รอยเตอร์ - สงคราม 2 สมรภูมิที่ยังยืดเยื้อ เศรษฐกิจดิ่งเหวสู่ภาวะถดถอย การขาดดุลงบประมาณครั้งมโหฬารเหยียบ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาพลักษณ์ประเทศที่เสียหายไปทั่วโลก คือสภาพการณ์โดยรวมของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชทิ้งไว้ให้เป็นภารกิจหนักสำหรับบารัค โอบามา ผู้กำลังจะเข้าสาบานตนรับตำแหน่งผู้นำอเมริกันในวันที่ 20 มกราคม
มรดกตกทอดที่บุชทิ้งเอาไว้นี้ นับว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อยไปกว่าเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์อำลาตำแหน่งไป โดยทิ้งให้แฟรงคลิน รูสเวลต์ เข้ารับช่วงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงทั่วโลก และแม้ว่าบุชรวมทั้งผู้ที่จงรักภักดีต่อเขาจะยืนกรานว่าประวัติศาสตร์จะมีมุมมองใหม่ต่อปัญหาทั้งหมดนี้ แต่ตอนนี้พวกนักประวัติศาสตร์ก็เริ่มถกเถียงกันแล้วว่า จะจัดให้บุชอยู่ในกลุ่มของประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์, วอร์เรน ฮาร์ดิง และเจมส์ บูคานัน ดีหรือไม่
นักวิชาการบางรายเห็นว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินอย่างเด็ดขาดเช่นนั้น แต่หลายคนก็มีข้อสรุปไว้ในใจแล้ว อย่างเช่นเชอร์ลีย์ แอนน์ วอร์ชอว์ นักรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเกตตีสเบอร์ก แห่งเพนซิลเวเนีย บอกว่า "ยังมีใครที่ยังสงสัยได้อีกหรือว่านี่คือประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดจริงหรือไม่ ทั้งหลายทั้งปวงที่เขาทิ้งไว้ก็บอกอยู่แล้วเขาควรอยู่ในกลุ่มนี้ขนาดไหน"
ในยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน วีรบุรุษในสายตาของบุชและเป็นคนของพรรครีพับลิกันเช่นเดียวกัน เรแกนเคยเอ่ยปากถามชาวอเมริกันว่าพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าเมื่อครั้งที่จิมมี คาร์เตอร์จากพรรคเดโมแครตเป็นประธานาธิบดีหรือไม่ ซึ่งถ้ายึดมาตรฐานเดียวกันนี้ บุชย่อมไม่อาจเทียบชั้นได้เลย เพราะเขากำลังจะยุติบทบาทหลังดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ นานถึง 8 ปี พร้อมกับการได้คะแนนนิยมต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้เสียงสนับสนุนบุชอย่างท่วมท้นหลังเกิดเหตุการณ์ "11 กันยา 2001" ได้กลายเป็นเพียงเรื่องในอดีต เพราะต่อมาประชาชนไม่พอใจเขาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามในอิรัก การรับมืออย่างล่าช้ากับหายนภัยจากเฮอร์ริเคนแคททรินา และล่าสุดก็คือการล้มละลายของวอลล์วตรีท และกลายมาเป็นวิกฤตทางการเงินโลกครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 80 ปี ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ก็สูงสุดในรอบ 16 ปี ตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์พังพินาศ และชาวอเมริกันอยู่ในสภาพถังแตกไร้เงินออม ทั้งหมดนี้ทำให้บุชเป็นประธานาธิบดีในยุคสมัยใหม่ที่มีคะแนนนิยมต่ำสุดคนหนึ่งเมื่ออำลาตำแหน่ง
ทว่าหากมองในด้านดีก็ต้องถือว่าความสำเร็จสูงสุดของบุชในประเทศก็คือ การที่ไม่เคยเกิดเหตุโจมตีบนแผ่นดินสหรัฐฯ อีกเลยนับจากเหตุการณ์ "11 กันยา" เป็นต้นมา
**ผลงานด้านนโยบายต่างประเทศ**
มรดกของบุชในด้านต่างประเทศนั้นจะขึ้นอยู่กับประเด็นเรื่องอิรักเป็นสำคัญ ซึ่งโอบามาจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องยุทธศาสตร์การถอนทหารและฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ให้คืนกลับมา
