“วันนี้ ผมยืนตรงนี้ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลที่ผมเป็นผู้นำนั้นจะ ปกป้อง สถาบันพระมหากษัตริย์ และจะเทิดทูนสถาบันนี้ มิให้ผู้ใดทำให้สถาบันนี้ไม่อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง ด้วยประการทั้งปวง” - - - คำแถลงของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 วันที่ 17 ธันวาคม 2551
คล้อยหลังคำแถลงในวันเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ เช้าวันที่ 29 ธ.ค. 51 บนเวทีปราศรัยของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หน้ารัฐสภา ก็ปรากฏภาพการแขวนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไว้เคียงกับข้อความว่า “อภิสิทธิ์ชน โจร”
ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวันที่ 30 ธ.ค. ปรากฏว่ามีเพียง ASTV ผู้จัดการรายวัน ไทยโพสต์ และแนวหน้า 3 ฉบับ เท่านั้นที่นำเสนอภาพและการกระทำจาบจ้วงดังกล่าว ขณะที่หนังสือพิมพ์ไทยหัวสี-หัวขาวดำ อื่นๆ ต่าง “เพลย์เซฟ” ด้วยการแสร้งหลับตาข้างหนึ่ง โดยทำนิ่งเงียบเป็นเป่าสาก เพราะแม้แต่พื้นที่ในเนื้อข่าวก็ไม่กล่าวถึง
ผมจะไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวของแกนนำกลุ่ม นปช. จงใจหรือไม่ เพราะหลังเหตุการณ์ แกนนำกลุ่ม นปช. ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด แต่ก็เป็นธรรมชาติของคนกระทำผิดที่มักจะทำ “ปากแข็ง” ไว้ก่อน แม้ว่าหลักฐานจะตำตา
กระนั้นผมอยากจะบอกเล่าอะไรสักหลายๆ อย่างแก่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ผู้ที่อาสาว่าจะทำหน้าที่ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับกระบวนการคุกคามและบ่อนทำลายราชวงศ์จักรี
หลังเหตุการณ์การสังหารและทำร้ายหมู่ประชาชนบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และบ่อนทำลายราชวงศ์จักรีนั้นได้เหิมเกริมมากขึ้นเป็นลำดับ จากดั้งเดิมที่ “ขบวนการ” ดังกล่าวมักจะแอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามเว็บไซต์ เว็บบอร์ดในโลกเสมือนจริง และวิทยุชุมชนไกลปืนเที่ยง
จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2551 หลังพิธีพระราชทานเพลิงศพของ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ วีรชนพันธมิตรฯ ที่เสียชีวิตจากระเบิดแก๊สน้ำตาของตำรวจที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ณ วัดศรีประวัติ จ.นนทบุรี ซึ่งพระราชินีเสด็จฯ พร้อมกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขบวนการหมิ่นและบ่อนทำลายราชวงศ์จักรีก็ผุดจากใต้ดินขึ้นมาบนดิน อย่างไม่เกรงกลัวแสงแดดอีกต่อไป
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ท่านทราบหรือไม่ว่า กระบวนการสร้างข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวเท็จเพื่อบ่อนทำลายราชวงศ์ได้แพร่กระจาย ขยายวงไปมากเท่าใดแล้ว?
ข่าวลือ-ข่าวเท็จเกี่ยวกับราชวงศ์ ไม่เพียงแพร่กระจายอยู่ตามต่างจังหวัด หรือชุมชนรอบปริมณฑล หรือเป็นเสียงกระซิบอยู่ตามสำนักงาน เพราะล่าสุดแม้แต่ผนังและประตูห้องสุขาตามห้างสรรพสินค้า และปั๊มน้ำมันใจกลางเมืองหลวงก็ปรากฏให้เห็นข้อความดังกล่าวแล้ว!
