ในปี 2552 นี้ เป็นปีที่มีการประเมินกันว่า ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปทั่วโลกจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการส่งออกของประเทศต่างๆ ไม่เว้นกระทั่งประเทศไทย เพราะในเมื่อกำลังซื้อลดลง การนำเข้า การบริโภคสินค้าก็จะลดลงตามไปด้วย และแน่นอนว่า ประเทศที่ทำการส่งออกสินค้า ก็จะขายสินค้าได้ยากขึ้น ขายได้ลำบากขึ้น
กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าไทย ได้เล็งเห็นถึงปัญหาข้างต้น และได้มีมาตรการในการรับมือไว้แล้ว ทั้งมาตรการรักษาตลาดหลัก และมาตรการในการบุกเจาะตลาดใหม่ เพื่อให้สัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไม่ลดลง
แต่เพื่อความมั่นใจว่าการส่งออกสินค้าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ หรือหากจะได้รับผลกระทบ ก็ต้องกระทบน้อยที่สุดนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดที่จะจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) เรื่องการส่งออก ในวันที่ 7 ม.ค.2552 ที่จะถึงนี้ เพื่อประเมินภาพการส่งออกที่ชัดเจนอีกครั้ง รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ส่งออก เพื่อนำมาจัดทำมาตรการในการกระตุ้นการส่งออกที่ตรงประเด็นที่ผู้ส่งออกต้องการ ซึ่งจะส่งผลทำให้การส่งออกไทยยังคงขยายตัวได้
“ได้รับคำสั่งจากนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้จัดประชุมเวิร์ก ชอป ในวันที่ 7 ม.ค.นี้ และเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกทุกภาคส่วน ทั้งสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าบริการ ได้เข้ามาพบปะกับผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารในระดับนโยบาย ซึ่งก็คือรัฐมนตรี เพื่อให้มองเห็นภาพแนวโน้มการส่งออกล่าสุด และเพื่อรับฟังปัญหาจากผู้ส่งออก ก่อนที่รัฐจะหาทางช่วยแก้ไขปัญหานั้นๆ เพื่อให้ไทยยังส่งออกได้ดีขึ้น”นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดประชุมเวิร์กชอปในครั้งนี้
ปกติกระทรวงพาณิชย์ จะมีการหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้ากลุ่มต่างๆ เป็นประจำ เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้จะพิเศษกว่าตรงที่ว่า จะเป็นการเปิดเวทีให้ผู้ส่งออกได้หารือร่วมกับระดับนโยบาย ใครมีปัญหาอะไร ติดขัดอะไร อยากให้รัฐช่วยอะไร ก็สามารถเปิดอกคุยกันได้เลย
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องการทราบว่า กิจกรรมส่งเสริมการส่งออกที่มีแผนจะดำเนินการทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ เพียงพอหรือไม่ หรือต้องการให้เพิ่มเติมในตลาดใดเป็นพิเศษ หรือกลุ่มสินค้าใดที่ควรจะเน้นเป็นพิเศษ รวมไปถึงการมีมาตรการส่งเสริมการส่งออกในรูปแบบที่แปลกใหม่ไปจากเดิม ควรจะดำเนินการอย่างไรบ้าง
ขณะเดียวกัน ยังจะเปิดโอกาสให้เอกชนพูดถึงสิ่งที่เอกชนประสบปัญหาอยู่ ทั้งในเรื่องของต้นทุนการผลิตสินค้า ต้นทุนค่าขนส่ง ปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่อง และข้อเสนอที่ต้องการให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการแก้ไขให้ ทั้งในระดับของกระทรวงพาณิชย์เอง หรือต้องแก้ไขในระดับนโยบายรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ก็พร้อมที่จะรับฟัง และนำปัญหานั้นๆ ไปเสนอต่อรัฐบาลเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ ซึ่งเป็นนโยบายของนางพรทิวา รัฐมนตรีคนใหม่ที่กำหนดไว้ชัดเจนแล้ว
