การเมืองในหลาย ๆ กรณีเป็นเรื่องของสัญลักษณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองไทย
วันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ถ้าเราไปให้พ้นการเมืองฉากหน้าเรื่องการแถลงนโยบายรัฐบาลที่เผชิญการต่อต้านจากกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว ข่าวบางข่าวจะทำให้เรามองเห็นบ้านเมืองในเรื่องจริงที่เป็นจริงได้ไม่มากก็น้อย
ประการสำคัญที่สุดคือความผูกพันความจงรักภักดีของคนไทยที่มีต่อองค์พระประมุข
เชื่อว่าเมื่อบ่ายวันที่ 28 ธันวาคม 2551 ท่านผู้อ่านทุกท่านจะต้องมีความสุข มีความอิ่มเอม มีความปลาบปลื้ม ที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ผ่องใส แย้มพระสรวล ตลอดเวลาการเสด็จพระราชดำเนินไปในงานแข่งเรือที่อ่างเก็บนำเขาเต่า พร้อมด้วยท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และคุณทองแดง เป็นภาพที่เราได้เห็นโดยไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน เพราะเป็นหมายกำหนดการที่ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเองก็เพิ่งทราบล่วงหน้าเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง
เป็นความรู้สึกที่สวนทางกับเมื่อเย็นวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ที่พระองค์ไม่ได้เสด็จฯลงมาพระราชทานพระราชกระแสเหมือนทุกปี
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อันดับ 1 – 2 ของประเทศพร้อมใจกันอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2551 ขึ้นปกโดยมิได้นัดหมาย
ไม่ว่าบ้านเมืองปี 2552 จะมีปัญหาอย่างไร อย่างน้อยคนไทยก็สุขใจได้ในประการสำคัญ !
วันรุ่งขึ้น ขุนทหารนำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เดินทางมากราบอวยพรพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ป๋าเปรมให้โอวาทค่อนข้างนาน ด้วยความสนิทสนมกว่าคณะอื่น ๆ ถึงกับเรียกท่านหัวหน้าคณะและแม่ทัพบกด้วยชื่อเล่น
“รัฐมนตรีป้อม – แม่ทัพป๊อก”
วันนั้น แม้ขุนทหารจะไปกันพรึ่บพรั่บทุกคน แต่การเข้าอวยพรไม่ได้มีในรูปแบบภายใต้การนำของท่านรัฐมนตรีป้อมเท่านั้น ยังมีการแยกกระเช้าอวยพรต่างหากอีก 2 คณะ คณะหนึ่งคือคณะของเหล่าทหารม้านำโดยพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สูงสุด อีกคณะหนึ่งเป็นคณะของกองทัพภาคที่ 1 นำโดยพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เสธ.ทบ. อดีตแม่ทัพภาค 1 และพล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาค 1 คนปัจจุบัน
โอวาทขอพรของป๋าเปรมที่ให้กลับแก่ขุนทหารในวันนั้นจึงมีถึง 3 โอวาทด้วยกัน
โอวาทหลักคือโอวาทแรก !
แม้จะดูเหมือนจะแสดงความสนิทสนม เป็นกันเอง และมีเมตตา แต่ถอดรหัสดูแล้วผมเห็นว่าป๋าเปรมท่านทั้ง “เตือน” และ “ติง” รัฐมนตรีป้อมและแม่ทัพป๊อก ในเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหามากที่สุดเรื่องหนึ่งของสังคมไทย
ความเป็นกลาง !
เป็นคำเตือนและคำติง “โดยนัย” ที่รัฐมนตรีป้อมและแม่ทัพป๊อกจะต้องเก็บไปคิดให้มาก ๆ และเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับปัญหาที่อาจจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันไม่ไกลนัก
โอวาททั้งหมดลองหาอ่านดูในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2551 ดูเอาเอง
ประโยคที่เป็นไฮไลต์ในมุมมองผมคือ...
“รัฐมนตรีต้องดูแลให้กองทัพยืนนิ่งอยู่กับเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ทัพป๊อกพูดเสมอว่าทหารจะเป็นกลาง ไม่ยุ่งการเมือง แต่นักการเมืองก็ยืนอยู่ข้างหน้าป๊อก...
“เราต้องพูดกันให้ชัดเจนว่า เราเป็นกลางทางการเมืองจริง เราจะไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง เราจะดูแลชาติบ้านเมือง เพราะนอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง ตราบใดที่ชาติบ้านเมืองมีปัญหาเราต้องช่วยกันคิดว่าในฐานะที่เป็นทหารเราควรทำอย่างไร และเพราะเหตุใดต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้...”
ย้ำอีกครั้งตัวโต ๆ ว่า...
“นอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง”
พูดง่าย ๆ ว่าความเป็นกลางในมุมมองของป๋ามีเงื่อนไข คือต้องไม่ใช่ “กลางกลวง” บ้านเมืองจะมีปัญหาอย่างไรข้าไม่สน จนลืมหน้าที่ของทหาร
ผมไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียนอะไรมากไปกว่านี้ เพราะคงไม่อาจไปหยั่งรู้ได้ว่าหลายเดือนก่อนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนขั้วการเมืองมาเป็นประชาธิปัตย์ ป๋ามีความเห็นว่าบ้านเมืองควรแก้ปัญหาอย่างไร ทหารควรเป็นหลักให้บ้านเมืองอย่างไร และเป็นความเห็นที่มีความแตกต่างกับแม่ทัพป๊อกอย่างไรหรือไม่ หรือถือพอจะคาดการณ์ได้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดจะเขียน เพราะไม่อาจหาคำยืนยันอะไรจากใครได้
พูดง่าย ๆ ว่าผมไม่รู้ว่าป๋ารู้สึกอย่างไรตลอดระยะเวลาที่แม่ทัพป๊อกเดินตามหลังอดีตนายกฯสมัคร สุนทรเวช หรือยืนอยู่ข้าง ๆ อดีตนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 หลังเกิดนองเลือดที่หน้ารัฐสภา
ผมรู้แต่เพียงว่าแม่ทัพป๊อกดูจะเป็น “พระเอก” ที่รักษาทหารให้อยู่ในกรมกองตลอด
และก็รู้อีกด้วยว่า แม่ทัพป๊อกไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะให้คนเข้าใจได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในบางระดับกับการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองครั้งนี้ ในฐานะที่ระยะหลังมีความใกล้ชิดกับคุณเนวิน ชิดชอบ และคุณธีรพล นพรัมภา อยู่ในระดับหนึ่ง
แม่ทัพป๊อกยืนยันนอนยันว่าไม่ปฏิวัติ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่ถูกสื่อวิจารณ์ว่าปฏิวัติเหมือนกัน แต่ปฏิวัติในอีกรูปแบบหนึ่ง...
“ปฏิวัติแบบป๊อกๆ”
การเปลี่ยนขั้วที่เกิดขึ้น ที่ตามมาด้วยการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีป้อม ยากที่จะทำให้ใครเชื่อเต็มร้อยแม่ทัพป๊อกไม่เกี่ยวข้องด้วยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะจากกลุ่มคนเสื้อแดง
และแม้จะดูดีพอสมควร แต่ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้คือเรื่องราวไม่จบง่าย ๆ เพียงแค่นี้
รัฐบาลอภิสิทธิ์จะฝ่าข้ามด่านต่าง ๆ ไปได้ในสองสามเดือนนี้หรือไม่ ไม่มีใครกล้าฟันธง
ถ้าฝ่าข้ามไปได้ก็ดีไป
แต่ถ้าเกิดฝ่าข้ามไปไม่ได้ โอกาสที่เกิดการเปลี่ยนขั้วอีกครั้งไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้
แม่ทัพป๊อกจะยอมให้รัฐบาลใหม่ย้ายตัวเองหรือ ?
อย่าบอกว่าท่านจะอยู่ร่วมกับรัฐบาลใหม่ได้อีกครั้งนะ !
ถึงวันนั้น ท่านจะระลึกถึงโอวาทของป๋าเปรม ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 แต่ท่านจะตกผลึกทางความคิดและตัดสินใจอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้นผมไม่ทราบ
“นอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองไทย
วันที่ 28 – 29 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ถ้าเราไปให้พ้นการเมืองฉากหน้าเรื่องการแถลงนโยบายรัฐบาลที่เผชิญการต่อต้านจากกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว ข่าวบางข่าวจะทำให้เรามองเห็นบ้านเมืองในเรื่องจริงที่เป็นจริงได้ไม่มากก็น้อย
ประการสำคัญที่สุดคือความผูกพันความจงรักภักดีของคนไทยที่มีต่อองค์พระประมุข
เชื่อว่าเมื่อบ่ายวันที่ 28 ธันวาคม 2551 ท่านผู้อ่านทุกท่านจะต้องมีความสุข มีความอิ่มเอม มีความปลาบปลื้ม ที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพักตร์ผ่องใส แย้มพระสรวล ตลอดเวลาการเสด็จพระราชดำเนินไปในงานแข่งเรือที่อ่างเก็บนำเขาเต่า พร้อมด้วยท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และคุณทองแดง เป็นภาพที่เราได้เห็นโดยไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน เพราะเป็นหมายกำหนดการที่ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเองก็เพิ่งทราบล่วงหน้าเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง
เป็นความรู้สึกที่สวนทางกับเมื่อเย็นวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ที่พระองค์ไม่ได้เสด็จฯลงมาพระราชทานพระราชกระแสเหมือนทุกปี
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อันดับ 1 – 2 ของประเทศพร้อมใจกันอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2551 ขึ้นปกโดยมิได้นัดหมาย
ไม่ว่าบ้านเมืองปี 2552 จะมีปัญหาอย่างไร อย่างน้อยคนไทยก็สุขใจได้ในประการสำคัญ !
วันรุ่งขึ้น ขุนทหารนำโดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เดินทางมากราบอวยพรพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ป๋าเปรมให้โอวาทค่อนข้างนาน ด้วยความสนิทสนมกว่าคณะอื่น ๆ ถึงกับเรียกท่านหัวหน้าคณะและแม่ทัพบกด้วยชื่อเล่น
“รัฐมนตรีป้อม – แม่ทัพป๊อก”
วันนั้น แม้ขุนทหารจะไปกันพรึ่บพรั่บทุกคน แต่การเข้าอวยพรไม่ได้มีในรูปแบบภายใต้การนำของท่านรัฐมนตรีป้อมเท่านั้น ยังมีการแยกกระเช้าอวยพรต่างหากอีก 2 คณะ คณะหนึ่งคือคณะของเหล่าทหารม้านำโดยพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สูงสุด อีกคณะหนึ่งเป็นคณะของกองทัพภาคที่ 1 นำโดยพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เสธ.ทบ. อดีตแม่ทัพภาค 1 และพล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาค 1 คนปัจจุบัน
โอวาทขอพรของป๋าเปรมที่ให้กลับแก่ขุนทหารในวันนั้นจึงมีถึง 3 โอวาทด้วยกัน
โอวาทหลักคือโอวาทแรก !
แม้จะดูเหมือนจะแสดงความสนิทสนม เป็นกันเอง และมีเมตตา แต่ถอดรหัสดูแล้วผมเห็นว่าป๋าเปรมท่านทั้ง “เตือน” และ “ติง” รัฐมนตรีป้อมและแม่ทัพป๊อก ในเรื่องสำคัญที่เป็นปัญหามากที่สุดเรื่องหนึ่งของสังคมไทย
ความเป็นกลาง !
เป็นคำเตือนและคำติง “โดยนัย” ที่รัฐมนตรีป้อมและแม่ทัพป๊อกจะต้องเก็บไปคิดให้มาก ๆ และเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับปัญหาที่อาจจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันไม่ไกลนัก
โอวาททั้งหมดลองหาอ่านดูในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2551 ดูเอาเอง
ประโยคที่เป็นไฮไลต์ในมุมมองผมคือ...
“รัฐมนตรีต้องดูแลให้กองทัพยืนนิ่งอยู่กับเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่ทัพป๊อกพูดเสมอว่าทหารจะเป็นกลาง ไม่ยุ่งการเมือง แต่นักการเมืองก็ยืนอยู่ข้างหน้าป๊อก...
“เราต้องพูดกันให้ชัดเจนว่า เราเป็นกลางทางการเมืองจริง เราจะไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง เราจะดูแลชาติบ้านเมือง เพราะนอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง ตราบใดที่ชาติบ้านเมืองมีปัญหาเราต้องช่วยกันคิดว่าในฐานะที่เป็นทหารเราควรทำอย่างไร และเพราะเหตุใดต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้...”
ย้ำอีกครั้งตัวโต ๆ ว่า...
“นอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง”
พูดง่าย ๆ ว่าความเป็นกลางในมุมมองของป๋ามีเงื่อนไข คือต้องไม่ใช่ “กลางกลวง” บ้านเมืองจะมีปัญหาอย่างไรข้าไม่สน จนลืมหน้าที่ของทหาร
ผมไม่กล้าพูดไม่กล้าเขียนอะไรมากไปกว่านี้ เพราะคงไม่อาจไปหยั่งรู้ได้ว่าหลายเดือนก่อนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนขั้วการเมืองมาเป็นประชาธิปัตย์ ป๋ามีความเห็นว่าบ้านเมืองควรแก้ปัญหาอย่างไร ทหารควรเป็นหลักให้บ้านเมืองอย่างไร และเป็นความเห็นที่มีความแตกต่างกับแม่ทัพป๊อกอย่างไรหรือไม่ หรือถือพอจะคาดการณ์ได้บ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดจะเขียน เพราะไม่อาจหาคำยืนยันอะไรจากใครได้
พูดง่าย ๆ ว่าผมไม่รู้ว่าป๋ารู้สึกอย่างไรตลอดระยะเวลาที่แม่ทัพป๊อกเดินตามหลังอดีตนายกฯสมัคร สุนทรเวช หรือยืนอยู่ข้าง ๆ อดีตนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 หลังเกิดนองเลือดที่หน้ารัฐสภา
ผมรู้แต่เพียงว่าแม่ทัพป๊อกดูจะเป็น “พระเอก” ที่รักษาทหารให้อยู่ในกรมกองตลอด
และก็รู้อีกด้วยว่า แม่ทัพป๊อกไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะให้คนเข้าใจได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในบางระดับกับการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองครั้งนี้ ในฐานะที่ระยะหลังมีความใกล้ชิดกับคุณเนวิน ชิดชอบ และคุณธีรพล นพรัมภา อยู่ในระดับหนึ่ง
แม่ทัพป๊อกยืนยันนอนยันว่าไม่ปฏิวัติ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่ถูกสื่อวิจารณ์ว่าปฏิวัติเหมือนกัน แต่ปฏิวัติในอีกรูปแบบหนึ่ง...
“ปฏิวัติแบบป๊อกๆ”
การเปลี่ยนขั้วที่เกิดขึ้น ที่ตามมาด้วยการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีป้อม ยากที่จะทำให้ใครเชื่อเต็มร้อยแม่ทัพป๊อกไม่เกี่ยวข้องด้วยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะจากกลุ่มคนเสื้อแดง
และแม้จะดูดีพอสมควร แต่ความจริงที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้คือเรื่องราวไม่จบง่าย ๆ เพียงแค่นี้
รัฐบาลอภิสิทธิ์จะฝ่าข้ามด่านต่าง ๆ ไปได้ในสองสามเดือนนี้หรือไม่ ไม่มีใครกล้าฟันธง
ถ้าฝ่าข้ามไปได้ก็ดีไป
แต่ถ้าเกิดฝ่าข้ามไปไม่ได้ โอกาสที่เกิดการเปลี่ยนขั้วอีกครั้งไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้
แม่ทัพป๊อกจะยอมให้รัฐบาลใหม่ย้ายตัวเองหรือ ?
อย่าบอกว่าท่านจะอยู่ร่วมกับรัฐบาลใหม่ได้อีกครั้งนะ !
ถึงวันนั้น ท่านจะระลึกถึงโอวาทของป๋าเปรม ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 แต่ท่านจะตกผลึกทางความคิดและตัดสินใจอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้นผมไม่ทราบ
“นอกจากจะเป็นกลางแล้ว เราต้องเป็นหลักของชาติบ้านเมือง”