กกต.เผยผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ยังมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ 16 ราย จากปชป.2 ชาติไทยพัฒนา 11 และความหวังใหม่ 3 ชี้เป็นดุลพินิจของกกต.จังหวัด ด้าน"เพื่อไทย"เตรียมลุยหาเสียงอีสาน มั่นใจได้ 10 ที่นั่ง จี้ "อภิสิทธิ์" ลาออกหากรัฐบาลทำงานไม่ได้ ฟันธง ปชป. ตั้งรัฐบาลเพื่อชิงความได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งหน้า
เมื่อวานนี้ (5 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) อาคารศูนย์ราชการพระเกียรติ ถ. แจ้งวัฒนะ นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมทั้ง 29 คน ว่า กรณีการเลือกตั้งส.ส.แทนตำแหน่งที่ว่างที่มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรค 90 วัน จนถึงเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งพบว่า มีพรรคการเมืองที่จดทะเบียนไว้ที่ กกต.ได้แก่ พรรคประชาราช พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน และในการตรวจสอบฐานข้อมูลในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองว่า
1.การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองผู้ที่สมัครจะต้องเป็นสมาชิกเพียงพรรคการเมืองเดียว 2.จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ซึ่งจากการตรวจสอบยังมีผู้สมัคร ส.ส.ที่มีปัญหา 16 ราย ดังนั้นต้องตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้สมัคร อีกทั้งกกตได้ส่งเอกสารไปยังพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร เพื่อดำเนินการชี้แจง เชื่อว่าคงไม่นานจะได้รับข้อมูลการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครส.ส.ที่มีปัญหา
นายปกครอง สุนทรสุทธิ รองเลขาธิการด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า อำนาจในการประกาศรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะเป็นของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้ 3 วิธีในการตรวจสอบว่า ผู้สมัคร ส.ส.มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่คือ
1. หนังสือที่ทางหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าพรรค ซึ่งทางด้านกิจการพรรคจะส่งรายชื่อไปยัง ผอ.ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งถือว่า เป็นพนักงาน และถ้าหัวหน้าพรรคแจ้งความอันเป็นเท็จก็ถือว่า แจ้งความเท็จต่อพนักงาน โดยผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 83 ราย มีผู้สอบถามในเรื่องคุณสมบัติ 33 ราย ซึ่งมีอยู่ 16 ราย ที่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ แบ่งเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน ซึ่งไม่พบชื่อในฐานข้อมูลพรรคการเมือง เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนา 11 คน ส่วนพรรคความหวังใหม่ 3 คน พบว่า มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคซ้ำซ้อนกัน
ส่วนผู้สมัครของพรรคชาติไทยพัฒนาทั้ง 11 คน ที่ยังมีปัญหานั้น เนื่องจากทางสำนักงาน กกต.ตรวจไม่พบรายชื่อของผู้สมัครในฐานข้อมูลของผู้สมัคร เพราะทางพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งข้อมูลไม่ตรงวงรอบของการแจ้งยอดสมาชิกพรรค ซึ่งตามปกติแล้ว ทางกกต.จะปรับฐานข้อมูลสมาชิกเป็นไตรมาส ซึ่งรอบไตรมาสปัจจุบัน คือวัน ที่ 7 ม.ค. 52 แต่ทางพรรคชาติไทยพัฒนา กลับแจ้งรายชื่อพร้อมสำเนาใบสมัครไม่ตรงตามกำหนด ที่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของนายทะเบียนพรรคการเมือง ข้อ 6 ที่ระบุว่า หากพรรคการเมืองรับสมัครสมาชิกในสัปดาห์ใดก็ตาม พรรคการเมืองจะต้องส่งสำเนาใบสมัครมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบทราบภายใน 7 วัน
ทั้งนี้ ในใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้สมัครพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ลงวันที่สมัครไว้ในวันที่ 7 และ 8 ต.ค. 51 แต่ทางพรรคชาติไทย กลับแจ้งมายังนายทะเบียนพรรคการเมืองในวันที่ 15 ธ.ค. 52 ซึ่งทาง กกต.ไม่ทราบว่า เป็นการเขียนใบสมัครย้อนหลัง เพื่อสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน หรือไม่
นายปกครอง กล่าวอีกว่า ทาง กกต.จึงส่งหนังสือให้ทางพรรคชาติไทยพัฒนา ให้มาชี้แจงโดยเร็วว่า เพราะเหตุใดทางพรรคจึงไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว นอกจากนี้ กกต. ยังได้ส่งข้อมูลไปยัง ผอ.กต.ประจำเขต ว่าใบสมัครของผู้สมัครพรรคดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ซึ่งหลังจากนั้นก็เป็นดุลพินิจของ ผอ.กต.ประจำเขตว่า จะอนุญาตให้ผู้สมัครสามารถลงสมัครเลือกตั้งได้หรือไม่ และทาง กกต.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง ผอ.กต.ประจำเขต โดยใช้ถ้อยคำว่า "ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ผู้สมัครผู้นั้นได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในวันที่ระบุไว้ท้ายใบสมัครหรือไม่"
ด้านนายกฤช เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการ กล่าวถึงกรณี จ.อุทัยธานีที่ประกาศไม่รับรองผู้สมัครเนื่องจากคุณสมบัติ ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้สมัครที่จะไปยื่นคำร้องคัดค้านที่ศาลฎีกา ซึ่งศาลจะวินิจฉัยภายใน 3 วัน แต่ในส่วนของจังหวัดอื่น ผู้สมัครส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา ผอ.กต.ประจำเขต ประกาศรับรองผู้สมัครก็เป็นดุลยพินิจของ ผอ.กต.ประจำเขต ที่จะรับรองหรือไม่รับรองก็ได้ แต่ทั้งนี้ หากมีปัญหา ผอ.กต.ประจำเขต ก็จะต้องบอกเหตุผลว่า ทำไมถึงรับรอง ให้ผู้สมัครรายนั้นลงสมัครเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า จะมีปัญหาในเรื่องของการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าหรือไม่ เพราะเมื่อถ้าประชาชนเลือกคนที่อาจจะมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ นางสดศรี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ที่ จ.อุทัยธานี เขต 1 พบว่า บอร์ดที่ติดป้ายชื่อผู้สมัครนั้น ได้ติดป้ายชื่อผู้สมัคร 2 ราย รายแรกคือ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ผู้สมัครพรรคประชาราช ซึ่งทาง กกต.เขตรับรองให้เป็นผู้สมัคร แต่อีกรายหนึ่งคือ นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้สมัครพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งรายนี้ทาง กกต.เขตไม่รับรอง จึงได้ติดข้อความไว้ตรงรายชื่อว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หากศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองว่า นายอดุลย์ มีคุณสมบัติครบถ้วน คะแนนของผู้ที่ใช้สิทธิลงคะแนนให้นายอดุลย์ ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า ก็จะถือว่าเป็นบัตรดี แต่หากศาลวินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติ บัตรเลือกตั้งดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นโมฆะ
"ส่วนผู้สมัครเลือกตั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา รายอื่นๆ นั้น แม้จะได้รับการรับรองให้เป็นผู้สมัคร แต่หากศาลฎีกาวินิจฉัยตัดสิทธิ์ นายอดุลย์ ก็จะส่งผลถึงผู้สมัครของพรรครายอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม หากนายอดุลย์ ถูกวินิจฉัยตัดสิทธิจริง นายกุลเดช ผู้สมัครจากพรรคประชาราช ก็จะต้องได้รับคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นไม่ตำกว่า 20% " นางสดศรีกล่าว
นางสดศรี ยังกล่าวอีกว่า หลังการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 11 ม.ค. หากไม่มีการร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้งเข้ามา กกต.ก็จะประกาศรับรองผลภายใน 7 วัน แต่หากมีการร้องเรียนเข้ามา กกต.ก็จะต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
**เพื่อไทยคุยเลือกตั้งซ่อมได้10ที่นั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ในการเดินสายหาเสียงเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งทีมปราศรัยนำโดยร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน จะเดินสายหาเสียงตั้งแต่วันที่ 6-9 ม.ค. โดยเริ่มที่ จ.อุดรธานี นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เราพร้อมและมีความมั่นใจว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้พรรคเพื่อไทยจะได้ส.ส.อย่างน้อย 10 เก้าอี้ หรือบวกลบ 2 ทั้งนี้ เราได้มีการทำโพล สำรวจความเห็นของประชาชนมาโดยตลอด และถ้าได้เสียงเพิ่มมาตามที่คาดหมายไว้ จะทำให้เสียงในสภาระหว่างรัฐบาล และฝ่ายค้านนั้นต่างกันไม่มาก และเมื่อถึงตอนนั้นเกิดอุบัติเหตุรัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ ตนก็อยากเรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลาออก แล้วปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงานต่อไป คือให้พรรคที่มีเสียงข้างมากดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเราเชื่อว่านายอภิสิทธิ์จะไม่ลาออกแน่นอน แต่จะใช้วิธีการยุบสภาแทนแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่
นายคณวัฒน์ กล่าวด้วยว่า การตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อที่บริหารประเทศ แต่ตั้งรัฐบาลเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง เตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่จะมีขึ้นในไม่ช้า เพราะนายยกฯ ก็บอกเองว่าพร้อมที่จะยุบสภา ชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และมาตรการต่างๆ ที่จะออกมาก็เพื่อซื้อใจประชาชนก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
เมื่อวานนี้ (5 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) อาคารศูนย์ราชการพระเกียรติ ถ. แจ้งวัฒนะ นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมทั้ง 29 คน ว่า กรณีการเลือกตั้งส.ส.แทนตำแหน่งที่ว่างที่มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรค 90 วัน จนถึงเลือกตั้งนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งพบว่า มีพรรคการเมืองที่จดทะเบียนไว้ที่ กกต.ได้แก่ พรรคประชาราช พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน และในการตรวจสอบฐานข้อมูลในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองว่า
1.การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองผู้ที่สมัครจะต้องเป็นสมาชิกเพียงพรรคการเมืองเดียว 2.จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ซึ่งจากการตรวจสอบยังมีผู้สมัคร ส.ส.ที่มีปัญหา 16 ราย ดังนั้นต้องตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้สมัคร อีกทั้งกกตได้ส่งเอกสารไปยังพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร เพื่อดำเนินการชี้แจง เชื่อว่าคงไม่นานจะได้รับข้อมูลการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครส.ส.ที่มีปัญหา
นายปกครอง สุนทรสุทธิ รองเลขาธิการด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า อำนาจในการประกาศรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะเป็นของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้ 3 วิธีในการตรวจสอบว่า ผู้สมัคร ส.ส.มีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่คือ
1. หนังสือที่ทางหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าพรรค ซึ่งทางด้านกิจการพรรคจะส่งรายชื่อไปยัง ผอ.ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งถือว่า เป็นพนักงาน และถ้าหัวหน้าพรรคแจ้งความอันเป็นเท็จก็ถือว่า แจ้งความเท็จต่อพนักงาน โดยผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 83 ราย มีผู้สอบถามในเรื่องคุณสมบัติ 33 ราย ซึ่งมีอยู่ 16 ราย ที่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ แบ่งเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน ซึ่งไม่พบชื่อในฐานข้อมูลพรรคการเมือง เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนา 11 คน ส่วนพรรคความหวังใหม่ 3 คน พบว่า มีชื่อเป็นสมาชิกพรรคซ้ำซ้อนกัน
ส่วนผู้สมัครของพรรคชาติไทยพัฒนาทั้ง 11 คน ที่ยังมีปัญหานั้น เนื่องจากทางสำนักงาน กกต.ตรวจไม่พบรายชื่อของผู้สมัครในฐานข้อมูลของผู้สมัคร เพราะทางพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งข้อมูลไม่ตรงวงรอบของการแจ้งยอดสมาชิกพรรค ซึ่งตามปกติแล้ว ทางกกต.จะปรับฐานข้อมูลสมาชิกเป็นไตรมาส ซึ่งรอบไตรมาสปัจจุบัน คือวัน ที่ 7 ม.ค. 52 แต่ทางพรรคชาติไทยพัฒนา กลับแจ้งรายชื่อพร้อมสำเนาใบสมัครไม่ตรงตามกำหนด ที่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของนายทะเบียนพรรคการเมือง ข้อ 6 ที่ระบุว่า หากพรรคการเมืองรับสมัครสมาชิกในสัปดาห์ใดก็ตาม พรรคการเมืองจะต้องส่งสำเนาใบสมัครมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบทราบภายใน 7 วัน
ทั้งนี้ ในใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้สมัครพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ลงวันที่สมัครไว้ในวันที่ 7 และ 8 ต.ค. 51 แต่ทางพรรคชาติไทย กลับแจ้งมายังนายทะเบียนพรรคการเมืองในวันที่ 15 ธ.ค. 52 ซึ่งทาง กกต.ไม่ทราบว่า เป็นการเขียนใบสมัครย้อนหลัง เพื่อสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน หรือไม่
นายปกครอง กล่าวอีกว่า ทาง กกต.จึงส่งหนังสือให้ทางพรรคชาติไทยพัฒนา ให้มาชี้แจงโดยเร็วว่า เพราะเหตุใดทางพรรคจึงไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าว นอกจากนี้ กกต. ยังได้ส่งข้อมูลไปยัง ผอ.กต.ประจำเขต ว่าใบสมัครของผู้สมัครพรรคดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ซึ่งหลังจากนั้นก็เป็นดุลพินิจของ ผอ.กต.ประจำเขตว่า จะอนุญาตให้ผู้สมัครสามารถลงสมัครเลือกตั้งได้หรือไม่ และทาง กกต.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง ผอ.กต.ประจำเขต โดยใช้ถ้อยคำว่า "ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่อาจยืนยันได้ว่า ผู้สมัครผู้นั้นได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในวันที่ระบุไว้ท้ายใบสมัครหรือไม่"
ด้านนายกฤช เอื้อวงศ์ ผู้อำนวยการ กล่าวถึงกรณี จ.อุทัยธานีที่ประกาศไม่รับรองผู้สมัครเนื่องจากคุณสมบัติ ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้สมัครที่จะไปยื่นคำร้องคัดค้านที่ศาลฎีกา ซึ่งศาลจะวินิจฉัยภายใน 3 วัน แต่ในส่วนของจังหวัดอื่น ผู้สมัครส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา ผอ.กต.ประจำเขต ประกาศรับรองผู้สมัครก็เป็นดุลยพินิจของ ผอ.กต.ประจำเขต ที่จะรับรองหรือไม่รับรองก็ได้ แต่ทั้งนี้ หากมีปัญหา ผอ.กต.ประจำเขต ก็จะต้องบอกเหตุผลว่า ทำไมถึงรับรอง ให้ผู้สมัครรายนั้นลงสมัครเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า จะมีปัญหาในเรื่องของการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าหรือไม่ เพราะเมื่อถ้าประชาชนเลือกคนที่อาจจะมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ นางสดศรี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ที่ จ.อุทัยธานี เขต 1 พบว่า บอร์ดที่ติดป้ายชื่อผู้สมัครนั้น ได้ติดป้ายชื่อผู้สมัคร 2 ราย รายแรกคือ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ผู้สมัครพรรคประชาราช ซึ่งทาง กกต.เขตรับรองให้เป็นผู้สมัคร แต่อีกรายหนึ่งคือ นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้สมัครพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งรายนี้ทาง กกต.เขตไม่รับรอง จึงได้ติดข้อความไว้ตรงรายชื่อว่า อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หากศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองว่า นายอดุลย์ มีคุณสมบัติครบถ้วน คะแนนของผู้ที่ใช้สิทธิลงคะแนนให้นายอดุลย์ ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า ก็จะถือว่าเป็นบัตรดี แต่หากศาลวินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติ บัตรเลือกตั้งดังกล่าวก็จะถือว่าเป็นโมฆะ
"ส่วนผู้สมัครเลือกตั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา รายอื่นๆ นั้น แม้จะได้รับการรับรองให้เป็นผู้สมัคร แต่หากศาลฎีกาวินิจฉัยตัดสิทธิ์ นายอดุลย์ ก็จะส่งผลถึงผู้สมัครของพรรครายอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม หากนายอดุลย์ ถูกวินิจฉัยตัดสิทธิจริง นายกุลเดช ผู้สมัครจากพรรคประชาราช ก็จะต้องได้รับคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นไม่ตำกว่า 20% " นางสดศรีกล่าว
นางสดศรี ยังกล่าวอีกว่า หลังการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 11 ม.ค. หากไม่มีการร้องเรียนการทุจริตเลือกตั้งเข้ามา กกต.ก็จะประกาศรับรองผลภายใน 7 วัน แต่หากมีการร้องเรียนเข้ามา กกต.ก็จะต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
**เพื่อไทยคุยเลือกตั้งซ่อมได้10ที่นั่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ในการเดินสายหาเสียงเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งทีมปราศรัยนำโดยร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน จะเดินสายหาเสียงตั้งแต่วันที่ 6-9 ม.ค. โดยเริ่มที่ จ.อุดรธานี นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เราพร้อมและมีความมั่นใจว่าการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้พรรคเพื่อไทยจะได้ส.ส.อย่างน้อย 10 เก้าอี้ หรือบวกลบ 2 ทั้งนี้ เราได้มีการทำโพล สำรวจความเห็นของประชาชนมาโดยตลอด และถ้าได้เสียงเพิ่มมาตามที่คาดหมายไว้ จะทำให้เสียงในสภาระหว่างรัฐบาล และฝ่ายค้านนั้นต่างกันไม่มาก และเมื่อถึงตอนนั้นเกิดอุบัติเหตุรัฐบาลไม่สามารถทำงานได้ ตนก็อยากเรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลาออก แล้วปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงานต่อไป คือให้พรรคที่มีเสียงข้างมากดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเราเชื่อว่านายอภิสิทธิ์จะไม่ลาออกแน่นอน แต่จะใช้วิธีการยุบสภาแทนแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่
นายคณวัฒน์ กล่าวด้วยว่า การตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อที่บริหารประเทศ แต่ตั้งรัฐบาลเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง เตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่จะมีขึ้นในไม่ช้า เพราะนายยกฯ ก็บอกเองว่าพร้อมที่จะยุบสภา ชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริง และมาตรการต่างๆ ที่จะออกมาก็เพื่อซื้อใจประชาชนก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง