กระบี่- เงินทุนโพ้นทะเลญี่ปุ่น ไจก้า หนุนธุรกิจเอสเอ็มอีใต้ ส่งทีมสำรวจโครงการวางระบบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) มาช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการโรงงานน้ำมันปาล์ม โรงงานไม้ยางพารา อาหารแปรรูปแช่แข็ง ฯลฯ ให้มีความทันสมัยเป็นระบบและมีมาตรฐาน
นายดำริห์ บุญจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น นำโดย นายโอซึกะ คุนิโอะ หัวหน้าคณะสำรวจโครงการวางระบบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการสำรวจแผนการวางระบบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ทางคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นสนใจที่จะมาสำรวจแผนการวางระบบ (SMEs) โดยเลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการสร้างระบบส่งเสริม (SMEs) ที่ใช้นักวินิจฉัยเป็นเครื่องมือ ผ่านเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้คำปรึกษา (SMEs) ในระดับท้องถิ่น โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงานในส่วนกลาง และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งเป้าหมายหลัก ที่คณะผู้เชี่ยวชาญจะลงไปสำรวจในเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย โรงงานน้ำมันปาล์ม โรงงานไม้ยางพารา โรงงานผลิตไอศรีม และโรงงานอาหารแปรรูปแช่แข็ง โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 2 ปี
ขณะที่ ทางด้าน นายโอซึกะ คุนิโอะ หัวหน้าคณะสำรวจ ได่กล่าวว่า หากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการในโรงงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีความทันสมัย และเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบและมีมาตรฐานการทำงาน ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจากไจก้าประเทศญี่ปุ่น
นายดำริห์ บุญจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น นำโดย นายโอซึกะ คุนิโอะ หัวหน้าคณะสำรวจโครงการวางระบบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้เดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อหารือและขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการสำรวจแผนการวางระบบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ทางคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นสนใจที่จะมาสำรวจแผนการวางระบบ (SMEs) โดยเลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดนำร่อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการสร้างระบบส่งเสริม (SMEs) ที่ใช้นักวินิจฉัยเป็นเครื่องมือ ผ่านเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้คำปรึกษา (SMEs) ในระดับท้องถิ่น โดยมีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงานในส่วนกลาง และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งเป้าหมายหลัก ที่คณะผู้เชี่ยวชาญจะลงไปสำรวจในเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย โรงงานน้ำมันปาล์ม โรงงานไม้ยางพารา โรงงานผลิตไอศรีม และโรงงานอาหารแปรรูปแช่แข็ง โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 2 ปี
ขณะที่ ทางด้าน นายโอซึกะ คุนิโอะ หัวหน้าคณะสำรวจ ได่กล่าวว่า หากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการในโรงงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีความทันสมัย และเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบและมีมาตรฐานการทำงาน ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจากไจก้าประเทศญี่ปุ่น