ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (8 ม.ค.) คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ที่มีพ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาเรื่องการจัดสวัสดิการกำลังพลของกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพัก โดยมีตัวแทนจากกกองทัพบกประกอบด้วย พ.อ.ไมตรี เตชานุบาล รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก พ.อ.ธเนศ จุ้ยเจริญ ผอ.กองสวัสดิการทหารบก และพ.อ. ประดิษฐ์ อิ่มรส รอง ผอ.กองสวัสดิการทหารบก เข้าชี้แจง
พ.ต.ท.สมชาย กล่าว่า กรรมาธิการฯ ต้องการสอบถามถึงบ้านพักอาศัยที่มีอยู่กองกองทัพมีอยู่ในที่ใดบ้าง โดยเรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจของประชาชนและสื่อมวลชน แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครสนใจเอาเรื่องนี้มาพิจารณา ทำให้สะสมเป็นปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะในกรณีของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้วได้อาศัยอยู่ที่ไหน ยังอยู่ในบ้านพักของกองทัพหรือไม่ และทำได้หรือไม่ จึงขอให้กองทัพช่วยเล่าในภาพรวมให้ทราบ
ขอให้พูดตามข้อเท็จจริง ขอยืนยันว่ากมธ.ต้องการสร้างบรรทัดฐาน ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยถือปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด ใครพ้นต้องออกก็ต้องออกมันจะเป็นภาระกับคนที่เขาจะเติบโตและมีตำแหน่งสูงๆ ไม่สามารถเข้าไปพักได้ ในส่วน ของกองทัพมีข่าวออกมาบอกว่ามีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่านเกษียณแล้ว ไม่ออกจากบ้านพัก
พ.อ.ไมตรี กล่าวว่า กองทัพบกแบ่งที่พักเป็นสองส่วนคือบ้านพักกำลังพลและบ้านพักรับรอง กองทัพมีระเบียบและหลักเกณฑ์พิจารณาผู้เข้าพักอาศัยไว้อย่างชัดเจน โดยในรายละเอียดกรมสวัสดิการทหารบกเป็นผู้ดูแล การดูแลกำลังพลของกองทัพได้ดูแลโดยสวัสดิการ โดยผู้ที่ทำคุณงามความดีให้กับกองทัพบกและประเทศชาติ ทุกชั้นยศ หากมีปัญหาเรื่องที่พักหากมีความจำเป็นย่อมสามารถให้พักอาศัยต่อไปได้ทุกชั้นยศ
พ.ต.ท.สมชาย จึงถามว่าปกติเมื่อข้าราชการเกษียณมักมีการทำเรื่อง ให้ออกจากที่พักอาศัย ตามระเบียบของข้าราชการเมื่อพ้นหน้าที่แล้วกำลังพลไม่น่าจะอยู่ต่อไปได้ โดยพล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการ ได้อธิบายหลักการในการจัดการจัดภาระกิจของกองทัพ โดยระบุว่าการจัดสวัสดิการของกองทัพเป็นการจัดการตามอัตรากำลังพลและภาระกิจที่กำลังพลได้รับ
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวแสดงอำนาจด้วยการขอให้ผู้มาชี้แจงตั้งสติและตอบในสิ่งที่เราต้องการรู้ว่าอัตราการสร้างอาคารมีอยู่เท่าใด วันนี้หากพ้นหน้าที่แล้ว ไม่ยอมย้ายออกมันจะเป็นอย่างไร วันนี้มันสับสน ว่ามีอัตราจำกัดแล้วเข้าไปอยู่ได้ อย่างไร คนที่มีบ้านหลายหลังแล้วยังเข้าไปอยู่ อยู่ได้อย่างไร ทำยังไงจะให้มันเข้าสู่ระเบียบได้ ตนคิดว่ากำลังพลเมื่อเกษียณแล้วควรย้ายออก
พ.อ.ไมตรี ชี้แจงว่า สำหรับบ้านพักของกำลังพลเมื่อเกษียณอายุหรือหมดวาระการดำรงตำแหน่งแล้วสามารถย้ายออกให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่มาพัก ส่วนบ้านพักรับรองกองทัพได้จัดสร้างบ้านพักรับรองไว้ส่วนหนึ่งเพื่อรับรองอดีตผู้บังคับบัญชาที่ทำคุณงามความดีให้กับกองทัพและเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยมีบ้านรับรองให้ผู้บังคับบัญชาอยู่ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยกองทัพมีระเบียบและคณะกรรมการพิจารณา ผู้เข้าอาศัย ส่วนค่าใช้จ่ายผู้เข้าอาศัยจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง มิได้ใช้งบประมาณของกองทัพ โดยอดีตผู้บังคับบัญชาจะดำรงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อภาระจำเป็นแล้วก็จะย้ายออก ในส่วนนี้กองทัพไม่เคยมีปัญหาที่พักไม่เพียงพอหรือไม่เคยมีปัญหาอะไร
การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองกองทัพได้กำหนดให้กับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและอดีตผู้บังคับบัญชาที่ดำรงตำแหน่งชั้นสูง เช่น อดีต ผบ.ทบ. โดยการเข้าพักต้องแสดงความประสงค์ที่จะเข้าพัก อดีตผู้บังคับบัญชาบางท่านก็ไม่ได้เข้าพัก
จากนั้นพ.ต.ท.สมชาย ได้ขอดูระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 ซึ่งรองเจ้ากรมกำลังพลนำมาชี้แจง ด้านกรรมาธิการหลายคนได้พยายามให้ผู้มาชี้แจงเปิดเผยถึงบัญชีผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองของกองทัพ โดยพล.ร.ท.โรช วิภัติภูมิประเทศ ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการ กล่าวว่า กรรมาธิการต้องการทราบข้อเท็จจริงผู้มาชี้แจงไม่จำเป็นต้องตั้งท่าป้องกันผู้บังคับบัญชาก็ได้ พูดอย่างที่ผมพูดก็ได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของกองทัพบกที่รู้จักตอบสนองคุณงามความดีของผู้บังคับบัญชาที่ทำความดี ให้กับกองทัพ เมื่ออดีตผู้บังคับบัญชายังหาบ้านพักที่สมเกียรติไม่ได้จึงขออยู่ต่อไปก่อน
ด้านรองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก กล่าวว่า หากกรรมาธิการต้องการ ทราบรายละเอียดผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองขอให้กรรมาธิการทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาเพื่อให้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารให้ กองทัพบกเป็นองค์กรใหญ่ที่มีลำดับชั้นในความรับผิดชอบ ตนมาชี้แจงในฐานะเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจอนุมัติ จึงไม่สามารถทำการเกินกว่าความรับผิดชอบได้
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า เรียนถามตรงๆ ว่าพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผบ.ทบ. และประธาน คมช.ตอนนี้อยู่บ้านพักของใครใน ร.11ท่านพอทราบไหมอยู่บ้านพักรับรองหรือบ้านใคร พ.อ.ไมตรี กล่าวว่า พล.อ.สนธิเคยเป็นผบ.ทบ.เมื่อเกษียณแล้วได้ขออยู่อาศัยในบ้านพักรับรองระยะหนึ่ง จากการสำรวจเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 52 พล.อ.สนธิได้ย้ายออกแล้ว
ด้านพ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า การสร้างบ้านพักรับรองของกองทัพกรรมาธิการไม่ติดใจและไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการดูแลอดีตผู้บังคับบัญชา เพียงแต่เป็นห่วงว่าบางคนที่มีบ้านบ้านพักหลายหลัง มีทรัพย์สินมากแล้ว จะต้องเสียสละ การพิจารณาในส่วนนี้ต้องมีบรรทัดฐานการอนุมัติให้อยู่ต้องระมัดระวังว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ต้องกลั่นกรองให้ดี หวังว่าสิ่งที่ได้คุยกับกรรมาธิการวันนี้ท่านจะนำกลับไปบอกกับผู้บังคับบัญชาด้วย
พ.ต.ท.สมชาย แถลงภายหลังการประชุมว่า ในการประชุมได้พิจารณาเรื่อง การใช้งบประมาณในการปรับปรุงระบบอิเลคโทรนิคของเครื่องบินในกองทัพอากาศ จำนวน 21 ลำ วงเงิน 565.5 ล้านบาท ซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2552 ซึ่งขณะนี้มีการ เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว 50 % มูลค่า กว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทที่ได้งานคือบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด โดยกองทัพอากาศ ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทนี้เพิ่งตั้งเมื่อปี 2547 และไม่ใช่บริษัทที่ผลิตเครื่องบิน หรือมีความชำนาญในด้านนี้
