เอเอฟพี – บรรดาชาติในเอเชียสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อฝ่าฟันให้พ้นจากวิกฤตการเงินโลกได้ก่อนหน้าสหรัฐฯเสียอีก ทว่าญี่ปุ่นและจีนจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ ทั้งนี้เป็นความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชื่อดัง เจฟฟรีย์ แซคส์ ซึ่งกล่าวต่อที่ประชุมของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เมื่อวานนี้(7)
แซคส์ที่เวลานี้เป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับเลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและจีนต่างก็มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล และนี่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เขากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯจะดำเนินไป “อย่างหนักหน่วงทีเดียวและค่อนข้างยืดเยื้อด้วย” ทว่า “เอเชียสามารถที่จะยังคงมีอัตราเติบโตอันสดใสต่อไปได้ ถึงแม้การส่งออกจะทรุดตัวก็ตามที”
แซคส์บอกกับเวทีประชุมของเอดีบีในกรุงมะนิลาว่า เอเชียสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯมาก แต่ “จะต้องเป็นความพยายามภายในเอเชียเอง และมีเอเชียเป็นผู้นำด้วย”
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้ชี้ว่า ภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์, ดุลบัญชีเดินสะพัดก็อยู่ในสภาพเกินดุลมาก, และระบบการคลังตลอดจนระบบธนาคารมีความเข้มแข็ง จึงน่าจะช่วยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตคราวนี้ได้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องเพิ่มการบริโภคและการลงทุนในเอเชีย ให้สามารถทดแทนความต้องการสินค้าออกจากพวกประเทศตะวันตกซึ่งจะต้องลดฮวบลงไป อีกทั้งการเพิ่มบริโภคและการลงทุนในเอเชียเองยังจะเป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ด้วย เขากล่าวต่อ
“เราจะต้องพึ่งพิงการใช้จ่ายภาคสาธารณะ” โดยเฉพาะการใช้จ่ายด้านบริการต่างๆ ของภาครัฐและเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เอเชียมีความต้องการอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว แซคส์ชี้
เขาต่อภาพให้เห็นต่อไปว่า ญี่ปุ่นสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ชาติเอเชียอื่นๆ ด้วยการขยายนโยบายเงินตราของตน และให้ชาติเอเชียอื่นๆ สามารถที่จะมาใช้เงินทุนของญี่ปุ่นได้ อันจะเป็นการเพิ่มพูนดีมานด์ความต้องการ ตลอดจนเป็นการขยายสินเชื่อ
แซคส์แนะนำว่า เอดีบีที่ได้รับสนับสนุนจากทรัพยากรของญี่ปุ่น จะสามารถปล่อยเงินทุนดังกล่าวเหล่านี้ไปให้แก่ภาคส่วนอย่างเช่น การศึกษา, สาธารณสุข, การปฏิรูปด้านพลังงาน, และการควบคุมมลพิษ
สำหรับจีน เขาเสนอว่าควรมุ่งไปที่การประคองรักษาอัตราเติบโตภายในประเทศ ขณะเดียวกับที่ซื้อหาสินค้าและบริการจากชาติอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ให้มากขึ้น
“บทบาทหลักของจีนควรจะเป็นการประคองให้เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อไป และยังคงซื้อหาจากส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค” แซคส์กล่าว “จีนควรจะต้องเป็นศูนย์กลางหลักทางด้านดีมานด์ให้แก่ภูมิภาค”
เขาเตือนด้วยว่า มีสัญญาณแสดงว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัวลง แม้กระทั่งก่อนที่วิกฤตทางการเงินของโลกจะปะทุตัวรุนแรงแล้ว และดังนั้น ช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสที่จีนจะเร่งทำการลงทุนด้านสาธารณะอย่างขนานใหญ่
ญี่ปุ่นนั้นควรที่จะเป็นแหล่งที่มาสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน, การปฏิรูปด้านพลังงาน, และการควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นที่ต้องการของจีน และ “ทั้งสองประเทศควรที่จะป้อนอาหารให้แก่กันและกัน อย่างชนิดก่อให้เกิดการเสริมส่งซึ่งกันและกัน” เขาบอก
อย่างไรก็ดี แซคส์พูดด้วยว่า เขารู้สึกพิศวงกับนโยบายด้านเงินตราของญี่ปุ่น ซึ่งยังคงปล่อยให้เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น ขณะที่ทำการควบคุมเงินอย่างแน่นหนามากขึ้นด้วย
“ญี่ปุ่นควรที่จะทำให้เงินเยนสามารถไหลเข้าออกอย่างเต็มที่สู่เกาหลีใต้และพวกประเทศอาเซียน” เขาแนะ
แซคส์ที่เวลานี้เป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับเลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและจีนต่างก็มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล และนี่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เขากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯจะดำเนินไป “อย่างหนักหน่วงทีเดียวและค่อนข้างยืดเยื้อด้วย” ทว่า “เอเชียสามารถที่จะยังคงมีอัตราเติบโตอันสดใสต่อไปได้ ถึงแม้การส่งออกจะทรุดตัวก็ตามที”
แซคส์บอกกับเวทีประชุมของเอดีบีในกรุงมะนิลาว่า เอเชียสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯมาก แต่ “จะต้องเป็นความพยายามภายในเอเชียเอง และมีเอเชียเป็นผู้นำด้วย”
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้ชี้ว่า ภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์, ดุลบัญชีเดินสะพัดก็อยู่ในสภาพเกินดุลมาก, และระบบการคลังตลอดจนระบบธนาคารมีความเข้มแข็ง จึงน่าจะช่วยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตคราวนี้ได้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องเพิ่มการบริโภคและการลงทุนในเอเชีย ให้สามารถทดแทนความต้องการสินค้าออกจากพวกประเทศตะวันตกซึ่งจะต้องลดฮวบลงไป อีกทั้งการเพิ่มบริโภคและการลงทุนในเอเชียเองยังจะเป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ด้วย เขากล่าวต่อ
“เราจะต้องพึ่งพิงการใช้จ่ายภาคสาธารณะ” โดยเฉพาะการใช้จ่ายด้านบริการต่างๆ ของภาครัฐและเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เอเชียมีความต้องการอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว แซคส์ชี้
เขาต่อภาพให้เห็นต่อไปว่า ญี่ปุ่นสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ชาติเอเชียอื่นๆ ด้วยการขยายนโยบายเงินตราของตน และให้ชาติเอเชียอื่นๆ สามารถที่จะมาใช้เงินทุนของญี่ปุ่นได้ อันจะเป็นการเพิ่มพูนดีมานด์ความต้องการ ตลอดจนเป็นการขยายสินเชื่อ
แซคส์แนะนำว่า เอดีบีที่ได้รับสนับสนุนจากทรัพยากรของญี่ปุ่น จะสามารถปล่อยเงินทุนดังกล่าวเหล่านี้ไปให้แก่ภาคส่วนอย่างเช่น การศึกษา, สาธารณสุข, การปฏิรูปด้านพลังงาน, และการควบคุมมลพิษ
สำหรับจีน เขาเสนอว่าควรมุ่งไปที่การประคองรักษาอัตราเติบโตภายในประเทศ ขณะเดียวกับที่ซื้อหาสินค้าและบริการจากชาติอื่นๆ ในภูมิภาคแถบนี้ให้มากขึ้น
“บทบาทหลักของจีนควรจะเป็นการประคองให้เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อไป และยังคงซื้อหาจากส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค” แซคส์กล่าว “จีนควรจะต้องเป็นศูนย์กลางหลักทางด้านดีมานด์ให้แก่ภูมิภาค”
เขาเตือนด้วยว่า มีสัญญาณแสดงว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนกำลังชะลอตัวลง แม้กระทั่งก่อนที่วิกฤตทางการเงินของโลกจะปะทุตัวรุนแรงแล้ว และดังนั้น ช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสที่จีนจะเร่งทำการลงทุนด้านสาธารณะอย่างขนานใหญ่
ญี่ปุ่นนั้นควรที่จะเป็นแหล่งที่มาสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน, การปฏิรูปด้านพลังงาน, และการควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นที่ต้องการของจีน และ “ทั้งสองประเทศควรที่จะป้อนอาหารให้แก่กันและกัน อย่างชนิดก่อให้เกิดการเสริมส่งซึ่งกันและกัน” เขาบอก
อย่างไรก็ดี แซคส์พูดด้วยว่า เขารู้สึกพิศวงกับนโยบายด้านเงินตราของญี่ปุ่น ซึ่งยังคงปล่อยให้เงินเยนมีค่าแข็งขึ้น ขณะที่ทำการควบคุมเงินอย่างแน่นหนามากขึ้นด้วย
“ญี่ปุ่นควรที่จะทำให้เงินเยนสามารถไหลเข้าออกอย่างเต็มที่สู่เกาหลีใต้และพวกประเทศอาเซียน” เขาแนะ