วิเคราะห์
คึกคักทั้งในและนอกสภา ในวันแถลงนโยบายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก่อนเข้าบริหารประเทศอย่างเป็นทางการของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันนี้
ศึกหนึ่งเป็นการสู้กันในสภาของซึกรัฐบาลและฝ่ายค้าน
ฝ่ายหนึ่งจะแถลงแนวทางการทำงานในการบริหารประเทศ อีกฝ่ายจะอภิปรายโจมตีแนวทางการทำงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
และดูเหมือนเป็นศึกที่ไม่หนักหนามากนัก เพราะดาวเด่นของฝ่ายค้านรุ่นที่ 3 นี้ เหลือเพียง "เสนาะ เทียนทอง" หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ประกาศจะอภิปรายจริยธรรมของรัฐบาล ด้วยการแฉเบื้องหลังการตั้งรัฐบาลว่าไม่มีความชอบธรรมอย่างไร มีใครอยู่เบื้องหลังบ้าง
ส่วนอีกคนก็เห็นจะเป็น "เฉลิม อยู่บำรุง" หัวหน้าทีมอภิปรายของพรรคเพื่อไทย ที่ตั้งเป้าจะเล่นงานในเรื่องของการลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยม ที่พรรคประชาธิปัตย์ สมัยเป็นฝ่ายค้านเคยโจมตีมาก่อน
รวมทั้งจะชี้ให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลเป็นแค่ตัวหนังสือแต่ปฏิบัติจริงไม่ได้ เช่น วาระเร่งด่วนในการจัดตั้งองค์กรพิเศษแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เสร็จภายใน 1 เดือน เรื่องแหล่งน้ำและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะให้เสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 ล้วนเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ก็จะเป็นการอภิปรายเรื่องส่วนตัวของรัฐมนตรีใน ครม."มาร์ค1"
อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็จะเจอเรื่องการเกณฑ์ทหาร "กษิต ภิรมย์"ถูกกล่าวหาเป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
"ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ถูกโจมตีว่าเป็นนอมินีทหาร "วีระชัย วีระเมธีกุล"เจอข้อหา เป็นตัวแทนนายทุนพรรค จากค่ายซีพี ส่วน "พรทิวา นาคาศัย"ละอ่อนการเมือง ไม่มีประสบการณ์ แต่ได้มานั่งคุมกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นกระทรวงสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
แต่ก็เป็นแค่การอภิปรายไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนด ไม่มีผลใดๆ ต่อรัฐบาล อย่างมากก็ได้แค่การดิสเครดิตรัฐบาลและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายถึง
ส่วนอีกฉากหนึ่งเป็นการรับศึกภายนอก จากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ระดมพล ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม ก่อนจะเคลื่อนพลมาปิดล้อมรัฐสภา เลียนแบบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่พฤติกรรมต่างกัน เพื่อไม่ให้สมาชิกรัฐสภา ได้เข้าประชุมรับฟังการแถลงนโยบาย
แม้เที่ยวนี้ดูเหมือนไม่เป็นไปตามเป้า
จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เชื่อว่าอาจมีม็อบเสื้อแดงไปร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวงกันมาก แต่พอเคลื่อนกำลังไปยังหน้ารัฐสภาอาจไม่มากอย่างที่คิด
ประการหนึ่งเป็นปัญหาการนำภายในของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แบ่งชั้นแกนนำ ในการแสดงบทบาทจนทำให้หลายคนไม่พอใจและเริ่มตีตัวออกห่าง ทำให้มวลชนที่เหลือจึงไม่มากนัก
เท่าที่ตรวจสอบม็อบครั้งนี้จะมาจากแฟนรายการ "ความจริงวันนี้"และพวกที่ยังฝังใจในตัว "ทักษิณ ชินวัตร" แบบหัวปัก หัวปำ และคนที่แกนนำจัดตั้งขึ้น
นอกจากนี้ก็มีพวกชาวบ้านที่หัวคะแนน ส.ส.ฝ่ายค้านไปเกณฑ์ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามา ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากชานเมืองหลวงและจังหวัดปริมณฑล
เครือข่ายหลักๆ ในภูมิภาค อย่าง กลุ่มชมรมคนรักอุดรที่มี "ขวัญชัย สาระคำ" หรือ "ขวัญชัย ไพรพนา" เป็นแกน หร้อแม้แต่ "เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล" หัวหน้ากลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ที่เคยประกาศ รัก และศรัทธาต่อ "เสี่ยแม้ว" นักหนา บอกแล้วว่าไม่เอาด้วย
เหตุผลสำคัญเพราะไม่มีท่อน้ำเลี้ยง จึงไร้กำลังที่จะขนคนมาร่วม แต่จะขอปักหลักชุมนุมในพื้นที่
ปล่อยให้แกนนำอย่าง "วีระ มุสิกพงษ์-จตุพร พรหมพันธ์-ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ" ที่ยังได้น้ำเลี้ยงดีอยู่ โชว์ให้เต็มที่
เมื่อพลังเสื้อแดงไม่แรงฤทธิ์อย่างที่คาดทำให้ "สามเกลอหัวขวด" จึงต้องโหมโปรโมทเรียกแขก ประกาศมีไม้เด็ดในการปราศรัยสาวไส้รัฐบาล
ตามมาด้วยคำขู่ว่า วันแถลงนโยบาย 29-30 ธันวาคมจะเป็น "วันนรกแตก" ของรัฐบาล
ส่วนจะได้ผลหรือไม่คงได้เห็นกันในวันนี้
แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อเรียกความสนใจต่อประชาชนคนไทยและสังคมโลก เมื่อมีกำลังน้อยก็ต้องใช้ความรุนแรง
ประการหนึ่งเพื่อให้สังคมหันมาสนใจ และหากฝ่ายรัฐใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้ จนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ก็จะทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงนำมาขยายผลให้เห็นว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศอีกต่อไป
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและ ตำรวจที่ะจะต้องหามาตรการในการควบคุมดูแล ไม่ให้เกิดในสิ่งที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ยืนยันว่าจะไม่เดินเหยียบคราบเลือดประชาชนเพื่อเข้าไปแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซ้ำรอยรัฐบาล "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ที่เคยทำมาแล้ว ให้เป็นรอยด่างของรัฐบาลอย่างแน่นอน
แต่ไม่ว่ารัฐบาล ฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ชุมนุม ต่างก็ออกมาใช้สิทธิของแต่ละฝ่าย
รัฐบาลอาศัยสิทธิที่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย ฝ่ายค้านก็อภิปรายตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ขณะที่กลุ่มม็อบก็อ้างว่าใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
แต่การเคลื่อนไหวหรือทำอะไรควรต้องดูอารมณ์ของสังคมด้วยว่า ยามนี้ต้องการความสงบ เพื่อให้รัฐบาลมีเวลาที่จะแก้ปัญหาที่รุมเร้าประเทศชาติ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจที่ว่ากันว่า ปีฉลู 2552 นี้จะเป็นปี "เผาจริง"
คึกคักทั้งในและนอกสภา ในวันแถลงนโยบายตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก่อนเข้าบริหารประเทศอย่างเป็นทางการของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันนี้
ศึกหนึ่งเป็นการสู้กันในสภาของซึกรัฐบาลและฝ่ายค้าน
ฝ่ายหนึ่งจะแถลงแนวทางการทำงานในการบริหารประเทศ อีกฝ่ายจะอภิปรายโจมตีแนวทางการทำงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
และดูเหมือนเป็นศึกที่ไม่หนักหนามากนัก เพราะดาวเด่นของฝ่ายค้านรุ่นที่ 3 นี้ เหลือเพียง "เสนาะ เทียนทอง" หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ประกาศจะอภิปรายจริยธรรมของรัฐบาล ด้วยการแฉเบื้องหลังการตั้งรัฐบาลว่าไม่มีความชอบธรรมอย่างไร มีใครอยู่เบื้องหลังบ้าง
ส่วนอีกคนก็เห็นจะเป็น "เฉลิม อยู่บำรุง" หัวหน้าทีมอภิปรายของพรรคเพื่อไทย ที่ตั้งเป้าจะเล่นงานในเรื่องของการลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยม ที่พรรคประชาธิปัตย์ สมัยเป็นฝ่ายค้านเคยโจมตีมาก่อน
รวมทั้งจะชี้ให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลเป็นแค่ตัวหนังสือแต่ปฏิบัติจริงไม่ได้ เช่น วาระเร่งด่วนในการจัดตั้งองค์กรพิเศษแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เสร็จภายใน 1 เดือน เรื่องแหล่งน้ำและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่จะให้เสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 ล้วนเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ก็จะเป็นการอภิปรายเรื่องส่วนตัวของรัฐมนตรีใน ครม."มาร์ค1"
อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็จะเจอเรื่องการเกณฑ์ทหาร "กษิต ภิรมย์"ถูกกล่าวหาเป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
"ประวิตร วงษ์สุวรรณ" ถูกโจมตีว่าเป็นนอมินีทหาร "วีระชัย วีระเมธีกุล"เจอข้อหา เป็นตัวแทนนายทุนพรรค จากค่ายซีพี ส่วน "พรทิวา นาคาศัย"ละอ่อนการเมือง ไม่มีประสบการณ์ แต่ได้มานั่งคุมกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นกระทรวงสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
