ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์” ยันข้าวไทยไม่มีเชื้อรา เชื่อน่าจะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง หรือเก็บรักษาในญี่ปุ่น เพราะก่อนส่งออก “เกษตร” ตรวจเข้มอยู่แล้ว หากพบสารเคมีตกค้าง-เชื้อโรคปนเปื้อน ไม่อนุญาตส่งออก หวั่นเสียชื่อเสียง-ภาพลักษณ์สินค้าไทย
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ญี่ปุ่นตรวจพบสารอะฟลาท็อกซิน บี 1 ในข้าวที่นำเข้าจากไทยเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารแปรรูปว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา ได้ชี้แจงว่า ข้าวนำเข้าจากไทย ที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่นได้ตรวจพบสารอะฟลาท็อกซิน บี 1 ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดที่รุนแรงนั้น เป็นข้าวที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิ.ย.2551 แต่ญี่ปุ่นเพิ่งตรวจพบเมื่อเดือนต.ค.51 ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า สารดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง และเก็บรักษาในประเทศญี่ปุ่น เช่น โดนเกล็ดหิมะ หรือละอองฝน
“ไม่รู้ว่าเกิดเชื้อราขึ้นตั้งแต่เมื่อไร อาจเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น หรือระหว่างการขนส่งก็ได้ เพราะไทยส่งออกข้าวล็อตนั้นตั้งแต่เดือนมิ.ย. แต่ญี่ปุ่นเพิ่งพบเมื่อเดือนต.ค. หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขายข้าวดังกล่าวให้กับผู้ผลิตอาหารแปรรูปในประเทศ และผู้ผลิตรายนั้นตรวจพบ จึงยังบอกไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในกระบวนการใด ส่วนจะเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าหรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ แต่การห้ามนำเข้าจะต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และระบุล็อตที่มีปัญหาอย่างชัดเจนด้วย” นายกฤษฎากล่าว
ปัจจุบัน ก่อนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารต่างๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยตรวจสอบอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งสารเคมีตกค้าง เชื้อโรค และสารปนเปื้อนในผักสด เมื่อพบว่า ไม่มีสารใดๆ ตกค้าง หรือเชื้อโรคปนเปื้อน จึงออกใบรับรองความปลอดภัยให้ส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ขอแจ้งเตือนให้ผู้ส่งออกระมัดระวังตรวจสอบสินค้าอาหาร และเกษตรก่อนส่งออกให้ดี เพื่อรักษามาตรฐานสุขอนามัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
นายวิจักร วิเศษน้อย ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าว ยังตรวจสอบไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในช่วงใด และยังพบในปริมาณน้อยมากเพียง 0.04 พีพีเอ็ม (พาร์ต เพอร์ มิลเลียน) หรือเกือบจะเป็นศูนย์ อีกทั้งในการนำเข้า ญี่ปุ่นตรวจสอบสารเคมีในสินค้าเกษตรนำเข้าอย่างเข้มงวดมาก 500-600 ชนิด แต่ที่น่าแปลกใจ คือ ทำไมเพิ่งจะมีข่าวหลังจากการนำเข้านานหลายเดือน
“ผมตั้งข้อสังเกตว่า ญี่ปุ่นตรวจสอบสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรนำเข้าอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีตกค้างจะไม่อนุญาตให้นำเข้าเลย แต่กรณีของไทย พบเมื่อเดือนต.ค. หลังจากการนำเข้านานหลายเดือน จึงอาจเป็นไปได้ว่า สารที่พบไม่ได้เกิดจากประเทศไทย ผู้ส่งออกไทยระมัดระวังไม่ให้มีสารตกค้างอยู่แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่น ที่เข้มงวดสารตกค้างมาก แต่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการขนส่ง หรือการเก็บรักษาก็ได้ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน ต้องตรวจสอบก่อน” นายวิจักรกล่าว
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ญี่ปุ่นตรวจพบสารอะฟลาท็อกซิน บี 1 ในข้าวที่นำเข้าจากไทยเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารแปรรูปว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา ได้ชี้แจงว่า ข้าวนำเข้าจากไทย ที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่นได้ตรวจพบสารอะฟลาท็อกซิน บี 1 ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดที่รุนแรงนั้น เป็นข้าวที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิ.ย.2551 แต่ญี่ปุ่นเพิ่งตรวจพบเมื่อเดือนต.ค.51 ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า สารดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง และเก็บรักษาในประเทศญี่ปุ่น เช่น โดนเกล็ดหิมะ หรือละอองฝน
“ไม่รู้ว่าเกิดเชื้อราขึ้นตั้งแต่เมื่อไร อาจเกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น หรือระหว่างการขนส่งก็ได้ เพราะไทยส่งออกข้าวล็อตนั้นตั้งแต่เดือนมิ.ย. แต่ญี่ปุ่นเพิ่งพบเมื่อเดือนต.ค. หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขายข้าวดังกล่าวให้กับผู้ผลิตอาหารแปรรูปในประเทศ และผู้ผลิตรายนั้นตรวจพบ จึงยังบอกไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในกระบวนการใด ส่วนจะเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าหรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ แต่การห้ามนำเข้าจะต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และระบุล็อตที่มีปัญหาอย่างชัดเจนด้วย” นายกฤษฎากล่าว
ปัจจุบัน ก่อนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารต่างๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยตรวจสอบอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งสารเคมีตกค้าง เชื้อโรค และสารปนเปื้อนในผักสด เมื่อพบว่า ไม่มีสารใดๆ ตกค้าง หรือเชื้อโรคปนเปื้อน จึงออกใบรับรองความปลอดภัยให้ส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม ขอแจ้งเตือนให้ผู้ส่งออกระมัดระวังตรวจสอบสินค้าอาหาร และเกษตรก่อนส่งออกให้ดี เพื่อรักษามาตรฐานสุขอนามัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
นายวิจักร วิเศษน้อย ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าว ยังตรวจสอบไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในช่วงใด และยังพบในปริมาณน้อยมากเพียง 0.04 พีพีเอ็ม (พาร์ต เพอร์ มิลเลียน) หรือเกือบจะเป็นศูนย์ อีกทั้งในการนำเข้า ญี่ปุ่นตรวจสอบสารเคมีในสินค้าเกษตรนำเข้าอย่างเข้มงวดมาก 500-600 ชนิด แต่ที่น่าแปลกใจ คือ ทำไมเพิ่งจะมีข่าวหลังจากการนำเข้านานหลายเดือน
“ผมตั้งข้อสังเกตว่า ญี่ปุ่นตรวจสอบสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรนำเข้าอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีตกค้างจะไม่อนุญาตให้นำเข้าเลย แต่กรณีของไทย พบเมื่อเดือนต.ค. หลังจากการนำเข้านานหลายเดือน จึงอาจเป็นไปได้ว่า สารที่พบไม่ได้เกิดจากประเทศไทย ผู้ส่งออกไทยระมัดระวังไม่ให้มีสารตกค้างอยู่แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่น ที่เข้มงวดสารตกค้างมาก แต่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการขนส่ง หรือการเก็บรักษาก็ได้ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน ต้องตรวจสอบก่อน” นายวิจักรกล่าว