รอยเตอร์/เอเยนซีส์ – ประธานของ “สัตยัม คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส” ยักษ์ใหญ่ด้านเอาต์ซอร์สซิ่งของอินเดีย ประกาศลาออกในวันพุธ(7) ภายหลังยอมรับว่าบริษัทมีการตกแต่งบัญชีให้ดูมีกำไรมากกว่าปกติมาเป็นเวลาหลายปี คำพูดของเขาส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทดิ่งเหวไปเกือบ 80% ตลอดจนเพิ่มความกังวลใจให้นักลงทุนทั่วโลก เกี่ยวกับระบบบรรษัทภิบาลและการกำกับตรวจสอบซึ่งอ่อนปวกเปียกในอินเดีย รวมทั้งในประเทศตลาดเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่อื่นๆ
กรณีอื้อฉาวขนาดใหญ่โตที่สุดเท่าที่เคยจำกันได้ของแดนภารตะ และนักวิเคราะห์บางคนเรียกว่าเป็น กรณี “เอนรอนของอินเดีย”คราวนี้ น่าจะส่งผลกระทบกระเทือนการลงทุนจากต่างประเทศในอนาคตที่จะไหลเข้ามาในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของเอเชียแห่งนี้ รวมทั้งยังจะทำให้ความพยายามของรัฐบาลแดนภารตะที่จะปลุกธุรกิจเอาต์ซอร์สซิ่งให้มีอัตราเติบโตเฟื่องฟูขึ้นอีก ต้องเผชิญความยากลำบากเพิ่มขึ้นมาก
ข่าวนี้ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียดิ่งลงรุนแรงในวันพุธ โดยดัชนีสำคัญของตลาดหุ้นบอมเบย์ปิดร่วงไป 7.3% นอกจากค่าเงินรูปีก็ยังดิ่งลงด้วย ส่วนตลาดหุ้นนิวยอร์กก็สั่งแขวนมิให้ซื้อขายหุ้นของสัตยัมในทันที โดยให้เหตุผลว่าจะรอทบทวนข่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง
รามาลิงกา ราจู ผู้ก่อตั้งและประธานของสัตยัมซึ่งปัจจุบันมีอายุ 54 ปีกล่าวในคำแถลงเมื่อวันพุธว่า ได้มีการเพิ่มกำไรของสัตยัมนั้นให้สูงกว่าความเป็นจริงเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่าน เขาบอกว่าด้วยว่าไม่มีสมาชิกคณะกรรมการบริหารบริษัทคนใดที่รู้เรื่องการแต่งบัญชีนี้เลย
“หากว่าประธานของบริษัทออกมาพูดเองว่าบริษัทเพิ่มตัวเลขในบัญชี แล้วคุณจะไปเชื่อใครในบริษัทนั้นได้อีก สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดคำถามใหญ่ขึ้นมาเกี่ยวกับระบบบรรษัทภิบาลทั้งระบบในอินเดีย” อาร์ เค คุปตะ กรรมการผู้จัดการของ เทารัส แอสเส็ต แมเนจเมนท์ ในกรุงนิวเดลีกล่าว
ราจูเป็นผู้สร้างสัตยัมมากับมือ จนกลายเป็นบริษัทบริการด้านซอฟท์แวร์ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย โดยมีน้องชายและน้องเขยของเขาเป็นผู้ช่วย ชื่อของสัตยัมในภาษาสันสกฤตนั้นแปลว่า “ความจริง” แต่เขายอมรับว่าว่าราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 94% ของเงินสดที่บันทึกลงบัญชีไว้นั้นเป็นตัวเลขที่แต่งขึ้น
การยอมรับครั้งนี้ทำให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกช็อก พอ ๆกับกรณีการจับกุมเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ นักการเงินระดับตำนานของวอลล์สตรีทเมื่อเดือนก่อน ในข้อหาที่ว่าเขายักยอกเงินลูกค้าไปหลายหมื่นล้านดอลลาร์
“ในช่วงตลาดกระทิง คนก็จะลืมเลือนเรื่องบรรษัทภิบาลไป” อัชชิช โกยาล หัวหน้าฝ่ายลงทุนของพรูเดนเชียล แมเนจเมนท์ ในสิงคโปร์ ให้ความเห็น “แต่ในภาวะตลาดหมี เราต้องกลับมาดูที่รากฐาน ดังนั้นเรื่องจึงถูกจับตามองขึ้นมาในช่วงเวลาเช่นนี้”
ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสัตยัมออกมาพูดแต่เพียงว่ากำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ ส่วนโฆษกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี) จอห์น เนสเตอร์ก็ไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆต่อเรื่องนี้ แต่คำแถลงการณ์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กที่ออกมากล่าวว่า “กำลังประเมินข่าวของสัตยัม และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีพัฒนาการอื่นใด”
ราจูได้ถูกจับตาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่บริษัทสัตยัมพยายามที่จะเข้าซื้อหุ้นของบริษัทก่อสร้าง 2 แห่งที่พวกผู้ต้องการสัตยัมเป็นเจ้าของอยู่บางส่วน โดยในเรื่องนี้ราจูได้มาเฉลยในวันพุธว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้คือความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแต่งบัญชี
“มันเหมือนขี่หลังเสือ ไม่รู้ว่าจะลงไปได้อย่างไรโดยไม่ถูกกิน” ราจูซึ่งสำรวจการศึกษาด้านการบริหารจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ในสหรัฐฯ กล่าวในจดหมายของเขา และบอกด้วยว่าเขากำลังเตรียมพร้อมรับคดีฟ้องร้องที่จะตามมา
ในคำแถลงของบริษัทสัตยัมระบุว่าบี รามา ราจู ซึ่งเป็นน้องของประธานราจูก็ประกาศลาออกด้วย แต่มิได้ให้เหตุผลของการลาออกของเขาเอาไว้
ปัญหาของสัตยัมยิ่งเพิ่มขึ้นอีก เมื่อธนาคารโลกซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ ประกาศมิให้สัตยัมรับทำงานโครงการใหม่ๆ ของธนาคารอีกต่อไปแล้ว โดยให้เหตุผลสัตยัมเสนอ“ผลประโยชน์อันไม่เหมาะสม” ให้กับพนักงานของธนาคาร
เมื่อสามเดือนก่อน สัตยัมเพิ่งได้รับรางวัลนกยูงทองคำ จากคณะกรรมการของอินเดียชุดหนึ่ง ในฐานะที่มีระบบบรรษัทภิบาลที่ดีเยี่ยม
ธุรกิจที่สัตยัมเชี่ยวชาญก็คือซอฟท์แวร์ และบริการรับทำงานด้านการสนับสนุน (back office) ให้แก่พวกบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก อาทิเช่นเจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) และเนสท์เล่
ในจดหมายที่บริษัทสัตยัมส่งถึงพนักงานระบุว่า ราม ไมนามภาตี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอเฉพาะกาล รวมทั้งจัดตั้งทีมของผู้จัดการอาวุโสเพื่อมาช่วยเขาทำงาน แต่นักวิเคราะห์ก็บอกว่า แม้จะทำเช่นนี้ แต่นักลงทุนก็เซ็งอยู่ดี
“ผมคิดว่าหุ้นตัวนี้ไม่มีอนาคตแล้ว สำหรับอินเดียแล้ว กรณีนี้ก็เปรียบเสมือนเอนรอนของสหรัฐฯนั่นเทียว” ไจการ์ ชาห์ รองประธานอาวุโสของกิมเอ็งซีเคียวริตีส์กล่าว
“และเรื่องมันจะไม่หยุดแค่สัตยัม บริษัทอีกหลายแห่งจะต้องโดนตรวจสอบ และการลงทุนในอินเดียอาจจะได้รับผลกระทบอย่างแรง”
และตอนนี้ก็เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของหน่วยงานกำกับดูแล และทางการอินเดียอย่างรุนแรงเรื่องความหละหลวมในการตรวจสอบความผิดปกติ รวมทั้งยังจะส่งผลให้เมอร์ริลลินช์ ยกเลิกการร่วมธุรกิจกับสัตยัมด้วย
กรณีอื้อฉาวขนาดใหญ่โตที่สุดเท่าที่เคยจำกันได้ของแดนภารตะ และนักวิเคราะห์บางคนเรียกว่าเป็น กรณี “เอนรอนของอินเดีย”คราวนี้ น่าจะส่งผลกระทบกระเทือนการลงทุนจากต่างประเทศในอนาคตที่จะไหลเข้ามาในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของเอเชียแห่งนี้ รวมทั้งยังจะทำให้ความพยายามของรัฐบาลแดนภารตะที่จะปลุกธุรกิจเอาต์ซอร์สซิ่งให้มีอัตราเติบโตเฟื่องฟูขึ้นอีก ต้องเผชิญความยากลำบากเพิ่มขึ้นมาก
ข่าวนี้ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียดิ่งลงรุนแรงในวันพุธ โดยดัชนีสำคัญของตลาดหุ้นบอมเบย์ปิดร่วงไป 7.3% นอกจากค่าเงินรูปีก็ยังดิ่งลงด้วย ส่วนตลาดหุ้นนิวยอร์กก็สั่งแขวนมิให้ซื้อขายหุ้นของสัตยัมในทันที โดยให้เหตุผลว่าจะรอทบทวนข่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง
รามาลิงกา ราจู ผู้ก่อตั้งและประธานของสัตยัมซึ่งปัจจุบันมีอายุ 54 ปีกล่าวในคำแถลงเมื่อวันพุธว่า ได้มีการเพิ่มกำไรของสัตยัมนั้นให้สูงกว่าความเป็นจริงเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่าน เขาบอกว่าด้วยว่าไม่มีสมาชิกคณะกรรมการบริหารบริษัทคนใดที่รู้เรื่องการแต่งบัญชีนี้เลย
“หากว่าประธานของบริษัทออกมาพูดเองว่าบริษัทเพิ่มตัวเลขในบัญชี แล้วคุณจะไปเชื่อใครในบริษัทนั้นได้อีก สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดคำถามใหญ่ขึ้นมาเกี่ยวกับระบบบรรษัทภิบาลทั้งระบบในอินเดีย” อาร์ เค คุปตะ กรรมการผู้จัดการของ เทารัส แอสเส็ต แมเนจเมนท์ ในกรุงนิวเดลีกล่าว
ราจูเป็นผู้สร้างสัตยัมมากับมือ จนกลายเป็นบริษัทบริการด้านซอฟท์แวร์ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย โดยมีน้องชายและน้องเขยของเขาเป็นผู้ช่วย ชื่อของสัตยัมในภาษาสันสกฤตนั้นแปลว่า “ความจริง” แต่เขายอมรับว่าว่าราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 94% ของเงินสดที่บันทึกลงบัญชีไว้นั้นเป็นตัวเลขที่แต่งขึ้น
การยอมรับครั้งนี้ทำให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกช็อก พอ ๆกับกรณีการจับกุมเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ นักการเงินระดับตำนานของวอลล์สตรีทเมื่อเดือนก่อน ในข้อหาที่ว่าเขายักยอกเงินลูกค้าไปหลายหมื่นล้านดอลลาร์
“ในช่วงตลาดกระทิง คนก็จะลืมเลือนเรื่องบรรษัทภิบาลไป” อัชชิช โกยาล หัวหน้าฝ่ายลงทุนของพรูเดนเชียล แมเนจเมนท์ ในสิงคโปร์ ให้ความเห็น “แต่ในภาวะตลาดหมี เราต้องกลับมาดูที่รากฐาน ดังนั้นเรื่องจึงถูกจับตามองขึ้นมาในช่วงเวลาเช่นนี้”
ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของสัตยัมออกมาพูดแต่เพียงว่ากำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ ส่วนโฆษกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี) จอห์น เนสเตอร์ก็ไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆต่อเรื่องนี้ แต่คำแถลงการณ์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กที่ออกมากล่าวว่า “กำลังประเมินข่าวของสัตยัม และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีพัฒนาการอื่นใด”
ราจูได้ถูกจับตาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่บริษัทสัตยัมพยายามที่จะเข้าซื้อหุ้นของบริษัทก่อสร้าง 2 แห่งที่พวกผู้ต้องการสัตยัมเป็นเจ้าของอยู่บางส่วน โดยในเรื่องนี้ราจูได้มาเฉลยในวันพุธว่า ความเคลื่อนไหวเช่นนี้คือความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาเรื่องการแต่งบัญชี
“มันเหมือนขี่หลังเสือ ไม่รู้ว่าจะลงไปได้อย่างไรโดยไม่ถูกกิน” ราจูซึ่งสำรวจการศึกษาด้านการบริหารจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ ในสหรัฐฯ กล่าวในจดหมายของเขา และบอกด้วยว่าเขากำลังเตรียมพร้อมรับคดีฟ้องร้องที่จะตามมา
ในคำแถลงของบริษัทสัตยัมระบุว่าบี รามา ราจู ซึ่งเป็นน้องของประธานราจูก็ประกาศลาออกด้วย แต่มิได้ให้เหตุผลของการลาออกของเขาเอาไว้
ปัญหาของสัตยัมยิ่งเพิ่มขึ้นอีก เมื่อธนาคารโลกซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ ประกาศมิให้สัตยัมรับทำงานโครงการใหม่ๆ ของธนาคารอีกต่อไปแล้ว โดยให้เหตุผลสัตยัมเสนอ“ผลประโยชน์อันไม่เหมาะสม” ให้กับพนักงานของธนาคาร
เมื่อสามเดือนก่อน สัตยัมเพิ่งได้รับรางวัลนกยูงทองคำ จากคณะกรรมการของอินเดียชุดหนึ่ง ในฐานะที่มีระบบบรรษัทภิบาลที่ดีเยี่ยม
ธุรกิจที่สัตยัมเชี่ยวชาญก็คือซอฟท์แวร์ และบริการรับทำงานด้านการสนับสนุน (back office) ให้แก่พวกบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก อาทิเช่นเจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) และเนสท์เล่
ในจดหมายที่บริษัทสัตยัมส่งถึงพนักงานระบุว่า ราม ไมนามภาตี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอเฉพาะกาล รวมทั้งจัดตั้งทีมของผู้จัดการอาวุโสเพื่อมาช่วยเขาทำงาน แต่นักวิเคราะห์ก็บอกว่า แม้จะทำเช่นนี้ แต่นักลงทุนก็เซ็งอยู่ดี
“ผมคิดว่าหุ้นตัวนี้ไม่มีอนาคตแล้ว สำหรับอินเดียแล้ว กรณีนี้ก็เปรียบเสมือนเอนรอนของสหรัฐฯนั่นเทียว” ไจการ์ ชาห์ รองประธานอาวุโสของกิมเอ็งซีเคียวริตีส์กล่าว
“และเรื่องมันจะไม่หยุดแค่สัตยัม บริษัทอีกหลายแห่งจะต้องโดนตรวจสอบ และการลงทุนในอินเดียอาจจะได้รับผลกระทบอย่างแรง”
และตอนนี้ก็เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของหน่วยงานกำกับดูแล และทางการอินเดียอย่างรุนแรงเรื่องความหละหลวมในการตรวจสอบความผิดปกติ รวมทั้งยังจะส่งผลให้เมอร์ริลลินช์ ยกเลิกการร่วมธุรกิจกับสัตยัมด้วย