เมื่อเดือนที่แล้ว บุชได้เดินทางเยือนกรุงแบกแดดด้วยความหวังว่าจะทำคะแนนในเรื่องความมั่นคง แต่เขากลับถูกผู้สื่อข่าวชาวอิรักคนหนึ่งปารองเท้าใส่ด้วยความโกรธแค้น นั่นแสดงว่าบุชได้ทิ้งปัญหานโยบายต่างประเทศที่ยังสะสางไม่เรียบร้อยไว้ให้โอบามาด้วย
ส่วนกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็น่าจะเป็นปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดสำหรับโอบามาด้วยเช่นกัน และจะเป็นการทดสอบคำมั่นสัญญาของเขาที่ว่าจะใช้แนวทางการเจรจากับรัฐบาลอิหร่านโดยตรงแทนที่จะยึดแนวทางโดดเดี่ยวทางการทูตตามแบบของบุช
ที่อัฟกานิสถาน นักวิเคราะห์การเมืองบอกว่าเป็นจุดอ่อนที่บุชละเลยไปเพราะมัวทุ่มเทความสนใจกับปัญหาอิรัก ทั้งๆ ที่กลุ่มตอลิบานกำลังฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และยังต้องล่าตัวอุซามะห์ บินลาดินให้ไดิ้
กรณีอิสราเอล บุชพยายามน้อยเกินไปและช้าเกินไปในเรื่องการสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ สงครามในฉนวนกาซาที่กำลังปะทุอยู่ในขณะนี้เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดี และแม้โอบามาให้สัญญาไว้ว่าจะแก้ปัญหาตะวันออกกลางให้ชัดเจนขึ้น แต่โลกอาหรับก็ยังมองว่าสหรัฐฯ นั้นมีความลำเอียงเข้าข้างอิสราเอลเรื่อยมา นี่จึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งจากนโยบายของบุชเช่นกัน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงมรดกอื่นๆ อีก อาทิ กรณีการค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโมซึ่งถูกนักสิทธิมนุษยชนประณามมาตลอด และกรณีที่บุชขัดแย้งกับยุโรปเมื่อเขาปฏิเสธที่จะจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก
อย่างไรก็ตาม บุชได้รับคำชมอยู่บ้างในเรื่องนโยบายต่างประเทศจากการที่เขาสานความสัมพันธ์กับอินเดียให้แน่นแฟ้นขึ้น และผลักดันให้จีนออกมามีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งเรื่องการต่อสู้กับโรคเอดส์ในแอฟริกาด้วย
**วิกฤตหนักระดับ"หนเดียวในรอบร้อยปี"**
คงต้องนับว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ใหญ่โตมหึมาระดับเกิด "หนเดียวในรอบ100ปี" คือมรดกชิ้นใหญ่ที่สุดของบุช และเกิดขึ้นหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งผู้นำมาได้หกปี โดยก่อนหน้านี้ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับดีชนิดที่ประธานาธิบดีหลายคนอาจนึกอิจฉาเสียด้วยซ้ำ
มีเสียงวิจารณ์ไม่น้อยเมื่อระยะหลังๆ บุชต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงซึ่งขัดกับหลักการตลาดเสรี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากก็เห็นว่าการที่ช่วงยาวนานก่อนหน้านั้น บุชชูแต่หลักการตลาดเสรีโดยเน้นนโยบายลดเลิกกฎระเบียบต่างๆ นั่นแหละคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วอลล์สตรีทล้มละลาย และเมื่อวิกฤตลุกลามไปทั่วโลก เสียงวิจารณ์ต่อระบบทุนนิยมแบบปล่อยปละละเลยของสหรัฐฯ ก็รุนแรงขึ้นจนถึงกับมีผู้ตั้งคำถามว่าสหรัฐฯ จะยังมีบทบาทครอบงำระบบโลกต่อไปในอนาคตได้หรือไม่
ด้านบุชยังยืนยันว่าประวัติศาสตร์จะเป็นผู้กำหนดว่าเขาเป็นประธานาธิบดีแบบไหน และต่อไปคนจะมองเขาแบบเดียวกับประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ซึ่งอำลาตำแหน่งไปในช่วงคะแนนนิยมตกต่ำ แต่ภายหลังได้รับคำชื่นชมจากการรับมือปัญหาสงครามเย็น
สตีเฟน เวย์น นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เสนอมุมมองชวนคิดเช่นกันว่า "ถ้าหากไม่มีบุช การเลือกตั้งครั้งนี้เราอาจจะยังไม่ได้ประธานาธิบดีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันเป็นครั้งแรกก็ได้"
มรดกตกทอดที่บุชทิ้งเอาไว้นี้ นับว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อยไปกว่าเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์อำลาตำแหน่งไป โดยทิ้งให้แฟรงคลิน รูสเวลต์ เข้ารับช่วงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงทั่วโลก และแม้ว่าบุชรวมทั้งผู้ที่จงรักภักดีต่อเขาจะยืนกรานว่าประวัติศาสตร์จะมีมุมมองใหม่ต่อปัญหาทั้งหมดนี้ แต่ตอนนี้พวกนักประวัติศาสตร์ก็เริ่มถกเถียงกันแล้วว่า จะจัดให้บุชอยู่ในกลุ่มของประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์, วอร์เรน ฮาร์ดิง และเจมส์ บูคานัน ดีหรือไม่
นักวิชาการบางรายเห็นว่ายังเร็วเกินไปที่จะตัดสินอย่างเด็ดขาดเช่นนั้น แต่หลายคนก็มีข้อสรุปไว้ในใจแล้ว อย่างเช่นเชอร์ลีย์ แอนน์ วอร์ชอว์ นักรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเกตตีสเบอร์ก แห่งเพนซิลเวเนีย บอกว่า "ยังมีใครที่ยังสงสัยได้อีกหรือว่านี่คือประธานาธิบดีที่แย่ที่สุดจริงหรือไม่ ทั้งหลายทั้งปวงที่เขาทิ้งไว้ก็บอกอยู่แล้วเขาควรอยู่ในกลุ่มนี้ขนาดไหน"
ในยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน วีรบุรุษในสายตาของบุชและเป็นคนของพรรครีพับลิกันเช่นเดียวกัน เรแกนเคยเอ่ยปากถามชาวอเมริกันว่าพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าเมื่อครั้งที่จิมมี คาร์เตอร์จากพรรคเดโมแครตเป็นประธานาธิบดีหรือไม่ ซึ่งถ้ายึดมาตรฐานเดียวกันนี้ บุชย่อมไม่อาจเทียบชั้นได้เลย เพราะเขากำลังจะยุติบทบาทหลังดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ นานถึง 8 ปี พร้อมกับการได้คะแนนนิยมต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้เสียงสนับสนุนบุชอย่างท่วมท้นหลังเกิดเหตุการณ์ "11 กันยา 2001" ได้กลายเป็นเพียงเรื่องในอดีต เพราะต่อมาประชาชนไม่พอใจเขาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามในอิรัก การรับมืออย่างล่าช้ากับหายนภัยจากเฮอร์ริเคนแคททรินา และล่าสุดก็คือการล้มละลายของวอลล์วตรีท และกลายมาเป็นวิกฤตทางการเงินโลกครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 80 ปี ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ก็สูงสุดในรอบ 16 ปี ตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์พังพินาศ และชาวอเมริกันอยู่ในสภาพถังแตกไร้เงินออม ทั้งหมดนี้ทำให้บุชเป็นประธานาธิบดีในยุคสมัยใหม่ที่มีคะแนนนิยมต่ำสุดคนหนึ่งเมื่ออำลาตำแหน่ง
ทว่าหากมองในด้านดีก็ต้องถือว่าความสำเร็จสูงสุดของบุชในประเทศก็คือ การที่ไม่เคยเกิดเหตุโจมตีบนแผ่นดินสหรัฐฯ อีกเลยนับจากเหตุการณ์ "11 กันยา" เป็นต้นมา
**ผลงานด้านนโยบายต่างประเทศ**
มรดกของบุชในด้านต่างประเทศนั้นจะขึ้นอยู่กับประเด็นเรื่องอิรักเป็นสำคัญ ซึ่งโอบามาจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องยุทธศาสตร์การถอนทหารและฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ให้คืนกลับมา
เมื่อเดือนที่แล้ว บุชได้เดินทางเยือนกรุงแบกแดดด้วยความหวังว่าจะทำคะแนนในเรื่องความมั่นคง แต่เขากลับถูกผู้สื่อข่าวชาวอิรักคนหนึ่งปารองเท้าใส่ด้วยความโกรธแค้น นั่นแสดงว่าบุชได้ทิ้งปัญหานโยบายต่างประเทศที่ยังสะสางไม่เรียบร้อยไว้ให้โอบามาด้วย
ส่วนกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็น่าจะเป็นปัญหาท้าทายใหญ่ที่สุดสำหรับโอบามาด้วยเช่นกัน และจะเป็นการทดสอบคำมั่นสัญญาของเขาที่ว่าจะใช้แนวทางการเจรจากับรัฐบาลอิหร่านโดยตรงแทนที่จะยึดแนวทางโดดเดี่ยวทางการทูตตามแบบของบุช
ที่อัฟกานิสถาน นักวิเคราะห์การเมืองบอกว่าเป็นจุดอ่อนที่บุชละเลยไปเพราะมัวทุ่มเทความสนใจกับปัญหาอิรัก ทั้งๆ ที่กลุ่มตอลิบานกำลังฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และยังต้องล่าตัวอุซามะห์ บินลาดินให้ไดิ้
กรณีอิสราเอล บุชพยายามน้อยเกินไปและช้าเกินไปในเรื่องการสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ สงครามในฉนวนกาซาที่กำลังปะทุอยู่ในขณะนี้เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดี และแม้โอบามาให้สัญญาไว้ว่าจะแก้ปัญหาตะวันออกกลางให้ชัดเจนขึ้น แต่โลกอาหรับก็ยังมองว่าสหรัฐฯ นั้นมีความลำเอียงเข้าข้างอิสราเอลเรื่อยมา นี่จึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งจากนโยบายของบุชเช่นกัน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงมรดกอื่นๆ อีก อาทิ กรณีการค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโมซึ่งถูกนักสิทธิมนุษยชนประณามมาตลอด และกรณีที่บุชขัดแย้งกับยุโรปเมื่อเขาปฏิเสธที่จะจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก
อย่างไรก็ตาม บุชได้รับคำชมอยู่บ้างในเรื่องนโยบายต่างประเทศจากการที่เขาสานความสัมพันธ์กับอินเดียให้แน่นแฟ้นขึ้น และผลักดันให้จีนออกมามีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งเรื่องการต่อสู้กับโรคเอดส์ในแอฟริกาด้วย
**วิกฤตหนักระดับ"หนเดียวในรอบร้อยปี"**
คงต้องนับว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ใหญ่โตมหึมาระดับเกิด "หนเดียวในรอบ100ปี" คือมรดกชิ้นใหญ่ที่สุดของบุช และเกิดขึ้นหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งผู้นำมาได้หกปี โดยก่อนหน้านี้ภาวการณ์ทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับดีชนิดที่ประธานาธิบดีหลายคนอาจนึกอิจฉาเสียด้วยซ้ำ
มีเสียงวิจารณ์ไม่น้อยเมื่อระยะหลังๆ บุชต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงซึ่งขัดกับหลักการตลาดเสรี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนมากก็เห็นว่าการที่ช่วงยาวนานก่อนหน้านั้น บุชชูแต่หลักการตลาดเสรีโดยเน้นนโยบายลดเลิกกฎระเบียบต่างๆ นั่นแหละคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วอลล์สตรีทล้มละลาย และเมื่อวิกฤตลุกลามไปทั่วโลก เสียงวิจารณ์ต่อระบบทุนนิยมแบบปล่อยปละละเลยของสหรัฐฯ ก็รุนแรงขึ้นจนถึงกับมีผู้ตั้งคำถามว่าสหรัฐฯ จะยังมีบทบาทครอบงำระบบโลกต่อไปในอนาคตได้หรือไม่
ด้านบุชยังยืนยันว่าประวัติศาสตร์จะเป็นผู้กำหนดว่าเขาเป็นประธานาธิบดีแบบไหน และต่อไปคนจะมองเขาแบบเดียวกับประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ซึ่งอำลาตำแหน่งไปในช่วงคะแนนนิยมตกต่ำ แต่ภายหลังได้รับคำชื่นชมจากการรับมือปัญหาสงครามเย็น
สตีเฟน เวย์น นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เสนอมุมมองชวนคิดเช่นกันว่า "ถ้าหากไม่มีบุช การเลือกตั้งครั้งนี้เราอาจจะยังไม่ได้ประธานาธิบดีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันเป็นครั้งแรกก็ได้"