“พูดง่ายๆ ก็คือ เวทีนี้จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เอกชนเป็นฝ่ายพูด และรัฐเป็นฝ่ายรับฟังปัญหา เอกชนอยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยอะไร ต้องทำอะไรเพิ่มเติม หรือในระดับนโยบายของรัฐบาล จะต้องปรับหรือเพิ่มอะไรเข้ามา เพื่อทำให้ผู้ส่งออกยังคงส่งออกสินค้าได้โดยไม่ได้รับผลกระทบ ก็สามารถบอกก็พูดออกมาได้เลย”นายศิริพลกล่าว พร้อมกับให้เหตุผลว่า ที่ต้องเปิดเวทีลักษณะนี้ ก็เพื่อให้รับรู้ปัญหาจริงๆ ว่าคืออะไร และถ้าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ และเพิ่มขึ้นเท่าใด
ที่สำคัญที่สุด กระทรวงพาณิชย์จะใช้เวทีนี้ในการทำความเข้าใจกับผู้ส่งออก ไม่ให้แก้ไขปัญหากรณีการส่งออกชะลอตัวด้วยการหาทางปลดหรือปรับลดจำนวนคนงาน เพราะไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และยิ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวด้วย แต่จะขอให้ใช้วิธีการอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาแทน ซึ่งมีมากมายหลายวิธีในการปรับลดต้นทุน
การดำเนินการทั้งหมด กระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายต้องการผลักดันให้การส่งออกในปีนี้ให้มีการขยายตัว เพราะผลจากการหารือร่วมกับผู้ส่งออกในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนในหลายๆ อุตสาหกรรมได้แสดงความเป็นห่วงว่า การส่งออกในปีนี้จะขยายตัวติดลบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่สินค้าอื่นๆ ก็มีทั้งขยายตัวเพิ่มขึ้นและลดลง
“กระทรวงพาณิชย์จะทำทุกวิถีทางให้การส่งออกที่เอกชนระบุว่า จะขยายตัวติดลบ ให้ติดลบน้อยที่สุด หรือไม่ติดลบและเป็นบวกให้ได้ โดยมีเป้าหมายในการทำงานว่า การส่งออกปีนี้ ถ้าไม่ดีเลย จะขยายตัวในระดับ 0% แต่ถ้าดี ก็จะขยายตัวในระดับ 5% หรืออยู่ในระหว่าง 0-5%”นายศิริพลกล่าวในที่สุด
กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าไทย ได้เล็งเห็นถึงปัญหาข้างต้น และได้มีมาตรการในการรับมือไว้แล้ว ทั้งมาตรการรักษาตลาดหลัก และมาตรการในการบุกเจาะตลาดใหม่ เพื่อให้สัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไม่ลดลง
แต่เพื่อความมั่นใจว่าการส่งออกสินค้าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ หรือหากจะได้รับผลกระทบ ก็ต้องกระทบน้อยที่สุดนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดที่จะจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) เรื่องการส่งออก ในวันที่ 7 ม.ค.2552 ที่จะถึงนี้ เพื่อประเมินภาพการส่งออกที่ชัดเจนอีกครั้ง รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ส่งออก เพื่อนำมาจัดทำมาตรการในการกระตุ้นการส่งออกที่ตรงประเด็นที่ผู้ส่งออกต้องการ ซึ่งจะส่งผลทำให้การส่งออกไทยยังคงขยายตัวได้
“ได้รับคำสั่งจากนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้จัดประชุมเวิร์ก ชอป ในวันที่ 7 ม.ค.นี้ และเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกทุกภาคส่วน ทั้งสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าบริการ ได้เข้ามาพบปะกับผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารในระดับนโยบาย ซึ่งก็คือรัฐมนตรี เพื่อให้มองเห็นภาพแนวโน้มการส่งออกล่าสุด และเพื่อรับฟังปัญหาจากผู้ส่งออก ก่อนที่รัฐจะหาทางช่วยแก้ไขปัญหานั้นๆ เพื่อให้ไทยยังส่งออกได้ดีขึ้น”นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดประชุมเวิร์กชอปในครั้งนี้
ปกติกระทรวงพาณิชย์ จะมีการหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้ากลุ่มต่างๆ เป็นประจำ เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้จะพิเศษกว่าตรงที่ว่า จะเป็นการเปิดเวทีให้ผู้ส่งออกได้หารือร่วมกับระดับนโยบาย ใครมีปัญหาอะไร ติดขัดอะไร อยากให้รัฐช่วยอะไร ก็สามารถเปิดอกคุยกันได้เลย
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องการทราบว่า กิจกรรมส่งเสริมการส่งออกที่มีแผนจะดำเนินการทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ เพียงพอหรือไม่ หรือต้องการให้เพิ่มเติมในตลาดใดเป็นพิเศษ หรือกลุ่มสินค้าใดที่ควรจะเน้นเป็นพิเศษ รวมไปถึงการมีมาตรการส่งเสริมการส่งออกในรูปแบบที่แปลกใหม่ไปจากเดิม ควรจะดำเนินการอย่างไรบ้าง
ขณะเดียวกัน ยังจะเปิดโอกาสให้เอกชนพูดถึงสิ่งที่เอกชนประสบปัญหาอยู่ ทั้งในเรื่องของต้นทุนการผลิตสินค้า ต้นทุนค่าขนส่ง ปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่อง และข้อเสนอที่ต้องการให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการแก้ไขให้ ทั้งในระดับของกระทรวงพาณิชย์เอง หรือต้องแก้ไขในระดับนโยบายรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ก็พร้อมที่จะรับฟัง และนำปัญหานั้นๆ ไปเสนอต่อรัฐบาลเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ ซึ่งเป็นนโยบายของนางพรทิวา รัฐมนตรีคนใหม่ที่กำหนดไว้ชัดเจนแล้ว
“พูดง่ายๆ ก็คือ เวทีนี้จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เอกชนเป็นฝ่ายพูด และรัฐเป็นฝ่ายรับฟังปัญหา เอกชนอยากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยอะไร ต้องทำอะไรเพิ่มเติม หรือในระดับนโยบายของรัฐบาล จะต้องปรับหรือเพิ่มอะไรเข้ามา เพื่อทำให้ผู้ส่งออกยังคงส่งออกสินค้าได้โดยไม่ได้รับผลกระทบ ก็สามารถบอกก็พูดออกมาได้เลย”นายศิริพลกล่าว พร้อมกับให้เหตุผลว่า ที่ต้องเปิดเวทีลักษณะนี้ ก็เพื่อให้รับรู้ปัญหาจริงๆ ว่าคืออะไร และถ้าปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว การส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ และเพิ่มขึ้นเท่าใด
ที่สำคัญที่สุด กระทรวงพาณิชย์จะใช้เวทีนี้ในการทำความเข้าใจกับผู้ส่งออก ไม่ให้แก้ไขปัญหากรณีการส่งออกชะลอตัวด้วยการหาทางปลดหรือปรับลดจำนวนคนงาน เพราะไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และยิ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวด้วย แต่จะขอให้ใช้วิธีการอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาแทน ซึ่งมีมากมายหลายวิธีในการปรับลดต้นทุน
การดำเนินการทั้งหมด กระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายต้องการผลักดันให้การส่งออกในปีนี้ให้มีการขยายตัว เพราะผลจากการหารือร่วมกับผู้ส่งออกในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนในหลายๆ อุตสาหกรรมได้แสดงความเป็นห่วงว่า การส่งออกในปีนี้จะขยายตัวติดลบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่สินค้าอื่นๆ ก็มีทั้งขยายตัวเพิ่มขึ้นและลดลง
“กระทรวงพาณิชย์จะทำทุกวิถีทางให้การส่งออกที่เอกชนระบุว่า จะขยายตัวติดลบ ให้ติดลบน้อยที่สุด หรือไม่ติดลบและเป็นบวกให้ได้ โดยมีเป้าหมายในการทำงานว่า การส่งออกปีนี้ ถ้าไม่ดีเลย จะขยายตัวในระดับ 0% แต่ถ้าดี ก็จะขยายตัวในระดับ 5% หรืออยู่ในระหว่าง 0-5%”นายศิริพลกล่าวในที่สุด