สำหรับเป้าหมายของการบ่อนทำลายนั้น ขบวนการดังกล่าวมุ่งโจมตีไปเป้าหมายดั้งเดิม คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยหลังวันที่ 13 ต.ค. เป็นต้นมา ขบวนการดังกล่าวได้เพิ่มเติมจำนวนเป้าหมายเป็นบุคคลสำคัญในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
ทั้งนี้ทั้งนั้น กาลเวลาและหลักฐานหลายประการได้ชี้ให้เห็นชัดว่า ขบวนการบ่อนทำลายราชวงศ์ดังกล่าว มิได้กระทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคึกคะนองแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปีแล้ว อย่างน้อยๆ ก็ก่อนการปรากฏขึ้นของเว็บไซต์มนุษยดอทคอม (www.manusaya.com) ในปี 2547 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ลิดรอนพระราชอำนาจโดยทำให้สถาบันกษัตริย์ไทยเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เหมือนกับสถาบันกษัตริย์ในประเทศ ญี่ปุ่น อังกฤษและอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป
ในกรณีของเว็บไซต์มนุษยดอทคอม แม้ว่าในปี 2549 พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมจะออกมาชี้แจงว่า เว็บไซต์มนุษยดอทคอม ไม่ได้ชักใยโดยกลุ่มการเมืองภายในประเทศแต่เกี่ยวพันกับองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี (พูโล) ก็ตาม
ทว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาหมิ่นสถาบันและมุ่งล้มล้างสถาบัน อย่างเช่น เว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน ประชาไท รวมไปถึงบุคคลอย่าง นายจักรภพ เพ็ญแข น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นายวราวุธ ฐานังกรณ์ (สุชาติ นาคบางไทร) และอีกหลายต่อหลายคน ที่สังคมรับทราบว่าเป็นผู้มี “ทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ต่างก็มิได้เป็นเครือข่ายหรือแนวร่วมของพูโลแต่อย่างใด
คำถามจึงขมวดมาตรงที่ว่า แล้วบุคคลเหล่านี้ เว็บไซต์เหล่านี้ ขบวนการเหล่านี้ ที่พยายามเผยแพร่ข้อมูลและข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันและราชวงศ์นั้นเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่? มีความเกี่ยวพันกันอย่างไร? มีเครือข่าวเชื่อมโยงกันอย่างไร? และมีหลักการและหลักเหตุผลใดในการกระทำเช่นนั้น? ... คำถามเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณอภิสิทธิ์และทีมงานต้องเร่งหาคำตอบให้กับสังคม
• การเผยแพร่ภาพธงชาติสาธารณรัฐสยามที่ปราศจากแถบสีน้ำเงินในเว็บไซต์บางแห่ง
• การขึงภาพเท้าไดโนเสาร์สวมแหวนเพชรบลูไดมอนด์กำลังเหยียบประเทศไทย บนฉากหลังเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวงในช่วงปลายปี 2551
• การพ่นสีสเปรย์เป็นคำหยาบคายลงบนป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ จ.อุดรธานี เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2551
• การเผยแพร่บทความและรายงานที่บิดเบือนและเป็นเท็จต่อราชวงศ์และประเทศไทยในนิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับต้นเดือนธันวาคม 2551
และล่าสุด การแขวนป้ายพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงและพระราชินีคู่กับข้อความ “อภิสิทธิ์ชน โจร” ที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่าการกระทำดังกล่าวย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ เหตุเข้าใจผิด หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เป็นขบวนการที่มีรากฐาน มีการบ่มเพาะอย่างซึมลึกและแนบเนียน
หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่เร่งแก้ไขและตัดไฟแต่ต้นลม ... เมื่อเวลาทอดไป วาจาที่ท่านลั่นไว้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ว่าจะปกป้องและเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ย่อมจะหันมาทิ่มแทงตัวท่านเอง และที่สำคัญกว่านั้นจะทำให้ขบวนการดังกล่าวเหิมเกริมและดำเนินการคุกคามสถาบันเบื้องสูงและความมั่นคงของชาติหนักข้อขึ้นๆ อย่างแน่นอน
คล้อยหลังคำแถลงในวันเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ เช้าวันที่ 29 ธ.ค. 51 บนเวทีปราศรัยของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หน้ารัฐสภา ก็ปรากฏภาพการแขวนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไว้เคียงกับข้อความว่า “อภิสิทธิ์ชน โจร”
ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวันที่ 30 ธ.ค. ปรากฏว่ามีเพียง ASTV ผู้จัดการรายวัน ไทยโพสต์ และแนวหน้า 3 ฉบับ เท่านั้นที่นำเสนอภาพและการกระทำจาบจ้วงดังกล่าว ขณะที่หนังสือพิมพ์ไทยหัวสี-หัวขาวดำ อื่นๆ ต่าง “เพลย์เซฟ” ด้วยการแสร้งหลับตาข้างหนึ่ง โดยทำนิ่งเงียบเป็นเป่าสาก เพราะแม้แต่พื้นที่ในเนื้อข่าวก็ไม่กล่าวถึง
ผมจะไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวของแกนนำกลุ่ม นปช. จงใจหรือไม่ เพราะหลังเหตุการณ์ แกนนำกลุ่ม นปช. ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด แต่ก็เป็นธรรมชาติของคนกระทำผิดที่มักจะทำ “ปากแข็ง” ไว้ก่อน แม้ว่าหลักฐานจะตำตา
กระนั้นผมอยากจะบอกเล่าอะไรสักหลายๆ อย่างแก่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ ผู้ที่อาสาว่าจะทำหน้าที่ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับกระบวนการคุกคามและบ่อนทำลายราชวงศ์จักรี
หลังเหตุการณ์การสังหารและทำร้ายหมู่ประชาชนบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และบ่อนทำลายราชวงศ์จักรีนั้นได้เหิมเกริมมากขึ้นเป็นลำดับ จากดั้งเดิมที่ “ขบวนการ” ดังกล่าวมักจะแอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามเว็บไซต์ เว็บบอร์ดในโลกเสมือนจริง และวิทยุชุมชนไกลปืนเที่ยง
จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2551 หลังพิธีพระราชทานเพลิงศพของ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ วีรชนพันธมิตรฯ ที่เสียชีวิตจากระเบิดแก๊สน้ำตาของตำรวจที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ณ วัดศรีประวัติ จ.นนทบุรี ซึ่งพระราชินีเสด็จฯ พร้อมกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขบวนการหมิ่นและบ่อนทำลายราชวงศ์จักรีก็ผุดจากใต้ดินขึ้นมาบนดิน อย่างไม่เกรงกลัวแสงแดดอีกต่อไป
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ท่านทราบหรือไม่ว่า กระบวนการสร้างข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวเท็จเพื่อบ่อนทำลายราชวงศ์ได้แพร่กระจาย ขยายวงไปมากเท่าใดแล้ว?
ข่าวลือ-ข่าวเท็จเกี่ยวกับราชวงศ์ ไม่เพียงแพร่กระจายอยู่ตามต่างจังหวัด หรือชุมชนรอบปริมณฑล หรือเป็นเสียงกระซิบอยู่ตามสำนักงาน เพราะล่าสุดแม้แต่ผนังและประตูห้องสุขาตามห้างสรรพสินค้า และปั๊มน้ำมันใจกลางเมืองหลวงก็ปรากฏให้เห็นข้อความดังกล่าวแล้ว!
สำหรับเป้าหมายของการบ่อนทำลายนั้น ขบวนการดังกล่าวมุ่งโจมตีไปเป้าหมายดั้งเดิม คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยหลังวันที่ 13 ต.ค. เป็นต้นมา ขบวนการดังกล่าวได้เพิ่มเติมจำนวนเป้าหมายเป็นบุคคลสำคัญในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
ทั้งนี้ทั้งนั้น กาลเวลาและหลักฐานหลายประการได้ชี้ให้เห็นชัดว่า ขบวนการบ่อนทำลายราชวงศ์ดังกล่าว มิได้กระทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคึกคะนองแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปีแล้ว อย่างน้อยๆ ก็ก่อนการปรากฏขึ้นของเว็บไซต์มนุษยดอทคอม (www.manusaya.com) ในปี 2547 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ลิดรอนพระราชอำนาจโดยทำให้สถาบันกษัตริย์ไทยเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เหมือนกับสถาบันกษัตริย์ในประเทศ ญี่ปุ่น อังกฤษและอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป
ในกรณีของเว็บไซต์มนุษยดอทคอม แม้ว่าในปี 2549 พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมจะออกมาชี้แจงว่า เว็บไซต์มนุษยดอทคอม ไม่ได้ชักใยโดยกลุ่มการเมืองภายในประเทศแต่เกี่ยวพันกับองค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี (พูโล) ก็ตาม
ทว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาหมิ่นสถาบันและมุ่งล้มล้างสถาบัน อย่างเช่น เว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน ประชาไท รวมไปถึงบุคคลอย่าง นายจักรภพ เพ็ญแข น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นายวราวุธ ฐานังกรณ์ (สุชาติ นาคบางไทร) และอีกหลายต่อหลายคน ที่สังคมรับทราบว่าเป็นผู้มี “ทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ต่างก็มิได้เป็นเครือข่ายหรือแนวร่วมของพูโลแต่อย่างใด
คำถามจึงขมวดมาตรงที่ว่า แล้วบุคคลเหล่านี้ เว็บไซต์เหล่านี้ ขบวนการเหล่านี้ ที่พยายามเผยแพร่ข้อมูลและข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันและราชวงศ์นั้นเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่? มีความเกี่ยวพันกันอย่างไร? มีเครือข่าวเชื่อมโยงกันอย่างไร? และมีหลักการและหลักเหตุผลใดในการกระทำเช่นนั้น? ... คำถามเหล่านี้เป็นเรื่องที่คุณอภิสิทธิ์และทีมงานต้องเร่งหาคำตอบให้กับสังคม
• การเผยแพร่ภาพธงชาติสาธารณรัฐสยามที่ปราศจากแถบสีน้ำเงินในเว็บไซต์บางแห่ง
• การขึงภาพเท้าไดโนเสาร์สวมแหวนเพชรบลูไดมอนด์กำลังเหยียบประเทศไทย บนฉากหลังเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวงในช่วงปลายปี 2551
• การพ่นสีสเปรย์เป็นคำหยาบคายลงบนป้ายพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ จ.อุดรธานี เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2551
• การเผยแพร่บทความและรายงานที่บิดเบือนและเป็นเท็จต่อราชวงศ์และประเทศไทยในนิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับต้นเดือนธันวาคม 2551
และล่าสุด การแขวนป้ายพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงและพระราชินีคู่กับข้อความ “อภิสิทธิ์ชน โจร” ที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่าการกระทำดังกล่าวย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญ เหตุเข้าใจผิด หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เป็นขบวนการที่มีรากฐาน มีการบ่มเพาะอย่างซึมลึกและแนบเนียน
หากรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่เร่งแก้ไขและตัดไฟแต่ต้นลม ... เมื่อเวลาทอดไป วาจาที่ท่านลั่นไว้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ว่าจะปกป้องและเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ย่อมจะหันมาทิ่มแทงตัวท่านเอง และที่สำคัญกว่านั้นจะทำให้ขบวนการดังกล่าวเหิมเกริมและดำเนินการคุกคามสถาบันเบื้องสูงและความมั่นคงของชาติหนักข้อขึ้นๆ อย่างแน่นอน