นอกจากนี้บริษัทฯดังกล่าว ก็ไม่ได้ดำเนินการเอง แต่ไปให้บริษัท เอวีแอลเอ แซท จำกัด มารับช่วงเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะบริษัทฯ ดังกล่าวไม่ใช้รัฐวิสาหกิจ แต่เป็นบริษัทเอกชน ที่ตั้งขึ้นมาได้ไม่นาน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็ได้ตรวจสอบเรื่องนี้และยืนยันไปยังกองทัพว่าไม่สามารถทำได้ หากไม่มีการเปิดซองประมูล แต่ทางกองทัพก็ยังยืนยันที่จะดำเนินการ ดังนั้นทางกรรมาธิการทหารฯ จะตรวจสอบเรื่องนี้โดยละเอียด ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเชิญ สตง.มาชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับกองทัพ
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวตั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงบริษัทเอกชนธรรมดา แต่กลับเบิกจ่ายงบประมาณ ก่อนได้ถึง 50 % ซึ่งความเป็นจริงบริษัทเอกชน จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณ ได้เพียง 25 % เท่านั้น นอกจานี้จะเห็นว่าในระยะเวลาเพียงปีเศษที่มีการทำสัญญาแล้ว บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินได้เพียงแค่ 2 ลำ ดังนั้นเชื่อว่าจะมีการจับเสือมือเปล่า และมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลแน่นอน
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวด้วยว่า โครงการฯดังกล่าวอยู่ในสมัยของพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เป็นผบ.ทอ. เท่าที่ตนตรวจสอบสามารถพูดได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับ บ.เอกชน ในสมัย ผบ.ทอ.คนนี้ และโครงการรัฐต่อรัฐหรือ( จี ทู จี) รัฐต่อรัฐ ก็ไม่มีเลย นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการฯของกองทัพอากาศที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ในสมัยของพล.อ.อ. ชลิต ดังนั้นเรื่องนี้ควรให้จเรทหารเข้ามาตรวจสอบว่า โครงการฯเหล่านี้นี้มีการทุจริตอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเข้าข่ายส่งให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป
พ.ต.ท.สมชาย กล่าว่า กรรมาธิการฯ ต้องการสอบถามถึงบ้านพักอาศัยที่มีอยู่กองกองทัพมีอยู่ในที่ใดบ้าง โดยเรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจของประชาชนและสื่อมวลชน แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครสนใจเอาเรื่องนี้มาพิจารณา ทำให้สะสมเป็นปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะในกรณีของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้วได้อาศัยอยู่ที่ไหน ยังอยู่ในบ้านพักของกองทัพหรือไม่ และทำได้หรือไม่ จึงขอให้กองทัพช่วยเล่าในภาพรวมให้ทราบ
ขอให้พูดตามข้อเท็จจริง ขอยืนยันว่ากมธ.ต้องการสร้างบรรทัดฐาน ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยถือปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด ใครพ้นต้องออกก็ต้องออกมันจะเป็นภาระกับคนที่เขาจะเติบโตและมีตำแหน่งสูงๆ ไม่สามารถเข้าไปพักได้ ในส่วน ของกองทัพมีข่าวออกมาบอกว่ามีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่านเกษียณแล้ว ไม่ออกจากบ้านพัก
พ.อ.ไมตรี กล่าวว่า กองทัพบกแบ่งที่พักเป็นสองส่วนคือบ้านพักกำลังพลและบ้านพักรับรอง กองทัพมีระเบียบและหลักเกณฑ์พิจารณาผู้เข้าพักอาศัยไว้อย่างชัดเจน โดยในรายละเอียดกรมสวัสดิการทหารบกเป็นผู้ดูแล การดูแลกำลังพลของกองทัพได้ดูแลโดยสวัสดิการ โดยผู้ที่ทำคุณงามความดีให้กับกองทัพบกและประเทศชาติ ทุกชั้นยศ หากมีปัญหาเรื่องที่พักหากมีความจำเป็นย่อมสามารถให้พักอาศัยต่อไปได้ทุกชั้นยศ
พ.ต.ท.สมชาย จึงถามว่าปกติเมื่อข้าราชการเกษียณมักมีการทำเรื่อง ให้ออกจากที่พักอาศัย ตามระเบียบของข้าราชการเมื่อพ้นหน้าที่แล้วกำลังพลไม่น่าจะอยู่ต่อไปได้ โดยพล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการ ได้อธิบายหลักการในการจัดการจัดภาระกิจของกองทัพ โดยระบุว่าการจัดสวัสดิการของกองทัพเป็นการจัดการตามอัตรากำลังพลและภาระกิจที่กำลังพลได้รับ
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวแสดงอำนาจด้วยการขอให้ผู้มาชี้แจงตั้งสติและตอบในสิ่งที่เราต้องการรู้ว่าอัตราการสร้างอาคารมีอยู่เท่าใด วันนี้หากพ้นหน้าที่แล้ว ไม่ยอมย้ายออกมันจะเป็นอย่างไร วันนี้มันสับสน ว่ามีอัตราจำกัดแล้วเข้าไปอยู่ได้ อย่างไร คนที่มีบ้านหลายหลังแล้วยังเข้าไปอยู่ อยู่ได้อย่างไร ทำยังไงจะให้มันเข้าสู่ระเบียบได้ ตนคิดว่ากำลังพลเมื่อเกษียณแล้วควรย้ายออก
พ.อ.ไมตรี ชี้แจงว่า สำหรับบ้านพักของกำลังพลเมื่อเกษียณอายุหรือหมดวาระการดำรงตำแหน่งแล้วสามารถย้ายออกให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่มาพัก ส่วนบ้านพักรับรองกองทัพได้จัดสร้างบ้านพักรับรองไว้ส่วนหนึ่งเพื่อรับรองอดีตผู้บังคับบัญชาที่ทำคุณงามความดีให้กับกองทัพและเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยมีบ้านรับรองให้ผู้บังคับบัญชาอยู่ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยกองทัพมีระเบียบและคณะกรรมการพิจารณา ผู้เข้าอาศัย ส่วนค่าใช้จ่ายผู้เข้าอาศัยจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง มิได้ใช้งบประมาณของกองทัพ โดยอดีตผู้บังคับบัญชาจะดำรงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อภาระจำเป็นแล้วก็จะย้ายออก ในส่วนนี้กองทัพไม่เคยมีปัญหาที่พักไม่เพียงพอหรือไม่เคยมีปัญหาอะไร
การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองกองทัพได้กำหนดให้กับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและอดีตผู้บังคับบัญชาที่ดำรงตำแหน่งชั้นสูง เช่น อดีต ผบ.ทบ. โดยการเข้าพักต้องแสดงความประสงค์ที่จะเข้าพัก อดีตผู้บังคับบัญชาบางท่านก็ไม่ได้เข้าพัก
จากนั้นพ.ต.ท.สมชาย ได้ขอดูระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 ซึ่งรองเจ้ากรมกำลังพลนำมาชี้แจง ด้านกรรมาธิการหลายคนได้พยายามให้ผู้มาชี้แจงเปิดเผยถึงบัญชีผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองของกองทัพ โดยพล.ร.ท.โรช วิภัติภูมิประเทศ ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการ กล่าวว่า กรรมาธิการต้องการทราบข้อเท็จจริงผู้มาชี้แจงไม่จำเป็นต้องตั้งท่าป้องกันผู้บังคับบัญชาก็ได้ พูดอย่างที่ผมพูดก็ได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของกองทัพบกที่รู้จักตอบสนองคุณงามความดีของผู้บังคับบัญชาที่ทำความดี ให้กับกองทัพ เมื่ออดีตผู้บังคับบัญชายังหาบ้านพักที่สมเกียรติไม่ได้จึงขออยู่ต่อไปก่อน
ด้านรองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก กล่าวว่า หากกรรมาธิการต้องการ ทราบรายละเอียดผู้เข้าพักในบ้านพักรับรองขอให้กรรมาธิการทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาเพื่อให้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารให้ กองทัพบกเป็นองค์กรใหญ่ที่มีลำดับชั้นในความรับผิดชอบ ตนมาชี้แจงในฐานะเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจอนุมัติ จึงไม่สามารถทำการเกินกว่าความรับผิดชอบได้
