บรรดาชาติในเอเชียสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อฝ่าฟันให้พ้นจากวิกฤตการเงินโลกได้ก่อนหน้าสหรัฐฯเสียอีก ทว่าญี่ปุ่นและจีนจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ ทั้งนี้เป็นความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชื่อดัง เจฟฟรีย์ แซคส์ ซึ่งกล่าวต่อที่ประชุมของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เมื่อวันพุธ(7)
แซคส์ที่เวลานี้เป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับเลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและจีนต่างก็มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล และนี่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เขากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯจะดำเนินไป "อย่างหนักหน่วงทีเดียวและค่อนข้างยืดเยื้อด้วย" ทว่า "เอเชียสามารถที่จะยังคงมีอัตราเติบโตอันสดใสต่อไปได้ ถึงแม้การส่งออกจะทรุดตัวก็ตามที"
แซคส์บอกกับเวทีประชุมของเอดีบีในกรุงมะนิลาว่า เอเชียสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯมาก แต่ "จะต้องเป็นความพยายามภายในเอเชียเอง และมีเอเชียเป็นผู้นำด้วย"
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้ชี้ว่า ภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์, ดุลบัญชีเดินสะพัดก็อยู่ในสภาพเกินดุลมาก, และระบบการคลังตลอดจนระบบธนาคารมีความเข้มแข็ง จึงน่าจะช่วยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตคราวนี้ได้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องเพิ่มการบริโภคและการลงทุนในเอเชีย ให้สามารถทดแทนความต้องการสินค้าออกจากพวกประเทศตะวันตกซึ่งจะต้องลดฮวบลงไป อีกทั้งการเพิ่มบริโภคและการลงทุนในเอเชียเองยังจะเป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ด้วย เขากล่าวต่อ
แซคส์ที่เวลานี้เป็นที่ปรึกษาพิเศษให้กับเลขาธิการสหประชาชาติ บันคีมุน ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและจีนต่างก็มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล และนี่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เขากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯจะดำเนินไป "อย่างหนักหน่วงทีเดียวและค่อนข้างยืดเยื้อด้วย" ทว่า "เอเชียสามารถที่จะยังคงมีอัตราเติบโตอันสดใสต่อไปได้ ถึงแม้การส่งออกจะทรุดตัวก็ตามที"
แซคส์บอกกับเวทีประชุมของเอดีบีในกรุงมะนิลาว่า เอเชียสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯมาก แต่ "จะต้องเป็นความพยายามภายในเอเชียเอง และมีเอเชียเป็นผู้นำด้วย"
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้ชี้ว่า ภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์, ดุลบัญชีเดินสะพัดก็อยู่ในสภาพเกินดุลมาก, และระบบการคลังตลอดจนระบบธนาคารมีความเข้มแข็ง จึงน่าจะช่วยให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตคราวนี้ได้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องเพิ่มการบริโภคและการลงทุนในเอเชีย ให้สามารถทดแทนความต้องการสินค้าออกจากพวกประเทศตะวันตกซึ่งจะต้องลดฮวบลงไป อีกทั้งการเพิ่มบริโภคและการลงทุนในเอเชียเองยังจะเป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ด้วย เขากล่าวต่อ