบันการเงิน ปล่อยให้เกิดการล้มละลายจำนวนมากจนเกิดการตื่นตระหนกและกลายเป็นวิกฤติที่รุนแรง ขณะที่นโยบายการคลังก็ไม่ได้ช่วยบรรเทาปัญหาโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับวิธีการแก้ปัญหาด้วยการกีดกันทางการค้า ก็นำไปสู่การล่มสลายของการค้าระหว่างประเทศ จึงทำให้วิกฤติรุนแรงยิ่งขึ้น
ผมอยากชี้ให้เห็นว่า แม้ที่มาของวิกฤติในปัจจุบันจะคล้ายกับ The Great Depression คือนโยบายการเงินที่ผิดพลาดซึ่งนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ และเมื่อเกิดการแตกของฟองสบู่ก็ทำให้เกิดวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจ แต่การแก้ปัญหาตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง โดยในปัจจุบัน Fed และธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย (เพิ่มปริมาณเงิน) อย่างรวดเร็วและอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินอย่างเต็มที่ พร้อมกับมีการค้ำประกันเงินฝาก ตลอดจนเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินล้มละลาย ขณะเดียวกันรัฐบาลเกือบทุกประเทศก็พยายามเพิ่มและเร่งการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อบรรเทาปัญหาการทรุดตัวของอุปสงค์ และท้ายที่สุด เท่าที่ผ่านมายังไม่มีประเทศใดใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อแก้ปัญหาของตน อีกทั้งข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีขององค์การการค้าโลกทำให้การกีดกันการค้าเป็นไปได้ยากขึ้น จากเหตุผลที่ผมกล่าวมาแล้ว ผมเชื่อว่าวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันยังห่างไกลจากมหาวิกฤติ หรือ The Great Depression ในอดีตมาก ซึ่งในเบื้องต้นก็ดูได้จากจำนวนธนาคารที่ล้มละลายทั่วโลกจากวิกฤติครั้งนี้ยังต่ำกว่าร้อยแห่งซึ่งน้อยกว่าเมื่อครั้งที่เกิด The Great Depression อย่างเทียบกันไม่ได้ ขณะที่ล่าสุดอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 แม้ว่าจะสูงมากและอาจจะสูงกว่าร้อยละ 10 ได้ในอนาคต แต่ก็ยังต่ำกว่าร้อยละ 25 ที่เคยเกิดขึ้นใน The Great Depression
ผมมีความเห็นว่า แม้การระมัดระวังเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดี แต่ทว่าเราไม่ควรจะประเมินสถานการณ์ให้เลวร้ายเกินความเป็นจริงอย่างมาก เพราะผมคิดว่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากจะยิ่งบั่นทอนขวัญและกำลังใจของธุรกิจและประชาชนให้แย่ยิ่งขึ้น เราจึงควรเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการของปัญหาเศรษฐกิจโลกด้วยการใช้ข้อมูล ความรู้ และการวิเคราะห์อย่างมีสติรอบคอบ
สุดท้าย ผมขอย้ำว่าเราไม่ควรต้องกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับ The Great Depression อีกครั้ง เพราะสถานการณ์ของปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังห่างไกลจากคำคำนั้นมาก
ตัวอย่างของการมองเศรษฐกิจในแง่ร้ายเกินไปก็เช่น ในช่วงแรกของปีที่ผ่านมาที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและส่งผลให้เงินเฟ้อขยายตัว ก็มีการแสดงความเห็นจากหลายฝ่ายว่าอาจจะเกิดปัญหา Stagflation (เศรษฐกิจซบเซาและเงินเฟ้อสูง) ขี้นในประเทศ และเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อลดลงมากก็มีความเห็นกันว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืดหรือ Deflation ซึ่งผมได้เคยเขียนบทความที่ไม่เห็นด้วยกับทั้งแนวความคิดว่าประเทศไทยจะเกิดปัญหา Stagflation และ Deflation ไปแล้ว และจากสถานการณ์เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2551 ก็พิสูจน์ได้ว่า ประเทศไทยไม่ได้เกิดปัญหา Stagflation ซึ่งเป็นไปตามที่ผมคาดไว้ และครั้งนี้ ผมก็คาดว่าในอนาคตข้อมูลเศรษฐกิจจะชี้ว่าประเทศไทยก็ไม่มีภาวะเงินฝืดเช่นเดียวกัน
ล่าสุดได้มีการนำเหตุการณ์มหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกหรือ The Great Depression ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 มาเปรียบเทียบกับวิกฤติการเงินครั้งนี้ ซึ่งผมก็มีความเห็นเหมือนกับกรณี Stagflation และ Deflation ว่า สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังห่างไกลอย่างมากต่อการกลายเป็นมหาวิกฤติและเป็นการวิตกกังวลมากเกินไป