แต่ก็เป็นแค่การอภิปรายไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนด ไม่มีผลใดๆ ต่อรัฐบาล อย่างมากก็ได้แค่การดิสเครดิตรัฐบาลและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายถึง
ส่วนอีกฉากหนึ่งเป็นการรับศึกภายนอก จากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ระดมพล ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม ก่อนจะเคลื่อนพลมาปิดล้อมรัฐสภา เลียนแบบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่พฤติกรรมต่างกัน เพื่อไม่ให้สมาชิกรัฐสภา ได้เข้าประชุมรับฟังการแถลงนโยบาย
แม้เที่ยวนี้ดูเหมือนไม่เป็นไปตามเป้า
จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เชื่อว่าอาจมีม็อบเสื้อแดงไปร่วมชุมนุมที่ท้องสนามหลวงกันมาก แต่พอเคลื่อนกำลังไปยังหน้ารัฐสภาอาจไม่มากอย่างที่คิด
ประการหนึ่งเป็นปัญหาการนำภายในของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่แบ่งชั้นแกนนำ ในการแสดงบทบาทจนทำให้หลายคนไม่พอใจและเริ่มตีตัวออกห่าง ทำให้มวลชนที่เหลือจึงไม่มากนัก
เท่าที่ตรวจสอบม็อบครั้งนี้จะมาจากแฟนรายการ "ความจริงวันนี้"และพวกที่ยังฝังใจในตัว "ทักษิณ ชินวัตร" แบบหัวปัก หัวปำ และคนที่แกนนำจัดตั้งขึ้น
นอกจากนี้ก็มีพวกชาวบ้านที่หัวคะแนน ส.ส.ฝ่ายค้านไปเกณฑ์ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามา ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากชานเมืองหลวงและจังหวัดปริมณฑล
เครือข่ายหลักๆ ในภูมิภาค อย่าง กลุ่มชมรมคนรักอุดรที่มี "ขวัญชัย สาระคำ" หรือ "ขวัญชัย ไพรพนา" เป็นแกน หร้อแม้แต่ "เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล" หัวหน้ากลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ที่เคยประกาศ รัก และศรัทธาต่อ "เสี่ยแม้ว" นักหนา บอกแล้วว่าไม่เอาด้วย
เหตุผลสำคัญเพราะไม่มีท่อน้ำเลี้ยง จึงไร้กำลังที่จะขนคนมาร่วม แต่จะขอปักหลักชุมนุมในพื้นที่
ปล่อยให้แกนนำอย่าง "วีระ มุสิกพงษ์-จตุพร พรหมพันธ์-ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ" ที่ยังได้น้ำเลี้ยงดีอยู่ โชว์ให้เต็มที่
เมื่อพลังเสื้อแดงไม่แรงฤทธิ์อย่างที่คาดทำให้ "สามเกลอหัวขวด" จึงต้องโหมโปรโมทเรียกแขก ประกาศมีไม้เด็ดในการปราศรัยสาวไส้รัฐบาล
ตามมาด้วยคำขู่ว่า วันแถลงนโยบาย 29-30 ธันวาคมจะเป็น "วันนรกแตก" ของรัฐบาล
ส่วนจะได้ผลหรือไม่คงได้เห็นกันในวันนี้
แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อเรียกความสนใจต่อประชาชนคนไทยและสังคมโลก เมื่อมีกำลังน้อยก็ต้องใช้ความรุนแรง
ประการหนึ่งเพื่อให้สังคมหันมาสนใจ และหากฝ่ายรัฐใช้ความรุนแรงเข้าตอบโต้ จนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ก็จะทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงนำมาขยายผลให้เห็นว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศอีกต่อไป
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและ ตำรวจที่ะจะต้องหามาตรการในการควบคุมดูแล ไม่ให้เกิดในสิ่งที่พวกเขาวางไว้ ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่า "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ยืนยันว่าจะไม่เดินเหยียบคราบเลือดประชาชนเพื่อเข้าไปแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซ้ำรอยรัฐบาล "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ที่เคยทำมาแล้ว ให้เป็นรอยด่างของรัฐบาลอย่างแน่นอน
แต่ไม่ว่ารัฐบาล ฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ชุมนุม ต่างก็ออกมาใช้สิทธิของแต่ละฝ่าย
รัฐบาลอาศัยสิทธิที่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย ฝ่ายค้านก็อภิปรายตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ขณะที่กลุ่มม็อบก็อ้างว่าใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
แต่การเคลื่อนไหวหรือทำอะไรควรต้องดูอารมณ์ของสังคมด้วยว่า ยามนี้ต้องการความสงบ เพื่อให้รัฐบาลมีเวลาที่จะแก้ปัญหาที่รุมเร้าประเทศชาติ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจที่ว่ากันว่า ปีฉลู 2552 นี้จะเป็นปี "เผาจริง"