ทุกๆ เทศกาลของประเทศไทยที่มีช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง หนึ่งในภารกิจสำคัญของหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรสาธารณประโยชน์คือการรณรงค์ป้องกันภัยอุบัติเหตุจราจรผ่านมาตรการป้องปรามการดื่มแล้วขับและการขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดเป็นสำคัญ
มาตรการสอดคล้องต้องกันเหล่านั้นนอกจากจะสะท้อนว่าทุกหน่วยงานรับทราบปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่อุบัติเหตุจราจรเหมือนๆ กันแล้ว ยังเผยแง่มุมทางสังคมวัฒนธรรมไทยว่าคงอ่อนแออยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยินยอมให้การละเมิดสิทธิในการเดินทางบนท้องถนนอย่างสะดวกปลอดภัยอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานยังดำเนินต่อไปในนามของความเมามายและการคึกคะนองขับขี่รถรวดเร็ว ที่ท้ายสุดทำลายทั้งทรัพย์สินชีวิตตัวเอง ครอบครัว และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ
ดังช่วง 7 วันระวังอันตราย ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2551-5 มกราคม 2552 ที่ยอดอุบัติเหตุรวม 3,824 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 367 คน และบาดเจ็บ 4,107 คน มาจากสาเหตุเมาแล้วขับถึงร้อยละ 41.08 ขับรถเร็วเกินกำหนดร้อยละ 22.91 และตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 13.39
ถึงสถิติอุบัติเหตุจราจรจะลดลง 651 ครั้ง หรือร้อยละ 14.55 ผู้เสียชีวิตลดลง 34 คน หรือร้อยละ 8.48 ผู้บาดเจ็บ (Admit) ลดลง 796 คน หรือร้อยละ 16.23 จากปีก่อนหน้าในช่วงเทศกาลเดียวกัน หากกระนั้นถ้าวิเคราะห์ลึกลงไปจะพบชั้นปัญหาที่ยังคงเหมือนเดิมคือการเมาแล้วขับและขับรถเร็วเกินกำหนดอยู่ดี นี่ชี้ชัดว่ามาตรการป้องกันอุบัติเหตุท้องถนนเข้าข่ายไล่ล่าปัญหามากกว่าเท่าทันปัญหา
หาไม่แล้วอุบัติเหตุใหญ่ช่วงเทศกาลปีใหม่ไยยังมาจากสาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงขับรถเร็วและตัดหน้ากระชั้นชิดเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา ดังเช่นเหตุการณ์ในจังหวัดราชบุรีช่วงค่ำคืนส่งท้ายปีเก่า รถกระบะที่กุมบังเหียนโดยคนขับทั้งประมาทและเมามายสุราได้ขับแซงรถบรรทุกสิบล้อบนสะพานข้ามคลองพุ่งชนประสานงากับรถจักรยานยนต์จำนวน 3 คันที่ทั้งคนขับและคนซ้อนไม่ได้สวมหมวกนิรภัย จนผู้ขับขี่และซ้อนท้ายที่เป็นเด็กและเด็กวัยรุ่นอายุ 1, 17 และ 19 ปีเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และเด็กวัยรุ่นอายุ 16, 17 และ 18 ปีบาดเจ็บ (Admit) หรือเหตุรถจักรยานยนต์ที่ซ้อน 3 คน โดยคนขับเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่มีใบขับขี่ เสียหลักกินเลนไปชนกับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟหน้าที่ขี่โดยคนเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่มีขับขี่ และซ้อน 3 คนเช่นเดียวกัน จนเป็นเหตุให้เด็กวัยรุ่นอายุ 15 ปีเสียชีวิต ที่เหลืออีก 5 คนต้อง Admit เมื่อช่วงหัวค่ำวันต้อนรับปีใหม่ในจังหวัดพิจิตร
นอกจากสาเหตุอุบัติเหตุยังคงเดิมทุกๆ ปีแล้ว กลุ่มเหยื่ออุบัติเหตุทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตยังเป็นกลุ่มเดิมเช่นเดียวกัน ดังปีนี้ที่มากสุดในช่วงอายุต่ำกว่า 25 ปีถึงร้อยละ 43.79 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยแรงงานร้อยละ 41.31 และน้อยสุดคือกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ในขณะที่รถจักรยานยนต์ก็ยังคงครองแชมป์ในการประสบอุบัติเหตุมากสุดถึงร้อยละ 84.19 และรถปิกอัพร้อยละ 6.57
แม้ว่ารถจักรยานยนต์จะเป็นยานพาหนะที่ถูกเรียกตรวจจากมาตรการบังคับใช้กฎหมายมากสุดถึง 1,709,339 คัน หรือร้อยละ 34.24 รถปิกอัพ 1,552,765 คัน หรือร้อยละ 31.10 จากจำนวนยานพาหนะที่ถูกเรียกตรวจทั้งสิ้น 4,992,859 คัน โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตลอดจนมีจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง '3ม2ข1ร' รวม 374,690 รายภายในช่วง 7 วันระวังอันตราย จำแนกเป็นไม่มีใบขับขี่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มอเตอร์ไซค์ดัดแปลง เมาสุรา และขับรถเร็วเกินกำหนดร้อยละ 35.50, 32.38, 14.43, 10.03, 3.75 และ 3.91 ตามลำดับ
หรือกระทั่งเพิ่มจำนวนจุดตรวจหลักหลายพันจุดทั่วประเทศให้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหลายหมื่นคนผู้ยอมเสียสละห้วงยามความสุขอยู่ร่วมกับครอบครัวญาติสนิทมิตรสหายเพื่อมาดูแลประชาชนบนท้องถนนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยมากสุดยามเดินทางแล้วก็ตาม หากทว่าท้ายสุดแล้วความสูญเสียพลัดพรากก็ยังคงอบอวลบรรยากาศเฉลิมฉลองเทศกาลความสุขดังเดิม
ด้วยตราบใดไม่ปลูกฝัง 'วัฒนธรรมจราจร' ไทยแข็งแกร่งเพียงพอจะหยุดยั้งการสูญเสียอันเนื่องมาจากการเมาแล้วขับและขับเร็วเกินกำหนดในระดับโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมให้ได้ ตราบนั้นต่อให้ระดมสรรพกำลังทั้งการบังคับมาตรการทางกฎหมายเข้มงวด เผยแพร่สปอตโฆษณากระตุกอารมณ์ถี่ยิบ และเจ้าหน้าที่เอาการเอางานอย่างยิ่ง เสียงโหยไห้ร้าวรานก็ยังจะระงมไม่ว่าจะในช่วงเทศกาลหรือปกติ เพราะปัจเจกบุคคลยากจะปรับเปลี่ยนตนเองได้ภายในโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมอ่อนแอแต่เอื้ออำนวยให้อุบัติเหตุจราจรบดขยี้คุณภาพชีวิตคนไทยต่อไป
อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่า 'ยุทธศาสตร์ 6 E' ที่ใช้ขับเคลื่อนความปลอดภัยบนท้องถนนอันกอปรด้วย 1) Enforcement มาตรการบังคับใช้กฎหมาย 2) Engineer มาตรการด้านวิศวกรรม 3) EMS ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 4) Education การให้ความรู้ด้วยประสบการณ์ตรง 5) Empowerment การสร้างพลังอำนาจแก่ท้องถิ่นและชุมชนในการร่วมกันแก้และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และ 6) Evaluation การเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา จะไม่สำคัญ แต่ต้องปฏิบัติการควบคู่กับการสร้างเสริมวัฒนธรรมจราจรไทยที่แข็งแกร่งผ่านการรื้อถอนโครงสร้างและวัฒนธรรมความรุนแรงที่กร่อนเซาะคุณภาพชีวิตคนไทยเรื่อยมา
เนื่องจากหากสามารถสร้างวัฒนธรรมจราจรที่ดีที่เข้มแข็งขึ้นมาในสังคมไทยได้ ต่อให้มีการลักลอบขายสุราในสถานที่ห้ามขาย เช่น สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การเปิดผับเธคเลยเวลากำหนด หรือกระทั่งการแข่งรถบนท้องถนนสาธารณะ ก็จะไม่เกิดความสูญเสียมหาศาล เพราะถูกจำกัดด้วยจำนวนผู้คนที่จะละเมิดวัฒนธรรมจราจรที่ดี ด้วยประชาชนส่วนใหญ่ดำรงตนอยู่ในกฎเกณฑ์ศีลธรรมและตัวบทกฎหมายเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วยการแวะเข้าปั๊มแล้วดื่มเบียร์ไล่ความเมื่อยล้า หรือเลิกจากเธคก็ขับกลับบ้านด้วยอาการเมามาย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อวัฒนธรรมเลื่อนไหลได้ วัฒนธรรมจราจรอ่อนแอก็เปลี่ยนแปลงเป็นแข็งแกร่งได้ แม้ต้องใช้ระยะเวลารดน้ำพรวนดินระยะหนึ่ง หากก็ได้ดอกผลถาวรกว่าการบังคับใช้กฎหมายเพียงลำพัง เพราะวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต เมื่อเป็นวิถีชีวิตย่อมกระทำโดยไม่ขัดเขินหรือรู้สึกว่าถูกบังคับ ทั้งยังไม่ต้องเอ่ยว่าวัฒนธรรมจราจรที่ดีย่อมนำความเจริญงอกงามมาสู่ประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจากการไม่ต้องสูญเงินปีละหลายล้านบาทรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ต้องเสียกำลังหลักทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บล้มตายของวัยแรงงานและเยาวชนอนาคตชาติ และญาติผู้ใหญ่ก็ไม่ต้องหัวใจสลายจากการพรากจากลูกหลานรักก่อนวัยอันควร
การคำนวณสถิติอุบัติเหตุจราจรโดยเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าแล้วพบว่าตัวเลขลดลงย่อมสะท้อนภาพความสำเร็จระดับหนึ่ง ถึงกระนั้นความสำเร็จเหล่านี้ต้องวัดกันระยะยาวว่าเส้นแห่งความสูญเสียสะสมนั้นลดลงจนถึงจุดที่ยอมรับได้หรือไม่ ที่แน่ละว่าไม่ใช่การไม่บาดเจ็บล้มตายเลย
ดังนั้นต้องปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) จากมุ่งแค่แก้ปัญหาวิศวกรรมจราจรหรือความประมาทบกพร่องของคนขับมาสู่การคลี่คลายโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนความรุนแรง รวมถึงการประมวลสาเหตุเพื่อนำมาวางแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทั้งช่วงธรรมดาและเทศกาลสำคัญต้องนำตัวแปรด้านสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาในสมการด้วยเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่กับบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัดเพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตทางสังคมที่กลุ่มเยาวชนเป็นลูกค้าสำคัญทั้งของเหล้าและรถมอเตอร์ไซค์
เหนืออื่นใดต้องสถาปนาการขับขี่ปลอดภัยให้เป็นวัฒนธรรมจราจรไทยกระแสหลักให้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อให้ถนนทุกสายทั้งถนน อบต./หมู่บ้าน ถนนในเมือง/เทศบาล และทางหลวงแผ่นดิน/ชนบท ไม่อุดมด้วยอุบัติเหตุมากมายเหมือนเทศกาลสุขระคนทุกข์ในวันปีใหม่.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
มาตรการสอดคล้องต้องกันเหล่านั้นนอกจากจะสะท้อนว่าทุกหน่วยงานรับทราบปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่อุบัติเหตุจราจรเหมือนๆ กันแล้ว ยังเผยแง่มุมทางสังคมวัฒนธรรมไทยว่าคงอ่อนแออยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยินยอมให้การละเมิดสิทธิในการเดินทางบนท้องถนนอย่างสะดวกปลอดภัยอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานยังดำเนินต่อไปในนามของความเมามายและการคึกคะนองขับขี่รถรวดเร็ว ที่ท้ายสุดทำลายทั้งทรัพย์สินชีวิตตัวเอง ครอบครัว และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ
ดังช่วง 7 วันระวังอันตราย ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2551-5 มกราคม 2552 ที่ยอดอุบัติเหตุรวม 3,824 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 367 คน และบาดเจ็บ 4,107 คน มาจากสาเหตุเมาแล้วขับถึงร้อยละ 41.08 ขับรถเร็วเกินกำหนดร้อยละ 22.91 และตัดหน้ากระชั้นชิดร้อยละ 13.39
ถึงสถิติอุบัติเหตุจราจรจะลดลง 651 ครั้ง หรือร้อยละ 14.55 ผู้เสียชีวิตลดลง 34 คน หรือร้อยละ 8.48 ผู้บาดเจ็บ (Admit) ลดลง 796 คน หรือร้อยละ 16.23 จากปีก่อนหน้าในช่วงเทศกาลเดียวกัน หากกระนั้นถ้าวิเคราะห์ลึกลงไปจะพบชั้นปัญหาที่ยังคงเหมือนเดิมคือการเมาแล้วขับและขับรถเร็วเกินกำหนดอยู่ดี นี่ชี้ชัดว่ามาตรการป้องกันอุบัติเหตุท้องถนนเข้าข่ายไล่ล่าปัญหามากกว่าเท่าทันปัญหา
หาไม่แล้วอุบัติเหตุใหญ่ช่วงเทศกาลปีใหม่ไยยังมาจากสาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงขับรถเร็วและตัดหน้ากระชั้นชิดเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา ดังเช่นเหตุการณ์ในจังหวัดราชบุรีช่วงค่ำคืนส่งท้ายปีเก่า รถกระบะที่กุมบังเหียนโดยคนขับทั้งประมาทและเมามายสุราได้ขับแซงรถบรรทุกสิบล้อบนสะพานข้ามคลองพุ่งชนประสานงากับรถจักรยานยนต์จำนวน 3 คันที่ทั้งคนขับและคนซ้อนไม่ได้สวมหมวกนิรภัย จนผู้ขับขี่และซ้อนท้ายที่เป็นเด็กและเด็กวัยรุ่นอายุ 1, 17 และ 19 ปีเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และเด็กวัยรุ่นอายุ 16, 17 และ 18 ปีบาดเจ็บ (Admit) หรือเหตุรถจักรยานยนต์ที่ซ้อน 3 คน โดยคนขับเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่มีใบขับขี่ เสียหลักกินเลนไปชนกับรถจักรยานยนต์ไม่มีไฟหน้าที่ขี่โดยคนเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่มีขับขี่ และซ้อน 3 คนเช่นเดียวกัน จนเป็นเหตุให้เด็กวัยรุ่นอายุ 15 ปีเสียชีวิต ที่เหลืออีก 5 คนต้อง Admit เมื่อช่วงหัวค่ำวันต้อนรับปีใหม่ในจังหวัดพิจิตร
นอกจากสาเหตุอุบัติเหตุยังคงเดิมทุกๆ ปีแล้ว กลุ่มเหยื่ออุบัติเหตุทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตยังเป็นกลุ่มเดิมเช่นเดียวกัน ดังปีนี้ที่มากสุดในช่วงอายุต่ำกว่า 25 ปีถึงร้อยละ 43.79 รองลงมาเป็นกลุ่มวัยแรงงานร้อยละ 41.31 และน้อยสุดคือกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ในขณะที่รถจักรยานยนต์ก็ยังคงครองแชมป์ในการประสบอุบัติเหตุมากสุดถึงร้อยละ 84.19 และรถปิกอัพร้อยละ 6.57
แม้ว่ารถจักรยานยนต์จะเป็นยานพาหนะที่ถูกเรียกตรวจจากมาตรการบังคับใช้กฎหมายมากสุดถึง 1,709,339 คัน หรือร้อยละ 34.24 รถปิกอัพ 1,552,765 คัน หรือร้อยละ 31.10 จากจำนวนยานพาหนะที่ถูกเรียกตรวจทั้งสิ้น 4,992,859 คัน โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตลอดจนมีจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง '3ม2ข1ร' รวม 374,690 รายภายในช่วง 7 วันระวังอันตราย จำแนกเป็นไม่มีใบขับขี่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มอเตอร์ไซค์ดัดแปลง เมาสุรา และขับรถเร็วเกินกำหนดร้อยละ 35.50, 32.38, 14.43, 10.03, 3.75 และ 3.91 ตามลำดับ
หรือกระทั่งเพิ่มจำนวนจุดตรวจหลักหลายพันจุดทั่วประเทศให้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหลายหมื่นคนผู้ยอมเสียสละห้วงยามความสุขอยู่ร่วมกับครอบครัวญาติสนิทมิตรสหายเพื่อมาดูแลประชาชนบนท้องถนนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยมากสุดยามเดินทางแล้วก็ตาม หากทว่าท้ายสุดแล้วความสูญเสียพลัดพรากก็ยังคงอบอวลบรรยากาศเฉลิมฉลองเทศกาลความสุขดังเดิม
ด้วยตราบใดไม่ปลูกฝัง 'วัฒนธรรมจราจร' ไทยแข็งแกร่งเพียงพอจะหยุดยั้งการสูญเสียอันเนื่องมาจากการเมาแล้วขับและขับเร็วเกินกำหนดในระดับโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมให้ได้ ตราบนั้นต่อให้ระดมสรรพกำลังทั้งการบังคับมาตรการทางกฎหมายเข้มงวด เผยแพร่สปอตโฆษณากระตุกอารมณ์ถี่ยิบ และเจ้าหน้าที่เอาการเอางานอย่างยิ่ง เสียงโหยไห้ร้าวรานก็ยังจะระงมไม่ว่าจะในช่วงเทศกาลหรือปกติ เพราะปัจเจกบุคคลยากจะปรับเปลี่ยนตนเองได้ภายในโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมอ่อนแอแต่เอื้ออำนวยให้อุบัติเหตุจราจรบดขยี้คุณภาพชีวิตคนไทยต่อไป
อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่า 'ยุทธศาสตร์ 6 E' ที่ใช้ขับเคลื่อนความปลอดภัยบนท้องถนนอันกอปรด้วย 1) Enforcement มาตรการบังคับใช้กฎหมาย 2) Engineer มาตรการด้านวิศวกรรม 3) EMS ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 4) Education การให้ความรู้ด้วยประสบการณ์ตรง 5) Empowerment การสร้างพลังอำนาจแก่ท้องถิ่นและชุมชนในการร่วมกันแก้และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และ 6) Evaluation การเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา จะไม่สำคัญ แต่ต้องปฏิบัติการควบคู่กับการสร้างเสริมวัฒนธรรมจราจรไทยที่แข็งแกร่งผ่านการรื้อถอนโครงสร้างและวัฒนธรรมความรุนแรงที่กร่อนเซาะคุณภาพชีวิตคนไทยเรื่อยมา
เนื่องจากหากสามารถสร้างวัฒนธรรมจราจรที่ดีที่เข้มแข็งขึ้นมาในสังคมไทยได้ ต่อให้มีการลักลอบขายสุราในสถานที่ห้ามขาย เช่น สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การเปิดผับเธคเลยเวลากำหนด หรือกระทั่งการแข่งรถบนท้องถนนสาธารณะ ก็จะไม่เกิดความสูญเสียมหาศาล เพราะถูกจำกัดด้วยจำนวนผู้คนที่จะละเมิดวัฒนธรรมจราจรที่ดี ด้วยประชาชนส่วนใหญ่ดำรงตนอยู่ในกฎเกณฑ์ศีลธรรมและตัวบทกฎหมายเคร่งครัด ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นด้วยการแวะเข้าปั๊มแล้วดื่มเบียร์ไล่ความเมื่อยล้า หรือเลิกจากเธคก็ขับกลับบ้านด้วยอาการเมามาย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อวัฒนธรรมเลื่อนไหลได้ วัฒนธรรมจราจรอ่อนแอก็เปลี่ยนแปลงเป็นแข็งแกร่งได้ แม้ต้องใช้ระยะเวลารดน้ำพรวนดินระยะหนึ่ง หากก็ได้ดอกผลถาวรกว่าการบังคับใช้กฎหมายเพียงลำพัง เพราะวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต เมื่อเป็นวิถีชีวิตย่อมกระทำโดยไม่ขัดเขินหรือรู้สึกว่าถูกบังคับ ทั้งยังไม่ต้องเอ่ยว่าวัฒนธรรมจราจรที่ดีย่อมนำความเจริญงอกงามมาสู่ประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจากการไม่ต้องสูญเงินปีละหลายล้านบาทรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ต้องเสียกำลังหลักทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บล้มตายของวัยแรงงานและเยาวชนอนาคตชาติ และญาติผู้ใหญ่ก็ไม่ต้องหัวใจสลายจากการพรากจากลูกหลานรักก่อนวัยอันควร
การคำนวณสถิติอุบัติเหตุจราจรโดยเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าแล้วพบว่าตัวเลขลดลงย่อมสะท้อนภาพความสำเร็จระดับหนึ่ง ถึงกระนั้นความสำเร็จเหล่านี้ต้องวัดกันระยะยาวว่าเส้นแห่งความสูญเสียสะสมนั้นลดลงจนถึงจุดที่ยอมรับได้หรือไม่ ที่แน่ละว่าไม่ใช่การไม่บาดเจ็บล้มตายเลย
ดังนั้นต้องปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) จากมุ่งแค่แก้ปัญหาวิศวกรรมจราจรหรือความประมาทบกพร่องของคนขับมาสู่การคลี่คลายโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนความรุนแรง รวมถึงการประมวลสาเหตุเพื่อนำมาวางแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทั้งช่วงธรรมดาและเทศกาลสำคัญต้องนำตัวแปรด้านสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาในสมการด้วยเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่กับบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัดเพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตทางสังคมที่กลุ่มเยาวชนเป็นลูกค้าสำคัญทั้งของเหล้าและรถมอเตอร์ไซค์
เหนืออื่นใดต้องสถาปนาการขับขี่ปลอดภัยให้เป็นวัฒนธรรมจราจรไทยกระแสหลักให้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อให้ถนนทุกสายทั้งถนน อบต./หมู่บ้าน ถนนในเมือง/เทศบาล และทางหลวงแผ่นดิน/ชนบท ไม่อุดมด้วยอุบัติเหตุมากมายเหมือนเทศกาลสุขระคนทุกข์ในวันปีใหม่.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org