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า เรียนถามตรงๆ ว่าพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผบ.ทบ. และประธาน คมช.ตอนนี้อยู่บ้านพักของใครใน ร.11ท่านพอทราบไหมอยู่บ้านพักรับรองหรือบ้านใคร พ.อ.ไมตรี กล่าวว่า พล.อ.สนธิเคยเป็นผบ.ทบ.เมื่อเกษียณแล้วได้ขออยู่อาศัยในบ้านพักรับรองระยะหนึ่ง จากการสำรวจเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 52 พล.อ.สนธิได้ย้ายออกแล้ว
ด้านพ.ต.ท.สมชาย กล่าวว่า การสร้างบ้านพักรับรองของกองทัพกรรมาธิการไม่ติดใจและไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการดูแลอดีตผู้บังคับบัญชา เพียงแต่เป็นห่วงว่าบางคนที่มีบ้านบ้านพักหลายหลัง มีทรัพย์สินมากแล้ว จะต้องเสียสละ การพิจารณาในส่วนนี้ต้องมีบรรทัดฐานการอนุมัติให้อยู่ต้องระมัดระวังว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ต้องกลั่นกรองให้ดี หวังว่าสิ่งที่ได้คุยกับกรรมาธิการวันนี้ท่านจะนำกลับไปบอกกับผู้บังคับบัญชาด้วย
พ.ต.ท.สมชาย แถลงภายหลังการประชุมว่า ในการประชุมได้พิจารณาเรื่อง การใช้งบประมาณในการปรับปรุงระบบอิเลคโทรนิคของเครื่องบินในกองทัพอากาศ จำนวน 21 ลำ วงเงิน 565.5 ล้านบาท ซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2552 ซึ่งขณะนี้มีการ เบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว 50 % มูลค่า กว่า 300 ล้านบาท ซึ่งบริษัทที่ได้งานคือบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด โดยกองทัพอากาศ ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทนี้เพิ่งตั้งเมื่อปี 2547 และไม่ใช่บริษัทที่ผลิตเครื่องบิน หรือมีความชำนาญในด้านนี้
นอกจากนี้บริษัทฯดังกล่าว ก็ไม่ได้ดำเนินการเอง แต่ไปให้บริษัท เอวีแอลเอ แซท จำกัด มารับช่วงเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะบริษัทฯ ดังกล่าวไม่ใช้รัฐวิสาหกิจ แต่เป็นบริษัทเอกชน ที่ตั้งขึ้นมาได้ไม่นาน ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็ได้ตรวจสอบเรื่องนี้และยืนยันไปยังกองทัพว่าไม่สามารถทำได้ หากไม่มีการเปิดซองประมูล แต่ทางกองทัพก็ยังยืนยันที่จะดำเนินการ ดังนั้นทางกรรมาธิการทหารฯ จะตรวจสอบเรื่องนี้โดยละเอียด ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะเชิญ สตง.มาชี้แจงเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับกองทัพ
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวตั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงบริษัทเอกชนธรรมดา แต่กลับเบิกจ่ายงบประมาณ ก่อนได้ถึง 50 % ซึ่งความเป็นจริงบริษัทเอกชน จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณ ได้เพียง 25 % เท่านั้น นอกจานี้จะเห็นว่าในระยะเวลาเพียงปีเศษที่มีการทำสัญญาแล้ว บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินได้เพียงแค่ 2 ลำ ดังนั้นเชื่อว่าจะมีการจับเสือมือเปล่า และมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลแน่นอน
พ.ต.ท.สมชาย กล่าวด้วยว่า โครงการฯดังกล่าวอยู่ในสมัยของพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เป็นผบ.ทอ. เท่าที่ตนตรวจสอบสามารถพูดได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับ บ.เอกชน ในสมัย ผบ.ทอ.คนนี้ และโครงการรัฐต่อรัฐหรือ( จี ทู จี) รัฐต่อรัฐ ก็ไม่มีเลย นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการฯของกองทัพอากาศที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ในสมัยของพล.อ.อ. ชลิต ดังนั้นเรื่องนี้ควรให้จเรทหารเข้ามาตรวจสอบว่า โครงการฯเหล่านี้นี้มีการทุจริตอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเข้าข่ายส่งให้ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป