เอเอฟพี - บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะเร่งแก้ปัญหาสันติภาพในตะวันออกกลางและจะใช้มาตรการทางการทูตต่อกรณีโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ส่วนการปิดค่ายกักกันนักโทษการเมืองในอ่าวกวนตานาโมนั้นเป็นเรื่อง "ท้าทาย" หากจะต้องทำให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลา 100 วันแรกตามที่ให้สัญญาไว้ตอนหาเสียง แต่รัฐบาลของเขาก็จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและ "ไม่ทรมาน" นักโทษ
โอบามาให้สัมภาษณ์รายการ "ดีส วีค" ของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์เอบีซี ซึ่งนำออกอากาศในวันอาทิตย์ (11) โดยพยายามปกป้องอธิบายเหตุผลที่เขามีท่าทีรีรอไม่ค่อยอยากพูดถึงกรณีอิสราเอลรุกรานฉนวนกาซาของชาวปาเลสไตน์ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคมนี้
ทั้งนี้โอบามาบอกว่า เขากำลังจัดทีมงานด้านการทูตเพื่อที่ว่า "ตั้งแต่วันแรกของการทำงาน เราก็จะมีตัวบุคคลที่ดีที่สุดที่จะมาดูแลกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางได้ทันที ... โดยทีมงานดังกล่าวจะรวมเอาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายซึ่งทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์จะพอใจ" ทว่าในระหว่างนี้เขาจะต้องปล่อยให้รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชดูแลเรื่องนโยบายต่างประเทศไปก่อน และเขายังชี้ให้เห็นว่ามีความต่อเนื่องบางประการเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพอยู่ด้วย
"ผมคิดว่าถ้าไม่ได้มองแค่รัฐบาลประธานาธิบดีบุช แต่มองกลับไปดูด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงของรัฐบาลประธานาธิบดี (บิลล์) คลินตัน คุณก็จะเห็นโครงร่างกว้างๆ ของแนวทางอยู่แล้ว"
ส่วนเสียงวิจารณ์จากชาวอาหรับที่ว่าเขาออกจะนิ่งเฉยต่อสงครามที่มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตแล้วร่วม 900 คน โอบามาตอบว่า "เวลาที่คุณเห็นพลเรือนไม่ว่าจะเป็นชาวปาเลสไตน์หรืออิสราเอลก็ตาม ถูกทำร้าย หรือตกอยู่ในสภาพทุกข์ยากเช่นนั้น มันทำร้ายจิตใจอย่างมาก และนั่นก็ทำให้ผมมีความมุ่งมั่นชัดเจนยิ่งขึ้นที่จะทำลายประตูที่ปิดตายมานานนับทศวรรษแล้วลงให้ได้"
ทั้งนี้ ในช่วงของการบริหารภายใต้รัฐบาลบุชนั้น ปาเลสไตน์ได้กล่าวหาสหรัฐฯ มาตลอดว่าเข้าข้างอิสราเอลจนเป็นการทำลายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางในภาพรวม
ตัวโอบามาเองในระหว่างที่เขาเยือนอิสราเอลเมื่อเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว ก็ได้กล่าวว่า "หากมีใครยิงจรวดเข้ามาในบ้านผมตอนกลางคืนซึ่งลูกสาวสองคนนอนหลับอยู่ ผมก็จะใช้วิธีการทุกอย่างเพื่อหยุดการกระทำนั้นลง และผมหวังว่าชาวอิสราเอลจะทำแบบเดียวกับผม"
เมื่อเอบีซีถามว่าเขาจะยืนยันท่าทีเดิมในตอนนี้อีกหรือไม่ เขาตอบว่า "ผมคิดว่านั่นเป็นหลักการพื้นฐานที่ทุกประเทศจะต้องปกป้องพลเรือนของตน"
นอกจากนั้น ยังมีคำถามเรื่องที่วิลเลียม เพอร์รี อดีตรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ เตือนว่า ในช่วงปีแรกที่โอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะต้องเผชิญกับ "วิกฤตขั้นรุนแรง" ในเรื่องที่อิหร่านกำลังพยายามผลิตอาวุธนิวเคลียร์
"ผมคิดว่าปัญหาอิหร่านเป็นเรื่องท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของเรา" โอบามาตอบ "เพราะมันอาจจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันในเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางได้"
โอบามาสัญญาว่าจะใช้แนวทางใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะเปิดเจรจา แต่ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องหลักการพื้นฐานด้วย "เรากำลังเตรียมการในเรื่องนี้อยู่ เพราะเราคาดอยู่แล้วว่าจะต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน"
ส่วนกรณีที่เขาเคยสัญญาว่าจะปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโม ซึ่งมีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายอยู่ราว 250 คนนั้น เขากล่าวว่า "เรื่องนี้ยุ่งยากกว่าที่ผมคิด" และบอกว่าทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายและความมั่นคงแห่งชาติของเขากำลังคิดหาแนวทางที่ดีที่สุดในเรื่องนี้
เขาย้ำว่า ไม่ว่าอย่างไรค่ายกักกันดังกล่าวก็จะต้องปิดไปในที่สุด และเขาเชื่อว่าแนวทางใหม่ที่กำลังดำเนินการสำหรับเรื่องนี้จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลของเขาจะ "ไม่ทรมาน" ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
โอบามาให้สัมภาษณ์รายการ "ดีส วีค" ของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์เอบีซี ซึ่งนำออกอากาศในวันอาทิตย์ (11) โดยพยายามปกป้องอธิบายเหตุผลที่เขามีท่าทีรีรอไม่ค่อยอยากพูดถึงกรณีอิสราเอลรุกรานฉนวนกาซาของชาวปาเลสไตน์ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคมนี้
ทั้งนี้โอบามาบอกว่า เขากำลังจัดทีมงานด้านการทูตเพื่อที่ว่า "ตั้งแต่วันแรกของการทำงาน เราก็จะมีตัวบุคคลที่ดีที่สุดที่จะมาดูแลกระบวนการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางได้ทันที ... โดยทีมงานดังกล่าวจะรวมเอาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายซึ่งทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์จะพอใจ" ทว่าในระหว่างนี้เขาจะต้องปล่อยให้รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชดูแลเรื่องนโยบายต่างประเทศไปก่อน และเขายังชี้ให้เห็นว่ามีความต่อเนื่องบางประการเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพอยู่ด้วย
"ผมคิดว่าถ้าไม่ได้มองแค่รัฐบาลประธานาธิบดีบุช แต่มองกลับไปดูด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงของรัฐบาลประธานาธิบดี (บิลล์) คลินตัน คุณก็จะเห็นโครงร่างกว้างๆ ของแนวทางอยู่แล้ว"
ส่วนเสียงวิจารณ์จากชาวอาหรับที่ว่าเขาออกจะนิ่งเฉยต่อสงครามที่มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตแล้วร่วม 900 คน โอบามาตอบว่า "เวลาที่คุณเห็นพลเรือนไม่ว่าจะเป็นชาวปาเลสไตน์หรืออิสราเอลก็ตาม ถูกทำร้าย หรือตกอยู่ในสภาพทุกข์ยากเช่นนั้น มันทำร้ายจิตใจอย่างมาก และนั่นก็ทำให้ผมมีความมุ่งมั่นชัดเจนยิ่งขึ้นที่จะทำลายประตูที่ปิดตายมานานนับทศวรรษแล้วลงให้ได้"
ทั้งนี้ ในช่วงของการบริหารภายใต้รัฐบาลบุชนั้น ปาเลสไตน์ได้กล่าวหาสหรัฐฯ มาตลอดว่าเข้าข้างอิสราเอลจนเป็นการทำลายกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางในภาพรวม
ตัวโอบามาเองในระหว่างที่เขาเยือนอิสราเอลเมื่อเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว ก็ได้กล่าวว่า "หากมีใครยิงจรวดเข้ามาในบ้านผมตอนกลางคืนซึ่งลูกสาวสองคนนอนหลับอยู่ ผมก็จะใช้วิธีการทุกอย่างเพื่อหยุดการกระทำนั้นลง และผมหวังว่าชาวอิสราเอลจะทำแบบเดียวกับผม"
เมื่อเอบีซีถามว่าเขาจะยืนยันท่าทีเดิมในตอนนี้อีกหรือไม่ เขาตอบว่า "ผมคิดว่านั่นเป็นหลักการพื้นฐานที่ทุกประเทศจะต้องปกป้องพลเรือนของตน"
นอกจากนั้น ยังมีคำถามเรื่องที่วิลเลียม เพอร์รี อดีตรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯ เตือนว่า ในช่วงปีแรกที่โอบามารับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาจะต้องเผชิญกับ "วิกฤตขั้นรุนแรง" ในเรื่องที่อิหร่านกำลังพยายามผลิตอาวุธนิวเคลียร์
"ผมคิดว่าปัญหาอิหร่านเป็นเรื่องท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่งของเรา" โอบามาตอบ "เพราะมันอาจจะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันในเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลางได้"
โอบามาสัญญาว่าจะใช้แนวทางใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะเปิดเจรจา แต่ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องหลักการพื้นฐานด้วย "เรากำลังเตรียมการในเรื่องนี้อยู่ เพราะเราคาดอยู่แล้วว่าจะต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน"
ส่วนกรณีที่เขาเคยสัญญาว่าจะปิดค่ายกักกันนักโทษที่อ่าวกวนตานาโม ซึ่งมีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายอยู่ราว 250 คนนั้น เขากล่าวว่า "เรื่องนี้ยุ่งยากกว่าที่ผมคิด" และบอกว่าทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายและความมั่นคงแห่งชาติของเขากำลังคิดหาแนวทางที่ดีที่สุดในเรื่องนี้
เขาย้ำว่า ไม่ว่าอย่างไรค่ายกักกันดังกล่าวก็จะต้องปิดไปในที่สุด และเขาเชื่อว่าแนวทางใหม่ที่กำลังดำเนินการสำหรับเรื่องนี้จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลของเขาจะ "ไม่ทรมาน" ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย