นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาส 1 ซึ่งอยู่ที่ 6.1 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐและการใช้จ่ายการบริโภคชะลอตัวลง แต่เมื่อรวม 6 เดือน จีดีพีขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี จีดีพีเป็นร้อยละ 5.2-5.7 จากเดิมที่ตั้งไว้ร้อยละ 4.5-5.5 และปรับอัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 6.5-7 จากเดิมร้อยละ 5.3-5.8 โดยปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ อาทิ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาล และมาตรการภาษี เป็นต้น
นอกจากนี้ ปริมาณการส่งออกจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง ส่วนปัจจัยที่ยังเป็นความเสี่ยงคือดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวมลดลง จากการขาดดุลการค้าและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน เนื่องจากราคาน้ำมันและการเมือง
อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ยังเชื่อมั่นว่า หากน้ำมันอยู่ที่ 110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะไม่เกินตัวเลข 2 หลัก รวมทั้ง 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ที่เป็นตัวช่วย
ทั้งนี้ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี จีดีพีเป็นร้อยละ 5.2-5.7 จากเดิมที่ตั้งไว้ร้อยละ 4.5-5.5 และปรับอัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 6.5-7 จากเดิมร้อยละ 5.3-5.8 โดยปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ อาทิ 6 มาตรการ 6 เดือน ของรัฐบาล และมาตรการภาษี เป็นต้น
นอกจากนี้ ปริมาณการส่งออกจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง ส่วนปัจจัยที่ยังเป็นความเสี่ยงคือดุลบัญชีเดินสะพัดโดยรวมลดลง จากการขาดดุลการค้าและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน เนื่องจากราคาน้ำมันและการเมือง
อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ยังเชื่อมั่นว่า หากน้ำมันอยู่ที่ 110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เงินเฟ้อในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 จะไม่เกินตัวเลข 2 หลัก รวมทั้ง 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ที่เป็นตัวช่วย