ผมขอเล่าสถานการณ์และสาเหตุของการเกิด The Great Depression คร่าวๆ ก่อนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคืออะไร ปัญหาในครั้งนั้นเริ่มจากสหรัฐฯและลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติของโลก โดยเริ่มจากการทรุดตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯในปี 1929 (พ.ศ. 2472) ซึ่งในที่สุดดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ลดลงถึงร้อยละ 80 จากระดับสูงสุด ตามด้วยการหดตัวอย่างรุนแรงของการใช้จ่ายในการบริโภค ขณะเดียวกันก็เกิดภาวะแห้งแล้งทำให้พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรและโภคภัณฑ์ก็ลดลงไปด้วยตามสภาวะเศรษฐกิจ ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวอย่างรุนแรงและยืดเยื้อจากปี 1930 ต่อเนื่องไปจนเกือบตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930 อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 25 ในปี 1933 เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนแตกตี่นรีบถอนเงินจากธนาคาร (Bank run) จนทำให้ธนาคารล้มละลายมากถึง 9,000 แห่ง ปัญหาทั้งหมดทำให้กว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวก็กลางคริสต์ทศวรรษ 1940
ในช่วง The Great Depression ปัญหาเกิดในสหรัฐฯ และลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ผ่านการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก สิ่งสำคัญก็คือ สหรัฐฯ (และต่อมาตามด้วยประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ) ได้หันมาใช้นโยบายการกีดกันการค้า (Protectionist Policy) อย่างรุนแรง โดยออกกฎหมายขึ้นภาษีนำเข้าเรียกว่า Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 และใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับคู่ค้าที่มีการกีดกันการค้า จนในที่สุดหลายประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าพร้อมๆ กัน ทำให้การค้าระหว่างประเทศทรุดตัวลงมาก และนำไปสู่การหดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศ
แนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิด The Great Depression มีหลากหลาย ผมขอสรุปแนวความคิดที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย คือนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัญหาเริ่มจากการขยายปริมาณเงินมากเกินไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 จนเกิดปัญหาฟองสบู่ทั้งในตลาดทุน ตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์แต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันในเรื่องความรุนแรงของปัญหา
แนวความคิดของ Keynes หรือกลุ่ม Keynesian กล่าวว่า การแตกของฟองสบู่นำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจคือปัญหาเงินฝืด เนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ จึงเกิดการลดลงของราคาสินค้าอย่างยืดเยื้อจากการที่อุปสงค์ต่ำกว่าอุปทานอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันรัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับพยายามรักษาให้งบประมาณสมดุล ทำให้ในที่สุดเกิดการขาดความมั่นใจและเกิดความตื่นตระหนกจนนำไปสู่วิกฤติที่รุนแรง
ขณะที่ ศาสตราจารย์ Irving Fisher ได้อธิบายถึงสาเหตุหลักของการล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์และกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรง เพราะมีการก่อหนี้จำนวนมาก โดยเฉพาะหนี้เพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ (Margin Loan) โดยสามารถกู้ได้ถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าหลักทรัพย์ เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงทำให้บริษัทหลักทรัพย์เรียกสินเชื่อคืนหรือเรียกเงินค้ำประกันเพิ่ม ผู้ลงทุนไม่มีเงินคืนจึงนำไปสู่การไม่ชำระหนี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ทรุดตัวลงอย่างรุนแรง
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มอื่น เช่น กลุ่ม Austrian และกลุ่ม Monetarist (รวมถึงประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คนปัจจุบันคือ Bernanke) เชื่อว่าสาเหตุที่วิกฤติรุนแรงมาก มาจากเมื่อเกิดวิกฤติ Fed ปรับลดปริมาณเงินลงถึง 1 ใน 3 ในช่วงตั้งแต่ปี 1929 ถึง 1933 ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องตึงตัวอย่างฉับพลัน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของตลาดทุน การล้มละลายของธุรกิจ และธนาคารจำนวนมากต้องปิดตัวลง
ผมขอสรุปง่ายๆ ว่า The Great Depression มาจากนโยบายการเงินที่ผิดพลาด โดยเริ่มจากการให้ปริมาณเงินขยายตัวมากเกินไปจนนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ที่รุนแรง ประกอบกับการขาดการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ที่ดี ทำให้มีการให้สินเชื่อแบบ Margin Loan สูงมาก ขณะที่ Fed ได้ใช้มาตรการการเงินผิดซ้ำสอง ด้วยการลดปริมาณเงินลงทำให้ฟองสบู่แตกอย่างรุนแรง และเกิดการล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ภาครัฐก็ไม่ได้เข้าไปดูแลสถาบันการเงิน ปล่อยให้เกิดการล้มละลายจำนวนมากจนเกิดการตื่นตระหนกและกลายเป็นวิกฤติที่รุนแรง ขณะที่นโยบายการคลังก็ไม่ได้ช่วยบรรเทาปัญหาโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับวิธีการแก้ปัญหาด้วยการกีดกันทางการค้า ก็นำไปสู่การล่มสลายของการค้าระหว่างประเทศ จึงทำให้วิกฤติรุนแรงยิ่งขึ้น
ผมอยากชี้ให้เห็นว่า แม้ที่มาของวิกฤติในปัจจุบันจะคล้ายกับ The Great Depression คือนโยบายการเงินที่ผิดพลาดซึ่งนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ และเมื่อเกิดการแตกของฟองสบู่ก็ทำให้เกิดวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจ แต่การแก้ปัญหาตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง โดยในปัจจุบัน Fed และธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย (เพิ่มปริมาณเงิน) อย่างรวดเร็วและอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินอย่างเต็มที่ พร้อมกับมีการค้ำประกันเงินฝาก ตลอดจนเพิ่มทุนให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินล้มละลาย ขณะเดียวกันรัฐบาลเกือบทุกประเทศก็พยายามเพิ่มและเร่งการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อบรรเทาปัญหาการทรุดตัวของอุปสงค์ และท้ายที่สุด เท่าที่ผ่านมายังไม่มีประเทศใดใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อแก้ปัญหาของตน อีกทั้งข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีขององค์การการค้าโลกทำให้การกีดกันการค้าเป็นไปได้ยากขึ้น จากเหตุผลที่ผมกล่าวมาแล้ว ผมเชื่อว่าวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันยังห่างไกลจากมหาวิกฤติ หรือ The Great Depression ในอดีตมาก ซึ่งในเบื้องต้นก็ดูได้จากจำนวนธนาคารที่ล้มละลายทั่วโลกจากวิกฤติครั้งนี้ยังต่ำกว่าร้อยแห่งซึ่งน้อยกว่าเมื่อครั้งที่เกิด The Great Depression อย่างเทียบกันไม่ได้ ขณะที่ล่าสุดอัตราการว่างงานของสหรัฐฯในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 แม้ว่าจะสูงมากและอาจจะสูงกว่าร้อยละ 10 ได้ในอนาคต แต่ก็ยังต่ำกว่าร้อยละ 25 ที่เคยเกิดขึ้นใน The Great Depression
ผมมีความเห็นว่า แม้การระมัดระวังเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดี แต่ทว่าเราไม่ควรจะประเมินสถานการณ์ให้เลวร้ายเกินความเป็นจริงอย่างมาก เพราะผมคิดว่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากจะยิ่งบั่นทอนขวัญและกำลังใจของธุรกิจและประชาชนให้แย่ยิ่งขึ้น เราจึงควรเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการของปัญหาเศรษฐกิจโลกด้วยการใช้ข้อมูล ความรู้ และการวิเคราะห์อย่างมีสติรอบคอบ
สุดท้าย ผมขอย้ำว่าเราไม่ควรต้องกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับ The Great Depression อีกครั้ง เพราะสถานการณ์ของปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังห่างไกลจากคำคำนั้นมาก